กัณฑ์ที่ ๐๓
รตนตฺตยคมนปณามคาถา
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ (๓ ครั้ง)
อิจฺเจตํ รตนตฺตยํ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ จาติ
นานาโหนุตมฺปิ วตฺถฺโต อญฺญมญฺญาวิโยคา วเอกิภูตมฺปนตฺถโต
พุทฺโธ ธมิมสฺส โพเธตา ธมฺโม สงฺเฆน ธาริโต
สงฺโฆ จ สาวโก พุทฺธสฺส อิจฺเจกาพุทฺธเมวิทนุติฯ
อาตมาขอโอกาสแต่ท่านมหาชนทั้งหลาย ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตบรรดามีศาสนาเป็นภารกิจ หวังปฏิบัติให้ถูกสนิทตามศาสนาของตนๆ จึงได้อุตส่าห์พากันทรมานร่างกายในเวลาทำกิจของศาสนา ทุกๆ ศาสนาล้วนแต่สอนให้ละความชั่วประพฤติความดีสิ้นด้วยกันทุกชาติทุกภาษา ส่วนในทางพระพุทธศาสนาเวลาเช้าเวลาเย็นไหว้พระบูชาพระและสวดสังเวคกถา ปสาทกถา ตามกาลเวลาเสร็จแล้ว ที่มีกิจเรียนคันถธุระก็เรียนไป ที่มีกิจเรียนวิปัสสนาธุระก็เรียนไป ฝ่ายพระเถรานุถระก็เอาใจใส่ตักเตือนซึ่งกันและกันตามหน้าที่เพื่อจะได้รักษาเนติแบบแผนอันดี ของสาธุชนในพุทธศาสนาไว้ ให้เป็นตำรับตำราสืบสายพระศาสนาไป
บัดนี้ขอเชิญชวนท่านทั้งหลายฟังปณามคาถา ความนอบน้อมพระรัตนตรัยใน อดีต อนาคต ปัจจุบัน และถึงเป็นที่พึ่งโดยย่อ ความนอบน้อมมาจากมโน มโนแปลว่านอบน้อม เป็นบุคลาธิษฐานคือนอบน้อมด้วยกาย นอบน้อมด้วยวาจา นอบน้อมด้วยใจ นอบน้อมในพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์มีพระชนมายุอยู่อุบาสกอุบาสิกาเข้าไปสู่ที่เฝ้าแล้ว ถวายสังคมพระผู้มีพระภาคด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คือกราบพร้อมด้วยองค์ห้า เข่าและศอกทั้งสองต่อกัน ฝ่ามือทั้งสองวางลงให้เสมอกัน ก้มศีรษะลงให้หน้าจดพื้นในระหว่างมือทั้งสองนั้น หรือในระหว่างที่เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่นั้น คอยฟังพระโอวาสทานุสาสนีของพระองค์ ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาออกในระหว่างที่พระองค์ทรงรับสั่งอยู่ เป็นการรบกวนพระองค์ด้วยวาจา ให้เป็นที่ระแคะระคายพระทัย
อนึ่งเมื่อเข้าไปสู่ที่เฝ้าไม่นั่งให้ไกลนัก จะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยต้องการออกพระกำลังเสียงในเวลารับสั่ง ไม่นั่งให้ใกล้นักจะเป็นการเบียดเบียนพระองค์ด้วยกายอันเป็นของปฏิกูล จะเป็นที่รำคาญพระนาสิกในเวลากลิ่นกายฟุ้งไป ไม่นั่งในที่เหนือลม ด้วยเคารพพระองค์กลัวลมจะพัดเอากลิ่นกายที่ฟุ้งออกไปมากระทบพระนาสิกของพระองค์ ไม่นั่งในที่ตรงพระพักตร์นัก กลัวจะเป็นที่รำคาญพระเนตรทั้งสองของพระองค์ไม่นั่งในที่เบื้องหลังนัก เกรงว่าพระองค์จะต้องหันพระพักตร์มากไปในเวลาจะทรงรับสั่ง ต้องนั่งในที่สมควรนอกจากที่ๆ แสดงมาแล้วในเวลาอยู่ในที่เฝ้า ไม่ส่งใจไปในที่อื่น ไม่เปล่งวาจาให้เป็นที่รำคาญพระทัยแด่พระองค์ ดังนั้นแล นอบน้อมด้วยกายในพระองค์
ในเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้วยังเหลือแต่เจดีย์ ๔ เหล่า คือ บริโภคเจดีย์ ธาตุเจดีย์ ธรรมเจดีย์ อุทเทสิกเจดีย์ พุทธศาสนิกชนถึงที่เช่นนั้นเข้าแล้ว ในเมื่อกั้นร่วมควรลดร่มลง ห่มผ้าปิด ๒ บ่า ควรลดออกเสียบ่าหนึ่งในเมื่อสวมรองเท้าเข้าไปควรถอดรองเท้าเสียและเข้าไปในที่นั้นไม่ควรแสดงอึงคะนึงและไม่เคารพแต่อย่างใดอย่างหนึ่งต้องแสดงเคารพอย่างจริงใจ ไม่ทิ้งของที่สกปรกลงไว้เช่นก้นบุหรี่ หรือชานหมาก น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่บริเวณนั้นเมื่อเข้าไปในที่นั้น เห็นรกปัดกวาดเสีย ถากถางเสีย เห็นไม่สะอาดทำให้สะอาด เห็นผุพังควรแก้ไขซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ได้ก็ยิ่งดี ดังนี้เป็นความนอบน้อมพระผู้มีพระภาคด้วยกายโดยบุคลาธิษฐาน
อนึ่งนำเรื่องของพระรัตนตรัยไปสรรเสริญในที่นั้น แก่บุคคลนั้นอยู่เนืองๆ ดังนี้ก็ชื่อว่านอบน้อมด้วยวาจา และคิดถึงพระรัตนะตรัยอยู่เนืองๆ ไม่ยอมให้ใจไปจดอยู่กับอารมณ์สิ่งอื่นมากนัก คอยบังคับใจให้จดอู่กับพระรัตนตรัยเนืองๆ ดังนี้ ชื่อว่านอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยใจ ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแต่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นองค์อรหันต์ ตรัสรู้แล้วเองโดยชอบ บรรดาพุทธศาสนิกชนทั้งหายต้องว่าดังนี้ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายในเวลาทำศาสนกิจทุกครั้ง เช่น พระเถรานุเถระกระทำสังฆกรรมและอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายจะสมาชานศีลก็ต้องว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส” ถึงสามหน จะว่าแต่เพียงหนหนึ่งหรือสองไม่ได้ หรือได้เหมือนกันแต่ว่าไม่เต็มรัตนตรัยทั้งสามกาล จะให้เต็มหรือถูกรัตนตรัยทั้งสามกาลแล้ว ต้องว่าให้เต็มสามหน หนที่หนึ่งนอบน้อมพระรัตนตรัยในอดีต หนที่สองนอบน้อมพระรัตนตรัยในปัจจุบัน หนที่สามนอบน้อมพระรัตนตรัยในอนาคต ทั้งหมดต้องว่าสามหน จึงครบถ้วนถูกพระรัตนตรัยทั้งสามกาล
รัตนตรัยแบ่งออกเป็น ๒ คือ รัตนหนึ่ง ตรัยหนึ่ง รัตนแปลว่าแก้ว ตรัยแปลว่าสาม รัตนตรัยรวมกันเข้าแปลว่าแก้วสาม พุทธรัตนะ แก้วคือพระพุทธ ธรรมรัตนะ แก้วคือพระธรรม สังฆรัตนะ แก้วคือพระสงฆ์ ทำไมจึงต้องเอา พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์มาเปรียบด้วยแก้ว ที่ต้องเปรียบด้วยแก้วนั้น เพราะแก้วเป็นวัตถุทำความยินดีให้บังเกิดแก่เจ้าของผู้ปกครองรักษา ถ้าผู้ใดมีแก้วมีเพชรไว้ในบ้านในเรืองมากผู้นั้นก็อิ่มใจดีใจด้วยคิดว่าเราไม่ใช่คนจน ปลื้มใจของตนด้วยความมั่งมี แม้คนอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของเล่าเห็นแก้วเห็นเพชรเข้าแล้ว ที่จะไม่ยินดีไม่ชอบนั้นเป็นอันไม่มี ต้องยินดีต้องชอบด้วยกันทั้งนั้น ฉันใด รัตนตรัยแก้วสามดวง คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะทั้งสามนี้ ก็เป็นที่ยินดีปลื้มใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายฉันนั้น
พระรัตนตรัยเป็นแก้วจริงๆ หรือเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปริยัติเข้าใจตามอักขระแล้วเป็นอันเปรียบด้วยแก้ว ถ้าเป็นทางปฏิบัติเข้าใจตามปฏิบัติแล้วเป็นแก้วจริงๆ ซึ่งนับว่าประเสริฐเลิศกว่าวิญญาณกรัตนะและอวิญญาณกรัตนะซึ่งมีในไตรภพ ลบรัตนะในไตรภพทั้งหมดสิ้น
จะกล่าวถึงรัตนะในทางปฏิบัติ “ปฏิปตฺติ” แปลว่า ถึงเฉพาะผู้ปฏิบัติ ถึงเฉพาะซึ่งพระรัตนตรัย การถึงรัตนตรัยของผู้ปฏิบัติในยุคนี้ต่างๆ กัน ผู้ไม่ได้เล่าเรียนศึกษาก็ถึงรูปพระปฏิมากรในโบสถิ์วิหารการเปรียบถึงพระธรรมในตู้ในใบลาน ถึงพระสงฆ์สมมุติทุกวันนี้ ผู้ได้เล่าเรียนศึกษารู้พุทธประวัติก็ถึงพระสีธาตุราชกุมารที่ได้ตรัสรู้ใต้ควงไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ได้มาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ถึงพระธรรมก็คือปฐมเทศนาธรรมจักกัปปวัตตนสูตร กับธรรมที่พระองค์ทรงสั่งสอนปัญจวัคคีย์ทั้งห้า ให้ได้บรรลุมรรคผลทั้งสิ้น ถึงพระสงค์ก็คือพระปัญจวีสติทั้งห้าจนถึงสุภัทภิกษะ ซึ่งเป็นปัจฉิมสาวกเวไนย ผู้มีสติปัญญาเป็นผู้เล่าเหล่าเมธาเล่าเรียนศึกษามาก การถึงรัตนตรัยของท่านลึกล้ำ ท่านคิดว่า “พุทธ” ก็แปลกันว่าตรัสรู้ ตรัสรู้เป็นภาษาเจ้าเพราะพุทธเจ้าท่านเป็นเจ้าจึงแปลว่าตรัสรู้ ภาษาสามัญก็แปลงว่ารู้เท่านั้น ท่านก็ทำขึ้นในใจของท่านว่ารู้นั่นเองเป็นพระพุทธเจ้า ท่านก็ถึงความรู้ของท่านที่ถูกดี ถึงธรรมของท่านความดีไม่มีผิด ถึงสงฆ์ของท่าน “สงฺเฆน ธาริโต” พระสงฆ์ทรงไว้ ตัวของเรานี้เองที่รักษาความรู้ถูกรู้ดีไม่ให้หายไป เป็นสงฆ์
การถึงพระรัตนตรัยดังแสดงมาแล้วนี้ก็ถูก เหมือนต้นไม้เอานิ้วไปจนเข้าที่กะเทาะก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจดเข้าที่เปลือกก็ถูกต้นไม้ เอานิ้วไปจดเข้าที่กระพี้ก็ถูกต้นไม้ ถูกแต่กะเทาะ เปลือก กระพี้เท่านั้น หาถูกแก่นของต้นไม้ไม่ การถึงพระรัตนตรัยต้องเอากายวาจาใจของเราที่ละเอียด จดเข้าไปให้ถึงแก่พระรัตนตรัยจริงๆ รัตนตรัยซึ่งแปรว่าแก้วสาม แก้วคือพระพุทธหนึ่ง แก้วคือพระธรรมหนึ่ง แก้วคือพระสงฆ์หนึ่งได้ในบทว่า สกฺกตฺว พุทฺธ รตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือพุทธ สกฺกตฺวา ธมฺมรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือธรรม สกฺกตฺวา สงฺฆรตนํ กระทำตนให้เป็นแก้วคือสงฆ์
การเข้าถึงพระรัตนตรัยต้องใช้กายวาจาใจที่ละเอียด ที่หยาบเข้าไม่ถึง กายที่ละเอียดซึ่งได้กับการสังขาร วาจาที่ละเอียดซึ่งได้กับวจีสังขาร ใจที่ละเอียดซึ่งได้กับจิตสังขาร กายสังขารคือลมหายใจเข้าออกซึ่งปรนเปรอกายให้เป็นอยู่ วจีสังขารคือความตรึกตรองที่จะพูด จิตสังขารคือความปรุงของจิตสำหรับใช้ทางใจ กายสังขารหยุด วจีสังขารก็หยุด จิตสังขารก็หยุด เป็นจุดเดียวกันอยู่ที่ตรงศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์เป็นดวงใสเท่าฟองไข่แดงของไก่ใสดังกระจกส่องเงาหน้า กายวาจาใจที่ละเอียดจดลงที่ศูนย์กลางของธรรมนั้น ก็หยุดพร้อมทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร นับว่าหยุดเป็นจุดเดียวกันได้ชื่อว่าสังขารสงบ การสงบสังขารชนิดนี้ เด็กในท้องมารดาก็สงบจึงอยู่ในที่แคบเป็นอยู่ได้ เทวดีในทุกชั้นทำได้ รูปพรหมและอรูปพรหมก็นับว่าสังขารสงบได้ การสงบสังขารเสียเป็นสุข สมด้วยคาถาสี่บาท ในบาทเบื้องหลายว่า “เตสํ วูปสโมสุโข” สงบสังขารทั้งหลายเสียได้ นำมาซึ่งความสุข นี้สงบสังขารได้ตามสมควร เป็นทางทำตนให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้นหนึ่ง
กายสังขารสงบคือลมหายใจหยุด วจีสังขารสงบคือความตรึกตรองหยุด จิตสังขารสงบคือใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ ชื่อว่าสันติ ลมหยุดลงไปในที่เดียวกันชื่อว่า อานาปานซึ่งแปลว่าลมหยุดนิ่งหรือไม่มี เมื่อสังขารทั้งสามหยุดถูกส่วนเข้าแล้วเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐานด้วยส่วนหนึ่ง เมื่อสังขารสงบมีความสุขเกิดขึ้นเรียกว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตคิดว่าเป็นสุขเรียกว่าจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
ในเมื่อสติปัฏฐานทั้งสามถูกส่วนพร้อมกันเข้า เกิดเป็นดวงใสขึ้นเท่าฟองไข่แดง หรือเท่าดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ใสบริสุทธิ์สนิทเหมือนกระจกส่องเงาหน้านั่นแหละ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ดวงนี้บางท่านเรียกว่า พระธรรมดวงแก้ว โบราณท่านใช้แปลในมูลกัจจายว่า “ปฐมมรรค” ในกลางธรรมดวงนี้แหละคือดวงศีล เพราะอยู่ในเหตุว่าของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ใสบริสุทธิ์ไม่มีราคี ตาของกายทิพย์เห็น ต้องเอาใจของตนจดลงที่ตรงกลางดวงศีลนั้น ทำใจให้หยุดนิ่งแต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไปเห็นดวงสมาธิ เอาใจหยุดนิ่งลงไปที่กลางดวงสมาธิแต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไปตาของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมิตติที่อยู่ในกลางดวงปัญญานั้น แล้วเอาใจของตนจดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมิตติทำให้ใจหยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไปตามของกายทิพย์ก็เห็นดวงวิมุตติญารณทัสสนะที่อยู่ในกลางดวงวิมุตตินั้น แล้วเอาใจของตนจรดเข้าที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะทำใจให้หยุดนิ่ง แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของกายทิพย์ก็เห็นตนของตนเอง อยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายมนุษย์เห็นตัวของกายมนุษย์ฉะนั้น ที่ได้แสดงมาแล้วนี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้นหนึ่ง
ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายทิพย์ แต่พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีลให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีลถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล
ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไป เห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ
ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา
ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไปเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ
ให้ใจหยุดที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสะก็ว่างออกไป ตของกายรูปะรรมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางของดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายทิพย์เห็นตนของกายทิพย์เองฉะนั้น ที่ได้แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้นหนึ่ง
ทำต่อไป ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศุนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลางดวงศีล ถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้าใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกไปเห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกสวนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลางดวงปัญญา ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไปเห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะอยู่ในกลางดวงวิมุตติ ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พออรูปพรหมก็เห็นตนของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเอง ฉะนั้น ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัวให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะชั้นหนึ่ง ทำต่อไป
ทำใจให้หยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายอรูปพรหม แต่พอถูกส่วนเข้าก็เห็นดวงศีล
ให้ใจหยุดนิ่งอยู่กลวงดวงศีล ถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกวาดวงศีล ดวงศีลก็ว่างออกไป เห็นดวงสมาธิอยู่ในกลางดวงศีล
ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางของดวงสมาธิ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงสมาธิ ดวงสมาธิก็ว่างออกกไปเห็นดวงปัญญาอยู่ในกลางดวงสมาธิ
ให้ใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางดวงปัญญา แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงปัญญา ดวงปัญญาก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติอยู่ในกลวงดวงปัญญา
ให้ใจหยุดอยู่ที่ศูนย์กลางดวงวิมุตติ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติ ดวงวิมุตติก็ว่างออกไป เห็นดวงวิมุตติญาณทัสสนะ อยู่ในกลางดวงวิมุตติ
ให้ใจหยุดอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะ แต่พอถูกส่วนเข้า ใจก็ละเอียดยิ่งกว่าดวงวิมุตติญาณทัสสนะ ดวงวิมุตติญาณทัสสนะก็ว่างออกไป ตาของธรรมกายก็เป็นของตนเองอยู่ในศูนย์กลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะนั้น เหมือนตาของกายอรูปพรหมเห็นตนของกายรูปพรหมเองฉะนั้น ที่แสดงมานี้ก็เป็นวิธีทำตัว ให้เป็นพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ชั้นหนึ่ง
เมื่อทำมาถึงกายธรรมหรือธรรมกายดังนี้แล้ว ก็รู้จักตัวตนชัดเจนโดยไม่ต้องสงสัยเพราะกายทั้งห้าบอกตัวของตัวเอง กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้งสี่กายนี้บอกตัวเองอยู่ว่าไม่เที่ยง ไม่ตัว เป็นแต่สมมุติเท่านั้น รู้ได้เองว่ากายมนุษย์มาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ชั่วคราวตามอายุขัยและวัย สิ้นปัจจัยคือบุญและบาปแล้ว ก็แตกสลายไป รู้ได้จริงๆ อย่างนี้ ไม่ใช่แต่รู้ เห็นด้วยตาของตนทุกๆ คน ด้วยกันทั้งนั้น
ส่วนกายทิพย์หรือรูปพรหม อรูปพรหมสิ้นอำนาจของบุญกรรม และรูปฌานอรูปฌานแล้ว ก็แปรไปเหมือนกายมนุษย์ ต่างกันแต่ช้าและเร็วเท่านั้น
ส่วนกายธรรมหรือธรรมกายเป็นตัวยืนบอกความจริงว่าเที่ยง เป็นสุข เป็นตัว ส่วนกายทั้งสี่เป็นตัวยืนบอกเท็จว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัว เท็จต่อความจริงอย่างนี้ เมื่อไม่รู้เห็นจริง จะรู้เห็นเท็จได้อย่างไรต้องรู้จริงเห็นจริงเสียก่อนจึงย้อนมารู้จักเท็จได้ดังนี้
ธรรมกายนี้เองเป็นพุทธรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือพุทธะ เมื่อรู้จักพุทธรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักธรรมรัตนะเสียทีเดียว ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม อรูปพรหม เป็นธรรมรัตนะแต่เป็นส่วนโลกีย์ ส่วนธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายนั้นเป็นโคตรภู ต่อเมื่อใด ธรรมกายเลื่อนขึ้นไปเป็นพระโสดาแล้ว ธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายพระโสดานั้นเองเป็นโลกุตตระ
ส่วน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม และกายอรูปพรหม เป็นโลกียมรรค เพราะกายทั้งสี่นั้นเป็นโลกีย์ธรรมจึงเป็นโลกีย์ไปตามกาย
ส่วน ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ที่อยู่ในศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นธรรมกายเป็นโลกุตตร เพราะธรรมกายของพระโสดาเป็นโลกกุตตร ธรรมจึงเป็นโลกกุตตรไปตามกาย ธรรมที่ทำให้เป็นกายต่างๆ นี้เองเป็นธรรมรัตนะ ซึ่งแปลว่าแก้วคือธรรม เมื่อรู้จักรธรรมรัตนะแล้ว ก็ควรรู้จักสังฆรัตนะเสียทีเดียว ธรรมกายหรือกายธรรมหมดทั้งสิ้น ยกธรรมกายของพระสัพพัญญู และธรรมกายของพระปัจเจกพุทธเจ้าออกเสีย นอกจากนั้นเป็นธรรมกายของสาวกพุทธทั้งสิ้นมีมากน้อยเท่าใดเป็นสังฆรัตนะแก้วคือสงฆ์
การที่จะเข้ถึงพระรัตนตรัยที่ถูกแท้นั้น ต้องเอใจของตนจดลงที่ศูนย์กลางของธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ เป็นดวงใสบริสุทธิ์เท่าๆ ฟองไข่แดงของไก่ ตั้งอยู่ศูนย์กลางของกายมนุษย์ มีเหมือนกันหมดทุกคน จำเดิมแต่อยู่ในท้องมารดา ใจของกุมารกุมารีจดจี้หยุดนิ่งอยู่ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมนั้นทุกคน ตรงศูนย์กลางของดวงธรรมมีว่างอยู่ประมาณเท่าเมล็ดโพธิ์ หรือเมล็ดไทร ใจของกุมารหรือกุมารีก็จดอยู่ศูนย์กลางนั้น
ผู้ที่จะเข้าถึงพระรัตนตรัย ต้องเอาใจของตนไปจดอยู่ที่ศูนย์กลางกายของตนนั้น แล้วทำใจให้หยุด หยุดในหยุด หนักเข้าไปทุกทีไม่ให้คลายออก ทำไปจนใจไม่คลายออก ใจนั้นหยุดในหยุดหนักเข้าไปทุกที นี้เป็นทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ ไม่ใช่ทางไปของปุถุชน ทางไปของปุถุชนไม่หยุด ออกจากจากหยุด นอกจากทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์หยุดเสมอ จึงได้เจอะเจอพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ยากนัก ขอผู้จงรักภักดีต่อตนของตนที่แท้แล้ว จงตั้งใจแน่แน่ว ให้ถูกทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เถิดประเสริฐนัก พระพุทธเจ้าพระอรหันต์ในอดีตอนาคตปัจจุบัน ไปทางเดียวเหมือนกันทั้งหมด
เพราะฉะนั้นพวกเราที่จะเข้ถึงพระรัตนตรัย จึงต้องทำใจให้หยุดให้นิ่ง ให้ตรงต่อทางไปของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์ จึงจะถูกหลักฐานในพุทธศาสนา ทั้งถูกตำราของสัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดด้วย สัตว์ผู้ไปเกิดมาเกิดเข้สิบไม่ถูก ก็ไม่ตกศูนย์ เมื่อไม่ตกศูนย์ก็ไปเกิดมาเกิดไม่ได้ ธรรมดาของเกิดแลตายต้องมีสิบศูนย์เป็นเครื่องหมายเหมือนกันทั้งหมด ทั้งในภพและนอกภพ การที่จะเข้าถึงพระรัตนตรรัยก็เหมือนกัน ต้องเข้าสิบศูนย์เป็นชั้นๆ ไปจึงจะเข้าถึงพระรัตนตรัยได้ ดังแสดงมาตั้งแต่ต้นเป็นชั้นๆ มาแล้วทุกประการ
รัตนะทั้งสามนี้เป็นแก้วจริงๆ จังๆ แก้วที่มีในไตรภพนี้มีคุณภาพไม่เทียมทัน ส่วนแก้วในไตรภพที่มนุษย์ใช้อยู่บัดนี้ เพชรเป็นสูงกว่า หรือแก้วที่มีรัศมีเป็นของหายากไม่มีใครจะใช้กันนัก แก้วชนิดอย่างนั้น มีสีต่างๆ ถ้าสีนั้นเขียวใส่ลงไปในน้ำๆ ก็เขียวไปตามสีแก้วนั้น ถ้าสีเหลืองน้ำก็เหลืองไปตามถ้าแดงน้ำก็แดงไปตามสีแก้ว ตกว่าแก้วสีอะไรน้ำก็เป็นไปตามสีแก้วนั้นๆ นี้เป็นรัตนะที่สูงในโลก สูงยิ่งกว่านี้ขึ้นไปก็ต้องเป็นแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์
พระเจ้าจักรพรรดิมีแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คหบดีแก้ว ปรินายกแล้ว แก้ว ๗ ประการนี้เกิดขึ้นในโลกกาลใด มนุษย์ในโลกได้รับความสุขปราศจากการไถและหว่าน สำเร็จความเป็นผู้อยู่อาศัยแก้ว ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิให้เป็นอยู่ได้โดยตลอดชีวิต ไม่ต้องทำกิจการใดๆ ทั้งสิ้น พระเจ้าจักรพรรดิสอนให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ กรรมบถ ๑๐ ครั้งสิ้นชีพแล้วไปบังเกิดในสุคติโดยส่วนเดียว ไม่มีตกไปอยู่ในทุคติเลย
แก้วทั้งหลายในโลก พิเศษถึงเพียงนี้แล้วยังไม่พิเศษเท่า แก้วคือพุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะแก้ว คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะนั้น ถ้าผู้ใดเข้าไปได้เข้าไปถึงแล้ว ลืมแก้วลืมสวรรค์ลิบๆ ในโลกหมดทั้งสิ้น ผู้ที่จะเข้าไปได้ถึงแก้วทั้งสามนี้ ต้องดำเนินไปตามต้น กาย วาจา ใจ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตสังขาร ดังแสดงมาแล้วในเบื้องต้น จนถึงธรรมกายคือให้ดำเนินตามโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ตั้งต้นแต่ กายเทวนา จิต ธรรม ไป แต่พอถึงธัมมานุปัสสนาก็เห็นเป็นดวงใสที่เรียกว่า ดวงศีล ต่อแต่นั้นก็ถึง สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ซึ่งนับว่าเป็นที่รวมพระไตรปิฏก รมอยู่ในศูน์กลางของดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นี้ทั้งสิ้น เมื่อจับที่รวมของกายมนุษย์ได้แล้ว กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม กายธรรมก็เหมือนดังแสดงมาแล้ว
ที่แสดงมาแล้วนี้ เป็นวิธีให้เข้าถึงรัตนะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ มีอาการต่างๆ กัน ในเมื่อจับหลักยังไม่ได้ ต่อเมื่อจับหลักคือธรรมกายเสียได้แล้วจะเห็นว่าไม่ต่างกัน เนื่องเป็นอันเดียวกัน เนื่องเป็นอันเดียวกันแท้ๆ สมด้วยกระแสบาลีในเบื้องต้นว่า หมวดสามของรัตนะนี้ คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ หรือพุทธรัตนะธรรมรัตนะ สังฆรัตนะแม้ต่างกันโดยวัสดุ แต่เนื้อความเป็นอันเดียวกัน เป็นของเนื่องกันและกัน พระพุทธเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า เนื่องเป็นอันเดียวกันเป็นบรรทัดฐาน ดังแสดงมาทุกประการพอสมควรแก่เวลาด้วยประการฉะนั้น