เสขิยวัตร หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต (ข้อ ๓ - ๔)

วันที่ 05 เมย. พ.ศ.2561

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , มารยาทในการรับประทานอาหาร , พระธรรมเทศนา โดยหลวงพ่อทัตตชีโว , เสขิยวัตร หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต (ข้อ ๒) หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต หมวดธรรมว่าด้วยมารยาทในการรับประทานอาหาร ข้อ ๓ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก” ข้อ ๔ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร”

เสขิยวัตร
ต้นบัญญัติมารยาทไทย

หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต (ข้อ ๒)
หมวดธรรมว่าด้วยมารยาทในการรับประทานอาหาร

ข้อ ๓ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก”
ข้อ ๔ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร”

--------------------------------------------


เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , มารยาทในการรับประทานอาหาร , พระธรรมเทศนา โดยหลวงพ่อทัตตชีโว , เสขิยวัตร หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต (ข้อ ๒) หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต หมวดธรรมว่าด้วยมารยาทในการรับประทานอาหาร ข้อ ๓ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก” ข้อ ๔ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร”

ข้อ ๓. “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก” 

         คำว่า “แกง” ในที่นี้หมายถึงกับข้าวนั่นเอง มารยาทในการรับบาตรข้อนี้ ท่านป้องกันไม่ให้พระภิกษุเดินผ่านทายกผู้ใส่ข้าวเปล่า เพื่อรีบไปรับแต่รายที่มีกับข้าวรวมทั้งมุ่งเตือนว่า อย่ากินกับข้าวเติบ เวลารับบาตรมาแล้ว เอามาฉันรวมกันก็อย่ากักตุนกับข้าวไว้เฉพาะตัว เฉลี่ย ๆ กันไปให้ทั่วถึง

         จริงอยู่ ใคร ๆ ก็รู้ว่า กับข้าวซึ่งมีทั้งเนื้อทั้งไข่ ทั้งผัก ให้คุณค่าอาหารทางด้านโปรตีนสูง มีประโยชน์ต่อร่างกายมากกว่าข้าวซึ่งมีแต่แป้งและน้ำตาล แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อร่วมวงรับประทานอาหารกันหลาย ๆ คน จะมัวมานึกถึงคุณค่าอาหารอย่างนั้นอย่างนี้อยู่ไม่ได้ใคร ขืนแก่วิชาโภชนาการกินแต่กับข้าว ตักเอาราวกับจะกินคนเดียวให้หมดอย่างนั้น ไม่ช้าเพื่อน ๆ ก็เหม็นหน้า ไม่มีใครอยากคบด้วยเพราะว่ามีการกระทำที่ส่อนิสัยเห็นแก่ตัวจัด ความน่ารักที่เกิดจากนิสัยดี ๆ อย่างอื่นถูกลบล้างอย่างน่าเสียดาย เพราะเรื่องกินแท้ ๆ

         มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับความไม่รู้จักประมาณในการกินอยู่หลายเรื่อง

         เรื่องแรกมีอยู่ว่า พระภิกษุรูปหนึ่งมีลูกศิษย์อาศัยอยู่ด้วย ๒ คน วันหนึ่งท่านไปบิณฑบาตได้ปลาทูมา ๓ ตัว เนื่องจากอยู่ชนบท ข้าวปลาอาหารบางทีก็อัตคัดเหมือนกัน ลูกศิษย์ทั้งสองเห็นปลาแล้วก็ฝันหวานเชียวว่า วันนี้หลวงพี่บิณฑบาตได้ปลามา ๓ ตัว อยู่กัน ๓ ชีวิตพอดี อย่างไรเสียท่านคงแบ่งกันคนละตัว ตัวใหญ่นั่นหลวงพี่คงฉันเอง พวกเราได้ตัวเล็กคนละตัว

         หลวงพี่รูปนี้ท่านเป็นพระบวชใหม่ ยังฝึกตัวเองไม่พอ ท่านฉันปลาตัวแรกหมดไปแล้วยังไม่อิ่ม ลงมือฉันตัวที่สองต่อ ลูกศิษย์เห็นแล้วก็ใจแป้ว นึกว่ามื้อนี้ฝืดคอ สะกิดมองหน้ากันเลิ่กลั่ก แต่ยังนึกปลอบใจตัวเองว่า หลวงพี่คงฉันแค่ตัวครึ่ง เหลือให้เราสองคนตัวครึ่งก็ยังดี

         แต่เหตุการณ์กลับไม่เป็นอย่างที่คิดไว้ หลวงพี่ท่านเกิดเจริญอาหารขึ้นมา ฉันหมดไปตัวครึ่งยังไม่พอ พลิกอีกข้าง ลูกศิษย์เห็นเข้าใจหายวาบเลย จับมือกันแน่น จ้องจานปลาทูตาละห้อย นึกทอดอาลัยว่า คราวนี้เราสองคนได้กินปลาตัวเดียวแน่แล้ว ก็ยังดี แต่ที่ไหนได้ หลวงพี่ยังไม่ยอมหยุด จิ้มตัวที่สามต่อไป เด็กสองคนเห็นอย่างนั้นแทบช็อก นึกว่าตายแล้วเรามื้อนี้คงได้กินปลาทูซีกเดียวแน่ ๆ ไม่รู้จะทำอย่างไร ได้แต่นั่งเบียดกันจ้องดูมือหลวงพี่ใจหายใจคว่ำอยู่อย่างนั้น ในใจจะภาวนาว่าอย่างไรคงไม่ต้องบอกนะ

        พอหลวงพี่พลิกอีกด้านหนึ่งของปลาตัวที่สามเท่านั้น เสียงเด็กทั้งสองก็ดังแหวกความเงียบขึ้นพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย 

        “เฮ้ย ๆ พลิกแล้ว ๆ” หลวงพี่ได้ยินก็ชะงัก นึกขึ้นได้ว่า “เออ…เราลืมลูกศิษย์ไปเสียแล้ว”

         แต่กว่าท่านจะนึกได้ก็เกือบหมดอีกตัว ขอฝากไว้กับพวกเราให้รักษามารยาทในการกินอาหารให้ดี ถ้ากับข้าวมีแค่ ๒ - ๓ อย่าง ก็อย่าทำตัวเป็นคนเห็นแก่กินไปตักกับข้าวมาโปะไว้ที่ตัวคนเดียวตั้งครึ่งค่อนจาน 

         ใครที่มีบริวารไปด้วย เวลาจะกินข้าวปลาอาหารอะไรก็อย่าเอาแต่ตัวรอด คิดถึงลูกน้องบ้าง

         อีกเรื่องหนึ่ง ชาวบ้านมาเล่าให้ฟังเป็นเรื่องของพระเหมือนกัน (ความจริงพระที่มีมารยาทดี ๆ มีเป็นหมื่นเป็นแสน) เขาเล่าว่า เมื่อตอนที่เขาบวช ได้รับนิมนต์ไปฉันที่บ้านโยมคนหนึ่ง วันนั้นเขาจัดไข่ต้มมาถวายเต็มจานเลย น้ำปลาน้ำจิ้มก็อร่อย

         มีพระรูปหนึ่งไปด้วย พระรูปนี้โปรดปรานไข่ต้มเป็นพิเศษ แต่ท่านโปรดเฉพาะไข่แดง ตักครั้งแรกก็เจาะไข่แดงไปทั้งฟอง เหลือแต่ไข่ขาวไว้ แม้ครั้งที่ ๒ ที่ ๓ ท่านก็ยังเจาะเอาเฉพาะไข่แดงอีก ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ

         ความที่เกรงว่าจะถูกโยมนินทา พระที่ได้รับนิมนต์ก็เลยต้องตักไข่ขาวฉันตามไปอย่างนั้น ธรรมเนียมชาวบ้านเมื่อพระฉันเรียบร้อยแล้วเขาจะเก็บข้าวปลาอาหารที่เหลือไปเลี้ยงดูแขกที่มาช่วยงานอีกต่อหนึ่ง พระฉันไว้เรียบร้อยหรือไม่ชาวบ้านก็เห็นหมด

         วันนั้นโชคไม่ดีเลย ท่านต้องตามตักไข่ขาวฉันเสียหลายใบ จะเตือนพระองค์นั้นตอนฉันก็ไม่ได้โอกาส เพราะโยมนั่งปรนนิบัติอยู่ใกล้ ๆ พอฉันเสร็จ ขณะที่เดินกลับวัดมาได้ครึ่งทาง พระองค์นั้นทำหน้าระรื่นเดินแซงขึ้นมาคุยด้วย ฟังแล้วก็ฉุนกึกเพราะท่านว่า

         “แหม ท่านกับผมนี่ไปด้วยกันได้ดีจริง ๆ ท่านชอบไข่ขาว ผมชอบไข่แดง” มาแบบนี้ถ้าไม่สั่งสอนเสียตอนนั้นก็ไม่รู้จะไปสอนตอนไหน พระองค์แรกก็เลยบอกท่านตรง ๆ ว่า 

         “นี่ท่าน…ทีหลังไปฉันข้าวที่ไหนละก็รักษามารยาท รู้จักประมาณเสียบ้าง ผมน่ะตามธรรมดาทั้งไข่ขาวไข่แดงไม่ชอบทั้งนั้น ผมชอบกับข้าวอย่างอื่น แต่ท่านเล่นฉันแต่ไข่แดง ทิ้งไข่ขาวไว้เกลื่อน ญาติโยมเขาจะคิดอย่างไร เขาคงนึกอย่างเดียวว่า พระพวกนี้ตะกละ ผมขายหน้าเขาเลยต้องเก็บไข่ขาวฉันตามหลังท่าน ไม่ใช่เพราะชอบหรอกนะ คราวหน้าถ้าจะฉันไข่อีกละก็ ทั้งไข่แดงไข่ขาวฉันให้มันพอ ๆ กันด้วย”

         ใครรู้ตัวว่าไม่รู้จักประมาณในการกินต้องรีบแก้ไขเสีย มิฉะนั้นจะถูกเพ่งเล็งว่าเป็นคนเห็นแก่ตัว ไม่มีใครอยากคบ หลวงพ่อเองก็เคยพลาด แต่ไม่ใช่เพราะความเห็นแก่ตัว เป็นเพราะไปติดนิสัยการรับประทานอาหารแบบฝรั่งมา ครั้งนั้นยังไม่ได้เข้าวัด ไปเรียนอยู่ต่างประเทศ ๒ ปี เนื่องจากเป็นนักเรียนทุน เขาจึงจัดให้อยู่หอพัก อาหารการกินเป็นแบบฝรั่งไปหมด เช้าขึ้นมาก็ไข่ดาวหมูแฮม มื้อกลางวัน มื้อเย็น กินแต่สเต๊ก เจอแต่เนื้อล้วนๆ ไม่ค่อยได้กินข้าวเท่าไร พอกลับมาเมืองไทย เลยเผลอตัวกินกับเติบไปพักหนึ่ง ยังดีที่รู้ตัวเร็วแล้วรีบแก้ไขไม่อย่างนั้นคงเป็นขี้ปากชาวบ้าน ถูกนินทาไม่มีชิ้นดี

         สำหรับเรื่องมารยาทในการกินอาหารนี้ต้องดูความเหมาะสมด้วยเหมือนกัน กล่าวคือถ้าไปไหนเขาเลี้ยงอาหารฝรั่งก็ต้องกินแบบฝรั่ง หากมีแต่กับไม่มีข้าว ก็อย่าไปเรียกเอาโน่นเอานี่ให้เขามองหน้า แล้วแอบไปหัวเราะเยาะเอาทีหลัง เขาเชิญไปกินอาหารจีนก็ต้องกินแบบอาหารจีน กินตะเกียบ อย่าไปเรียกหาช้อนหาส้อมให้เขายุ่งยากใจ เป็นพระได้รับนิมนต์ไปฉันอาหารฝรั่ง ขืนเถรตรงตามตัวหนังสือในพระวินัยมื้อนั้นอดแน่

 

เสขิยวัตร , สารูป , บ่อเกิดของมารยาทไทย , โภชนปฏิสังยุต , ธัมมเทสนาปฏิสังยุต , ปฏิสังยุต , ระเบียบปฏิบัติของพระภิกษุ , เสขิยวัตร หมวดปกิณณ , เสขียวัตรหมวดโภชนปฏิสังยุต , เสขิยวัตร หมวดสารูป , เสขิยวัตร หมวดธัมเทสนาปฎิสังยุต , พระวินัยเบื้องต้น , เสนาสนะ , พระภิกษุ , การครองผ้า , การขบฉัน , สังฆาทิเสส , พระปาฏิโมกข์ , การสวดพิจารณาอาหาร , รู้จักประมาณ , การใช้สรรพนามในหมู่พระ , บิณฑบาต , ปกิณณกะ , มารยาทในการรับประทานอาหาร , พระธรรมเทศนา โดยหลวงพ่อทัตตชีโว , เสขิยวัตร หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต (ข้อ ๒) หมวดที่ ๒ โภชนปฏิสังยุต หมวดธรรมว่าด้วยมารยาทในการรับประทานอาหาร ข้อ ๓ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับแกงพอสมควรแก่ข้าวสุก” ข้อ ๔ “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร”

ข้อ ๔. “ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักรับบิณฑบาตแต่พอเสมอขอบปากบาตร”

         การรับบิณฑบาตจนล้นขอบปากบาตรขึ้นมาถือเป็นกิริยาที่ส่อความโลภอย่างหนึ่ง ไม่งามเลย ท่านห้ามไว้ ยกเว้นของบางอย่างห่อด้วยใบตอง พอใส่ลงในบาตรแล้วปลายห่อยังพ้นขอบปากบาตรขึ้นมา อย่างนี้ไม่ถือว่าล้นบาตร เมื่อรับบาตรแล้วจะถ่ายเสียเพื่อรับอีกตามศรัทธาของญาติโยมก็ไม่ห้าม

         ความจริงบาตรใบหนึ่ง ถ้าโยมเอาข้าวเอากับมาใส่เต็มบาตรนั้น พระรูปเดียวทำอย่างไรก็ฉันไม่หมด แต่บางครั้งเราพบว่า พระภิกษุบางรูปรับบาตรเต็มแล้วถ่ายบาตรลงในถัง แลว้รับบาตรต่อไปอีก คนที่ไม่เข้าใจก็นึกตำหนิว่า 

         “เอ๊ะ…พระองค์นี้โลภ”

         จริง ๆ แล้วท่านไม่ได้โลภ แต่ในบางภาวะเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ อาทิเช่น

         กรณีที่ ๑ พระบางรูปในกรุงเทพฯ รับลูกศิษย์ไว้อยู่ด้วยปีละ ๒ - ๓ คน ก็พวกญาติลูก ๆ หลาน ๆ ที่อยู่ต่างจังหวัดนั่นแหละ เข้ามาเรียนหนังสือแล้วไม่มีที่พัก ก็มาขออาศัยด้วย หลวงพ่อ หลวงพี่ หลวงน้า ท่านเมตตาเลี้ยงดูไว้ตามอัตภาพ แล้วก็ได้อาศัยใช้เด็ก ๆ พวกนี้เช็ดกุฏิ กวาดวัด ปฏิบัติพระกันไป เพราะฉะนั้น กรณีอย่างนี้ท่านอาจจะรับบาตรถึง ๒ บาตร ๓ บาตร ก็อย่าไปตำหนิท่านเลย

         กรณีที่ ๒ ท่านอาจไม่มีลูกศิษย์ลูกหาให้ต้องเลี้ยงดู ไม่ต้องการอาหารมาก แต่ในวันนักขัตฤกษ์ต่าง ๆ เช่น วันปีใหม่ วันสงกรานต์ คนส่วนมากนิยมตักบาตร จึงเป็นเหตุจำยอมให้ต้องรับบาตรถ่ายบาตรหลายครั้ง ถ้ากำหนดเอาแค่บาตรเดียว รับรองว่าเดินห่างวัดไม่ถึง ๑๐๐ เมตร ก็เต็มบาตรแล้ว จะกลับเสียตอนนั้นก็ไม่เหมาะ เพราะญาติโยมที่เคยตักบาตรประจำชะเง้อคอยาวอยู่โน่น ขืนไปไม่ถึง พรุ่งนี้โดนบ่นแน่ ก็เลยต้องไปให้ถึงบ้านโยม ตกลงงวดนั้นเลยต้องถ่ายบาตรหลายบาตร ลูกศิษย์แบกถุงตามหลังหนักไหล่แทบหลุด กรณีอย่างนี้ก็อย่าว่ากัน เพราะเป็นเรื่องของการรักษาศรัทธาญาติโยม

        ความรู้จักประมาณในเรื่องอาหารการกินหรือโภชเนมัตตัญญุตานี้ ไม่ว่าพระหรือคน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงย้ำเตือนไว้นักหนา พระองค์มิได้ทรงปรารภเฉพาะเรื่องกินมากกินน้อยเท่านั้น แต่ทรงหมายความครอบคลุมถึงชนิดของอาหารด้วย เช่น

        ๑. ของอะไรที่ไม่ควรกินก็อย่าไปกิน เช่น ของที่สะอาดไม่พอ ขืนกินเข้าไปประเดี๋ยวก็เป็นโรคนั่นโรคนี่

        ๒. อาหารที่มีรสจัดเกินไป เช่น เผ็ดจัด เค็มจัด เปรี้ยวจัด เสาะท้องอย่าไปกิน ท้องไส้จะเสีย

        ๓. กินอาหารไม่เป็นเวล่ำเวลา ระบบย่อยอาหารเสียหมด กินในเวลาที่อาหารไม่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายเท่าที่ควร ท่านก็ห้ามเสีย เช่นที่ปรากฏในศีลข้อ ๖ เว้นการรับประทานอาหารในเวลาวิกาล หลังเที่ยงแล้ว

        ๔. อาหารใดที่มีราคาแพงจัด ทำให้เสียเงินเสียทองมากเกินเหตุ ก็ให้เลี่ยงเสีย ไปหาอาหารที่กินแทนกันได้ ที่มีราคาถูกกว่า แต่ให้คุณค่าอาหารเท่ากัน หรือแม้ด้อยกว่าสักนิด หากไม่กระทบกระเทือนสุขภาพก็ยังดีกว่า

        รู้จักกินอาหารดีแล้วก็อย่าลืม “อีก ๔ - ๕ คำจะอิ่ม ให้หยุดเสีย เหลือที่ว่างไว้ให้น้ำบ้าง” หรืออย่างที่โบราณว่า ดื่มน้ำตามอีกสักแก้วแล้วก็อิ่มพอดี

 

 

พระธรรมเทศนา โดยหลวงพ่อทัตตชีโว

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.019936982790629 Mins