บทฝึกวัจจกุฎีวัตรสำหรับพระกำลังฝึกตัว

วันที่ 04 ธค. พ.ศ.2562

บทฝึกวัจจกุฎีวัตรสำหรับพระกำลังฝึกตัว

วัตถุประสงค์ : เพื่อฝึกการถือธรรมเป็นใหญ่ในการดำเนินชีวิต ผ่านการปฏิบัติวัจจกุฎีวัตรให้ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย

คุณประโยชน์
๑. ดูแลสุขภาพเป็น อันเป็นทางมาแห่งอาพาธน้อย
๒. มีความสำรวมการใช้ห้องสุขา ก่อเกิดความเอื้อเฟื้อ เมตตาต่อกัน
๓. มีความช่างสังเกตพิจารณา อันเป็นทางมาแห่งปัญญา 
๔. มีสติสัมปชัญญะ รู้เก็บใจไว้ในตัว 
๕. มีความอดทนต่อการกระทบกระทั่ง?

หลักธรรมที่ต้องตรึกระลึกถึงเป็นนิจ

วิธีปฏิบัติตามหลักธรรม

๑.มีสติสัมปชัญญะ 

พระนวกะอาจระลึกถึง

ข้อ ๑.๑-๑.๖ ข้อใดข้อหนึ่ง หรือ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ ข้อ หรือ ๖ ข้อ ก็ได้    

๑.๑ มีความระลึกรู้ว่าตนเองกำลังจะใช้ห้องสุขา
๑.๒ นึกรู้ว่าเราเป็นสมณะแล้วพึงปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ตามพระธรรมวินัย
๑.๓ นึกถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในการใช้ ห้องสุขา
๑.๔ นึกไว้ว่าการใช้ห้องสุขา ต้องทำตามหลักธรรม ๓ ข้อ เป็นนิจ โดยทำอย่างเป็นลำดับ คือ
๑) มีสติสัมปชัญญะ 
๒) สังเกตพิจารณา
๓) ทำด้วยความสำรวม
๑.๕ ไม่ปล่อยใจคิดเรื่องอื่นให้ฟุ้งซ่าน
๑.๖ เอาใจกลับมาไว้ในตัว

๒. สังเกตพิจารณา

ก่อนเข้าห้องสุขาให้สังเกตพิจารณา
๑) ป้ายสัญลักษณ์ จะได้รู้ว่าเป็นห้องสุขาชาย-หญิง และสัญลักษณ์อื่น ๆ
๒) ห้องสุขา ว่าปลอดภัยจากคนร้าย สัตว์ร้าย และ อุบัติเหตุ เช่น ของแหลมคม พื้นเปียก-ลื่น เป็นต้น
๓) วัตถุ อุปกรณ์ สิ่งของ ว่ามีอะไรบ้าง พร้อมใช้ งานหรือไม่ เช่น มีผ้าเช็ดทำความสะอาดโถรองนั่ง ผ้าเช็ดอ่างล้างมือ ผ้าเช็ดมือ มีนํ้าชำระหรือไม่ มีของ ที่ผู้อื่นลืมไว้หรือไม่ เป็นต้น

๓. ปฏิบ้ติด้วยความสำรวม ให้สมกับเป็นบรรพชิต

๓.๑ ถ้าห้องสุขานั้นเราไม่แน่ใจว่ามีผู้อยู่ภายในหรือไม่ ให้กระแอม/เคาะเบาๆ หรือดูสัญลักษณ์ที่ประตูห้องนํ้า(ถ้ามี)
๓.๒ ห้องสุขามี ๒ ประเภท
๑. แบบชักโครก 
๒. แบบตักนํ้าราด 
ถ้าแบบตักนํ้าราด ควรเปิดนํ้าใส่ถังเบาๆ เพื่อกลบเสียง ถ้าขับถ่ายเป็นเวลานาน หรือท้องผูก อุจจาระมีกลิ่น ควรราดนํ้าเป็นระยะ หรือกดชักโครก เพื่อดับกลิ่นโดยไม่ต้องรอให้ทำธุระเสร็จก่อน
๓.๓ ไม่ถ่ายอุจจาระ-ปัสสาวะนอกโถสุขภัณฑ์ และไม่ กระเด็นออกนอกโถ
๓.๔ เมื่อทำธุระเสร็จให้ล้างอวัยวะด้วยนํ้าให้สะอาด เช็ดให้แห้ง
๓.๕ ราดนํ้าจนอุจจาระ-ปัสสาวะ เกลี้ยงจากโถ สุขภัณฑ์ หากกระเด็นออกนอกโถให้ทำความสะอาด จนเกลี้ยง
๓.๖ พิจารณาอุจจาระ-ปัสสาวะ ว่าปกติ-ผิดปกติ เช่น มีเลือดและหรือเศษอาหารที่ไม่ย่อยปนออกมา หรือไม่ มีกลิ่นเหม็นเน่าหรือไม่ เป็นต้น
๓.๗ หลังทำธุระเสร็จแล้ว หันกลับมองผนัง พื้นว่า สะอาด แห้ง หรือไม่ ถ้าสกปรกให้ทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง เพื่อผู้มาใช้ถัดจากเราไปมีความรู้สึกว่า เป็นคนแรกเสมอ

 


เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อทัตตชีโว

จากหนังสือ ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน ฉบับเเก้ไข

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.018786517779032 Mins