กระบวนการจัดทำหลักสูตร ที่ยึดวัตรตามพระธรรมวินัย
ขั้นตอน |
วิธีปฏิบัติ |
๑. ศึกษาพระธรรมวินัย ที่เป็นแม่บทการฝึกพระ |
๑.๑ หลวงพ่อทัตฺตชีโว บรรยายธรรมแก่พระภิกษุตลอดช่วงเข้าพรรษา ๑.๒ พระภิกษุทั้งวัดที่มาฟังธรรม นำวัจจกุฎีวัตรไปปฏิบัติประชุมกลุ่ม เขียนรายงานผลการปฏิบัติวัจจกุฎีวัตร |
๒. จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตร |
๒.๑ พระเถระผู้มีพรรษากาล ประชุมเพื่อพิจารณาข้อวัตรการปฏิบัติของพระในวัด และความเคารพของสาธุชนที่มีต่อพระภิกษุ |
๓. ออกแบบหลักสูตรโดยยึดพระธรรมวินัย |
พระเถระ พระผู้บริหาร นักวิชาการ ประชุมวิเคราะห์ สภาพปัญหา-สาเหตุ-วิธีแก้ไข ตามพระธรรมวินัย ได้ออกแบบหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นหน่วยฝึกตามวัตร ในวัตตขันธกะ โดยกำหนด วัจจกุฎีวัตร เป็นหน่วยฝึกลำดับเเรก |
๔. ยกร่างหลักสูตรที่เป็นหน่วยฝึกตามวัตร |
๔.๑ คณะกรรมการยกร่าง นำความรู้จากการฟังธรรมะใน ข้อ ๑ และ ๓ มายกร่างหน่วยฝึก ซึ่งประกอบด้วย พระตั้งใจฝึกตัว และพระต้นแบบ ๔.๒ พระตัวแทนแต่ละหน่วยนำบทฝึกที่ยกร่าง กลับไปประชุมนอกรอบกับพระในหน่วยและทดลองปฏิบัติว่า เข้าใจง่าย-ยาก เข้าใจถูก-ผิด ปฏิบัติได้-ไม่ได้ และข้อเสนอแนะ ๔.๓ พระตัวแทนแต่ละหน่วยนำข้อมูลมาเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาปรับปรุง |
๕. นำเสนอ หน่วยฝึกต่อชุดพัฒนาหลักสูตร |
คณะกรรมการยกร่างนำเสนอหน่วยฝึกวัจจกุฎีวัตร (ข้อ๑-๘) ต่อชุดพัฒนาหลักสูตร โดยเปิดโอกาสให้พระอื่นๆ เข้าฟังได้ ข้อเสนอแนะจะนำมาดำเนินการโดย ชุดยกร่าง และนำเสนอใหม่อีกครั้งจนกว่าชุดพัฒนาหลักสูตร จะเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้วนำเสนอต่อชุดวิพากษ์หลักสูตร |
๖. นำเสนอ หน่วยฝึกต่อชุดวิพากษ์ |
พระเถระประชุมเพื่อวิพากษ์หน่วยฝึก โดย ชุดยกร่างและชุดพัฒนาหลักสูตร เข้าร่วมฟังด้วย ซึ่งมีทั้งการประชุมในห้องประชุม และหรือประชุมผ่าน Social Media จากนั้นนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง
|
๗.จัดพิมพ์ หน่วยฝึกทดลองและพัฒนาต่อไป |
คณะผู้จัดทำหลักสูตรหน่วยฝึกฯร่วมกันจัดทำหนังสือ "ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน” เพื่อใช้ฝึกพระ-สามเณร ช่วงออกพรรษา แล้วนำข้อมูลมาพัฒนาหลักสูตรที่เป็นหน่วยฝึกตามวัตร ตามขั้นตอน ๑-๘ ในรอบต่อไป |
รายชื่อพระวินัยและพระสูตรที่ใช้ประกอบการจัดทำหลักสูตรที่เป็นหน่วยฝึกตามวัตรในพระธรรมวินัย |
๑. พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ “วัจจกุฎีวัตร” |
๒. พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ “วัตตขันธกะ” |
๓. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ “คณกโมคคัลลานสูตร” |
๔. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต “ฐานสูตร” |
๕. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต “อาฬวกสูตร” |
๖. พระสุตตันตปิฎก ม้ชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ “สัมมาทิฏฐิสูตร” |
๗. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต “สรีรัฏฐธรรมสูตร” |
๘. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต “เสนาสนสูตร” |
๙. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ “สัพพาสวสังวรสูตร” |
๑๐. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต “ปัญญาวุฑฒิสูตร” |
๑๑. พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ ว่าด้วย ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ปฐมเทศนา |
๑๒. สนฺทสฺเสสิ สมาทเปสิ สมุตฺเตเชสิ สมฺปหํเสสิ ปรากฎใน ๑๒.๑ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน อรรถกถาใน โคปาลสูตร จากคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ๑๒.๒ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อรรถกถาใน ภิกขุนูปัสสยสูตร จากคัมภีร์สารัตถปกาสินี ๑๒.๓ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค อรรถกถาใน มหาปทานสูตร จากคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี |
เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อทัตตชีโว
จากหนังสือ ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน ฉบับเเก้ไข