กระบวนการจัดทำหลักสูตรที่ยึดวัตรตามพระธรรมวินัย

วันที่ 09 ธค. พ.ศ.2562

กระบวนการจัดทำหลักสูตร ที่ยึดวัตรตามพระธรรมวินัย

ขั้นตอน

วิธีปฏิบัติ

๑. ศึกษาพระธรรมวินัย ที่เป็นแม่บทการฝึกพระ

๑.๑ หลวงพ่อทัตฺตชีโว บรรยายธรรมแก่พระภิกษุตลอดช่วงเข้าพรรษา
•    คณกโมคคัลลานสูตร • วัตตขันธกะ • วัจจกุฎีวัตร
•    อาฬวกสูตร • ฐานสูตร • บรรพชิตสัญญา ๑๐
•    สรีรัฎฐธัมมสูตร • เสนาสนสูตร • อริยมรรคมีองค์๘

๑.๒ พระภิกษุทั้งวัดที่มาฟังธรรม นำวัจจกุฎีวัตรไปปฏิบัติประชุมกลุ่ม เขียนรายงานผลการปฏิบัติวัจจกุฎีวัตร

๒. จัดตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตร  

๒.๑ พระเถระผู้มีพรรษากาล ประชุมเพื่อพิจารณาข้อวัตรการปฏิบัติของพระในวัด และความเคารพของสาธุชนที่มีต่อพระภิกษุ
๒.๒ จัดตั้งคณะกรรมการ ๓ ชุด
•    ชุดยกร่างหลักสูตร ประกอบด้วยพระตัวแทนจากทุกหน่วยงานที่ฝึกพระในวัด
•    ชุดพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยพระหัวหน้าที่ฝึกพระในวัดจากทุกหน่วยงาน
•    ชุดวิพากษ์หลักสูตร ประกอบด้วยพระเถระผู้ทรงพระไตรปิฎก พระที่ทำหน้าที่ผู้บริหารในส่วนงานต่างๆ ในวัด

๓. ออกแบบหลักสูตรโดยยึดพระธรรมวินัย    

พระเถระ พระผู้บริหาร นักวิชาการ ประชุมวิเคราะห์ สภาพปัญหา-สาเหตุ-วิธีแก้ไข ตามพระธรรมวินัย ได้ออกแบบหลักสูตรที่มีลักษณะเป็นหน่วยฝึกตามวัตร ในวัตตขันธกะ โดยกำหนด  วัจจกุฎีวัตร เป็นหน่วยฝึกลำดับเเรก

๔. ยกร่างหลักสูตรที่เป็นหน่วยฝึกตามวัตร    

๔.๑ คณะกรรมการยกร่าง นำความรู้จากการฟังธรรมะใน

ข้อ ๑ และ ๓ มายกร่างหน่วยฝึก ซึ่งประกอบด้วย
๑. วัจจกุฎีวัตร : วิเคราะห์และขยายความ
๒. ความประพฤติการใช้ห้องสุขาของพระภิกษุ
๓. ระดับความประพฤติการใช้ห้องสุขาของพระกำลังฝึกตัว

พระตั้งใจฝึกตัว และพระต้นแบบ
๔. บทฝึกวัจจกุฎีวัตร สำหรับพระกำลังฝึกตัว
๕. บทฝึกวัจจกุฎีวัตร สำหรับพระตั้งใจฝึกตัว และพระต้นแบบ
๖. การจัดกระบวนการเรียนรู้การฝึกตัวผ่านวัจจกุฎีวัตร
๗. การติดตามให้กำลังใจการฝึกตัวผ่านวัจจกุฎีวัตร
๘. การประเมินผลการฝึกตัวผ่านวัจจกุฎีวัตร

๔.๒ พระตัวแทนแต่ละหน่วยนำบทฝึกที่ยกร่าง กลับไปประชุมนอกรอบกับพระในหน่วยและทดลองปฏิบัติว่า เข้าใจง่าย-ยาก เข้าใจถูก-ผิด ปฏิบัติได้-ไม่ได้ และข้อเสนอแนะ

๔.๓ พระตัวแทนแต่ละหน่วยนำข้อมูลมาเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาปรับปรุง

๕. นำเสนอ หน่วยฝึกต่อชุดพัฒนาหลักสูตร 

คณะกรรมการยกร่างนำเสนอหน่วยฝึกวัจจกุฎีวัตร (ข้อ๑-๘) ต่อชุดพัฒนาหลักสูตร โดยเปิดโอกาสให้พระอื่นๆ เข้าฟังได้ ข้อเสนอแนะจะนำมาดำเนินการโดย ชุดยกร่าง และนำเสนอใหม่อีกครั้งจนกว่าชุดพัฒนาหลักสูตร จะเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้วนำเสนอต่อชุดวิพากษ์หลักสูตร

๖. นำเสนอ หน่วยฝึกต่อชุดวิพากษ์ 

พระเถระประชุมเพื่อวิพากษ์หน่วยฝึก โดย ชุดยกร่างและชุดพัฒนาหลักสูตร เข้าร่วมฟังด้วย ซึ่งมีทั้งการประชุมในห้องประชุม และหรือประชุมผ่าน Social Media จากนั้นนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุง

 

๗.จัดพิมพ์ หน่วยฝึกทดลองและพัฒนาต่อไป 

คณะผู้จัดทำหลักสูตรหน่วยฝึกฯร่วมกันจัดทำหนังสือ "ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน” เพื่อใช้ฝึกพระ-สามเณร ช่วงออกพรรษา แล้วนำข้อมูลมาพัฒนาหลักสูตรที่เป็นหน่วยฝึกตามวัตร ตามขั้นตอน ๑-๘ ในรอบต่อไป

    

รายชื่อพระวินัยและพระสูตรที่ใช้ประกอบการจัดทำหลักสูตรที่เป็นหน่วยฝึกตามวัตรในพระธรรมวินัย

๑. พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ “วัจจกุฎีวัตร”

๒. พระวินัยปิฎก จุลวรรค ภาค ๒ “วัตตขันธกะ”

๓. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ “คณกโมคคัลลานสูตร”

๔. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต “ฐานสูตร”

๕. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต “อาฬวกสูตร”

๖. พระสุตตันตปิฎก ม้ชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ “สัมมาทิฏฐิสูตร” 

๗. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต “สรีรัฏฐธรรมสูตร”

๘. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต “เสนาสนสูตร”

๙. พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ “สัพพาสวสังวรสูตร”

๑๐. พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต “ปัญญาวุฑฒิสูตร” 

๑๑. พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๑ ว่าด้วย ธัมมจักกัปปวัตนสูตร ปฐมเทศนา 

๑๒. สนฺทสฺเสสิ สมาทเปสิ สมุตฺเตเชสิ สมฺปหํเสสิ ปรากฎใน

๑๒.๑ พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน อรรถกถาใน โคปาลสูตร จากคัมภีร์ปรมัตถทีปนี

๑๒.๒ พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อรรถกถาใน ภิกขุนูปัสสยสูตร จากคัมภีร์สารัตถปกาสินี

๑๒.๓ พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค อรรถกถาใน มหาปทานสูตร จากคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี

 

เรียบเรียงจากพระธรรมเทศนาหลวงพ่อทัตตชีโว

จากหนังสือ ล้างก้น ล้างใจ ไปนิพพาน ฉบับเเก้ไข

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.033112100760142 Mins