น้ำซุปดีอย่างไร
ปู่ ย่า ตา ทวดใช้เวลาศึกษาเรื่องอาหารเป็นร้อย ๆ พัน ๆ ปีว่าหัวอะไรกินได้หรือกินไม่ได้ ใบอะไรกินได้หรือกินไม่ได้ต้นอะไรกินได้หรือกินไม่ได้ ท่านได้ใช้เวลาลองผิดลองถูกมาหลายชั่วคน กว่าจะทำอาหารขึ้นมาแต่ละชนิด แต่ลูกหลานปัจจุบัน แม้เรียนจบปริญญาก็ตาม ไม่มีความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพเท่าที่ควร ใครทำอะไรต่ออะไรให้เขากิน หากถูกปากก็กินไปตามนั้น แต่ไม่รู้ว่าแต่ละอย่างที่กิน มีวัตถุประสงค์หรือประโยชน์อะไร
ยกตัวอย่างอาหารประเภทต้มยํา เช่น กุ้งต้มยำ ไก่ต้มยำ ปลาต้มยำ เป็นต้น คนที่กินต้มยำเป็นเขาจะกินแต่น้ำแกง ทำไม? ขอให้นึกถึงยาต้ม ยาหม้อ เรากินน้ำยาหรือว่ากินกากยา ทุกคนตอบได้เองอยู่แล้ว แต่ความเป็นจริงปรากฏว่า คนส่วนใหญ่เมื่อกินต้มยำจะกินแต่เนื้อ คือ กินกากอาหาร ซึ่งย่อยยาก แล้วบอกว่า กินแล้วหนักท้อง อยู่ท้องดี ส่วนน้ำแกงซึ่งเป็นส่วนที่ดีมีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดกลับเอาไปเททิ้งเสีย
เมื่อสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง คนญี่ปุ่นรู้ตัวว่า ตัวเล็กจัด เมื่อเทียบกับฝรั่งก็ห่างไกลกันมาก เขาจึงประชุมนักโภชนาการของแผ่นดิน แล้วแก้ไขนิสัยการกินทั้งประเทศ เมื่อเปลี่ยนวิธีทำอาหารและวิธีกินอาหารใหม่ เดี๋ยวนี้คนญี่ปุ่นซึ่งเคยมีรูปร่างเล็กกว่าคนไทย จึงมีรูปร่างสูงใหญ่กว่าคนไทย พอฟัดพอเหวี่ยงกับฝรั่งทีเดียว
ญี่ปุ่นแก้ไขอะไรในเรื่องอาหารบ้าง หลวงพ่อเคยเดินทางไปพักที่องค์กรทางศาสนาพุทธแห่งหนึ่ง ได้ฉันอาหารเช้าร่วมกับชาวญี่ปุน อาหารเช้าของเขาประกอบด้วยข้าวต้มอย่างในบ้านเรา ขณะเดียวกันเขาก็มีหม้อนํ้าซุปเรียงเป็นแถวหลายหม้อ แต่ละคนก็จะไปเอาถ้วยที่จัดเตรียมไว้มาตักนํ้าซุป ใครชอบนํ้าซุปอะไรก็ตักได้เต็มที่ พอมาถึงโต๊ะย้งไม่ท้นกินช้าว ก็ซดนํ้าซุปก่อนเลย บางคนไม่เอาถ้วยเดียว เอาใส่ถาดตั้งหลายถ้วยซดเอาซดเอา กินข้าวไม่ค่อยมาก นํ้าซุปก็เป็นนํ้าใสๆ ไม่มีเนื้อสักชิ้นเดียว ไม่ว่าจะเป็นซุปไก่ ซุปหมู หรือซุปอะไรก็แล้ว แต่ไม่เห็นมีเนื้อสักชิ้นเดียว แต่ปรุงรสดี รสชาติก็คล้ายๆ แกงจืดของบ้านเรา
เมื่อเปรียบเทียบอาหารประเภทน้ำซุปของญี่ปุนกับต้มยำรสแซบของไทยเรา มั่นใจได้ว่า ทั้งรสชาติ ทั้งคุณค่าทางอาหารของไทยไม่แพ้ใครแน่นอน แม้เราเองยังตัดใจทั้งเนื้อกุ้ง เนื้อปลาไม่ได้ก็ไม่เป็นไร แต่ขอให้ซดน้ำต้มยำนั้นให้หมดจนหยดสุดท้ายเถิด แล้วสุขภาพจะดี อย่ากินแต่เนื้อแล้วทิ้งน้ำแกงให้สุนัขนะลูกนะ เดี๋ยวสุนัขมันจะหัวเราะเยาะเอา