ความรู้พื้นฐานเรื่องพระวินัย
ความหมายพระวินัย
วินัย แปลว่า การกำจัด การเลิกละ ข้อนำไปให้วิเศษ ข้อนำไปให้แจ้ง ข้อนำไปให้ต่าง มีอธิบายตามลำดับความหมายนั้นว่า
๑. การกำจัด หมายถึง เป็นเครื่องมือสำหรับกำจัดอาสวกิเลส เพราะ เป็นข้อสำหรับฝึกหัดพัฒนากายกับวาจาให้สงบเย็น เรียบร้อย
๒. การเลิกละ หมายถึง วิธีการฝึกหัดอบรม เพื่อเลิกละอัชฌาจาร คือ ความประพฤติชั่ว ความประพฤติเสียมารยาท ความประพฤติไม่เหมาะสมแก่สมณะ เมื่อปฏิบัติตามวินัยย่อมเลิกละอัชฌาจารนั้นได้
๓. ข้อนำไปให้วิเศษ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นบาทฐานนำผู้ปฏิบัติให้บรรลุคุณวิเศษสูงขึ้นไปตามลำดับ
๔. ข้อนำไปให้แจ้ง หมายถึง ข้อปฏิบัติที่เป็นบาทฐานนำผู้ปฏิบัติให้บรรลุถึงความแจ่มแจ้งในธรรม มองเห็นธรรมได้ง่าย เหมือนลมที่กำจัดเมฆหมอกให้สิ้นแล้ว ทำให้เห็นท้องฟ้าได้แจ่มแจ้งฉะนั้น
๕. ข้อนำไปให้ต่าง หมายถึง ข้อปฏิบัติที่นำให้ผู้ปฏิบัติแตกต่างไปจากคนทั่วไป โดยให้สงบเย็น เรียบร้อย และบรรลุถึงคุณวิเศษระดับต่างๆ มีโสดาปัตติผลเป็นต้น
โดยภาพรวม คำว่า วินัย หมายถึง คำสั่งสอนส่วนหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่เนื่องด้วยข้อบัญญัติสำหรับเป็นหลักปฏิบัติของภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ เรียกโดยทั่วไปว่า พระวินัย ซึ่งหมายความว่า
พระวินัย หมายถึง
|
ภาคส่วนของพระวินัย
พระวินัยแบ่งออกเป็น ๒ ภาคส่วนใหญ่ๆ ๒ ภาคส่วน คือ
๑. อาทิพรหมจริยกาสิกขา คือ ข้อศึกษาอบรมข้อปฏิบัติอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ในการดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐ เป็นระเบียบที่พึงปฏิบัติในสังคมของพระอริยบุคคลได้แก่ส่วนที่เป็นสิกขาบทที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ เพื่อป้องกันความเสียหายเป็นต้น มีการปรับโทษกำกับไว้ทุกข้อ หนักบ้าง เบาบ้าง จัดเป็นพุทธอาณา คือ ขอบเขตผู้รักดี-พ้นทุกข์ เรียกโดยทั่วไปว่า พระปาติโมกข์
ภาคส่วนนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อุภโตวิภังค์ แปลว่า วิภังค์ ๒ คือ
- มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ได้แก่ สิกขาบทหรือ ศีล ๒๒๗ ข้อของภิกษุ
- ภิกขุนีวิภังค์ ได้แก่ สิกขาบทหรือศีล ๓๑๑ ข้อของภิกษุณี
๒. อภิสมาจาริกาสิกขา คือ ข้อศึกษาอบรมข้อปฏิบ้ติอันเป็นแบบแผน ธรรมเนียม ความประพฤติที่เป็นมารยาทเป็นสมบัติผู้ดี ซึ่ง ทำให้ใจใส นุ่มนวลควรแก่การงาน ซึ่งทรงบัญญติไว้เพื่อให้พระสงฆ์มีความสง่างาม น่าเคารพศรัทธาเลื่อมใส เป็นสิกขาบทที่มานอกพระปาฏิโมกข์
ภาคส่วนนี้ท่านจัดไว้เป็นหมวดๆ เรียกว่า ขันธกะ มีจำนวน ๒๒ ขันธกะ
ประโยชน์ของพระวินัย
ในการบัญญัติพระวินัยนั้น พระพุทธองค์ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ
๑. สงฺฆสุฏฺฐุตาย ๒. สงฺฆผาสุตาย ๓. ทุมฺมงฺกูนํ ปุคฺคลานํ นิคฺคหาย ๔. เปสลานํ ภิกฺขูนํ ผาสุวิหาราย |
ประโยชน์ต่อองค์กรสงฆ์ |
๕. ทิฏฺฐธมฺมิกานํ อาสวานํ สํวราย ๖. สมฺปรายิกานํ อาสวานํ ปฏิฆาตาย |
ประโยชน์ต่อผู้บวช |
๗. อปฺปสนฺนานํ ปสาทาย ๘. ปสนฺนานํ ภิยฺโยภาวาย |
ประโยชน์ต่อสังคมโลก |
๙. สทฺธมฺมฏฺฐิติยา ๑๐. วินยานุคฺคหาย |
ประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา |
ประโยชน์ของพระวินัยต่อบุคคลและองค์กร
๑. เป็นประโยชน์ต่อผู้บวช คือ ทำให้ผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิกอยู่ในองค์กรสงฆ์ที่เรียกว่า ภิกษุ ภิกษุณี สามเณร สามเณรี สามารถดำเนินชีวิต อย่างประเสริฐ แล้วพัฒนาตนให้บรรลุธรรมในระดับสูงขึ้นไปจนถึง พระนิพพานได้
๒. เป็นประโยชน์ต่อองค์กรสงฆ์ คือ ทำให้องค์กรสงฆ์มีความรักสามัคคีและนับถือกัน ปฏิบัติดีต่อกันด้วยจิตใจ ทำให้อยู่กันอย่างสันติ จนสามารถปฏิบัติได้สะดวก
๓. เป็นประโยชน์ต่อสังคมโลก คือ ทำให้สังคมโลกมีแบบอย่างที่ดีงามสำหรับประพฤติตาม หรือส่งลูกหลานให้เข้ามาบวช เพื่อจะได้อบรมบ่มเพาะมารยาทและธรรมเนียมต่างๆ สำหรับปฏิบัติตน ให้เป็นคนเรียบร้อยงดงามตามอย่างพระสงฆ์ และเสริมสร้างศรัทธาปสาทะให้เกิดแก่สังคมโลก ที่ได้เห็นองค์กรสงฆ์ปฏิบัติเคร่งครัดในพระวินัย อันเป็นแรง จูงใจให้เข้ามาหา แล้วบูชากราบไหว้ในฐานะเป็นเนื้อนาบุญ อันประเสริฐ แล้วฟังคำแนะนำสั่งสอนจากท่าน และนำไปปฏิบัติตาม จนได้รับความสุขสงบในชีวิต
๔. เป็นประโยชน์ต่อพระศาสนา คือ พระวินัยในฐานะที่เป็นรากแก้ว ของพระพุทธศาสนา ย่อมนำพาให้เกิดความมั่นคง และความเป็นปึกแผ่นให้แก่พระพุทธศาสนาเองด้วย เมื่อองค์กรสงฆ์และสังคมโลกปฏิบัติตามหลักพระวินัยกันถ้วนหน้าแล้ว ย่อมทำให้พระพุทธศาสนาเข้มแข็งเติบใหญ่ และแพร่หลายขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังที่ท่านกล่าวว่า
“พระวินัยเป็นอายุของพระพุทธศาสนา |
อาบัติและโทษ
อาบัติ แปลว่า การต้อง ความต้อง หมายถึง การต้องโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทหรือข้อห้ามแห่งภิกษุ หรือหมายถึง โทษที่ภิกษุผู้ล่วงละเมิดสิกขาบทที่มีบัญญัติห้ามไว้จะต้องได้รับ
โทษอีกอย่างหนึ่งของอาบัติมี ๒ สถาน คือ
๑. โลกวัชชะ โทษทางโลก ดือความผิดที่เมื่อล่วงละเมิดสิกขาบท แล้ว ชาวบ้านไม่ชอบ ตำหนิติติง หรือโพนทะนาว่าทำไม่เหมาะไม่ควร เห็นเป็นการกระทำที่ผิด เช่น การดื่มสุรา การขบฉันอาหารในเวลาวิกาล การนุ่งห่มไม่เป็นปริมณฑล เป็นต้น หรือเมื่อล่วงละเมิดแล้วมีโทษทางกฎหมายบ้านเมือง การทำโจรกรรม การทุบตีกัน เป็นต้น
๒. ปัณณัตติวัชชะ โทษทางพระวินัย คือความผิดที่ไปล่วงละเมิดข้อห้ามตามที่บัญญัติเป็นสิกขาบทเข้าไว้ เป็นการไม่สมควร ไม่เหมาะสำหรับผู้เป็นนักบวช เช่น การขุดดิน การขบฉันอาหารในเวลาวิกาล การว่ายนํ้าเล่น เป็นต้น การกระทำเช่นนื้ไม่เป็นความผิดสำหรับคฤหัสถ์ แต่เป็นความผิดเฉพาะผู้เป็นภิกษุเท่านั้น
ในโทษ ๒ สถานนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวิชรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงให้คำแนะนำไว้โดยสรุปว่า
๑. อาบ้ติที่เป็นโลกวัชชะนั้น ล่วงเข้าแล้วยังความเสียหายให้เกิดมากแม้ทำคืน (ปลงอาบัติ) แล้ว ความเสียหายนั้นก็เป็นเหมือนแผลที่ติดอยู่ไม่หายได้ง่าย ควรประหยัดให้มาก อย่าล่วงง่ายๆ
๒. อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะนั้น เหล่าใดที่ภิกษุยังถือเป็นการกวดขันล่วงอาบัติเหล่านั้นเข้าแล้ว มีความเสียหายได้เหมือนกัน เหล่าใด ไม่ถือเป็นจริงจัง เพราะกาลสมัยและประเทศนำให้เป็น อาบัติเหล่านั้นแม้ล่วงเข้าแล้วก็ไม่สู้เป็นอะไรนัก
๓. ในฝ่ายเคร่ง (วินัย) ไม่ควรจะถือเอาอาบัติเหล่านั้นเป็นเครื่องมือสำหรับอวดเก่ง
๔. ในฝ่ายที่ไม่เคร่ง เห็นว่าอาบัติมาก หลบไม่ไหวแล้ว ทอดธุระเสีย ไม่รู้จักเว้น ก็สะเพร่าเกินไป
๕. ควรรู้จักประพฤติแต่พอดี จึงจะสมแก่คาสนธรรมที่ว่าปฏิบัติพอกลางๆ ไม่หย่อนเกินไปและไม่ตึงเกินไป
อาการต้องอาบัติ
การต้องอาบัติหรือการล่วงละเมิดพระวินัยบัญญัติของภิกษุนั้น เกิดขึ้นด้วยอาการต่างๆ ท่านแสดงอาการนั้นๆ ไว้ รวม ๖ ประการ คือ
๑. อลชฺชิตา ต้องด้วยไม่ละอาย
คือ อาการที่ภิกษุรู้อยู่ว่าสิ่งนี้ไม่ควรทำ มีพระวินัยบัญญัติห้ามไว้แล้ว แต่ก็ยังขืนดื้อดึงทำไปโดยไม่สนใจความผิด เช่น พูดปด ดื่มสุรา ไม่สำรวมระวัง เป็นต้น
๒. อญาณตา ต้องด้วยความไม่รู้
คือ อาการที่ภิกษุผู้บวชใหม่หรือบวชมานานแต่เป็นคนเขลาหรือ ผู้ไม่ได้สนใจที่จะรู้ จึงไม่รู้พระวินัยบัญญัติว่า สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ทำไม่ได้ จึงไปล่วงละเมิดสิกขาบทนั้นๆ เข้าด้วยความไม่รู้ เช่น นอนร่วมกับอนุปสัมบัน เกิน ๓ คืน เป็นต้น
๓. กุกฺกุจฺจปกตตฺตา ต้องด้วยสงสัยแล้วขืนทำลงไป
คือ อาการที่ภิกษุต้องการดื่มนํ้า เกิดความสงสัยขึ้นมาขณะนั้นว่าในนํ้ามีตัวสัตว์หรือไม่ แต่ก็ยังดื่มน้ำนั้นทั้งที่สงสัย หรือสงสัยว่าการทำอย่างนี้จะผิดพระวินัยหรือไม่ พระวินัยบัญญัติห้ามไว้หรือไม่ แต่ก็ทำลงไปทั้งที่สงสัยการทำอย่างนั้น หากเป็นการทำที่มีพระวินัยห้ามไว้ก็ต้องอาบัติตามวัตถุ ถ้าไม่มี ก็ต้องอาบัติทุกกฏ เพราะสงสัยแล้วขืนทำลงไป
๔. อกปฺปิเย กปฺปิยสญฺญิตา ต้องด้วยสำคัญว่าควรในของที่ไม่ควร
คือ อาการที่ภิกษุมีความสำคัญผิดไป เช่น เห็นเนื้อหมีซึ่งเป็นเนื้อ ต้องห้ามตามพระวินัย แต่สำคัญไปว่าเป็นเนื้อหมู จึงขบฉันเข้าไปตามที่เข้าใจ แต่ก็ต้องอาบัติ เพราะเป็นเนื้อต้องห้าม
๕ กปฺปิเย อกปฺปิยสญฺญิตา ต้องด้วยสำคัญว่าไม่ควรในของที่ควร
คือ อาการที่ภิกษุมีความสำคัญผิดไป เช่น เห็นเนื้อหมูซึ่งเป็นเนื้อที่บริโภคได้ แต่เข้าใจว่าเป็นเนื้อหมี ซึ่งเป็นเนื้อต้องห้าม แล้วฉันเนื้อหมูนั้น ก็ต้องอาบัติทุกกฎ เพราะสำคัญว่าไม่ควรแล้วยังฉัน
๖. สติสมฺโมสา ต้องด้วยลืมสติ
คือ อาการที่ภิกษุลืมสติแล้วล่วงละเมิดสิกขาบท ด้วยหลงไปหรือ เผลอไป เช่น น้ำผึ้ง ทรงอนุญาตให้ภิกษุเก็บไว้ฉันได้เพียง ๗ วัน แต่ภิกษุเก็บไว้เกินกำหนด ๗ วัน
เเล้วนำมาฉัน หรือเผลอเก็บอดิเรกจีวรไว้เกิน ๑๐ วัน โดยไม่ได้วิกัปหรืออธิษฐาน
อานิสงส์ท้นทีของพระวินัย
เมื่อผู้ปฏิบัติตามพระวินัยข้อนั้น ข้อนี้ หรือละเว้นไม่ล่วงละเมิด ข้อนั้น ข้อนี้ ภาพที่สวยงามของผู้ปฏิบัติก็จะปรากฎให้เห็นทันที ไม่ต้องรอเวลา ไม่ต้องบ่มเพาะ ไม่ต้องมีเงื่อนไขอย่างอื่น เห็นเมื่อใดก็เป็นเครื่องหมายให้รู้และได้เห็นเป็นรูปธรรมว่า ผู้นั้นปฏิบัติตามพระวินัย
ที่มา : พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช), พระวินัยบัญญัติ, ๒๕๖๑.
เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อทัตตชีโว
จากหนังสือ ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน ฉบับเเก้ไข