กัณฑ์ที่ ๖๘ โอวาทปาติโมกฺขาทิปาฐ

วันที่ 25 มค. พ.ศ.2561

กัณฑ์ที่ ๖๘
โอวาทปาติโมกฺขาทิปาฐ

มรดกธรรม , พระมงคลเทพมุนี , ประวัติย่อ พระเดชพระคุณพระมงคลเทพมุนี , สด จนฺทสโร , หลวงปู่วัดปากน้ำ , หลวงพ่อวัดปากน้ำ , สด มีแก้วน้อย , วัดปากน้ำภาษีเจริญ , วัดปากน้ำ , ธรรมกาย , วัดพระธรรมกาย , สมาธิ , กัณฑ์ , ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด , คำสอนหลวงปู่ , หลวงพ่อสดเทศน์ , เทศนาหลวงพ่อสด , พระธรรมเทศนาพระมงคลเทพมุนี , พระผู้ปราบมาร , ต้นธาตุต้นธรรม , พระเป็น , อานุภาพหลวงพ่อสด , เทปบันทึกเสียงหลวงพ่อวัดปากน้ำ , พระของขวัญ , ทานศีลภาวนา , โอวาทปาติโมกฺขาทิปาฐ , กัณฑ์ที่ ๖๘ โอวาทปาติโมกฺขาทิปาฐ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ (๓ ครั้ง)

อุทฺทิฏฐํ โข เตน ภควาตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน, โอวาทปาติโมกฺขํ ตีหิ คาถาหิ

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา

นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา

น หิ ปพุพชิโต ปรูปปฆาตี

สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต

สพฺพปาปสฺส อกรณ์

กุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปานํ

เอตํ พุทฺธาน สาสนํ

อนูปวาโท อนูปฆาโต

ปาฏิโมกฺเข จ สํวโร

มตฺตญฺญุตา    จ ภตฺตสฺมิ

ปนฺตญฺจ สยนาสนํ

อธิจิตฺเต จ  อาดยโค

เอตํ พุทฺธาน สาสนนฺติ

 

    ณ บัดนี้ อาตมาภาพจักได้แสดงธรรมิกถา เพราะวันนี้เป็นวันมาฆบูชา เป็นวันปัณณะระสีดิถีที่ ๑๕ ค่ำแห่งปักษ์ในมาฆมาศ ในวันมาฆะนี้ ในทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันสำคัญ แม้ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุสาสิกา ก็ควรเอาใจใส่ในวันมาฆบูชานี้ เป็นวันที่พระบรมศาสดาทรงวางหลักฐานของพระพุทธศาสนาให้มั่นคง ไว้ในสกลพุทธศาสนา ในวันมาฆบูชา อุบาสกเล่าก็พากันเอาใจใส่ ครั้งพุทธกาลบริษัททั้ง๕ ภิกษุ ภิกษุณี อุสาสก อุสาสิกา เอาใจใส่นัก เพราะเหตุว่าวันนี้เป็นวันที่พระบรมศาสดาให้หลักฐาน แก่พระสาวกซึ่งมาประชุมพร้อมกันในอันเดียวกัน พันสองร้อยห้าสิบรูป (๑,๒๕๐) พันสองร้อยห้าสิบรูปไม่ได้นัดแนะกันเลย ต่างฝ่ายต่างมา ต่างฝ่ายต่างก็ไปเฝ้าพระศาสดา ต่างฝ่ายต่างคิดต่างคิดมาด้วยใจของตน ไม่ได้ชักชวนซึ่งกันและกันเลย มาพร้อมกันเข้า พระองค์เห็นว่ากาลสมควรเช่นนั้น ควรที่จะ วางรากฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงเอาไว้ พระองค์ถึงได้ทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ขึ้น ในวันนั้น แต่ในบัดนี้ เราท่านทั้งหลาย ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุสาสิกาเล่า เมื่อมาถึงวันนี้เข้าก็ควรจะได้ฟังโอวาทอันนี้ตามวาระพระบาลีที่ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นว่า

     ว่าโอวาทปาติโมกข์ โอวาทปาติโมกฺขํ ตีหิ คาถาหิ โอวาทปาติโมกฺขํ แปลว่า โอวาทปฏิโมกฺขสฺส ไม่ได้แปลว่า ขสฺส โอวาทปฏิโมกขัง โอวาทปาติโมกข์

     เตน ภควาตา    อันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชานตา รู้แล้ว ปสุสตา เห็นแล้ว ไม่ใช่แสดงโดยอาการไม่เปิดเผย แสดงโดยเปิดเผย พระองค์ทรงรับสั่งว่ารู้แล้วเห็นแล้วนะ ไม่รู้ไม่เห็นไม่เอามาแสดง รู้แล้วเห็นแล้วไม่เคลื่อนคลาดละ 

     ชานตา    รู้แล้ว

     ปสฺสตา    เห็นแล้ว

     อรหตา    ท่านเอง ท่านรับสั่งว่าท่านเองเป็นผู้หมดกิเลส แต่ว่าพูกกันละคนภาษาแต่ว่าเราไม่รู้ เป็นผู้หมดกิเลส

     สมฺมาสมฺพุทฺเธน    ท่านเป็นผู้ตรัสรูสรู้แล้วเองโดยชอบๆ แสดงขึ้นแล้วแต่ ด้วยคาถาทั้งหลาย

     อุทฺทิฏฐํ โข    ทรงแสดงขึ้นแล้วแต่ ทรงแสดงขึ้นแล้ว

     ตีหิ คาถาหิ    ด้วยคาถาทั้งหลาย๓ แสดงขึ้นแล้ว ๓ พระคาถา

     ต่อแต่นี้จะแปลเป็นคาถา คาถาไป แล้วจะอรรถาธิบายเป็นลำดับไป ว่า

     ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกุขา        ความอดทน คือความอดใจ เป็นสัจธรรมอย่างยิ่ง

     นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา    พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ใช่พระองค์นี้องค์เดียว

     พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวนิพพานว่าเป็นเยี่ยม นิพพานนั้นเป็นเยี่ยมทีเดียว พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพานเป็นเยี่ยม

     น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี        เป็นนักบวชไม่เข้าไปฆ่า ต้องเว้นจากการฆ่าไม่เข้าไปฆ่าเด็ดขาด                เชียว

     สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต    เป็นสมณะ เป็นสมณะก็สงบระงับ ไม่เบียดเบียนเป็นอันขาดเหมือนกัน เป็นบรรพชิตไม่เข้าไปฆ่า เป็นสมณะไม่เบียดเบียน นี่ก็พระคาถาหนึ่ง

     คาถาที่สองรองลำดับลงไป
     สพฺพปาปสฺส อกรณํ    ไม่ทำความชั่ว ด้วยกาย และวาจา ตลอดถึงใจ

     กุสลสฺสูปสมฺปทา     ยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม คือทำความดีให้มีขึ้น

     สจิตฺตปริโยทปนํ     ทำใจให้ผ่องใส

     เอตํ พุทาน สาสนํ    นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ใช่องค์เดียว

     นี่เป็นคาถาที่สอง
     คาถาที่สามตามลำดับลงไป

     อนูปวาโท              ไม่เข้าไปว่า

     อนูปฆาตโต    ไม่เข้าไปฆ่า

     ปฏิโมกฺเข จ สํวโร    สำรวมในพระปรติโมกข์

     มตฺตญฺญุตา จ ภตฺติสุมิ    รู้จักประมาณในภัค

     ปนฺตญฺจ สยนาสนํ    เสนาสนะอันสงัด เป็นที่โปรดของพระบรมศาสดา

     อธิจิตฺเต จ อโยโค    ประกอบในอธิจิต อธิจิตนะ ประสงค์ ปฐมฌาน ทุติยฌาน

     ตติยฌาน จตุตถฌาน ทีเดียว

     เอตํ พุทฺธาน สาสนนฺติ    นี้แหละคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

    นี้แสดงไว้แล้วนี้๓ พระคาถา แปล มคธภาษา เป็นสยามภาษา ต่อแต่นี้จะอรรถาธิบายเป็นลำดับไป นี่พระองค์ทรงรับสั่งด้วยพระองค์เอง ว่า

    โอวาทปาติโมกข์ โอวาทปาฏิโมกโข โอวาทะ แปลว่า ตัว ปาฏิโมกโข แปลว่าธรรมเครื่องพ้น ธรรมเครื่องพ้นซึ่งเป็นโอวาทของพระบรมศาสดาเรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ ธรรมเป็นเครื่องพ้นซึ่งเป็นโอวาทของพระบรมศาสดานี้เรียกว่าโอวาทปาติโมกข์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้รู้แล้วเห็นแล้ว แต่ความรู้ความเห็นนี่แหละเราไม่เข้าใจนะ ท่านจะเห็นอย่างไร รู้อย่างไร ผิดกับเรารู้ เครื่องรู้กล่าวให้ฟังได้ รู้แล้วเห็นแล้วรู้อย่างไร เครื่องรู้เราก็รู้เหมือนกันไม่เห็น เครื่องเห็นนะเราก็เห็นเหมือนกัน อย่างนี้ก็มี นี่ท่านทั้งรู้ทั้งเห็น

    เราทั้งรู้ทั้งเห็นรู้ได้อย่างไร?

    เรารู้เห็นด้วยตามนุษย์เรานี่แหละ สิ่งทั้งหลายมนุษย์เราก็รู้ รู้เห็นด้วยตามนุษย์อย่างนี้นี่แหละ อย่างนี้ก็รู้เห็นอีกชนิดหนึ่ง

    รู้เห็นอีกชนิดหนึ่ง รู้เห็นอย่างนอนฝัน ฝันไปทำฝัน ไปทำหน้าที่ฝัน ไปทำหน้าที่ฝัน กายมนุษย์ละเอียดมันไปทำหน้าที่ฝันลงไป ทำหน้าที่ฝันไปเสร็จเรื่องละก็ ในเรื่องนั้นรู้เห็นมาตลอดเหมือนกัน เพราะไม่รู้ไม่เห็นเอามาเล่าให้ฟังไม่ได้ เพราะมันรู้เห็น แต่ว่าใครรู้เห็นใครรู้เห็นล่ะ? อ้ายตามนุษย์นี่จะเห็นหรือ? อายใจมนุษย์นี่เรารู้หรือ? เปล่า ตามนุษย์นี่หลับ ใจมนุษย์ก็หลับ ไม่รู้ไม่เห็น ตามนุษย์ใจมนุษย์ไม่รู้ แต่ว่ากายมนุษย์ละเอียดที่นอนฝันออกไป อ้ายกายมนุษย์ละเอียดที่ไปเกิดมาเกิด เวลานอนฝันเข้าไปมันไปทำหน้าที่ฝันของมัน มันทั้งรู้ทั้งเห็นเหมือนกัน พอเวลาจะตื่นขึ้น อ้ายมนุษย์ที่มันหลับที่มันฝัน มันก็เอาเรื่องมารายงานกายมนุษย์หยาบนี่ กายมนุษย์หยาบนี่ พอรายงานเสร็จมันก็ตื่นขึ้น ตื่นขึ้นก็จำได้ จำได้ก็เล่าแทน เล่าแทนไอ้กาย มนุษย์ละเอียดไป บางทีก็รัวๆ บางทีจำได้บ้างไม่ได้บ้างรัวๆไปเสีย บางทีก็ชัดดี บางทีรัวๆเพราะกายมนุษย์ละเอียดมารายงานให้ฟัง ก็จำเอามาไม่ได้รู้เองเห็นเอง แต่ว่ากายมนุษย์ละเอียดที่มันนอนฝันน่ะมันรู้เองเห็นเอง

    แต่เรื่องนี้ผู้เทศน์นี้ได้ไต่สวนพุทธศาสนาชัดเจนแล้ว หลายชั้นจริงความรู้ความเห็น ไม่ใช่รู้เห็นแต่เพียงกายมนุษย์ใจมนุษย์นี้เท่านั้น รู้เห็นตากายมนุษย์ละเอียด ก็มีเห็นมีรู้อีกเหมือนกัน

    ไม่ใช่มีรู้เห็นกายมนุษย์ละเอียดเพียงเท่านั้น ฝันในฝันมีอีก กายทิพย์ยังมีเห็นมีรู้อีก

    ไม่ใช่เท่านั้น กายทิพย์มีเห็นมีรู้เหมือนกัน กายทิพย์ละเอียดก็มีเห็นมีรู้อีกเหมือนกัน แบบเดียวกันชัดกว่ากันอีก ละเอียดหนักเข้าไปขัดหนักเข้า ละเอียดหนักเข้าไปชัดหนักเข้า ละเอียดหนักไปชัดหนักเข้า

    ไม่ใช่เท่านั้น กายรูปพรหมที่อยู่ในพรหม๑๖ ชั้นนะ มีเห็นมีรู้แบบเดียวกันมนุษย์นี่แหละ

    ไม่ใช่เท่านั้น กายรูปพรหมละเอียดที่อยู่ในรูปพรหมนั่นแหละมีเห็นมีรู้อีกเหมือนกัน

    สูงขึ้นไปกว่านั้น กายอรูปพรหมก็มีรู้มีเห็นอีกเหมือนกัน

    กายอรูปพรหมละเอียดก็มีรู้มีเห็นเหมือนกัน เอ๊ะ ก็เป็นอรูปพรหมจะมีรูปอะไรอีกหรือ? อรูป-พรหมไม่มีรูปไม่ใช่หรือ? เปล่า ก็อมนุษย์มีถมไปไงล่ะ อมนุษย์น่ะ นอกจากมนุษย์สัตว์เดรัจฉานก็อมนุษย์เปรตอสูรกายก็อมนุษย์ เทวดา๖ชั้นฟ้าอมนุษย์ทั้งนั้นไม่ใช่มนุษย์ เป็นมนุษย์ก็มนุษย์นี่คนหนึ่ง ก็อรูปพรรณมันไม่ใช่รูปพรหม มันละเอียดกว่ารูปพรหม เขาเรียกว่าอรูปพรหม มันพ้นจากรูปพรหมไปเสียเรียกว่าอรูปพรหม

     คือพระพุทธเจ้าท่านเองเป็นผู้รู้ ผู้เห็นด้วยวิธีอย่างไง? ต้องขึ้นไปอีก เลยรูปพรหมอรูปพรหมขึ้นไปก็มีกายธรรมรูปพระปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเป็นกระจกคันฉ่อง ส่องเงาหน้าหย่อนกว่า ๕ วา สูงหย่อนกว่า ๕ วา

     กายธรรม มีกายธรรมละเอียด กายธรรมละเอียด หน้าตัก ๕ วา สูง ๕ วา นั้นกายธรรมนั้นแหละเป็นพระตถรคตเจ้าทีเดียว ที่พระองค์ทรงกล่าวกับพระวักกลิว่า

     วกฺกลิ หิ                วักกลิๆจงถอยออกไป

     อิมํ ปูติกายํ ทสฺสนํ            จะมาดูใยร่างกายของตถาคตเป็นของเปื่อยเน่า

     โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ ใส มํ ปสฺสติ    ว่าสำแดงวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเราคือตถาคต

     ธมฺมกาโย อหํ อิติปิ            เราตถาคตคือธรรมกาย

    ธรรมกายเป็นตัวพระตถาคตเจ้าเชียวน่ะ ธรรมกายโคตรภู ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดโคตรภู ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดโสดา ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดของพระสกทาคา ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดพระอนาคา นั่นยัง ยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า ชานตา ปสฺสตา ธรรมกายหยาบ-ธรรมกายละเอียดของพระอรหัต นั่นแน่ พระตถาคตเจ้าพระองค์นี่แหละ ที่๑๐ นี้แหละ นี่แหละที่ท่านทรงรับสั่งว่า อุทฺทิฎฐํ โข เตน ภควาตา ชานตา ปสฺสตา อรหตา สมฺมาสมฺพุทฺเธน องค์นี้ๆเป็นผู้กล่าวโอวาทปาติโมกฺขํ ตีหิ คาถาหิ องค์นี้แหละเป็นผู้กล่าว องค์นี้แหละปฏิญาณตนว่าเป็นผู้รู้ผู้เห็น นี้แหละผู้รู้เองเห็นเองแหละ ชานตา รู้ ปสฺสตา เห็น เห็นด้วยตาธรรมกาย รู้ด้วยญาณธรรมกาย เห็นจริงรู้จริง ไม่ใช่คาดคะเนเล่นเดา เห็นจริงรู้จริง เมื่อเห็นจริงรู้จริง ถึงได้ทรงแสดงขึ้นโดยพระคาถา ๓ พระคาถา ดังพรรณนาต่อไปว่า

    ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขานี้แหละจำไว้เถอะ หญิงก็จำไว้เถอะ ชายก็จำไว้เถอะ พระพุทธเจ้าให้นิพพานไว้ชัดๆทีเดียว ให้นิพพานไว้ชัดๆทีเดียว หญิงจะไปนิพพานก็ตั้งอยู่ในความอดทน ชายจะไปนิพพานก็ตั้งอยู่ในความอดทน ถ้าไม่อดทนไปนิพพานไม่ได้ ต้องอดทนกันจริงๆ เห็นด้วยตาก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินด้วยหูก็สักแต่ว่าได้ยิน ได้ทราบด้วยจมูกก็สักแต่ว่าทราบ ได้ทราบด้วยลิ้นก็สักแต่ว่าทราบ ได้ทราบด้วยกายก็สักแต่ว่าทราบ ได้รู้แจ้งทางใจก็สักแต่ว่ารู้ จะไปเอาเป็นชิ้นเป็นอันใช้ไม่ได้ ก็สักแต่ว่าไปเท่านั้นแหละ มันจะเป็นอย่างไรก็ช่างมันเรื่องมัน ก่อนที่เราจะเกิดมา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์  มันก็มีอยู่แล้ว กำลังจะเกิดมาปราฏำอยู่ในบัดนี้ รูป เสี่ยง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมามณื เหล่านี้มันก็มีอยู่แล้ว เราจะตายไปเสียแล้ว รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เหล่านี้มันก็มีอยู่แล้วเราจะไปเป็นเจ้าของมันไม่ได้หรอก มันไม่ใช่ของใคร มันเป็นของกลางๆ ถ้าเราจะไปเป็นเจ้าของของกลาง มันจะเป็นอย่างไร? เราจะต้องตระหนกละซิ ไอ้นี่เห็นสติวิกาลไปเสียแล้ว เราไปในทะเล นั่งเรือใบ เรือกล หรือเรือกลไฟใหญ่ก็ตาม พอไปถึงทะเลละก็ ดีอกดีใจหัวเราะร่าเริง นี่ของข้าๆ ไม่ใช่ของใคร ของข้าแท้ๆใครจะมายุ่งไม่ได้ ทะเลของข้า ไม่น? มันจะถือทะเลเอาเข้าแล้วเป็นของๆ มัน เราจะว่าไงล่ะ อีกคนหนึ่ไม่เช่นั้นเข้าไปในป่าใหญ่ๆ มันก็ยืนหัวเราะร่าเริง ว่าไอ้ป่านี่ของข้าๆ เอาละซิๆ จะว่าอย่างไรมัน ไอ้นี่คนอย่างไงไม่ว่า หากว่าหญิงเป็นอย่างไงไม่ว่า หากว่าชายเป็นอย่างไงไม่ว่า สติมันถึงได้วิกาลไปแล้วละเจ้า นั่นแน่ เราจะหาว่ามันเข้านั้น เพราะทะเลเป็นของใคร มันก็เป็นของกลาง ใครจะเอามันได้ ป่าก็เป็นกลางใครจะเอามันได้ มันไปในดินในอากาศ ไปพบอากาศว่างๆ โอๆ อากาศว่างๆ เดินไปบนอากาศนี่อากาศของข้าของกู ใครจะมายุ่งไม่ได้ มันก็ถือมันมั่นคงทีเดียว เราก็จะเอาอีกแล้วไอ้นี่ไม่ได้กาลละโว๊ยจะต้องระวังกระโจนเครื่องบินเป็นระรอก นี่เราจะต้องตกใจอย่างนี้ นี่ฉันใด เรามาถือเอารูปเป็นของๆ เราเป็นอย่างไรบ้าง เออไอ้รูปนี่ของข้า ของข้าล่ะ เราจะเป็นอย่างไงบ้างนึกดูซิ รูปของข้ารูปใครล่ะ? รูปสามีภรรยารูปบุตรเล็กดาไม่ใช่รูปใคร รูปถ้วยโถโอชามมันอย่างนี้แหละ นี่ของข้าของข้า เอออ้ายนี่มันจะเป็นอย่างไงล่ะ ใจคอมันจะเป็นอย่างไงแล้วหรือ เราจะถามใจคอเป็นอย่างไงแล้วนี่ เพราะไม่รู้จักของกลาง ไปถือว่าของข้าไปเสียหมด นี่ไปยึดถือเอาอย่างนี้ ยึดถืออย่างนี้ผิดหรือถูก ผิด ผิดจากขันตี ผิดจากความอดทน ขันตีไม่ใช่ประสงค์อย่างนั้น ขันตีอดทนจริงๆ อดทนและอดใจด้วยยินดีในรูป เสียง รักใคร่ในรูปเสียงให้ใจขาด ยินดีก็ยินดีไป รักก็รักไป อดทนเฉยทำเป็นมี่รู้ไม่ชี้เสีย ทำเป็นไม่เอาใจใส่เสียอย่างงั้นแหละ รูปก็อดทนเสีย เสียงก็อดทนเสีย ยินดีในเสียง ยินดีในกลิ่นก็อดทนเสีย ยินดีในรูปก็อดทนเสีย ยินดีในสัมผัสก็อดทนเสีย ไม่ยุ่งกับมันหรอก ยินดีอารมณ์ที่เกิดกับใจก็ไม่ยุ่ง วางใจเป็นกลางหยุดเฉยยิ้มแฉ่งเชียว อย่างนี้ อย่างนี้คนมีปัญญาอย่างนี้คนเห็นถูก อย่างนี้คนทำถูก อย่างนี้คนมีขันตี อดทน นี่แหละอดทนอย่างนี้แหละใช้ได้ อดทนอย่างนี้แหละไม่ไปไหนล่ะ ไปนิพพานตรงทีเดียว ถ้าอดทนได้อย่างนี้ไปนิพพานทีเดียว นิพพานน่เป็นอย่างไรละ? ครั้นจะแสดงให้กว้างออกไปกว่านี้เวลาไม่พอนะ มันน้อย จำกัดเวลาหน่อยเรื่องมาก

    พระผู้มีพระภาคทรงรับสั่งว่า นิพพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทธา แปลเป็นสยามภาษาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงรับสั่งว่านิพพานเป็นเยี่ยม เยี่ยมยังไง เยี่ยมกว่าทั้งหมด เราอยู่ในมนุษย์โลกนี้ นี่มันก็เป็นหญิงเป็นชายอยู่ในมนุษย์โลกนี้ เดิมมันก็เป็นเด็ก แล้วก็แก่แปรมาเป็นลำดับ เป็นเด็ก ก็ยังเป็นเด็กอยู่อย่างนี้แหละหนักเข้าก็เป็นหนุ่มเป็นสาว หนักเข้าก็เป็นคนมีเหย้ามีเรือน หนักเข้าก็เป็นคนแก่แปรไป เป็นตาเป็นยายไปแล้วแปรไปอย่างนี้ นี่เราอยู่ในมนุษย์โลกมันแปรไปอย่างนี้ มันไม่เที่ยง มันไม่ตรง แล้วมันจะดีหรือไม่ดีอยู่ในมนุษย์โลก? เยี่ยมหรือไม่เยี่ยม? เยี่ยมอะไร เยี่ยมป่าช้านะซิ ประเดี๋ยวก็เผา ประเดี๋ยวก็เผากัน ประเดี๋ยวก็ฝังกัน เยี่ยมอะไรล่ะ มันไม่เยี่ยม

    เมื่อไม่เยี่ยม เอ้าล่ะคราวนี้ไม่อยู่แล้วในมนุษย์โลก ไม่เยี่ยม เลยขึ้นไปกว่านี้อีก เลยไปไหน? จตุมหาราช ไปเป็นเทวดาชั้นจาตุมหาราช ไม่ช้าเท่าไร เทวดาชั้นจาตุมหาราชไปอีกแล้วแบบเดียวกับมนุษย์อีกแล้ว ดับไปอีกแล้ว

    เอ้า ไม่เอาล่ะ ไม่เยี่ยม จตุมหาราช ดาวดึงส์ ดุสิต นิมมานรดี ปรนิมมิตวสวัตดี แบบเดียวกันหมดไปเอา พวกเหล่านี้ไม่เอาล่ะ ยุ่งนักพวกชั้นกามภพนี่ ไปเสียรูปภพเถอะ ไปเป็นรูปพรหม พรหมปริสัชชา พรหมปุโรหิตา มหาพรหมา ปริตตาภาเป็นชั้นๆ ขึ้นไป อัปปมาณาภา อัสสรา ปริตตสุภา อัปปามารสุภา อัปปมาณสุภา สุภกิณหา เวหัปผลา อสัญญสัตตา อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทสสี อกนิฏฐา ๑๖ ชั้นทีเดียวไปเป็นพรหมเสีย ๑๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ก็แปรแบบเดียวกัน พอสิ้นอำนาจรูปฌานแล้วก็ต้องไปเกิดมาเกิดอีกไม่เที่ยงไม่แน่ๆ แปรผันทั้งนั้น

    ไม่เกิดเป็นอรูปพรหมเถอะ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ พอถึงเนวสัญญานาสัญญา ก็บอกว่า ๘๔,๐๐๐ มหากัป นั่นแน่ ไปนอนอยู่เป็นสุขสบาย ๘๔,๐๐๐ มหากัป ถึงสุขนอนขนาดนั้นก็ช่างเถอะ ถึงครบ ๘๔,๐๐๐ มหากัป อรูปพรหม ไปอีก อีกแล้ว ต้องเร่ร่อนไปอีกแล้ว ไม่เลิศไม่ประเสริฐพวกเหล่านี้ แปรผันเป็นอย่างนี้ ไม่เยี่ยม

     เอ้าคราวนี้ไปนิพพานกันนะ นิพพานอยู่ที่ไหนล่ะ? รู้จักไหมล่ะภพ ๓ ที่เราอยู่? ที่เราอยู่นี่ภาพ ๓ นี่เราอยู่นี้เรียกว่าชั้นมนุษย์

     สูงขึ้นไปจากมนุษย์นี่ ๔๒,๐๐๐ โยชน์     ถึงชั้นจาตุมหาราช
     สูงขึ้นไปอีก  ๔๒,๐๐๐ โยชน์        ถึงชั้นดาวดึงส์
     อีก ๔๒,๐๐๐ โยชน์            ถึงชั้นดุสิต
     อีก ๔๒,๐๐๐ โยชน์            ถึงชั้นนิมมานรดี
     อีก ๔๒,๐๐๐ โยชน์            ถึงชั้นปรนิมมิตวสวัตดี

    ขึ้นไปชั้นพรหม ๕,๕๐๘,๓๐๐ โยชน์โน้น พรหมปริสัชชา พรหมปุโรหิตา เท่าๆกันขึ้นไป จนกระทั่งอกนิฏฐา ขึ้นไปเท่าๆกัน หรือว่าสูงขึ้นไปกว่านั้น หรือว่าต่ำลงไปกว่านั้น มนุษย์โลกนี้ ต่ำกว่ามนุษย์โลกลงไป นรกสัญชีพ กาฬสุตตะ สังฆาตะ โรรุวะ มหาโรรุวะ ตาปะ มหาตาปะ อเวจี ขอบภพข้างล่าง เนวสัญญานาสัญญายนะขอบภพเบี้องบน สูงเท่าไรกว้างเท่าไรก็ระยะเท่ากัน นี่เราเรียกว่าภพ๓

    ถ้ารู้จักภพ ๓ เท่านี้แล้ว เราก็จะไปนิพพานกันละทีนี้ ไปนิพพานต้องสูงกว่านี้ นิพพานก็เท่าๆกับภพ๓นี่แหละ ไม่โตกว่าภพ๓นี่ จะไปนิพพานล่ะ ต้องเอาเชือกสักเส้นหนึ่งผูกเข้ากับขอบภพข้างบนโน้น ชั้นแนวสัญญานาสัญญายตนะ นั่นนะ แล้วก็ปล่อยลงมาถึงอเวจีโน้นขอบภาพข้างล่าง เกี่ยวเอาขอบภพข้างล่าง ผูกไว้ พบเข้ามาอีกเที่ยวหนึ่งถึงแนวสัญญานาสัญญายตนะ ขอบภพข้างบน แล้วปล่อยลงมาอีกเที่ยวหนึ่งถึงขอบภพข้างล่างอีก ถึงอเวจีอีก จะไปนิพพานแล้วนะ จับปลายเชือกนั่นเข้า ยืดขึ้นไป ยึดขึ้นไป จนกระทั่งสุดเชือก๓นั่นแหละ ถึงขอบล่างของนิพพานพอดีเชียว ถึงขอบล่างของนิพพานพอดี ที่เรียกว่า นิพพานมี ๒ อย่างนะ อายตน นิพพานอย่างหนึ่ง แล้วก็พระนิพพานอย่างหนึ่งให้รู้จักอย่างนี้ ถ้าไม่รู้จักเลอะเทอะอย่างนี้เอาล่ะเถียงกันปนปี้ละ อาตยนนิพพานนะที่อยู่ของพระพุทธเจ้าท่าน อายตนะเขาแปลว่าดึงดูด หรือแปลว่าบ่อเกิด อายตน แปลว่าดึงดูดหรือบ่อเกิด บ่อเกิดของตาดึงดูดรูป บ่อเกิดของหูดึงดูดเสียง บ่อเกิดของจมูกดึงดูดกลิ่น บ่อเกิดของลิ้นดึงดูดรส บ่อเกิดของกายดึงดูดสัมผัส บ่อเกิดของใจดึงดูดธรรมารมณ์มันดึงดูดอย่างนี้ อายตนภพ๓มันดึงดูดเหมือนกัน กามภพดึงดูดพวกติดในกาม รูปภพดึงดูดพวกติดรูป ติดรูปแล้วต้องไปอยู่ชั้นนั้น อรูปภพดึงดูดพวกติดอรูป ไปติดไปอยู่ชั้นนั้น

    ส่วนอายตนนิพพาน อายตนนิพพาน เป็นอายตนอีกอันหนึ่งสำหรับดึงดูดพระนิพพาน ถ้าใครทำใครปฏิบัติหมดกิเลสเข้า เป็นมนุษย์ไปนิพพานไม่ได้ มีกิเลส เป็นกายทิพย์ไปไม่ได้ มีกิเลส เป็นกายทิพย์ละเอียด กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด อรูปพรหม อรูปพรหมละเอียดไปไม่ได้ ยังติดอยู่ในกามรูปพรหมทั้ง๑๖ ก็ไปไม่ได้ อรูปพรหมทั้ง๔ ก็ไปไม่ได้ยังติดอยู่ในอรูปฌาน ต้องหลุดหมด พอหลุดหมดแล้วก็ไปนิพพาน

    ถ้าไปนิพพานมีธรรมกาย มีธรรมกายหน้าตักกว้าง ๒๐ วา สูง ๒๐ วาเกตุดอกบัวตูมใสเป็นกระจก ใสยิ่งกว่ากระจกคันฉ่องส่องเงาหน้า แตกกายทำลายทำลายขันธ์ ปล่อยให้กาย ๑๖ เหล่านี้หมด กายธรรมของพระอรหัต กายธรรมของพระอรหัตละเอียดไปนิพพาน ไปนิพพานนี่มีวิธีจะไปอย่างไง? เออ มันจะยากง่ายอะไรมนุษย์นี่ยังยากกว่า ไปน่ะไปนิพพานนะ นึกอยู่กับใจก็แล้วกัน ใจก็คิดเอาซิไปนิพพาน พอนึกว่าไปนิพพานมันก็ถึงนิพพานแล้ว ไปง่ายอย่างนี้นี่นะ นั่นแหละนิพพานสูงแค่นั้น สูงเท่านั้นล่ะก็ เท่ากับภพ๓ เท่ากันนั้นเรียกอายตนนิพพาน สำหรับดึงดูดพระนิพพานกายธรรมหน้าตัก ๒๐ วา สูง ๒๐ วา เกตุดอกบัวตูมใส ไปนิพพาน ไปนิพพานทีเดียว

    พวกเราทั้งหมดต้องไปนิพพานเหมือนกันหมด แต่ว่าต่างกันตรงที่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ไม่เหลือเลยสักคนเดียว ที่แก่ๆ แล้วก็ไปนิพพานหมด ปฏิบัติถูกส่วนนะ ถ้าไม่ถูกส่วนช้าหนักไม่ไปเหมือนกัน แต่ว่าถึงนานๆ หนักเข้าๆ มันก็ไป มันไม่หลุดไม่พ้นหรอกต้องไปนิพพานทั้งหมดนี่แหละ ไม่หลงเหลือทีเดียว ถ้าจะพูดเรื่องไปนิพพานทั้งหมดนะ ดูๆมันจะเหลือวิสัย ไอ้คนเกเรเกเสท่ามันจะไปไม่ได้ ชาติหนึ่งมันเกเรเกเสชาติหนึ่งมันลามก ไอ้ชาติต่อๆไปมันจะดีขึ้นมั่งซิ มันก็คงมีบุญบ้างซิชาติใดชาติหนึ่ง ถ้ามีบุญก็ไปได้อย่างพวกเรานี่นะเป็นกษัตริย์มานับชาติไม่ถ้วนแล้วก็มีคนหนึ่งๆ เป็นบ่าวเป็นทาสเขานับชาติไม่ถ้วนมาแล้วก็มีคนหนึ่งๆเกเรมานับหนไม่ถ้วนก็มีเหมือนกัน ดีนับหนไม่ถ้วนแล้วก็มีเหมือนกัน แต่ว่าลงท้ายมันก็ปนเปกันไปอย่างนี้ ตุรัดตุเหร่เป็นอย่างนี้เพราะอะไรล่ะ เพราะเหตุฉะนี้แหละไม่เยี่ยม ภพเหล่านี้ไม่เยี่ยม อยู่ไม่ตลอด

    พอไปถึงนิพพานแล้ว ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นอย่างใดก็เป็นอย่างนั้น สวยหนักงานหนักสะอาดหนักขึ้นไป คงที่ทีเดียว ตาทิโน คงที่ ตาทิโน คงที่ทีเดียว เมื่อคงที่เช่นนี้แหละท่านถึงเรียกว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทธา พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวนิพพานว่าเป็นเยี่ยม เยี่ยมจริงๆ ด้วย นี่ข้อที่๒ของ โอวาทปาติโมกข์

     ข้อที่สาม
    น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี เป็นนักบวชไม่ฆ่าสัตว์เด็ดขาดเชียว ถ้าฆ่าสัตว์เป็นนักบวชไม่ได้ ถ้าพระเป็นอาบัติ ถ้าเณรศีลขาด ฆ่าสัตว์เข้า เป็นเณรไม่ได้

หากว่าเป็นเณรไปฆ่าสัตว์เข้า จะเป็นไง? ฆ่าเรือด ฆ่ายุง ฆ่าเลน ฆ่าไรเข้า มันก็มีแต่เปลือกนอกนะซิตัวเณรหายไปเสียแล้วเหลือคนนั้นคนนี้ไปแล้ว เหลือเปลือกนอก ตัวหนีไปเสียแล้ว ตัวเณรหายไปเสียแล้วตัวหนีไปแล้ว ตัวหนีไปเหมือนอะไร? เหมือนต้นโพธิ์ที่ตายลงไปแล้ว แต่ว่าไอ้ต้นตำลึงมันงามไปถึงต้นโพธิ์มันก็ขึ้นตามต้นโพธิ์ตลอดไป เป็นใบตำลึงทั้งต้น ใบตำลึงทั้งต้น เถาตำลึงทั้งต้น ไอ้ต้นโพธิ์ตายเสียแล้ว เถาตำลึงมันพันอยู่ เราไปดูๆ แล้วไอ้นี่ต้นโพธิ์ ที่ไหนได้ ไปดูใกล้ๆ เข้า ไอ้นี่มันเถาตำลึงทั้งนั้นนี่ ต้นโพธิ์ตายเสียแล้วหรือนี่ นั่นแหละสามเณร ไปเพลี่ยงพล้ำไปบี้เรือด บี้ยุง บี้ไรเข้า เอาแล้ว ศีลไปหมดแล้ว เณรหายไปเสียแล้ว เหลือแต่เจ้านั่นเจ้านี่ไปแล้วละ ไปหมด นี่มันเป็นอย่างนี้ เมื่อรู้ว่า เพราะฉะนั้นเป็นนักบวชไม่ได้ ต้องเล็กจากการฆ่าสัตว์เด็ดขาดเชียว

    ถ้าเป็นคนรักษาศีล๘ ล่ะ ถ้าไปฆ่าเรือด ฆ่ายุ่ง ฆ่าไร ฆ่าสัตว์เข้าอีกนั่นแหละ ไม่มีแล้วนุ่งขาวก็กขาวเล่อๆอย่างนั้นเองไม่มีศีล๘แล้ว เท่ากับคนไม่นุ่งขาวแล้ว เท่ากับคนไม่นุ่งขาวเท่ากับคนไม่โกนหัวแล้ว หากว่าจะมีก็ ศีล๕ หรือเพลี้ยงพล้ำแล้วศีล๕ ก็ไม่มีเสียอีก

    หรือคนรักษาศีล๕ ก็เข้าไปฆ่าสัตว์เข้า หรือลักทรัพย์สมบัติเข้า ล่วงประเวณีเข้า หรือว่าไปพูดปดเข้า เสพสุราเข้า หมดอีก ศีลหมดอีกข้อใดข้อหนึ่ง เพราะฉะนั้น เป็นนักบวชนะ แต่ว่านี่ท่านจำเพาะแต่นักบวชนะ จะบวชเป็นพระป็นเณร เป็นอุบาสก อุบาสิกา นุ่งขาวห่มขาวก็ตามเถอะ แต่ว่าถ้าฆ่าตัวเป็นให้จำตายแล้วละก็ศีลไม่มีแล้วหนา ศีลหายหมด แต่ว่าศีล๘นะจำเป็นอยู่ เป็นธรรมประจำก็มี เป็นนาสมังคะก็มี เหมือนสามเณรศีล๕ เบื้องต้น เป็นนาสมังคะล่ะ ต้องเข้าแล้วศีลขาดหมด ถ้าว่าไปต้องตอนปลายล่ะ เป็นหญิงเป็นชีไปเอาข้างหลามเข้า กระบอก๒ กระบอกเป็นชีไปเข้า บริโภคอาหารในเวลาวิกาล ถ้าบริโภคอาหารในเวลาวิกาลก็เป็นนาสมังคะ นาสมังคะก็ต้องทำโทษ ไปปฏิบัติวัตรถาก ไปกวาดพื้นอุโอสถหรือไปกวาดพื้นพระเจรดีย์ หรือไปแก้ไขรีบชำระสะส่งที่เสียให้สะอาดในที่บริเวณพระเจดีย์ หรือในที่รูปพระปฏิมากรก็ช่างเถอะ หรือในเขตวัดก็ตาม หรือจไปทำอะไรก็ตามเถอะ แต่ว่าเป็นปฏิบัตินหน้าที่ของในทางพุทธกิจในทางพระพุทธศาสนา ปฏิบัติรูปพระปฏิมากร หรือปฏิบัติพระเจดีย์ วิหาร อันหนึ่งอันใดทำให้สะอาด นั่นละก็เป็นพรหมจรรย์ กราบไหว้เสียไม่ลุล่วงต่อไป ปฏิญาณตนเสียเท่านั้นศีลจะบริสุทธิ์ได้ เขาเรียกว่าพรหมจรรย์ พระนั่นไม่มี พระไปทำเข้าเช่นนั้นพระต้องแสดงอาบัติ เพราะอุกาบัติต้องแสดงอาบัติ นิสสัคคีย์ ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนีย์ เหล่านี้ต้องไปแสดงอาบัติ แสดงอาบัติก็กลับบริสุทธิ์ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเป็นนักบวชแล้ว ยังฆ่าสัตว์อยู่ใช้ไม่ได้ การฆ่าสัตว์น่ะไม่ใช่ฆ่าทีเดียวตาย ทำลำบากยากแค้นด้วยวิธีใดหรือทำทีเดียวตายก็ได้ชื่อว่าฆ่าสัตว์อยู่เหมือนกัน หรือทำทรมานประการใดประการหนึ่ง จนกระทั่งถึงตายก็เรียกว่าฆ่าสัตว์ ถ้าถึงตายก็เรียกว่าฆ่าสัตว์ ถ้าไม่ถึงตายก็ไม่เรียกว่าสัตว์ ต้องถึงตาย นี้ ปรูปฆาตีสมโณ

     น หิ ปพฺพชิโต ปรูฆาตี ไม่ฆ่าสัตว์เด็ดขาดทีเดียวได้ชื่อว่าเป็นนักบวชถึงจะนับว่าเป็นนักบวชได้

    สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ชื่อว่าเป็นสมณะละก็ ไม่เบียดเบียน สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ชื่อว่าเป็นสมณะละก็ไม่เบียดเบียนทีเดียว วิธีเบียดเบียนเป็นอย่างไง? เบียดเบียนด้วยกายบ้าง เบียดเบียนด้วยวาจาบ้าง เบียดเบียนด้วยใจบ้าง ไอ้เบียดเบียนนี่มันกว้างออกไป

    เบียดเบียนด้วยกาย เบียดเบียนอย่างไงล่ะ? นั่งใกล้รุกเข้าไปมั่ง นั่งใกล้ๆ รุกเข้าไปมั่ง นั่งรุกเข้าให้เจ้ารำคาญ นอนรุกเข้าบ้างให้เจ้ารำคาญอย่างนี้แหละ อย่างนี้เขารำคาญด้วยประการ ก็ได้ชื่อว่าเบียดเบียนเขาด้วยประการนั้น หรือทำนารุกที่นาเข้าบ้าง ทำสวนรุกที่สวนเขาบ้าง ทำไร่รุกไร่บ้าง ปลูกบ้านปลูกเรือนรุกที่รุกทางกันเหล่านี้ เบียดเบียนกันทั้งนั้นเหล่านี้ หรือไม่เช่นนั้นๆ อยู่ใกล้เคียงกันอยากให้เค้าไปซะ เอาของโสโครกใส่เข้าไปในบ้าน เหล่านี้เบียดเบียนทั้งนั้น ทำให้เขาเดือดร้อนด้วยกาย จะทำวิธีอะไรก็ทำไปเถอะ ได้ชื่อว่าเบียดเบียนด้วยกาย

    จะพูดสิ่งใดด้วยวาจาใช้เหล็กแหลมอยู่ข้างใน....เอาเสียงเอาปากนั่นทิ่มแทง เอาเสียงนั่น เอาปากนั่นแทง แทงเขา แล้วก็พูดเสียดแทงเขา พูดเสียดแทงเขาพูดกระทบกระเทือนเขา พูดเปรียบเปรยเขาต่างๆ นาๆ ให้เขาเดือดร้อนใจแหละ ก็ได้ชื่อว่าเบียดเบียนเขาๆเบียดเบียนเขาเป็นสมณไม่ได้ ใช้ไม่ได้ไม่เบียดเบียน

    หรือทางใจคิดเบียดเบียน คิดเบียดเบียนเขาด้วยประการใดประการหนึ่ง มากมายละคิดเบียดเบียนน่ะ คิดเบียดเบียนมากมายนัก เหลือประมาณทีเดียว ให้เขาเดือดร้อนด้วยประการใดประการหนึ่ง จะคิดอย่างหนึ่งอย่างใดก็คิดไปเถอะ ลงท้ายเบียดเบียนเขาด้วยใจ เบียดเบียนเขาด้วยกาย เบียดเบียนเขาด้วยวาจาเหล่านี้ เป็นสมณะไม่ได้ ไม่ควรเป็นสมณะทีเดียว ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะทีเดียว สมณะเขาแปลว่าผู้สงบ สมณะในทางพระพุทธศาสนา......มีอินทรีย์สงบระงับแล้ว ...ใจก็สงบ...ถึงแล้วซึ่งความสงบทั้งกายและใจ นี่แหละเป็นสมณะเป็นสมณะขึ้นชื่อว่าเป็นสมณะ พระองค์ทรงรับสั่งกับพระราหูล เปิดอกเชียว เรื่องนี้เรื่องเบียดเบียนนะ ไม่ให้เบียดเบียน พระราหุล ถ้าจะทำสิ่งใดด้วยกาย ให้เอาปัญญาเข้าสอดส่องตรองเสียก่อนนะ ถ้าว่าร้อนเราแล้วอย่าทำ ร้อนเขาอย่าทำ ร้อนทั้งเขาทั้งเราอย่าทำ ถ้าไม่ร้อนแล้วก็ทำเถิด ท่านจะคิดสิ่งใด จะพูดสิ่งใดด้วยวาจา ต้องเอาปัญญาเข้าสอดส่องตรองเสียก่อนนะ ถ้าว่าร้อนเราอย่าพูด ร้อนเขาอย่าพูด ร้อนทั่งเราทั้งเขาอย่าพูด ถ้าว่าไม่ร้อนก็พูดเถิด  ท่านจะคิดสิ่งใดทางใจ ถ้าร้อนเราอย่าคิด ร้อนเขาอย่าคิด ร้อนทั้งเราทั้งเขาอย่าคิด ถ้าไม่ร้อนก็คิดเถิด อย่างนี้สอนอย่างลูกทีเดียว สอนอย่างเปิดอกทีเดียวนี้พระบรมนายกแม้จะเสร็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว วางหลักฐานไว้เช่นนี้ เราอยากเป็นลูกพระตถาคตเจ้าแล้วละก็ ต้องเดินแบบอย่างนี้ ทั้งกายทั้งวาจาทั้งใจ อย่างนี้ไม่ให้เบียดเบียนใครผู้ใดผู้หนึ่งให้บริสุทธิ์ทีเดียวทั้งกาย ทั้งวาจา ทั้งใจ นี่แหละเป็นลูกของพระตถาคตเจ้าทีเดียว ให้แน่นอนอย่างนี้นะ นี่เรียกว่า สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ๔ ข้อ จบพระคาถาต้น

      คาถาที่สองรองลงไปลำดับ ก็อีกนั่นแหละ
     สพฺพปาปสฺสฏก อกรณํ    ไม่ทำชั่วด้วยกายด้วยวาจาตลอดถึงใจนี่เป็นพระวินัยปิฏกเชียวหนา

     กุสลสฺสูปสมฺปทา    ยังกุศลให้ถึงพร้อม ทำความดีให้มีขึ้นด้วยกาย ด้วยวาจา ตลอดถึงใจนี่เป็นพระสุตตันตปิฏกทีเดียว

      สจิตฺจปริโยทปนํ    ทำใจของตนให้ใส นี้ปรมัตถปิฏกทีเดียว

    วินัยปิฏกก็คือศีล สุตตันตปิฏกก็คือสมาธิ ปรมัตถปิฏกก็คือปัญญา จะกว้างขวางออกไปเท่าไรไม่ว่าที่เรียกว่า พระวินัยปิฏกนะต้องอยู่ในศีล๕ คัมภีร์ มหาวิภังค์ ภิกขุนีวิภังค์ มหาวัคค์ จุลลวัคค์ บริวารอยู่ในศีลอันเดียวอันนั้นแหละ บริสุทธิ์กาย บริสุทธิ์ใจ ไม่มีร่องเสียแล้ว อยู่ใน๕คัมภีร์นี่หมด

    กุสลสฺสูปสมฺปทา ทำกุศลให้ถึงพร้อมๆหรือทำความดีให้มีพร้อมนั้น นี้มากน้อยเท่าไรก็ช่าง อยู่ในพระสุตตันตปิฏก สุตตันตปิฏก มี๕คัมภีร์ สุตตันตปิฏก มี๕คัมภีร์ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย ๕คัมภีร์ ก็อยู่ในความบริสุทธิ์ใจ อยู่ในใจหยุดใจนิ่ง ใจเป็นสมาธินั่นแหละ ๕คัมภีร์ทีเดียว

    ส่วนปรมัตถปิฏก สจิตฺตปริโยทปนํ เมื่อใจของตนให้ผ่องใสแล้ว ไม่มีราคีขุ่นมัวให้อยู่ในใจใสเสมอไปนั้นปรมัตถปิฏก ยกเป็น ๘คัมภีร์ สังคณี วภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ๗คัมภีร์ มหาปัฏฐานเป็นที่สุด ในสุตตันตปิฏก วินัยปิฏก ปรมัตถปิฏก นี้ ยกเป็นศีล สมาธิ ปัญญา ยกเป็นตัวพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในบัดนี้ ถ้าจัดเป็นพระธรรมขันธ์ถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ถ้าจัดเป็นปิฏกไปถึง ๓ปิฏก วินัยปิฏก สุตตันตปิฏก ปรมัตถปิฏก ยกเป็นตัวแท้แน่นอนนี่แล้วอยู่กับใจของตัวนี่เอง อยู่ในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์นั่นแหละ เป็นศีล สมาธิ ปัญญานั้นเอง

    วัดปากน้ำสอนให้เดินในศีล สมาธิ ปัญญา นี่เสมอ ไม่ได้ไปทางอื่นเลย เมื่อเดินไปในดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายมนุษย์แล้ว ก็เข้าถึงกายมนุษย์ละเอียด เข้าไปในทาง ศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อเข้าไปถึงกายทิพย์ ต้องเข้าไปในดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะไป ถ้าเข้าไปในกายทิพย์ละเอียด ก็ต้องเดินไปในดวงศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ  วิมุตติญาณทัสนะ ของกายทิพย์หยาบเข้าถึงกายทิพย์ละเอียดเมื่อเข้าไปถึงกายอรูปพรหม ก็แบบเดียวกัน เดินไปอย่างนี้ นี้ไม่ได้เคลื่อนคลาดละ นี่ได้ชื่อว่าในบาทพระคาถาที่๒ รับรองว่า พระองค์ทรงรับสั่งว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อย่นสกลพุทธศาสนา สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมุปทา สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ดังนี้ นี่เป็นคาถาที่๓ คาถาที่๒ คาถาที่๓ เห็นจะหมดเนื้อความเสียแล้วเวลาไม่พอ ต้องย่นย่อพอสมควรแต่เวลา

    ด้วยอำนาจความสัจจวาจา ที่ได้อ้างธรรมเทศนา ในโอวาทปาติโมกข์คาถา ตามวาระพระบาลีคลี่ความเป็นสยามภาษา ตามมตยาธิบายพอสมควรแต่เวลา วรญฺญํ สรณํ นตฺถิ ส่งอื่นไม่ใช่ที่พึ่งที่ประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย สรณํ เม รตนตุตยํ พระรัตนตัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของเราท่านทั้งหลาย เอเตน สจฺจวชฺเชน ด้วยอำนาจความสัตย์ที่ได้อ้างธรรมปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนอวสานนี้ ขอความสุขสวัสดี จงเกิดมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดามาสโมสรในสถานที่นี้ทุกถ้วนหน้า อาตมาภาพชี้แจงแสดงมาพอสมควรแต่เวลาสมมติว่ายุติธรรมธรรมิกถาโดยอรรถนิยมความเพียงเท่านี้ เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.020580049355825 Mins