ระเบียบปฏิบัติการจัดพิธีศพ

วันที่ 24 พค. พ.ศ.2561

ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ

ระเบียบปฏิบัติการจัดพิธีศพ


พระรัตนตรัย , พุทธศาสนิกชน , ระเบียบปฏิบัติของชาวพุทธ , วัฒนธรรมชาวพุทธ , ชาวพุทธ , ประเพณีชาวพุทธ , culture , ระเบียบปฏิบัติการประกอบพิธีศพ , ระเบียบปฏิบัติการจัดพิธีศพ , ที่บูชาพระรัตนตรัย , หิ้งพระ , ที่บูชาพระ , ห้องพระ , พระพุทธเจ้า , พระสงฆ์ , พระธรรม , Buddhist practice  , สมาธิ , Meditation  , ทำบุญ , ศพ


วิธีปฏิบัติเบื้องต้นเกี่ยวกับศพ
         คนตายด้วยโรคธรรมดา ผู้เกี่ยวข้องกับศพ นิยมใช้ผ้าคลุมศพตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ถ้าศพอยู่ภายในห้องก็ปิดประตูเสีย ถ้าศพอยู่ห้องโถง นิยมกางมุ้งครอบไว้

         คนตายด้วยโรคติดต่ออันตราย หรือตายด้วยอุบัติเหตุหรือถูกฆาตกรรม นิยมไม่แตะต้อง หรือเคลื่อนย้ายศพ เพื่อเปิดโอกาสให้แพทย์ หรือตํารวจ ได้ทําการตรวจโรคหรือชันสูตรศพก่อน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ด้วยกันทุกฝ่าย


วิธีปฏิบัติการแจ้งขอมรณบตร
         ตามพระราชบัญญัติทะเบียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๔๙๙ มาตรา ๑๙ เมื่อมีคนตาย ให้แจ้งดังต่อไปนี้

         (ก) คนตายในบ้านให้เข้าบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนตาย ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย

         ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน ให้ผู้พบศพแข้งความในวรรคก่อนนับแต่เวลาพบศพ

         (ข) คนตายนอกบ้าน ให้บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพ แจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่ตาย หรือพบศพแล้วแต่กรณี หรือแห่งท้องที่ที่จะพึงแจ้งได้ในโอกาสแรก ภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือพบศพ ในกรณีเช่นนี้ จะแจ้งต่อเจ้าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจที่สะดวกกว่าก็ได้ ฯลฯ


ตามพระราชบัญญัตินี้ นิยมปฏิบัติดังนี้
         ๑. เมื่อมีคนตายภายในบ้าน เจ้าของบ้าน หรือผู้แทนเจ้าของบ้าน ต้องไปแจ้งการตาย ขอมรณนัตร ต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้ง คือ ในเขตเทศบาล แจ้งต่อนายทะเบียนท้องถิ่นนอกเขตเทศบาล แจ้งต่อนายทะเบียนตําบล คือ กํานัน และต้องแจ้งภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตายเป็นต้นไป

         ๒. คนตายนอกบ้าน บุคคลที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้พบศพต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตาย หรือจะแจ้งแก่พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตํารวจท้องที่นั้นก็ได้ และต้องแจ้งภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง นับแต่เวลาตาย หรือเวลาพบศพเป็นต้นไป


การขอพระราชทานน้ำอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ
         ผู้ถึงแก่กรรมมีสิทธิขอรับพระราชทานน้ำอาบศพ เครื่องประกอบเกียรติศพ และขอพระราชทานเพลิงศพ ดังต่อไปนี้ะ

๑. พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ ตั้งแต่พระครูฐานานุกรมขึ้นไป

๒. พระบรมวงศานุวงศ์ ตั้งแต่ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป

๓. ผู้ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์รองเสวกตรีหรือรองอํามาตย์ตรีขึ้นไป

๔. ข้าราชการพลเรือนชั้นตรีขึ้นไป

๕. ข้าราชการฝ่ายทหาร และตํารวจ ยศชั้นร้อยตรี เรือตรีร้อยตํารวจตรีขึ้นไป

๖. สมาชิกกองอาษารักษาดินแดนที่ได้รับพระราชทานยศตั้ง แต่ชั้นนายหมวดขึ้นไป

๗. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย หรือตติยจุลจอมเกล้าขึ้นไป หรือจตุตถจุลจอมเกล้าขึ้นไป

๘. ผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน

๙. พนักงานเทศบาลตรีขึ้นไป

๑๐. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาเทศบาล ที่ถึงแก่กรรมในขณะดํารงตําแหน่ง

๑๑. รัฐมนตรี ที่ถึงแก่กรรมในขณะดํารงตําแหน่ง

๑๒. ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ

         ผู้ที่เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาล หรือรัฐมนตรี ถึงแก่กรรมเมื่อพ้นตําแหน่งแล้ว หากได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดังกล่าว แล้ว ก็มีสิทธิขอพระราชทานน้ำอาบศพเครื่องประกอบเกียรติศพ และขอพระราชทานเพลิงศพได้

         ในการที่จะขอพระราชทานนี้ มีข้อแม้ว่า ผู้ถึงแก่กรรมนันจะต้องถึงแก่กรรมโดยไม่ใช่อัตวินิบาตกรรม (คือ การฆ่าตัวเอง)


วิธีขอพระราชทานน้ำอาบศพและเครื่องประกอบเกียรติศพ
         ผู้เกี่ยวข้องกับผู้ถึงแก่กรรมนั้น ประสงค์จะขอพระราชทานน้ำอาบศพ และเครื่องประกอบเกียรติศพ จะต้องปฏิบัติดังนี้ะ

         จัดดอกไม้ธูปเทียน (คือ ดอกไม้ ๑ กระทง ธูปไม้ระกํา ๑ ดอก เทียนขี้ผึ้ง ๑ เล่ม) วางบนพานพร้อมกับหนังคือกราบถวายบังคมลาตาย และใบมรณนัตร นําไปยังแผนกพระราชพิธีสำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง โศยนำพานเครื่องสักการะพร้อมกับหนังคือกราบถวายนังคมลาตายนี้ วางไว้ที่ข้างหน้าพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ (คือพระบรมรูปของในหลวงรัชกาลปัจจุบัน) แล้วถวายความเคารพพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์

         เจ้าหน้าที่แผนกพระราชพิธีจะสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ แล้วให้กรอกข้อความลงในแบบพิมพ์ เป็นอันเสร็จพิธีขอพระราชทานเพียงนี้


แบบหนงสือขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาตาย

แบบหนงสือขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาตาย

         * หนังสือขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาตายนี้ไม่ต้องลงนาม


การพิมพ์การ์ดกําหนดการรดนํ้าศพ
         ถ้าผู้ตายเป็นผู้ใหญ่ หรือเป็นผู้มีชื่อเสียงปรากฎในสังคมนิยมพิมพ์การ์ดและลงประกาศแจ้งความทางสื่อสารมวลชน ชึ่งมีข้อความเพียงสั้นๆ ดังนี้


กําหนดการรับพระราชทานนํ้าอาบศพ

กําหนดการรับพระราชทานนํ้าอาบศพ


หมายเหตุ
       คําว่า "ได้ถึงแก่กรรม" นั้น นิยมเปลี่ยนไปตามฐานะของผู้ตาย คือ

            - ได้ถึงแก่อสัญกรรม
            - ได้สิ้นชีวิตักษัย
            - ได้สิ้นพระชนม์ เป็นต้น

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0013780037562052 Mins