กัณฑ์ที่ ๓๘ โพชฌงคปริตร

วันที่ 19 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่  ๓๘
โพชฌงคปริตร

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา ,  โพชฌงคปริตร , กัณฑ์ที่ ๓๘ โพชฌงคปริตร

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส  ฯ  (๓ ครั้ง)

ยโตหํ  ภคินิ  อริยาย  ชาติยา  ชาโต  มาภิชานามิ

สญฺจิจฺจ  ปาณํ  ชีวีตา  โวโรเปตา ฯ

เตน  สจฺเจน  โสตฺถิ  เต  โหตุ  โสตฺถิ  คพฺพสฺส ฯ

 

โพชฺฌงฺโค  สติสงฺขาโต

ธมฺมานํ  วิจโย  ตถา

วิริยมฺปีติปสฺสทฺธิ

โพชฺฌงฺคา  จ  ตถาปเร

สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา

สตฺเต  เต  สพฺพทสฺสินา

มุนินา  ธมฺมทกฺขาตา

ภาวิตา  พหุลีกตา

สํวตฺตนฺติ  อภิญฺญาย

นิพฺพานาย  จ  โพธิยา

เอเตน  สจฺจวชฺเชน

โสตฺฉิ  เต  โหตุ  สพฺพทา ฯ

เอกสฺมิ   สมเย นาโถ

โมคฺคลฺลานญฺจ  กสฺสปํ

คิลาเน  ทุกฺขิเต  ทิสฺวา

โพชฺฌงฺเค  สตฺต  เทสยิ

เต  จ  ตํ  อรินนฺทิตฺวา

โรคา  มุจฺจิ สุ  คงฺขเณ

เอเตน  สจฺจวชฺเชน

โสตฺลิ  เต  โหตุ  สพฺพทา ฯ

เอกทา  ธมฺมราชาปิ

เคลญฺเญนาภิปีฬิโต

จุนฺทตฺเถเรน  คญฺเณว

ภณาเปตูวาน  สาทรํ

สมฺโมทิตฺวา  จ  อาพาธา

ตมฺหา  วุฌฐาสิ  ฐานโส

เอเตน  สจฺจวชฺเชน

โสตฺถิ  เต  โหตุ  สพฺพทา ฯ

ปหินา  เต  จ  อาพาธา

ติญฺณนฺนมฺปิ  มเหสินํ

มคฺคาคตกิเลสาว

ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ

เอเตน  สจฺจวชฺเชน

โสตฺถิ  เต  โหตุ  สพฺพทาติ ฯ

                ณ บัดนี้อาตมภาพจักได้แสดงความจริงความสัตย์ ซึ่งปรากฏชัดตามตำรับตำราอันมีมาในโพชฌงคปริตร  จะแสดงตามวาระพระบาลี  คลี่ความเป็นสยามภาษา  ตามมตยาธิบาย  พอเป็นเครื่องปกิการสนองประคองศรัทธา  ประดับสติปัญญาคุณสมบัติของท่านผู้พุทธบริษัท  ทั้งคฤหัสถ์บรรพชิตบรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  เริ่มต้นธรรมเทศนาว่า

                ยโตหํ  ภคินิ  อริยาย  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สญฺจิจฺจ  ปาณํ   เป็นอาทิ  นี้เป็นคำขอ พระอังคุลินมาลเถรท่านแสดงไว้  ท่านเชิดความจริงความสัตย์ขอท่าน  ให้พุทธบริษัทจำไว้เป็นเนติแบบแผ่น  เมื่อครั้งหนึ่งพระอังคุลิมาลเถร  ไปพบหญิงปวดครรภ์เต็มที่จะคลอดบุตร  แต่มันคลอดไม่ออกมันจะถึงตายร้องให้พระอังคุลิมาลเถรช่วย  พระอังคุลิมาลเถรจึงได้แปล่งวาจาช่วยหญิงคลอดบุตรนั้นว่า

                ยโตหํ  ภคินิ  อริยาย  ชาติยา  ชาโต  นาภิชานามิ  สญฺจิจฺจ  ปาณํ  ชีวีตา  โวโรเปตา  เต  สจฺเจน  โสตฺถิ  เต  โหตุ  โสตุถิ  คพฺพสฺส ฯ  แปลเป็นสยามภาษาว่า  ดูกรน้องหญิง  ตั้งแต่เราเกิดมาแล้วโดยชาติเป็นอริยะ  นาภิชานามิ  ไม่มีใจแกล้งเลยที่จะปลงสัตว์ที่มีชีพและชีวิต  ด้วยความสัตย์อันนี้  ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน  ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่าน  พอขาดคำเท่านี้  หญิงนั้นคลอดบุตรผลุดทีเดียว  หายจากทุกข์ภัยกัน  การคลอดบุตร  เมื่อคลอดเสียแล้วมันก็หายทุกข์หายภัย  หายลำบากแก่มารดา  ผู้คลอด เหมือนท้องผูกถ่ายอุจจาระไม่ออก  มันก็เดือดร้อนแก่เจ้าของ  แต่พอออกมาเสียแล้วก็หมดทุกข์ภัยนี้ด้วยความสัตย์อันนี้แหละคลอดบุตรก็ง่ายเต็มที่  นี่บทต้น

                  บทที่สองรองลงไป  นี่พระองค์ทรงรับสั่งเองว่า
                  โพชฺฌงฺโต  สติสงฺขาโต    ธมฺมานํ  วิจโย  ตถา
                  วิริยมฺปีติปสฺสทฺธิ    โพชฺฌงฺคา  จ  ตถาปเร
                  สมาธุเปกฺขโพชฺฌงฺคา    สตฺเต  เต  สพฺพทสฺสินา
                  มุนินา  สมฺมทกฺขาตา    ภาวิตา  พหุลึกตา
                  สํวตฺตนฺติ  อภิญฺญาย    นิพฺพานาย  จ  โพธิยา
                  เอเตน  สจฺจวชฺเชน    โสตฺถิ  เต  โหตุ  สพฺพทา

               เอกสุมิ   สมเย   ในสมัยอันหนึ่ง  นาโถ  พระโลกนาถเจ้าทรงทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะและ  พระกัสสปะอาพาธถึงซึ่งความเวทนาแล้ว ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง  ๗  ประการ  ท่านทั้ง  ๒  คือ  พระโมคคัลลานะกับพระกัสสปะยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า  โรคก็หายไปในขณะนั้น  ด้วยอำนาจความกล่าวสัตย์อันนี่ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านในกาลทุกเมื่อบทที่สาม  ต่อไป

                  เอกทา  ธมฺมราชาปิ    เคลญฺเญนาภิปีฬิโต
                  จุนฺทตฺเถเรน  ตญฺเญว    ภณาเปตฺวาน  สาทรํ
                  สมฺโมทิตฺวา  จ  อาพาธา    ตมฺหา  วุฎฺฐาสิ  ฐานโส
                  เอเตน  สจฺจวชฺเชน    โสตฺถิ  เต  โหตุ  สพฺพทา ฯ

                เอกทา  ครั้งหนึ่ง  ธมฺมราชาปิ    แม้พระธรรมราชาคือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของธรรม  เคลญฺเญนาภิปิฬิ  ผู้อันอาพาธเบียดเบียนแล้ว  จุนฺทตฺเถเรน  ตญฺเญว  ภณาเปตฺวาน  ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถรแสดงซึ่งโพชฌงค์นั้นแหละพระองค์ทรงสดับโพชฌงค์เช่นนั้นแล้วร่าเริงบันเทิงพระทัย  อาพาธก็หายไปโดยฐานะอันนั้น เอเตน  สจฺจวชฺเชน  ด้วยอำนาจความสัตย์อันนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ

                  ปหินา  เต  จ  อาพาธา    ติณฺณนฺนมฺปิ  มเหสินํ
                  มคฺคาหตกิเลสาว    ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ
                  เอเตน  สจฺจวชฺเชน    โสตฺถิ  เต  โหตุ  สพฺพทาติ ฯ

               ปหินา  เต  จ  อาพาธา  อาพาธทั้งหลายเหล่านั้น  ติณฺณนฺนมฺปิ  มเหสินํ  มคฺคาหตกิเลสาว  ปตฺตา  อันท่านผู้แสวงหาซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่ทั้ง  ๓  ท่าน  ถึงซึ่งความดับหายไป  ดุจกิเลสอันมรรคบำบัดแล้ว  หรืออันมรรคกำจัดแล้ว  ด้วยอำนาจสัจวาจานี้  ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านจงทุกเมื่อ

                ในบทต้นว่าพระอังคุลิมาลเถรเจ้า  ท่านเป็นผู้กระทำบาปหยาบช้ามากนัก  ก่อนบวชในพระธรรมวินัยของพระศาสดาฆ่ามนุษย์เสีย  ๙๙๙  ชั้นต้นก็ทำดีมา  ได้เล่าเรียนศึกษาวิชาจวนจะสำเร็จแล้ว  ถูกอาจารย์ลงโทษจะทำลายชีวิตเสีย  เกิดต้องทำกรรมหยาบช้าลามก  เศร้างโศกเสียใจเหมือนกัน  ฆ่ามนุษย์เกือบพ้นเก้าร้อยเก้าสิบเก้าคน  พระทศพลเสด็จไปทรมาน  อังคุลินมาลโจรนั้นละพยศร้าย  กลับกลายบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์  ตัดกิเลสเป็นสมุจเฉทปหาน  ชาวบ้านชาวช่องกลัวกันนัก  ขึ้นชื่อว่าอังคุลิมาลโจรละก็  ซ่อนตัวซ่อนเนื้อทีเดียว  กลัวจะทำลายชีวิตเสีย  กลัวนักกลัวหนา  กลัวยิ่งกว่าเสือยิ่งกว่าแรดไปอีก  เพราะเหตุว่าอังคุลิมาลโจรผู้นี้เป็นคนร้ายสำคัญ  ถ้าว่าจะฆ่าใครแล้วไม่กลัวใครทั้งนั้น  ฆ่าแล้วตัดเอาองคุลีไปร้อย  จะไปเรียนวิชาเป็นเจ้าโลก  เมื่อจำนนฤทธิ์พระบรมศาสดาเข้ายอมบวชในพระธรรมวินัยของพระศาสดาแล้ว  บวชแล้วไปบิณฑบาต  หญิงท้องแก่ท้องอ่อนไม่เข้าใจ  พอได้ยินข่าวว่าพระองคุลิมาลมาละก็ซ่อนเนื้อซ่อนตัว  วิ่งซุกวิ่งซ่อนกัน  ได้ข่าวว่าหญิงท้องแก่ลอดช่องรั้วลูกทะลักออกมาทีเดียว  ด้วยกลัวพระองคุลินมาล  คราวนี้ท่านไปในที่สมควร  หญิงที่กำลังจะคลอดบุตรอยู่นั่นหนีไม่พ้น  ไปไม่ได้ก็ร้องให้องคุลิมาลช่วย  พระองคุลิมาลเป็นพระอรหันต์แล้ว  สงสารหญิงที่กำลังคลอดบุตรนั้น  ก็กล่าวคำสัตย์คำจริงขึ้นว่า  ยโตหํ  ภคินิ  ว่า  ดูกรน้องหญิง  กาลใดเมื่อได้เกิดแล้วโดยชาติเป็นอริยะ  ไม่มีความแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตเลย  ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่าน  ขอความสวัสดีจงมีแก่ครรภ์ของท่าน  ขาดคำเท่านี้หญิงนั้นคลอดบุตรผลุดทีเดียว  นี่ยกข้อไหน?  ให้จำไว้เป็นตำรับตำรา  เป็นภิกษุก็ดี  เป็นอุบาสกอุบาสิกาก็ดี  ในพระธรรมวินัยของพระศษสดา  ในศาสนาของพระพุทธเจ้า  นี้เป็นคำของพระอรหันต์  พระองคุลิมาลท่านเป็นพระอรหันต์เสียแล้ว  ท่านจะกล่าวถ้อยคำว่าตั้งแต่ท่านเกิดมาไม่ได้ฆ่าสัตว์เลยน่ะ  ไม่ได้มีใจแกล้งฆ่าสัตว์เลยน่ะ  ท่านกล่าวไม่ได้  ท่านเป็นคนร้ายมา  พึ่งกลับมาเป็นคนดีเมื่อได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วเมื่อเกิดเป็นพระอรหันต์แล้ว  ท่านจึงได้ชี้ชัดว่า  จำเดิมแต่เราเกิดแล้วโดยชาติเป็นอริยะ  ไม่มีความแกล้งปลงสัตว์จากชีวิตเลย  นี่ความจริงของท่าน  ท่านยกเอาความจริงอันนี้แหละขึ้นเชิด  ที่ท่านเป็นผู้ประเสริฐเป็นอริยบุคคลในธรรมวินัยของพระศาสดา  ขอความจริงอันนี้แหละจงบันดาลเถิด  ท่านขอความจริงอันนี้อธิษฐานด้วยความจริงอันนี้  พอขาดคำของท่านเท่านั้น ลูกคลอดทันที  นี่ความสัตย์ยกความจริงขึ้นพูด

              ไม่ใช่แต่พระองคุลิมาลเท่านั้นที่ยกความจริงขึ้นพูด  หญิงแพศยาทำฤทธิ์ทำเดชได้ยกความจริงขึ้นพูดเหมือนกัน  หญิงแพศยาคนหนึ่ง  พระเจ้าแผ่นดินยกพยุหเสนาไปพักอยู่ที่แม่น้ำใหญ่  ว่ายข้ามก็จะไม่พ้น  น้ำไหลเชี่ยวเนฟอง  ไหลปราดทีเดียว  เมื่อเขาตั้งพลับพลาให้พักอยู่ที่คันแม่น้ำใหญ่เช่นนั้น  ท่านทรงดำริว่า  แม่น้ำใหญ่ไหลเชี่ยวขนาดนี้จะมีใครผู้ใดผู้หนึ่งอาจสามารถจะทำให้น้ำไหลกลับได้บ้าง  ทรงดำริดังนี้  รับสั่งแก่มหาดเล็กเด็กชาของพระองค์  มหาดเล็กเด็กชาของพระองค์ก็ไปเที่ยวป่าวร้องหาว่าผู้ใดใครผู้หนึ่งอาจสามารถทำให้น้ำในแม่น้ำนี้ไหลกลับขึ้นได้บ้าง  หญิงแพศยาคนหนึ่งรับทีเดียว  ว่าฉันเองจะทำให้น้ำไหลกลับได้  เพราะนางเป็นแพศยาก็จริงมั่นใสจว่า  ชายคนใดไม่ว่าชั้นสูง  ชั้นกลาง  ชั้นต่ำ  ให้เงินเพียงค่าบาทหนึ่งปกิบัติเพียงเท่านี้  หเงินค่าสองบาทปฏิบัติเพียงเท่านี้  สามบาทปกิบัติเพียงเท่านี้  พอแก่ค่าของเงินเท่านั้น  เหมือนกันไม่ได้ขาดตกบกพร่อง  ไม่ว่าชั้นสูง  ชั้นกลาง  ชั้นต่ำ  ไม่เลือที่รักมักที่ชัง  ทำไปตามหน้าที่ของตัว  ความสัตย์มีอย่างนี้  นางเมื่อราชบุรุษพาไปเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน  พระเจ้าแผ่นดินทรงรับสั่งว่า  เจ้าหรืออาจจะทำให้น้ำไหลกลับได้  พะย่ะค่ะหม่อมฉันอาจสามารถจะทำให้น้ำไหลกลับได้  เจ้าจะต้องการอะไร  ธูปเทียนดอกไม้จะหาให้  ถ้าเจ้าท่ำน้ำให้ไหลกลับได้ตามคำกล่าวของเจ้าแล้ว  เราจะรางวัลให้นักมือทีเดียว  ถ้าว่าเจ้าทำน้ำไหลกลับไม่ได้เจ้าจะมีโทษหนักทีเดียว  นางจุดธูปเทียนตั้งสัตยาธิษฐานหันหน้าไปทางด้านแม่น้ำ  ยกเอาความสัตย์นั่นเองอิษฐานว่า  เดชะบุญญาภินิหารความสัคตย์ความจริงของหม่อมฉัน ได้สั่งสมอบรมมาตั้งแต่เป็นหญิงแพศยา  ได้ปกิบัติชายผู้หนึ่งผู้ใดที่มาหาข้าพเจ้า  ข้าพเจ้าปกิบัติโดยค่าควรแก่บาทหนึ่ง  ควรแก่สองบาท  ควรแก่สามบาท  ตามหน้าที่ความจริงทำอยู่ดังนั้นไม่ได้เคลื่อนคลดไปแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง  ถ้าว่าความสัตย์จริงอันนี้ของหม่อมฉันจริงดังหม่อมฉันอิษฐานดังนี้แล้ว  ขออำนาจความสัตย์นี้  จงบันดาลให้น้ำไหลกลับโดยฉับพลันเถิด  พออธิษฐานขาดคำเท่านั้น  น้ำไหลกลับอู้  ไหลลงเชี่ยวเท่าใดก็ไหลขึ้นเชี่ยวเท่านั้นเหมือนกัน  พอกันทีเดียว  พระเจ้าแผ่นดินเห็นอัศจรรย์เช่นนั้น  ก็ให้เครื่องรางวัลแก่หญิงแพศยานั่นอย่างพอใจ  ให้เป็นนายหญิงแพศยาต่อไป  แล้วก็ให้บ้านส่วยสำหรับพักพาอาศัยอยู่ไม่ขาดตกบกพร่องใด  ๆ  ละ  เป็นสุขสำราญเบิกบานใจทีเดียวหญิงแพศยาผู้นั้น

             นี่ความสัตย์โดยความชั่วยังเอามาใช้ได้  ส่วนพระองคิลิมาลเถรเจ้านี้  ท่านยกสัตย์ที่ได้บรรลุพระอรหันต์ขึ้นอธิษฐาน  หญิงคลอดบุตรไม่ออก  พอขาดคำหญิงคลอดบุตรผลุดออกไป  อัศจรรย์อย่างนี้  นี่ใช้ความสัตย์อย่างนี้  ติดขัดเข้าแล้วอย่าเที่ยวใช้เรื่องเลอะ  ๆ  เหลว  ๆ  บนผีบนเจ้า  นั่นไม่ได้ยินได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพระอรหันต์เลย  พวกนั้นไม่ได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเลย  ความเห็นจึงได้เลอะเทอะ  เหลวงไหลเช่นนั้น  ไม่ถูกหลักถูกฐานถูกทางพุทธศาสนา  ถ้าว่ารู้จักหลักทางพระพุทธศาสนาแล้ว  ต้องยกขึ้นพูดความสัตย์ความจริงนั่นเป็นข้อสำคัญ  ถ้าความบริสุทธิ์ของศีลมีอยู่ก็ต้องยกความบริสุทธิ์นั่นแหละขึ้นพูด  หรือความบริสุทธิ์ของสมาธิมีอยู่  ก็ยกความบริสุทธิ์ของสมาธิขึ้นพูดขึ้นอธิษฐาน  หรือแม้ว่าความจริงของปัญญามีอยู่ก็ยกความจริงของปัญญานั้นขึ้นอธิษฐาน  หรือความสัตย์ความจริงความดีอันใดที่ทำไว้แน่นอนในใจของตัว  ให้ยกเอาความดีอันนั้นแหละ  ขึ้นอธิษฐานตั้งอกตั้งใจ  บรรลุความติดขัดทุกสิ่งทุกประการ  ให้รู้จักหลักฐานดังนี้

              นี่ในเรื่องพระองคุลิมาลเถรเจ้าเป็นสาวกของพระบรมศาสดา  พระศาสดาทรงรับสั่งไว้ในโพชฌงค์กถา  หรือโพชฺฌงฺคปริตตํนั้น  ปรากฏว่า  โพชฌงค์ทั้ง  ๗  ประการ  ตั้งแต่สติจนกระทั่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์  ทั้ง  ๗  ประการเหล่านี้แหละ  อันพระมุนีเจ้าผู้เห็นธรรมทั้งสิ้น  ได้กล่าวไว้ชอบแล้ว  ถ้าว่าบุคคลใดเจริญขึ้นกระทำให้มากแล้ว  ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง  เพื่อนิพพาน  เพื่อความตรัสรู้  ความจริงอันนี้  ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี่แหละขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ  ข้อนี้เป็นข้อสำคัญ  สติสัมโพชฌงค์  เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้บรรลุมรรคผลสมมาดปรารถนา  ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์  วิริยสัมโพชฌงค์  ปิติสัมโพชฌงค์  ปัสลัทธิสัมโพชฌงค์  สมาธิสัมโพชฌงค์  อุเบกขาสัมโพชฌงค์

              สติสัมโพชฌงค์  เราต้องเป็นคนไม่เผลอสติเลย  เอาสตินิ่งอยู่ศูนย์กลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่น  ตั้งสติตรงนั้นทำใจให้หยุด  ไม่หยุดก็ไม่ยอม  ทำให้หยุดไม่เผลอทีเดียว  ทำจนกระทั่งใจหยุดได้  นี่เป็นตัวสติสัมโพชฌงค์แท้  ๆ  ไม่เผลอเลยทีเดียว  ที่ตั้งที่หมาย  หรือกลางดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์สะดือทะลุหลังขวาทะลุซ้าย  กลางกั๊กนั่นใจหยุดตรงนั้น  เมื่อทำใจหยุดตรงนั้น  ไม่เผลอสติทีเดียว  ระวังใจหยุดนั้นไว้  นั่งก็ระวังใจหยุด  นอนก็ระวังใจหยุด  เดินก็ระวังใจหยุด  ไม่เผลอเลย  นี่แหละตัวสติสัมโพชฌงค์แท้  ๆ  จะตรัสรู้ต่าง  ๆ  ได้เพราะมีสติสัมโพชฌงค์อยู่แล้ว

              ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์  เมื่อสติใจหยุดนิ่งอยู่ก็สอดส่องอยู่  ความดีความชั่วจะเล็ดลอดเข้ามาท่าไหนความดีจะลอดเข้ามาหรือความชั่วจะลอดเข้ามา  ความดีลอเข้ามาก็ทำใจให้หยุด  ความชั่วลอดเข้ามาก็ทำใจให้หยุด  ดี-ชั่วไม่ฟองแพวไม่เอาใจใส่  ไม่กังวล  ไม่ห่วงใย  ใจหยุดระวังไว้  ไม่ให้เผลอก็แล้วกัน  นั่นเป็นตัวสติวินัย  ที่สอดส่องอยู่นั่นเป็นธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

                วิริยสัมโพชฌงค์   เพียรรักษาใจหยุดนั้นไว้ไม่ให้หาย   ไม่ให้เคลื่อนทีเดียว  ไม่เป็นไปกับความยินดียินร้ายทีเดียว  ความยินดี-ยินร้ายเป็นอภิชฌาโทมนัส  เล็ดลอดเข้าไปก็ทำใจหยุดนั่นให้เสียพรรณไปให้เสียผิวไป  ไม่ให้หยุดเสียให้เขยื้อนไปเสีย  ให้ลอกแลกไปเสีย  มัวไป  ดี  ๆ  ชั่ว   ๆ  อยู่เสียท่าเสียทาง  เพราะฉะนั้นต้องมีความเพียรกลั่นกล้ารักษาไว้ให้หยุดท่าเดียว  นี้ได้ชื่อว่าวิริยสัมโพชฌงค์  เป็นองค์ที่  ๓

                 ปีติสัมโพชฌงค์  เมื่อใจหยุดละก็ชอบอกชอบใจ  ดีอกดีใจ  ร่าเริงบันเทิงใจ  อ้ายนั่นปีติ  ปีติที่ใจหยุดนั่น  ปีติไม่เคลื่อนจากหยุดเลย  หยุดนิ่งอยู่นั่น  นั่นปีติสัมโพชฌงค์  นี้เป็นองค์ที่  ๔

               ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์  ปัสลัทธิ  แปลว่าระงับซ้ำ  หยุดในหยุด  ๆ  ๆ  ไม่มีถอยกัน  พอหยุดก็เข้ากลางของใจที่หยุดนั่น  หยุดในหยุด  หยุดในหยุด  นั่นทีเดียว  นั่นปัสสัทธิระงับซ้ำเรื่อยลงไป  ให้แน่นหนาลงไว้ไม่คลาดเคลื่อน  ปัสลัทธิ

                  มั่นคงอยู่ที่ใจหยุดนั่นไม่ได้เป็นสองไป  เป็นหนึ่งทีเดียว  นั่นเรียกว่า  สมาธิทีเดียว  นั่นแหละ

                  พอสมาธิหนักเข้า  ๆ  นิ่งเฉยไม่มีสองต่อไป นี่เรียกว่า  อุเบกขา  เข้าถึงหนึ่งเฉยแล้ว อุเบกขาแล้ว

               นี่องค์คุณ ๗ ประการอยู่ทีเดียวนี่ อย่าให้เลอะเลือนไป  ถ้าได้ขนาดนี้  ภาวิตา  พหุลีกตา กระทำเป็นขึ้นแค่นี้  กระทำให้มากขึ้น  สํวตฺตนฺติ  ย่อมเป็นไปพร้อม  อภิญฺญาย  เพื่อรู้ยิ่ง  นิพฺพานาย  เพื่อสงบระงับ  โพธิยา  เพื่อความตรัสรู้  ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้แหละขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านในทุกกาลทุกเมื่อความจริงอันนี้ถ้ามีจริงอยู่อย่างนี้ละ  รักษาเป็นแล้ว

             รักษาโพชฌงค์เป็นแล้ว  อธิษฐานใช้ได้  ทำอะไรใช้ได้  โรคภัยใช้เจ็บแก้ได้  ไม่ต้องไปสงสัยละ  ความจริงมีแล้วโรคภัยใช้แก้ได้  แก้ได้อย่างไร?  ท่านยกตัวอย่างขึ้นไว้

                  เอกสุมิ   สมเย  นาโถ    โมคฺคลฺลานญฺจ  กสฺสบํ
                  คิลาเน  ทุกฺขิเต  ทิสฺวา    โพชฺฌงฺเค  สตฺต  เทสยิ
                  เต  จ  ตํ  อภินนฺทิตฺวา    โรคา  มุจฺจิ สุ  ตงฺขเณ

                  เอกสฺมิ  สมเย  ในสมัยหนึ่ง  นาโถ  พระโลกนาถเจ้าทรงทอดพระเนตร  ทรงดู  พระโมคคัลลานะ  และพระกัสสป  อาพาธถึงซึ่งทุกขเวทนา  อาพาธเกิดเป็นทุกขเวทนา  ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง  ๗  ดังกล่าวแล้ว  ที่แสดงแล้วนี่  ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง  ๗  ให้ทำใจหยุดลงไว้ให้นิ่งลงไว้  เมื่อพระองค์ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง  ๗  แล้ว  ท่านทั้งสอง  พระโมคคัลลานะ  กับพระกัสสปะ  มีใจร่าเริงบันเทิงในภาษิตของพระองค์นั้น  โรคหายในขณะนั้น  นี่ความสัตย์อันนี้  ความจริงอันนี้โรคหายทีเดียว  ได้ศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้  นี่ว่าอย่างพระโมคคัลลานะ  พระพุทธเจ้า  นี่ท่านผู้แสวงซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่หนา  ทั้ง  ๓  ท่านเป็นผู้สำเร็จแล้ว  ยังมีโรคเข้ามาเบียดเบียนได้  เบียดเบียนก็ใช้โพชฌงค์กำจัดเสีย  ไม่ต้องไปกินหยูกกินยาที่ไหนเลยสักอย่างหนึ่ง  โพชฌงค์เท่านั้นแหละโรคหายไปหมด  ดังวัดปากน้ำบัดนี้ก็ใช้วิชชาบำบัดโรคเช่นนี้เหมือนกัน  ใช้บำบัดโรคไม่ต้องใช้ยา  ตรงกับทางพุทธศาสนาจริง  ๆ  อย่างนี้  นี่ชั้นหนึ่ง

                 นี่พระองค์เองพระองค์ทรงเอง  คราวนี้โดนพระองค์เข้าบ้าง

               เอกทา  ธมฺมราชาปิ  เคลญฺเญนาภิปีฬิโต   ครั้งหนึ่งพระธรรมราชา   ธฺมราชาปิ   แม้พระธรรมราชาคือพระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของพระธรรมเอง  ปิ  อันนั้นไม่แม้  แปลเป็นเองเสีย  ครั้งหนึ่งพระธรรมราชาเองอันพาพาธเข้าบีบคั้นแล้ว

             เคลญฺเญนาภิปีฬิโต  จุนฺทตฺเถเรน  ตญฺเญว  ภณาเปตฺวาน  ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถร  แสดงโพชฌงค์  ๗  ประการนั้นด้วยความยินดี

              สมฺโมทิตฺวา  จ  อาพาธา ทรงบันเทิงพระทัยในโพชฌงค์ที่พระจุนทเถรทรงแสดงถวายนั้น อาพาธหายไปโดยฉับพลัน  ด้วยฐานะอันสมควร  ด้วยความสัตย์อันนี้ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อ  นี่พระองค์เองอาพาธ  พระจุนทเถรแสดงสัมโพชฌงค์ระงับ  ก็หายอีกเหมอนกัน  ในท้ายพระสูตรนี้ว่า

                ปหีนา  เต  จ  อาพาธา  อาพาธทั้งหลายเหล่านั้น
              ตมฺหาวุฎฺฐาสิ  ฐานโส  มคฺคาหตกิเลสาว  ปตฺตานุปฺปตฺติธมฺมตํ  อาพาธทั้งหลายเหล่านั้นถึงซึ่งความดับไป  ดุจกิเลสอันมรรคกำจัดไปดังนั้น ไม่เกิดขึ้นได้  นี่ด้วยความสัตย์จริงอันนี้  ด้วยความกล่าวสัตย์อันนี้  ขอความสวัสดีจงบังเกิดมีแก่ท่านทุกเมื่อ  นี่ความจริงเป็นดังนี้

               ถ้าเรารู้จักพุทธศาสนาดังนี้  เราจะต้องปฏิบัติให้ถูกหลักฐานความจริงของพระพุทธศาสนา  พระอังคุลิมาลเถรเจ้า  ท่านเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา  เป็นขีณาสพแล้ว  ท่านใช้ความสัตย์จริงของท่านขึ้นอธิษฐาน  บันดาลให้หญิงคลอดบุตรไม่ออกให้ออกได้  ตามความปรารถนา  ส่วนโพชฌงค์ทั้ง  ๗  ประการพระบรมศาสดาจารย์ทรงแสดงให้พระโมคคัลลานะ  พระกัสสปะ  กำลังอาพาธอยู่ก็หายโดยฉับพลัน  แล้วส่วนพระองค์ท่านล่ะอาพาธขึ้น  ทรงรับสั่งให้พระจุนทเถรแสดงโพชฌงค์นั้น  อาพาธของพระองค์ก็หายโดยฐานะอันสมควรทีเดียว  นี่หลักอันนี้โพชฌงค์เป็นตัวสำคัญ  ประเสริฐเลิศกว่าโอสถใด  ๆ  ในสากลโลกทั้งนั้น  เหตุนี้ท่านผู้มีปัญญาเมื่อได้สดับมาในโพชฌงค์ปริตรนี้จงมนสิการกำหนดไว้ในใจของตนทุกถ้วนหน้า

            ที่ได้ชี้แจงแสดงมาตามวาระพระบลาลี  คลี่ความเป็นสยามภาษา  ตามมตยาธิบายพอสมควรแก่เวลา  เอเตน  สจฺจวชฺเชน  ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติ  ตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ขอความสุขสวัสดีจงบังเกิดมีแด่ท่านทั้งหลาย  บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  อาตมภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแก่เวลา  สมมติว่ายุติธรรมมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้  เอวํ  ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0050581971804301 Mins