กิจ ๑๖
ถ้าหลักฐานเรียกว่า โสฬสกิจ เรียกว่าแค่นี้สำเร็จโสฬสกิจแล้ว โสฬสกิจแปลว่ากระไร กิจ ๑๖ ในเพลงที่เขาวางไว้เป็นหลักว่า "เสร็จกิจ ๑๖ ไม่ตกกันดาร เรียกว่านิพพานก็ได้" นี่แหละเสร็จกิจ ๑๖ ละ
ทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายมนุษย์ ๔
ทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์ ๔ เป็น ๘
ทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายรูปพรหม ๔ เป็น ๑๒
ทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายอรูปพรหมอีก ๔ มันก็เป็น ๑๖
นี้เสร็จกิจทางพุทธศาสนา ทางพระอรหันต์แค่นี้ นี้ทางปฏิบัติ
เทศนาดังนี้เป็นทางปฏิบัติไม่ใช่ทางปริยัติ นี่ทางปฏิบัติอันนี้แหละ พระพุทธศาสนาในทางปฏิบัติดังแสดงแล้วในตอนต้นพุทธศาสนา ดังแสดงแล้วในบัดนี้ แต่ปริยัติปฏิบัติที่เรียกว่าเข้าถึง ปฏิบัติ เดินสมาบัติทั้ง ๘ นั้นเป็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้เข้าเห็นพระโสดา บรรลุถึงพระโสดา นั่นปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว ได้เข้าถึงพระโสดาแล้วทั้งหยาบทั้งละเอียด
เมื่อพระโสดาเดินสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ในกายทิพย์เข้าทั้งหยาบทั้งละเอียด ได้บรรลุพระสกทาคา เมื่อถึงพระสกทาคาหยาบทั้งละเอียด เห็นเข้านั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียวรู้แจ้งแทงตลอดในสกทาคาเข้าแล้ว
เมื่อพระสกทาคาสมาบัติทั้ง ๘ ดูทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจในกายรูปพรหมเข้าเห็นในสัจธรรมทั้ง ๔ ชัดอีกได้บรรลุพระอนาคา นี้ที่ได้เห็นตัวพระอนาคา ทั้งหยาบทั้งละเอียดและทางธรรมที่ทำให้เป็นพระอนาคา นั่นเป็นตัวปฏิเวธแท้ๆ ทีเดียว รู้แจ้งแทงตลอดเห็นจริงทีเดียว เห็นปรากฏทีเดียว
เมื่อพระอนาคาเข้าสมาบัติ ดูทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ทั้งหบายทั้งละเอียด เห็นชัดในทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจ ได้บรรลุพระอรหันต์ เมื่อเห็นกายพระอรหันต์ทั้งธรรมที่ทำ ให้เป็นการพระอรหันต์ทั้งหยาบทั้งละเอียด เห็นชัดทีเดียว นั่นเห็นชัดอันนั้นแหละ ได้ชื่อว่าเป็นปฏิเวธแท้ๆ เชียว รู้แจ้งแทงตลอด
นี้ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้ ศาสนามีทั้งปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ดังนี้
ถ้าว่านับถือศาสนา ปฏิบัติศาสนาเข้าปริยัติไม่ถูก ปฏิเวธก็ไม่ถูกมันก็ไปต่องแต่งอยู่นั่น เอาอะไรไม่ได้ สัก ๑๐ ปี ๑๐๐ ปี ก็เอาอะไรไม่ได้ ถึงอายุจะแก่ปานใด จะโง่เขลาเบาปัญญาปานใด ถ้าเข้าถึงทุกสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัจไม่ได้ ไม่เห็นทุกขสัจ สมุทัยสัจ นิโรธสัจ มรรคสัท ดังแสดงมาแล้วนี้ จะปฏิบัติศาสนาเอาเรื่องเอาราวไม่ได้
ถ้าว่าคนละ โมฆชินโณ แก่เปล่า เอาอะไรไม่ได้ เอาเรื่องไม่ได้
เหตุนี้แหละทางพุทธศาสนาจึงนิยมนับถือนัก ในเรื่องสัจธรรมทั้ง ๔ นี้
จากพระธรรมเทศนาเรื่อง "เขมาเขมสรณาคมน์"
๓ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๗