ความประพฤติการใช้ห้องสุขาของพระภิกษุ

วันที่ 03 ธค. พ.ศ.2562

ความประพฤติการใช้ห้องสุขาของพระภิกษุ

วัจจกุฎีวัตร: วิธีใช้ห้องสุขา

หลักธรรมที่พึงตรึกระลึกถึงตลอดเวลาที่ใช้ห้องสุขา 
๑. มีสัมมาทิฏฐิ เตือนตนให้ใช้ห้องสุขาอย่างมีสัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ 
๒. มีสติสัมปชัญญะ
๓. สังเกตพิจารณา สถานที่ บุคคล ห้องสุขา ก่อนใช้ห้องสุขา 
๔. ปฏิบัติอย่างสำรวมตามพระธรรมวินัย

 

ปฏิบัติอย่างสำรวม : วิธีใช้ห้องสุขาในสมัยปัจจุบันตามพระธรรมวินัย

๑) ถ้ามืดเปิดสวิทซ์ไฟฟ้าก่อน ถ้ามีรองเท้าประจำห้องนํ้า ให้เปลี่ยนก่อน 
๒) นำผ้าเช็ดทำความสะอาดเข้าไปด้วย (ถ้ามี)
๓) ถ้าคาดว่ามีผู้ใช้อยู่ให้กระแอม/เคาะประตูห้องสุขาเบาๆ 
๔) ไม่รีบร้อนเข้าไป
๕) ไม่ควรเวิกผ้าเข้าไป 
๖) ปิดประตูเบาๆให้เรียบร้อย
๗) กด/ราดนํ้าก่อนทำธุระ(ควรพกทิชชูและสเปรย์แอลกอฮอล์ฉีดและเช็ดที่รองนั่งโถก่อนนั่ง)
๘) เวิกและรวบผ้าให้เรียบร้อยก่อนทำธุระ
๙) ไม่ยืนถ่ายปัสสาวะ
๑๐) ไม่ถ่ายอุจจาระ-ปัสสาวะ นอกโถสุขภัณฑ์

๑๑) ไม่เบ่งแรง ไม่ถอนหายใจแรง ไม่ทำภารกิจอื่น เช่น ใช้โทรศัพท์ อ่านหนังสือ ส่งเสียงดังฯลฯขณะใช้ห้องสุขา
๑๒) สังเกตพิจารณาอุจจาระ-ปัสสาวะ ปกติ-ผิดปกติหรือไม่เช่น มีหรือไม่มีเลือดปน เศษอาหารที่ไม่ย่อย
๑๓) เปิดนํ้ากลบเสียง ราดนํ้ากลบกลิ่นขณะขับถ่าย 
๑๔) ทำความสะอาดอวัยวะด้วยนํ้าให้สะอาด เช็ดให้แห้ง 
๑๕) ทิ้งกระดาษชำระในที่ที่จัดไว้ให้
๑๖) หลังทำธุระเสร็จให้ราดนํ้า/ปิดฝาชักโครกก่อนกด เพื่อป้องกันกลิ่นและ เชื้อโรคฟุ้งกระจาย เมื่อเงียบเสียงแล้วจึงเปิดฝาตรวจดูความสะอาดอีกครั้งว่าปราศจากสิ่งสกปรกหรือไม่
๑๗) จัดผ้านุ่ง สบง ให้เรียบร้อยก่อนออก 
๑๘) ไม่รีบร้อนออกมา
๑๙) โถสุขภัณฑ์ต้องสะอาด พื้น ผนังห้องสุขาสะอาดและแห้ง หากสกปรก ให้ทำความสะอาด
๒๐) ถ้านํ้าในถังพร่องให้เติมนํ้า ๓/๔ และควํ่าขัน
๒๑) ถ้าถังขยะในห้องนํ้าเต็ม ให้นำไปเททิ้งในที่ที่จัดไว้ให้
๒๒) เช็ดรองเท้าห้องนํ้าให้สะอาด ถอดคืน วางเข้าที่ให้เรียบร้อย
๒๓) ถ้าบริเวณรอบห้องสุขาสกปรกให้ทำความสะอาด
๒๔) หยิบทรัพย์สินของเราก่อนออกจากห้องนํ้า
๒๕) ล้างมือให้สะอาด เช็ด/เป่าลมให้มือแห้ง หลังเสร็จภารกิจ?

 

ระดับความประพฤติการใช้ห้องสุขาของพระภิกษุ

พระกำลังฝึกตัว

พระตั้งใจฝึกตัว  

พระต้นแบบ

ปฏิบัติตามหลักธรรม ๔ ข้อและวิธีใช้ ห้องน้ำ๖ ข้อ
ข้อ ๙, ๑๐, ๑๓,
๑๖, ๑๙ และ ๒๓

ปฏิบัติตามหลักธรรม  ๔ ข้อและวิธีใช้ ห้องนํ้า ๒๕ ข้อ

ปฏิบัติตามหลักธรรม  ๔ ข้อและวิธีใช้ ห้องนํ้า ๒๕ ข้อ

อารมณ์:อารมณ์ดี สบายใจ

อารมณ์:อารมณ์เบิกบาน ภาคภูมิใจ

อารมณ์:อารมณ์สงบนิ่ง ปลื้มปีติใจ  

ใจ:อยู่ใกล้ตัว ไม่หนีเที่ยว

ใจ:อยู่กับตัว

ใจ:อยู่กลางตัว

รู้เหตุผล:รู้จำเหตุผลได้

รู้เหตุผล:ด้วยโยนิโสมนสิการ

รู้เหตุผล:จากความสว่างภายใน 

 

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อทัตตชีโว

จากหนังสือ ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน ฉบับเเก้ไข

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.010919098059336 Mins