การประเมินผลการฝึกตัวผ่านวัจจกุฎีวัตร

วันที่ 07 ธค. พ.ศ.2562

การประเมินผลการฝึกตัวผ่านวัจจกุฎีวัตร

๑. สิ่งที่จะประเมิน : ผลการฝึกตัวผ่านวัจจกุฎีวัตร 

๒. เกณฑ์การประเมิน

๒.๑ การเรียนรู้ของพระภิกษุ

        ๒.๑.๑ เป็นผู้มีสติสัมปชัญญะ มีความช่างสังเกต มีความสำรวม มีความเป็นทีมหรือไม่
        ๒.๑.๒ เป็นผู้ถือธรรม ถืออารมณ์ หรือถือความเคยชินเป็นใหญ่
        ๒.๑.๓ ให้เขียนจากความเป็นจริงว่า เมื่ออยู่ที่บ้านใช้ห้องนํ้าอย่างไร หลังการฝึกวัจจกุฎีวัตร  ให้เขียนบรรยายว่า ตนเองใช้ห้องสุขาอย่างไรและเปรียบเทียบความแตกต่างการใช้ห้องสุขา ก่อนและหลังการฝึก

๒.๒ ห้องสุขา และอุปกรณ์ : บริเวณห้องสุขาและภายในห้องสุขา สะอาด แห้ง เป็นระเบียบตลอดเวลา

๒.๓ ความประพฤติการใช้ห้องสุขา : พิจารณาห้องนํ้าว่า สะอาด และแห้งตลอดเวลา อุปกรณ์เป็นระเบียบหรือไม่ ซึ่งเป็นสิ่งสะท้อนความประพฤติการใช้ห้องสุขา

๒.๔บรรยากาศ : มิความปลื้มปีติ ความเป็นทีม หรือมีความเครียด เบื่อหน่าย เก็บกด ทนทำ โดยอาจดูจากการจดบันทึกประจำวันของพระนวกะ เช่นการจับดีตนเองและผู้อื่น

๒.๕ ผลต่อการปฏิบัติธรรมและการปฏิบัติงาน : การปฏิบัติวัจจกุฎีวัตร มีผลในด้านต่อไปนี้อย่างไร


ผลด้านกายภาพ
๑) สุขภาพกาย-ใจ ของตน 
๒) การทำงานเป็นทีม 
๓) การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย 
๔) การปฏิบัติธรรม

ผลด้านคุณธรรม
สมณธรรม    
๑) มีสัมมาทิฏฐิ    
๒) มีสติสัมปชัญญะ    
๓) มีความช่างสังเกตพิจารณา    
๔) มีความสำรวมกาย วาจา ใจ    

ฆราวาสธรรม
๑) มีสัจจะ
๒) มีทมะ
๓) มีขันติ
๔) มีจาคะ

๓. เกณฑ์วินิจฉัย

เกณฑ์วินิจฉัย      

ไม่ผ่าน

ผ่าน

๓.๑ ความรู้เข้าใจหน่วยฝึกวัจกุฎีวัตร  

ตอบถูกไม่ถึง ๗๐%
ตอบผิดข้อที่เป็น Critical Error

ตอบถูกมากกว่า ๗๐% 
ตอบถูกทุกข้อที่เป็น Critical Error

๓.๒ ความประพฤติการใช้ห้องสุขา  

สกปรก ไม่แห้ง

ไม่เป็นระเบียบ

พบ ๓ ครั้ง

สะอาด แห้ง เป็นระเบียบ พบ >๓ ครั้ง

๓.๓ ห้องสุขาและอุปกรณ์    

สกปรก ไร้ระเบียบ พบ ๓ ครั้ง

สะอาด ระเบียบ > ๓ ครั้ง

๓.๔ บรรยากาศการฝึก      

เก็บกด หดหู่ เครียด ทนทำ

เข้าใจ น่าทำ มั่นใจ สุขใจ อยากทำตาม อาจหาญ ร่าเริงปลื้มปีติ เป็นทีม

ถ้าผ่านเกณฑ์วินิจฉัย ๓.๑ , ๓.๒ , ๓.๓, ๓.๔ จึงจะพิจารณาเกณฑ์ การเรียนรู้ ผลการปฏิบัติธรรมและการปฏิบ้ติงานเพื่อประเมินผลต่อไป

 

๔. การพัฒนา : หากไม่ผ่านเกณฑ์วินิจฉัยข้อใดข้อหนึ่ง ให้ย้อนกลับไป ตั้งต้นพัฒนาใหม่ในสิ่งที่ประเมินไม่ผ่าน

 

โดยเริ่มพัฒนาใหม่ตั้งแต่ขั้นตอนที่ ๑-๔ ของการจัดกระบวนการเรียนรู้ การฝึกตัวผ่านวัจจกุฎีวัตร เพื่อพระอาจารย์ พระพี่เลี้ยง พระนวกะจะได้รู้ชัด เห็นชัด เข้าใจชัด ตรงกันในข้อควรพัฒนาของพระนวกะ จะได้ไม่กินแหนง แคลงใจว่ามีอกุศลจิตอันเกิดจากอคติต่อกัน

 

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อทัตตชีโว

จากหนังสือ ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน ฉบับเเก้ไข

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.014916483561198 Mins