กัณฑ์ที่ ๔๖ มหาสติปัฏฐานสูตร

วันที่ 23 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่ ๔๖
มหาสติปัฏฐานสูตร

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , สติปัฏฐานสูตร , กัณฑ์ที่ ๔๖ มหาสติปัฏฐานสูตร

นโม   ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ฯ  (๓  ครั้ง)

กถญฺจ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสึ  วิหรติ

 

อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ

 

สราคํ  วา  จิตฺตํ  สราคํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

วีตรคํ  วา  จิตฺตํ  วีตราคํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

สโทสํ  วา  จิตฺตํ  สโทสํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

วีตโทสํ  วา  จิตฺตํ  วีตโทสํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

สโมหํ  วา  จิตฺตํ  สโมหํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

วีตโมหํ  วา  จิตฺตํ  วีตโมหํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

สงฺขิตฺตํ  วา  จิตฺตํง  สงฺขิตฺตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

วิกฺขิตฺตํ  วา  จิตฺตํ  วิกฺขิตตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

มหคฺคตํ  วา  จิตฺตํ  มหคฺคตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ 

อมหคฺคตํ  วา  จิตฺตํ  อมหคฺคตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

สอุตฺตรํ  วา  จิตฺตํ  สอุตฺตรํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

อนุตฺตรํ  วา  จิตฺตํ  อนุตฺตรํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

สมาหิตํ  วา  จิตฺตํ  สมาหิตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

อสมาหิตํ  วา  จิตฺตํ  อสมาหิตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

วิมุตตํ  วา  จิตฺตํ  วิมุตตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

อวิมุตฺตํ  วา  จิตฺตํ  อาวิมุตฺตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ

อิติ  อชฺณตฺดัง  วา  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสึ  วิหรติ

พหิทฺธา  วา  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสี  วิหรดิ

อชฺณตฺต  พหิทฺธา  วา  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสึ  วิหรติ

สมุทยาธมฺมานุปสฺสี  วา  จิตฺตสฺมิ  วิหรติ

วยธมฺมา  นุปสฺสึ  วา  จิตฺตสฺมิ  วิหรติ

สมุทย  วยธมฺมานุปสฺสึ  วา  จิตฺตสูมิ  วหรดิ

อตฺถิ  จิตฺตนฺติ  วา  ปนฺสส  สติ  ปจฺจุปฎฺฐิตา  โหติ

ยาวเทว  ญาณมตฺตาย  ปติสฺสติมตฺตาย

อนิสฺสิโต  จ  วิหรติ  น  จ  กิญฺจิ  โลเก  อุปาทิยติ

เอวํ  โข  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสี  วิหรตี  ติ

 

    ณ  บัดนี้  อาตมาภาพจักได้แสดใน  มหาสติปัฏฐานสูตร    ที่แสดงไปแล้วนั้น  โดยอุเทศทวาร  ปฏินิเทศทวาร  แสดงในมหาสติปัฏฐานสูตรเป็น  อุเทศทวาร  นั้น  ตามวาระพระบาลีว่า

    เอกายโน  อยํ  ภิกฺขเว  มคฺโค     สตฺตานํ  วิสุทฺธิยา
    โสกปริเทวานํ  สมติกฺกมาย    กุกขโทมนสฺสานํ  อฎฺฐงฺคมาย
    ญายสฺส  อิคมาย    นิพฺพานสฺส  สจฺถิกิริยาย

    แค่นี้จบ  อุเทศทวาร  ของมหาสติปัฏฐานสูตร  แปลภาษาบาลีว่า
    เอกายโน  อยํ  ภิกูขเว  ดูดก่อนภิกษุทั้งหมาย  อยํ  มคฺโค  อันว่าหนทางนี้  เอกายโน  เป็นเอก
    เอกายโน  อยํ  มคฺโค  หนทางนี้เป็น  หนทางเอก  ไม่มีสองแพร่ง  เป็นหนทางเดียวแท้ ๆ  หนทางหนึ่งแท้ ๆ

    เอกนะคือหนึ่ง  เอโก  ทฺวิ  ติ  จตุ  ปญฺจ  เหล่านี้  เอโก  เขาแปลว่า  หนึ่ง หนทางนี้เป็นหนึ่งไม่มีสองต่อไป

    สตฺตานํ  วิสุทฺธิยา  ความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลาย
    โสกปริเทวานํ  สมติกฺกมาย  เพื่อความล่วงเสียซึ่งโศก  ความแห้งใจ  ความปริเทวะ  ความพิรำพันเพ้อ
    ทุกิขโมนสฺสานํ  อฎฺฐงฺคมาย  เพื่ออัสคงคตหมดไปแห่งเหล่าทุกข์โทมนัส
    ญายสฺส  อธิคมาย  เพื่อบรรลุซึ่งญาณ
    นิพพานสฺส  อจฺฉิกิริยาย  เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    นี่แสดงังนี้เพียงเท่านี้  เรียกว่า  อุเทศทวาร
    จักได้แสดงเป็น  ปฏินิเทศทวาร  สืบต่อไป
    ยทิทํ  จตฺตาโร  สติปฏฺฐานา    นี้คือ  สติปัฏฐานสี่
    กตเม  จตฺตาโร  สติปฏฺฐานา    สติปัฏฐาน  ๔  นี่คืออะไร  สติปัฏฐาน  ๔  คืออะไรบ้างล่ะ
    อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  กาเย    กายานุปัสสี  วิหรติ
    อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา    วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
    เวทนาสุ  เวทนานุปสฺสี  วิหรติ    อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา
    วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ    จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสี  วิหรติ
    อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา    วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
    ธมฺเมสุ  ธมฺมานุปสฺสี  วิหรติ    อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา
    วิเนยฺย  โฌเก  อภิชฺณาโทมนสฺสํ

    ๔  อย่างนี้เรียกว่า  ปฏินิเทศทวาร  อุเทศทวารแสดงแล้ว  อีกสองนี้เป็นปฏินิเทศทวาร  อุเทศน่ะ  แสดงออก  เป็นหนึ่งทีเดียว  ปฏินิเทศนั้นแสดงหนึ่งออกไปเป็น  ๔  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  แปลภาษาบาลีว่า

    อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  กาเย  กายานุปสฺสี  วิหรติ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลายที่ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้า  เห็นภายในภายเนือง  ๆ  นั้นเป็นไฉนเล่า  อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  กาเย  กายานุปัสสี  วิหรติ  ดูก่อนภิกษุทั้งหลายผู้ศึกษาพระธรรมวินัยของพระตถาคต  เจ้านี้  เห็นกายในกายเนือง  ๆ  อยู่  อ้ายนี้ต้องคอยจำนะ  เห็นกายในกายเนือง  ๆ  อยู่  ถ้าเห็นเข้าแล้ว  ทำให้  อาตาปี  เพียรเทียว  เพียรให้เห็นอยู่เสมอนั้นไม่เผลอทีเดียว

    อาตาปี  สมฺปชาโน      รู้รอบคอบอยู่  เพียรแล้วก็รู้รอบคอบ
    สติมา    มีสติด้วยไม่เผลอ  รู้รอบคอบไม่เผลอ
    วิเนยฺย  โลเก  อภิชูฌาโทมนสุสํ
    คอยจำกัด อภิชฌาความเพ่งเฉพาะอยากได้  และความโทมนัสเสียใจ  ที่ไม่ไดสมบัติ  นำอภิชฌาโทมนัสในโลกออกเสีย  อย่าเพ่งเฉพาะเสียใจ  เพราะอยากได้แล้วไม่สมหวัง  มันจะทำกายในกายให้เป็นที่เลื่อมไปเสีย อภิชฌา  สำคัญนัก  เพ่งเฉพาะอยากได้  เมื่อไม่ได้  มันก็เสียใจเพราะไม่สมหวัง ไอ้ดีใจเสียใจนี่แหละอย่าให้เล็ดลอดเข้าไปได้ทีเดียว  เมื่อเห็นกาย  ในกายเนือง  ๆ  อยู่แล้วก็  อาตาปี  มีความเพียรเร่งเร้าทีเดียว  มีความรู้รอบคอบประกอบด้วย  สติมั่นไม่ฟั่นเฟือนทีเดียว  วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ  นำอิภชฌา  และโทมนัสในโลกออกเสียได้  นี่ข้อต้น

    ข้อที่  ๒  คือ
    เวทนาสุ  เวทนานุปสฺสี  วิหรติ  อาตาปี  สมฺปชาโน สติมา
    วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

    เห็นเวทนาในเวทนาเนือง  ๆ  อยู่  มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน  มีความรอบคอบ  มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน  นำอภิชฌาโทมนัสในโลกออกเสีย  ไม่ให้ลอดเล็ดเข้าไปได้  สี่ส่วนเวทนา

    จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสึ  วิหรติ  อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา
    วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

    เห็นจิตในจิตเนือง  อยู่  มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน   มีสัมปชัญญะ  มีสติไม่พลั้งเผลอนำอภิชฌาในโลกนี้ออกเสียได้  อย่าให้ความยินดียินดีร้ายมันลอดเล็ดเข้าไปได้  นี่เป็นข้อสาม

    ข้อที่  ๔
    ธมฺเมสุ  ธมฺมานุปสฺสึ  วิหรติ  อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา
    วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

    เห็นธรรมในธรรมเนือง  ๆ  อยู่เมื่อเห็นแล้วให้มีความเพียรเป็นเครื่องเผายังกิเลสให้เร่าร้อน  มีสัมปชัญญะ  มีสติมั่นไม่ฟั่นเฟือน  กำจัดอภิชฌาโทมนัสในโลกนี้เสียได้

    ๔  ข้อนี้แหละเรียกว่า  ปฏินิเทศทวาร  กาย  เวทนา  จิต  ธรรม  เห็นกายในกายอยู่  เห็นเวทนาในเวทนาอยู่  เห็นจิตในจิตเนือง  ๆ  อยู่  เห็นธรรมในธรรมอยู่  นี่ให้เข้าใจเสียก่อนจึงจะสอนต่อไป  เป็นลำดับ

    เห็นกายในกาย  นี่เห็นอย่างไร?  เห็นกายในกายนั่นเหมือนกับนอนฝันนั่นแหละ  เห็นชัด  ๆ  อย่างนั้นนะ เห็นกายในกายก็เห็นกายมนุษย์ละเอียดเท่ากายมนุษย์นี้แหละ  นอนฝันในกายมนุษย์นี่ต่อไป  ทำหน้าที่ไปผู้เห็นกายในกายก็คือ  กายมนุษย์ ละเอียดนั่นเอง  เห็นเวทนาในเวทนาล่ะ  มนุษย์นี่มันก็มีเวทนาเหมือนกัน  เห็นนี่ไม่ได้พูดรู้  นี่  เวทยาในเวทนานั่นเป็นอย่างไรล่ะ  สุข  กายนั้นเป็นสุข  ก็เห็นเป็นสุข  กายนั้นเป็นทุกข์  ก็กายละเอียดนั่นแหละที่เห็นนั่นแหละ  กายนั้นเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์  เมื่อกายนั้นไม่สุขไม่ทุกข์  ก็เห็นว่าไม่สุขไม่ทุกข์  เห็นชัด  ๆ  อย่างนี้  เห็นจิตในจิตล่ะ  ลึกนี่เห็นจิตได้หรือ  เห็นจิตได้หรือไม่ใช่เห็นง่าย  ๆ  นี่  จิตเป็นดวงนี่  เท่าดวงตาดำช้างนอกนี่แหละ  เท่าดวงตาดำของตัวทุกคน  ๆ  นั่นแหละ  ดวงจิต  เห็นจิตในจิต  เห็นธรรมในธรรม  ถ้าเห็นอย่างนี้ไม่หลับ  เป็นประธาน  เห็นกายในกายชัด  ๆ  ก็เห็นกายละเอียดนั่น

    เห็นกายในกาย  นี่เห็นอย่างไร?  เห็นกายในกายนั่นเหมือนกับนอนฝันนั่นแหละ  เห็นชัด  ๆ  อย่างนั้นนะ  เห็นกายในกายก็เห็นกายมนาย์ละเอียดเท่ากายมนาย์นี้แหละ  นอนฝันในกายมนุษย์นี่ต่อไป  ทำหน้าที่ไปผู้เห็นกายในกายก็คือกายมนาย์ละเอียดนั่นเอง  เห็นเวทนาในเวทนาล่ะ  มนุษย์นี่มันก็มีเวทนาเหมือนกันเห็นนี่ไม่ได้พูดรู้นี่  เวทนาในเวทนานั่นเป็นอย่งไรล่ะ  สุข กายนั้นเป็นสุข  ก็เห็นเป็นสุข  กายนั้นเป็นทุกข์  ก็กายละเอียดนั่นแหละที่เห็นนั่นแหละ  กายนั้นเป็นทุกข์ก็เห็นว่าเป็นทุกข์  เมื่อกายนั้นไม่สุขไม่ทุกข์  ก็เห็นว่าไม่สุขไม่ทุกข์  เห็นชัด  ๆ  อย่างนี้  เห็นจิตในจิตล่ะ  ลึกนี่เห็นจิตได้หรือ  เห็นจิตได้หรือไม่ใช่เห็นง่าย  ๆ  นี่  จิตเป็นดวง  นี่  เท่าดวงตาดำข้างนอกนี่แหละ  เท่าดวงตาดำของตัวทุกคน  ๆ  นั่นแหละ  ดวงจิต  เห็นจิตในจิต  เห็นธรรมในธรรม  ถ้าเห็นอย่างนี้ไม่หลับ  เป็นประธาน  เห็นกายในกายชัด  ๆ  ก็เห็นกายละเอียดนั่น

   เห็นเวทนาในเวทนา  เห็นกายแล้วก็เห็นเวทนา  เวทนาเพราะใจกำหนดอยู่ที่จะดูกาย  เห็นกายนะต้องกำหนดอยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์  เมื่ออยู่ศูนย์กลางกายมนุษย์ละก็นั่นแหละ  ตาเห็นกาย  ก็เห็นอยู่ในกลางกายมนุษย์นั่นแหละ  เห็นชัด  ๆ  เป็นดวงอยู่กลางกายมนาย์ละเอียดนั่นแหละ  เวทนาของกายมนุษย์นี้เป็นเวทนานอก  เวทนาขอกายมนุษย์ละเอียดนั่นเป็นเวทนาของกายมนุษย์ละเอียดข้างใน  นั่นแหละ  เวทนาในเวทนา

    เห็นจิตในจิตล่ะ  ดวงจิต  ก็เห็นดวงจิตของกายละเอียดนั่น  เห็นดวงจิตเท่าดวงตาดำข้างนอก  เห็นดวงจิต  มั่นอยู่ในกลงดวงจิตนี่แหละ   อยู่ในกลางดวงจิตมนุษย์หยาบนี่แหละ เข้าไปถึงกายมนุษย์ละเอียดมันก็ไปเห็นดวงจิตของกายมนุษย์ละเอียดนั่น  นี่เห็นจิตในจิต

    เห็นธรรมในธรรมล่ะ  ดวงธรรมที่ทำหเป็นกายมนุษย์หยาบ  มันมีดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์หยาบนั่น  พอไปเห็นกายละเอียด  มันก็เห็นดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่น  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์ละเอียดนั่นแหละ  เป็นธรรมข้างใน  ดวงธรรมทำให้เป็นกายมนาย์หยาบ  นี่เป็นดวงธรรมข้างนอก  เห็นจริงอย่างนี่นะ  วัดปากน้ำเขาเห็นกันจริง  ๆ  อย่างนี้  ไม่ใช่เห็นเล่น  ๆ 

    นี่  เห็นกายในกาย  เห็นเวทนาในเวทนา  เห็นจิตในจิต  เห็นธรรมในธรรม  เห็นจริง  ๆ  อย่างนี้  นี่  นี่อุเทนทวารแล้วก็เห็นอย่านี้เรื่อย  ๆ  ขึ้นไป  กายในกาย  เวทนาในเวทนา  จิตในจิต  ธรรมในธรรม  วัดปากน้ำเห็นเข้าไปตั้ง  ๑๘  กายนั่นแน่ะ  เห็นเข้าไปอย่างนี้แหละ  ๑๘  กาย  ชัด  ๆ  ทีเดียว  ชัดใช้ได้ทีเดียว  ไม่ใช่พอดีพอร้ายหละ  เห็นชัดใช้ไดทีเดียว  ไม่ชัดแต่ว่าเห็นหละ  ถ่าสนใจจริง  ๆ  ก็เห็นจริง  ๆ  เห็นจริง  ๆ  อย่างนี้  เมื่อเห็นจริง  ๆ  เป็นจริง  ๆ  อย่างนี้แล้วละก็  ตำราบอกไว้ตรง  ๆ  อย่างนี้แล้วมันก็ถูกตำรับตำราทีเดียว  แล้วจะไม่แสดงในกาย  เวทนา  จิต  ธรรม  ต่อไปอีก  คัมภีร์นิเทศวารต่อไป

    มีคำถามสอดเข้ามาว่า
    กถญฺจ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  กาย  กายานุปสฺสี  วิหรติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ผู้ศึกษาพระธรรมินัย  เห็นกายในกายเนือง  ๆ  อยู่นั่นเป็นไฉน?
    อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  กาเย  กายานุปสฺสี  วิหรติ
    อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา  วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ

    อันนี้แล้ว
    อิธ  ภิกูขเว  ภิกฺชุ    อรณฺญตโต    รุกฺขมูลคโต  วา
    นี่ปฏินิเทศทวาร
    อรญฺญคโต  วา          รุกฺขมูลค  วา
    สุญฺญาคารคโต  วา    นิสีทติ  ปลฺลงฺกํ  อาภุชิตฺวา
    อุชํ  กายํ  ปณิธาย      ปริมุข์  สติ   อุปภฺฐปตฺวา
    โส  สโต  ว  อสฺสสติ    สโต  ปสฺสสติ
    ฑีฆํ  วา  คสฺสสนฺโต     ฑีฆํ  อสฺสสามีติ  ปชานาติ
    ฑีฆํ  วา  ปสฺสสนฺโต     ทีฆํ  ปสฺสสามีติ  ปชานาติ
    รสฺสํ  วา  อสฺสสนฺโต    รสฺสํ  อสฺสสามีติ  ปชานาติ
    รสฺสํ  วา  ปสฺสสนฺโต    รสฺสํ  ปสฺสสามีติ  ปชานาติ

    นี่เป็น  ปฏินิเทศทวาร  ว้างออกไปที  กว้างนี่แหละที่แสดงไปแล้ว  ส่วนกายที่แสดงไปแล้ว  ท่านจัดออกเป็นข้อกำหนดเก็นปัพพะ  คือ  เรียก
    อาปานานปัพพะ                ข้อกำหนดด้วยลมหายใจเข้าออก
    อิริยาปถปัพพะ                  ข้อกำหนดด้วยอิริยาบท  เดิน  ยืน  นั่ง  นอน
    สัมปชัญญปัพพะ               ข้อกำหนดด้วยกิริยาในอิริยาบทแห่งอวัยวะรู้อยู่เสมอนั่นเรียกว่าสัมปชัญญปัพพะ
    ปฏิกูลมนสิการปัพพะ      ข้อกำหนดด้วยข้อปฏิกูลแห่งร่างกยของคนเรา  แห่งฟัน  หนัง  เนื้อตามบาลีว่า อตฺถิ  อิมสูมิ   กาเย  เกสา  โลมา  นขา  ทนฺตา

    ปฏิกูลนั้นไม่น่ารักน่าชมเลย  ปฏิกูลแห่งร่างกายนี้ไม่ใช่สัตว์  บุคคล  ตัวตน  เรา  เขาที่ไหนประสมกันแล้วก็เป็นร่างกาย  ล้วนแต่เป็นดิน  น้ำ  ไฟ  ลม  ไป  นี้เป็น  ธาตุปัพพะ  พอกายมนุษย์ละเอียดออกจากกายมนุษย์หยาบแล้ว  ก็เน่ากันทั้งนั้น  เป็นปฏิกูลอย่างนี้  ปฏิกูลนั่นเป็นข้อที่  ๕  นวสีวถิกปัพพะ  ข้อกำหนดด้วยศพเก้ารูป  ตายวันหนึ่งสองวันท้องเขียว  น้ำเลือดน้ำหนอไหล  เป็นลำดับไปจน  กระทั่งเหลือแต่กระดูกนั่น  นี้ได้แสดงมาแล้ว

    วันนี้จะแสดง  เห็นเวทนาในเวทนา  สืบต่อไปว่า
    กถญฺจ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  เวทนาสุ  เวทนานุปสฺสี  หรติ  อาตาปี  สมฺปชาโน  สติมา  วิเนยฺย  โลเก  อภิชฺฌาโทมนสฺสํ
    กถญฺจ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ
    เวทนาสุ  เวทนานุปสฺสี  หรดิ                         อิธ  ภิกฺขเว  ภิกูขุ
    สุขํ  เวทนํ  เวทิยมา  โน                                สุขํเวทนํเวทิยามีติ  ปชานาติ
    ทฺกข์เวทนํ  เวทิยมาโน                                  ทุกฺขํ  เวทนํ  เวทิยามีติ  ปชานาติ
    อทุกฺขมสุขํ  เวทนํ  เวทิยมาโน                       อทุกฺขมสุขํ  เวทนํ  เวทิยามีติ  ปชนาติ
    สามิสํ  วา  สุขํ  เวทนํ  เวทิยมาโน                  สามิสํ  สุขํ  เวทนํ  เวทิยามีติ  ปชานาติ
    นิรามิสํ  วา  สุขํ  เวทนํ  เวทิยมาโน                นิรามิสํ  สุขํ  เวทนํ  เวทิยามีติ  ปชานาติ
    สามิสํ  วา  ทุกฺขํเวทนํ  เวทิยมาโน                 สามิสํ  ทุกข์  เวทนํ  เวทิยามีติ  ปชานาติ
    นิรามิสํ  วา  ทุกขํเวทนํ  เวทิยมาโน               นิรามิสํ  ทุกขํ  เวทนํ  เวทิยามีติ  ปชานาติ
    สรามิสํ  วา  อทุกฺขมสุขํ  เวทนํ  เวทิยมาโน    สามิสํ  อทุกฺขมสุขํ  เทนํ  เวทิยามีติ  ปชานาติ
    นิรามิสํ  วา  อทุกฺขมสุขํเวทนํ  เทิยมาโน        นิรามิสํ  อทุกฺขมสุขํ  เวทนํ  เวทิยามีติ  ปชานาติ
    อิติ  อชูฌตฺติ  ฯ

    อันนี้เวทนาไม่ใช่เป็นของฟังง่ายเลย  เป็นของฟังยากนัก  แต่ว่าท่านแสดงไว้  ย่อ  ๆ  ว่า  สุข  เมื่อเราเสวยความสุขอยู่  ก็รู้ชัดว่า  เวลานี้เสวยความสุขอยู่  เมื่อเราเสวยความทุกข์อยู่  ก็รู้ชัดว่า  เราเสยความทุกข์อยู่  เมื่อเราเสยความไม่สุขไม่ทุกข์  ก็รู้ชัดว่า  เราเสวย  ความไม่สุขไม่ทุกข์อยู่เมื่อเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส  ก็รู้ชัดว่า  เราเสวยความสุขที่เจือด้วยอามิส  เมื่อเราเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส  ก็รู้ว่าเราเสวยความทุกข์ที่เจือด้วยอามิส  เมื่อเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส  ก็รู้ชัดว่าเราเสวยความไม่สุขไม่ทุกข์ที่เจือด้วยอามิส  เราปราศจากความสุข  นิรามิสสุข  เราเสวยความสุข  ปราศจากความเจือด้วยอามิส  ก็รู้ขัดอยู่อย่างนี้  นี้เรียกว่า  เวทนา  รู้จักเวทนาอย่างนี้  แต่เวทนาที่จะแสดงวันนี้จะแสดง  เวทนาในจิต

    คำว่า  จิต  นะ  เป็นของจำเป็นที่เราจะต้องแก้ไข  มิฉะนั้นมันก็บังคับเรา  ใช้มันอยู่ทุก  ๆ  วัน  ถ้าเราใช้มันไม่เป้น  มันจะกลับมาข่มเหงเอาเราเข้า  จิตนั่นเป็นตัวสำคัญ  ท่านจึงได้ยืนยัน  ตามวาระพระบาลีว่า 

    กถญฺจ  ภิกูขเว  ภิกฺขุ  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสี  วิหรติ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ที่ศึกษาในธรรมวินัย  เห็นจิตในจิตเนือง  ๆ  อยู่นั่นเป็นไฉน?
    อิธ  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  ดูก่อนภิกขุทั้งหลาย  ผู้ศึกษาธรรมวินัยของพระตถาคตเจ้านี้
    สราคํ  วา  จิตฺตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตระคนด้วยราคะ  ก็ทราบชัดว่าจิตนี้นี่ระคนด้วยราคะ
    วีตราคํ  วา  จิตฺตํ  วีตราคํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตปราศจากราะ  ก็ทราบขัดว่าจิตปราศจากราคะ
    สโทสํ  วา  จิตฺตํ  สโทสํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตระคนด้วยโทสะ  ก็ทราบชัดว่จิตระคนด้วยโทสะ
    วีตโทสํ  วา  จิตฺตํ  วีตโทสํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตปราศจากดทสะ  ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
    สโมหํ  วา  จิตฺตํ  สดมหํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตระคนด้วยโมหะ  ก็ทราบชัดว่าจิตระคนด้วยโมหะ
    วีตโมหํ  วา  จิตฺตํ  วีตโมหํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตปราศจากโมหะ  ก็ทราบชัดว่าจิตปราศจากโมหะ
    สงฺขิตฺตํ  วา  จิตฺตํ  สงฺขิตฺตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตหดหู่  ก็รู้ชัดว่าจิตหดหู่
    กูขิตตํ  วา  จิตฺตํ  วิกขิตฺตํ  จิตฺตนธติ  ปชานาติ  จิตฟุ้งซ่าน  ก็รู้ชัดว่าจิตฟุ้งซ่าน
    มหคฺตตํ  วา  จิตฺตํ  มหาคฺคตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตเป็นมหัคคต  ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคคต  จิตประกอบด้วยบุญกุศลยิ่งใหญ่  เรียกว่า  มหัคคตกุศล  กุศลเกิดด้วยรูปฌาน  เป็นมหัคคตกุศล
    อมหคฺคตํ  วา  จิตฺตํ  อมหคฺคตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตไม่ประกอบด้วยมหัคคต  ก็ทราบชัดว่าจิตไม่ประกอบด้วยมหัคคต
    สอุตฺตรํ  วา  จิตฺตํ  สอุตฺตรํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตยิ่งก็รู้ว่จิตยิ่ง
    อนุตฺตรํ  วา  จิตฺตํ  อนุตฺตรํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  ไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า  ก็รู้ชัดว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า
    สมาหิตํ  วา  จิตฺตํ  สมาหิตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตตั้งมั่น  ก็รู้ชัดว่าจิตตั้งมั่น
    อสมาหิตํ  วา  จิตฺตํ  อสมาหิตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตไม่ตั้งมั่น  ก็รู้ชัดว่าจิตไม่ตั้งมั่น
    วิมุตฺตํ  วา  จิตฺตํ  วิมุตฺตํ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตหลุดพ้น  ก็รู้ชัดว่าจิตหลุดพ้น
    อวิมุตฺติ  วา  จิตฺตํ  อวิมุตฺติ  จิตฺตนฺติ  ปชานาติ  จิตไม่หลุดพ้น   ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น
    อิติ  อชฺฌาติตํ  วา  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสี  วิหรติ  ดังนี้แหละ  ภิกษุเห็นจิตในจิตเป็นภายในเนือง  ๆ  อยู่
    พหิทฺธา  วา  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสี  วิหรติ  เห็นจิตในจิตเนือง  ๆ  อันเป็นกายนอกอยู่
    อชฺฌตฺตพหิทฺธา  วา  จิตฺเต  จิตตานุปสฺสี วิหรดิ  เห็นเนือง  ๆ  ซึ่งจิตในจิตทั้งเป็นภายใน  และภายนอก
    สมุทยธมฺมานุปสฺสี  วา  จตฺตสฺมิ ํ  วิหรติ  เห็นธรรมดาซึ่งความเกิดขึ้นในจิตอยู่
    วยธมฺมานุปสฺสี  วา  จิตฺตสฺมิ ํ  วิหรติ  เห็นเนือง  ๆ  เป็นธรรมดาคือความเลื่อมไปในจิตอยู่
    สมุทยวยะมฺมานุปสฺสี  วา  จิตฺตสฺมิ ํ  วิหรติ  เห้นธรรมดาคือความเกิดขึ้นและความเสื่อไปซึ่งจิตในจิตอยู่
    อตฺถิ  จิตฺตนฺติ  วา  ปนสฺส  สติ  ก็หรือสติของเธอเข้าปรากำว่จิตมีอยู่
    ยาวเทว  ญาณมตฺตาย  สักแต่ว่ารู้
    ปติสฺสติมตฺตาย  ลักแต่ว่าอาศัยระลึก
    อนิสฺสิโต  จ  วิหรติ  เป้นผู้อันตัณหาและทิฎฐิยึดถือไม่ได้แล้ว
    น  จ  กิญฺจิ  โลเก  อุปาทิยติ  ไม่ยึดถือมั่นอะไร  ๆ  ในโลก
    เอวํ  โข  ภิกฺขเว  ภิกฺขุ  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสี  วิหรติ  อย่างนี้แหละภิกษุ  เห็นจิตในจิตเนือง  ๆ  อยู่ด้วยประการดังนี้

   นี้เนื้อความของพระบาลี  คลี่ความเป็นสยามได้ความเพียงเท่านี้  ต่อไปนี้จะอรรถาธิบายขยายความในเรื่องจิต  จิตนั่นอยู่ที่ไหน?  รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างไร?  คำที่เรียกว่า  “จิต”  นั่น  หนึ่งใน  ๔  ของใจ
    ดวงวิญญาณ    เท่าดวงตาดำข้างใน
    ดวงจิต            เท่าดวงตาดำข้างนอก  เห็นชัดอยู่อย่างนี้แล้วก็
    ดวงจำ            ก็โตไปอีกหน่อย  อยู่ในเบาะน้ำเลี้ยงหัวใจ
    ดวงเห็น          อยู่ในกลางกาย  โตไปอีกหน่อย
    ดวงเห็น          อยู่ข้างนอก  มันซ้อนกันอยู่  ดวงเห็นอยู่ข้างนอก
    ดวงจำ            อยู่ข้างใน  อยู่ข้างในดวงเห็น
    ดวงคิด           อยู่ข้างในดวงจำ
    ดวงรู้              อยู่ข้างในดวงคิด

    ดวงรู้  เท่าตาดำข้างใน  นั่นแหละเขาเรียกว่า  ดวงวิญญาณ  เท่าดวงตดำข้างในเขาเรียกว่าดวงวิญญาณ  เท่าดวงตดำข้างนอกนั้นเข้าเรียกว่า  ดวงจิต  หรือ  ดวงคิด  โตออกไปกว่านั้น  โตออกไปกว่าดวงจิต  เท่าดวงตานั่นแหละ  นั่นเขาเรียกว่า  ดวงใจ  หรือ  ดวงจำ  โตกว่านั่นอีกหน่อย  เท่ากระบอกตานั่นแหละเขาเรียกว่า  ดวงเห็น  ดวงเห็นนั้นคือ  ดวงกาย  ทีเดียว ๔ ดวงนั้นมีเท่านี้แหละ
    ดวงกาย  นั่นแหละ                  เป็นที่ตั้งของเห็น    ธาตุเห็นอยู่ศูนย์กลางอยู่ศูน์กลางกำเนิด  ดวงกายนั้น
    อ้าย  ดวงใจ  นั่นแหละ      เป็นที่ตั้งของจำ      ธาตุจำ  อยู่นย์กลางดวงใจนั่นแหละ
    อ้าย  ดวงจิต  นั่นแหละ    เป็นที่ตั้งของคิด      ธาตุคิด  อยู่ศุนย์กลางจิตนั่นแหละ
    อ้าย  ดวงวิญญาณ                     เป็นที่ตั้งของรู้      ธาตุรู้อยู่ศูนย์กลางดวงวิญญาณนั่นแหละ
    ธาตุเห็น  จำ  คิด  รู้  ๔  ประการนั้น
    ธาตุเห็น   เป็นที่ตั้ง  ของเห็น
    ธาตุจำ     เป็นที่อยู่  ของจำ
    ธาตุคิด    เป็นที่อยู่  ของคิด
    ธาตุรู้       เป็นที่อยู่  ของรู้

    เห็น  จำ  คิด  รู้  ๔  ประการ  ยกแพลบเดียวโน้นไปนครศระรรมราชไปแล้ว  เห็นจำคิดรู้ไปแล้ว  ยกไปอย่างนั้นแหละไปได้  ไปได้  ไปเสียลิบเลย  ไปเสียไม่บอกใครทีเดียว  ไปอยู่เสียที่นครศรีธรรมราชโน้น  ถ้าว่าคนเข้ามีธรรมกาย  อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไม่ในนครศรีธรรมราช  ไปเห็นอากายมนุษย์ละเอียดเข้าแล้ว  อ้ายคนนี้รูปพรรณสัณฐานเป็นอย่างนั้น  แต่งเนื้อแต่งตัเป็นอย่างนั้น  เราคิดว่าเราส่งใจไปนี่นะ  ส่งไปในนครศรีธรรมราช  อ้ายนี่มายุ่งอยู่ทำไมในนครศรีธรรมราช  เห้นทีเดียว  เขามีธรรมกาย  อ้ายนี้มายุ่งอยู่ที่นี้แล้ว  เราก็ยกเห็นจำ  คิด  รู้ไปนี่ไม่ได้ไปทั้งตั  นั่นแหละ  กายละเอียดไปแล้   ไม่ยุ่งอยู่ดน้นแล้ว  ดุก็ได้  ลอไปดุก็ได้  พวกมีธรรมกายเข้ามี  เขาเห้นทีเดีย  อ้ายนี้มายุ่งอยู่นี่แล้ว  จำหน้าจำตาจำตัวได้  เอ  ก็แปลกจริงนะ  ไม่ใช่ของพอดีพอร้ายพระพุทธศาสนาเป็นของลึกซึ้งอยู่  แต่ว่จะส่งใจไปอย่างหนึ่อย่างใดก็ตามเถอะ  ไปได้อย่างนี้แลหะ  ๔  อย่างไปได้อย่งนี้  คือ  เห็น  จำ  คิด  รู้  มันอยู่เป็นจุดเดียวกัน  เป็นกายละเอียด  มันแยกกันไม่ได้  แยกไม่ได้เด็ดขาดเชียว  เป็นตัวเป็นตัวตาอยู่  เหมือนกายมนุษย์นี่  เราจะเอาแยกเป็นหัวใจเสีย  จากหัวใจเสีย  หัวใจแยกจากดวงจิตเสีย  จิตแยกจากดวงวิญญาณเสียไม่ได้  ถ้าแยกไม่เป้นเลย  แยกตายหมด  ถ้าแยกเวลาใดมนุษย์ก็ตายเวลานั้น  ถ้าไม่แยกก็เป้นอย่างนี้  เห็น  จำ  คิด  รู้  ๔  อย่างนี้แยกไม่ได้  หากว่ากายทิพย์ก็เหมือนกันแยกไม่ได้  มันเป็นตัวของมันอยู่อย่างนั้นแหละ  เอาแต่ตัวกายมนุษย์ละเอียด  มันก็ละเอียดพอแล้ว  พอเข้ากายทิพย์ละเอียด  ก็ยิ่งละเอียดไปกว่านั้นอีก  เอียดพอแล้วหรือ  พอเข้าถึงกายรูปพรหมละเอียด  ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก  เข้าถึงกายอรูปพรหม  ละเอียดยิ่งกว่านั้นอีก  เข้าถึงกายอรูปพรหมละเอียอละเอียดยิ่งกว่านั้นไปอีก  เข้าถึงกายธรรม  ละเอียดยิ่งกว่นั้นไปอีก  เข้าถึงกายธรรมละเอียด  ละเอียดยิ่งกว่านั้นเข้าไปอีก

    นี่ถ้าว่าทำธรรมกายเป็นละก็  มันฉลาดกว่ามนุษย์หลาย  ๑๐  เท่าเชียวนะ  นี่พอเข้ถึงกายมนุษย์ละเอียด  ก็ฉลาดกว่าเท่าหนึ่งแล้ว   สูงกว่าเท่าหนึ่งแล้ว
เข้าถึงกายทิพย์             ก็สองเท่าแล้ว
กายทิพย์ละเอียด           ก็สมเท่าแล้ว
กายรูปพรหม                 สี่เท่า
กายรูปพรหมละเอียด      ห้าเท่า
กายอรูปพรหม               หกเท่า
กายอรูปพรหมละเอียด    เจ็ดเท่า
เข้าถึงกายธรรมและกายธรรมละเอียด  ๘-๙  เท่าเข้าไปแล้ว  มันมีความฉลาดกว่ากันอย่างนี้นะ

    ให้รู้จักว่าของสูงของต่ำอย่างนี้  เมื่อรุ้จักอย่างนี้แล้ก็  วันนี้ที่จะแสดงจิต  ตำราท่านวางไว้แค่จิต  เอาดวงจิต  นี้เท่านั้น  ดวงเห็น  ก็ไม่ได้เอามาพูด  ดวงจำ  ไม่ได้มาพูด  ดวงรู้ไม่ได้มาพูด  มาพูดแต่ดวงจิตดวงเดียว

    ที่เราแปลจิต  ถ้าเราเอามาใส่ปนกันกับเรื่องจิตก็ป่นปี้หมด  เพราจิต  มีหน้าที่คิดอย่างเดียวเท่านั้นแหละ  ดวงรู้  ก็มีหน้าที่รู้อย่างเดียว  ไม่มีหน้าที่คิด  ดวงจิต  ก็มีหน้าที่คิดอย่างเดียว  ดวงจำก็มีหน้าที่จำอย่างเดียว  ดวงเห็น  ก็มีหน้าที่เห็นอย่างเดียว  จะสับเปลี่ยนกันไม่ได้

    แต่ว่า  ถ้าไม่รู้หลักคามจริงแน่นอนอย่านี้ละก็  ท่านก็แปลเอาดวงจิตไปรวมเข้กับรู้เสียว่า  รู้ก็คือจิตนั่นแหละ  วิจิตฺตารมฺมณํ  ดวงจิตวิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง  ๆ  รูปารมณ์  สัททารมณ์  ค้นธารมณ์  รสารมณ์  โนฎฐัพพารมณ์  ธัมมารมณ์  นี่วิจิตรด้วยอารมณ์ต่าง  ๆ  อย่างนี้  ดวงจิตนั่น  กนัยหนึ่ง  อารมฺมณํ  ชฺชนานา  ติตึ  จิตฺต  จิตรู้ซึ่งอารมณ์  จิตรู้เสียอีกแล้ว  เอาละซี  เอาวิญญาณไปไว้ที่ไหนแล้ว  ไม่พูดดวงวิญญาณเสียอีกแล้  พูดเป็นรู้เสียแล้ว

    เพราะฉะนั้น  คำว่า  จิต  นี่แหละเป็นดวงเท่าดวงตาดำข้างนอก  ใสเกินใส  ปกติมโน  ใจเป็นปกติ  คือภาวังคจิต  จิตที่เป็นภวังคจิตน่ะใสเหมือนยังกับน้ำที่ใส  ใสเหมือนยังกัน้ำที่ใสนะ  จิตที่ใสนั่นแหละ  เมื่อระคนด้วยระคะเหมือนยังกัน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว  มันก็ปนเป็นนะซี  นี่เป็นอย่างนั้นนา  เมื่อจิตระคนด้วยราคะเหมือนน้ำแดงเข้าไปเจือเสียแล้ว  จิตระคนด้วยโทสะเล่า  เหมือนยังกับน้ำเขียวน้ำดำเข้าไปปนน้ำเขียวเข้าไปปานระคนเสียแล้ว  จิตระคนด้วยโมหะเหมอืนน้ำตมเข้าไประคนเสียแล้ว  ไอ้จิตใสนะมันก็กลางไปก็รู้นะซี

    สราคํ  วา  จิตฺตํ  สราคํ  จิตฺตนฺตจิ  ปชานาติ  จิตระคนด้วยราคะ  ก็รู้ว่าจิตระคนด้วยราคะ  จิตไม่มีราคะ  ปราศจากราคะ  ก็รู้ว่าจิตไม่มีราคา  ไม่ปนด้วยโมหะ  ปราศจากราคะ  โทสะ  โมหะ  จิตฟุ้งซ่าน  จิตหดหู่  จิตหดหู่  ที่ใสน่ะหดหู้ไป  ผู้สร้างพอรู้ว่าผู้สร้างเป็นอติวิสัย  ไม่คที่เสียแล้ว  ผู้สร้างก็รู้ว่าผู้ร้าง  จิตประกอบด้วยกุศลที่ระคนด้วยญาณ  เป็นมหัคตจิต  จิตไม่ประกอบด้วยกุศลก็เห็น  จิตประกอด้วยกุศลก็เห็นชัด  ๆ  ดังนี้

    อชิฌตฺตํ  วา  จิตฺเต  จิตฺตานุปสฺสี  วิหรติ  เห็นจิตในจิตเป็นภายในเนือง  ๆ  ภายในน่ะคือ  จิตกายละเอียดเห็นเนือง  ๆ ซึ่งจิตในจิต  เป็นภยนอก  นี้จิตของกายมนุษย์  เห็นเนือง  ๆ  ซึ่งจิตในจิต  ทั้งกายในภายนอก  เห้นเป็นรูปจิต  เป็นจิตของกายมนุษย์ละเอียด  เห็นทั้งสองททีเดียว  เห็นทั้งภายในและภายนอก  เห็นเนือง  ๆ  เป็นธรรมดา  คือ  ความเลื่อมไป  ความเกิดขึ้นของจิต  เห็นเนือง  ๆ  เป็นธรรมดาคือความดับไปของจิตคือความดับในจิต  เมือ่เห็นเนือง  ๆ  เป็นธรรมดาทั้งเกิดขึ้น  ทั้งความดับไป  เมื่อเห็นชัดดังนี้ละก็

    อตฺถิ  จิตฺตนฺติ  วา  ปนสฺส  สติ  ปจฺจุปฏฺฐิตา  โหติ  ก็หรือสติของเธอ  เข้าไปปรากฏว่า  จิตมีอยู่เห็นจิตแล้ว  เมื่อจิตมีสติของเธอปรากฏว่า  จิตมีอยู่เพียงสักแต่ว่ารู้  สักแต่ว่าอาศัยความระลึก  อันตัณหาและทิฎฐิเข้าไปอาศัยไม่ได้เลย

     น  จ  กิญจิ  โลเก  อุปาทิยติ  ไม่ถือมั่น  อะไรเลยในโลก  รู้ว่าปล่อยวางแล้ว  ไม่ถือมั่น  ไม่ติด  ไม่แตะไม่อะไรแล้ว  ให้รู้ชัด  ๆ  เห็นชัด  ๆ  อย่างนี้  อย่างนี้แหละ  เรียกว่า  ภิกษุทั้งหลาย  เห็นในจิตเนือง  ๆ  อยู่  ด้วยประการดังนี้

    ที่ได้ชี้แจงแสดงมานี้ตามวาระพระบาลี  ชี้ความเป็นสยามภาษา  มมตยาธิบาย  พอสมควรแก่เวลาเพราะได้ยินเสียงระฆังหง่าง  ๆ  อยู่แล้ว  เอเตน  สจฺจวชฺเชน  ด้วยอำนาจความสัจ  ที่ได้อธิบายอ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวาสนนี้  สทา  โสตถี  ภวนฺตุ  เต  ขอความสุขสวัสดิ์  จงบังเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย  บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า  อาตมภาพได้ชี้แจงแสดงมา  ตามสมควรแก่เวลาสมมติว่ายุติธรรมิกถา  โดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้  เอวํ  ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.015515168507894 Mins