ระเบียบสวดมนต์
ฝ่ายพระมหานิกาย
ของพระมงคลเทพมุนี วัดอนงคาราม๑
ในงานมงคลสามัญ
บุพพกิจแห่งพิธีสวดพุทธมนต์ เจ้าของงานต้องจัดตั้งที่บูชา แล้วอาราธนาพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานเหนือเครื่องสักการะ มีหม้อน้ำมนต์ เช่น บาตร ขันและครอบเป็นต้น แต่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ มีด้ายสายสิญจน์ทอดมาจากพระพุทธรูป วงเข้าที่หม้อน้ำมนต์แล้วใส่พานไว้ สำหรับพระสงฆ์ถือในเวลาสวด
เครื่องสักการะ มีดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น และมีเทียนติดที่หม้อน้ำมนต์อีกเล่มหนึ่ง ฯ
ในงานศพไม่ต้องตั้งน้ำมนต์ ไม่ต้องมีวงด้ายสายสิญจน์ ฯ
ถ้าในงานมงคลพิเศษ เช่น โกนจุก เป็นต้น มีหม้อน้ำมนต์ มีวงด้ายสายสิญจน์ มีดอกไม้ ธูปเทียน เป็นเครื่องบูชา และมีเครื่องโกนจุกตามพิธีโหราศาสตร์ พร้อมด้วยมงคล ๘ ประการ นอกจากนี้ตามประเพณีโบราณ (เช่นในเรื่องพระเวสสันดรราชาภิเษก) นิยมเครื่องบูชา ๕ อย่าง ว่าเป็นเครื่องบูชาอย่างสูง ฯ
ระเบียบสวดมนต์เบื้องต้น
คฤหัสถ์อาราธนาศีล พระให้ศีลจบแล้ว คฤหัสถ์อาราธนาพระปริตร์คือวิปตฺติปฏิพาหาย ฯลฯ พระภิกษุในอันดับที่ ๓ จากพระเถระ หรือรูปใดรูปหนึ่งก็ได้ ขัดตำนาน คือ
ผริตฺวาน เมตฺตํ ฯลฯ ปริตฺตํ ภณนฺตุ สคฺเค กาเม ฯลฯ อยมฺภทนฺตา ฯ
________________________
๑ผู้เขียนได้แก้ไขเพิ่มขึ้นบ้าง
สวดโดยสังโยควิธีระเบียบ ๑ ในงานมงคลพิเศษ
นโม ๓ หน พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ ทุติ - ตติ และนมการสิทฺธิคาถา คือ โยจกฺขุมา ฯลฯ หรือสวด สมฺพุทฺเธ อย่างเก่าแทน โย จกฺขุมา ก็ได้
ถ้าตั้งน้ำมนต์ สวด นโมการอฏฺฐกํ คือ นโม ๘ บทด้วย ถ้าไม่ตั้งน้ำมนต์ไม่ต้องสวด ฯ
ขัด เย สนฺตา ฯลฯ มงฺคลนฺตมฺภณาม เห ฯ
สวด มงฺคลสุตฺต คือ อเสวนา จ พาลานํ ฯ
ขัด โกฏิสตสหสฺเสสุ ฯลฯ ภณาม เห ฯ
สวด รตนสุต๑ ๖ คาถา คือ
๑. ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ ฯลฯ
๒. ขยํ วิราคํ อมตํ ฯลฯ
๓. ยมฺพุทฺธเสฏฺโฐ ฯลฯ
๔. เย ปุคฺคลา ฯลฯ
๕. เย สุปฺปยุตฺตา ฯลฯ
๖. ขีณํ ปุราณํ ฯลฯ
เมื่อสวดถึงคาถาที่ ๖ "ขีณํ ปุราณํ" พระเถระจึงเปิดฝาครอบน้ำมนต์ (หากมี) แล้วปลดเทียนเวียนให้ขี้ผึ้งหยดลงในน้ำ ครั้นสวดถึงบทว่า "นิพฺพนฺติ ธีรา ยะถายมฺปทีโป จุ่มเทียนลงให้ดับในน้ำ แล้วปิดฝาครอบติดเทียนไว้ตามเดิม๒
_______________________________________________________
๑ จะสวดย่อหรือเต็มสูตร ก็สุดแล้วแต่ท่านผู้นำ.
๒ ตามตำนานพระปริตร์ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระบรมวงศ์กรมพระยาดำรงราชานุภาพแม้ในงานพระราชพิธีก็ดำเนินโดยนัยนี้.
ขัด ยสฺสานุภาวโต ฯลฯ ภณาม เห
สวด กรณียเมตฺตสูตร
ขัด สพฺพาสี ฯลฯ ภณาม เห
สวด ขนฺธปริตฺต คือ วิรูปกฺเขหิ เม
ถ้าในงานขึ้นกุฎีใหม่ ขึ้นบ้านใหม่ หรือทำบุญบ้านเรือน ควรขัด ปูเรนฺตมฺโพธิสมฺภาเร นิพฺพตฺตํ วฏฺฏชาติยํ ฯลฯ
(ในสิบสองตำนาน)
สวด วฏฏฺปริตฺต คือ อตฺถิ โลเก
ขัด ยสฺสานุสฺสรเณนาปิ ฯลฯ ภณาม เห
สวด อิติปิ โส ภควา
ขัด อปฺปสนฺเนหิ นาถสฺส ฯลฯ ภณาม เห
สวด อาฏานาฏิยปริตฺต คือ วิปัสฺสิสฺส ฯลฯ พุทฺธํ วนฺทาม โคตมนฺติ ฯ
ขัด ปริตฺตํ ยมฺภณนฺตสฺส ฯลฯ ภณาม เห
สวด องฺคุลิมาลปริตฺต คือ ยโตหํ ฯลฯ โสตฺถิ คพฺภสฺส, โพชฺฌงฺโค ฯลฯ โหตุ สพฺพทา
ทำพิธีในวัด พระเถระบางองค์ท่านไม่สวดองฺคุลิมาลปริตฺต คือ "ยโตหํ" สวด "โพชฺฌงฺโค" ทีเดียว บางท่านก็แนะให้ขัด "สํสาเร สํสรนฺตานํ" (ในสิบสองตำนาน) ก่อนแล้วสวด "โพชฺณงฺโค"
ต่อจากนี้ปลายสวดมนต์ สุดแล้วแต่พระเถระผู้เป็นประธาน จะสวดมากหรือน้อยโดยควรกับกาลเทศะ ถ้าจะสวดมากขึ้น สวดแต่ "มหาการุณิโก" ตลอดถึง "ยงฺกิญฺจิ จนจบ ภวนฺตุ เต" ถ้าจะสวดน้อยขึ้น นตฺถิ เม สรณํ ฯลฯ
สวด รตนตฺตฺยปฺปภาวาภิยาจนคาถา๑ คือ อรหํ
สวด สุขาภิยาจนคาถา๒ คือ ยํยํ โดยมากสวดมงคลจักรวาลใหญ่แทน อรหํ ยํยํ
สวด เทวตาอุยฺโยชนคาถา คือ ทุกฺขปฺปตฺตา ฯลฯ คจฺฉนฺตุ เทวตาคตา ๆ
สวด สพฺเพ พุทฺธา ฯลฯ รกฺขํ พนฺธามิ สพฺพโส ฯ
สวด ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ
สวด นกฺขตฺตยกฺขภูตานํ ฯลฯ อุปทฺทเว ฯ
สวดย่อระเบียบ ๒
ในงานมงคลสามัญ ไม่ต้องขัดตำนาน
นโม, พุทฺธํ, โย จกฺขุมา, นโม ๘ บท, อเสวนา, ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ, กรณียมตฺถ, วิรูปกฺเขหิ๓ หรือ อปฺปมาโณ ก็ได้ “อปฺปมาโณ" ต่อเลย "อเปตยญฺจกฺขุมา" ที่เดียว ฯ
อิติปิโส, วิปสฺสิสฺส ฯลฯ โคตมนฺติ ฯ สพฺพโรควินิมุตฺโต ฯลฯ อายุ วณฺโณ สุขํ พลํ ฯ ยโตหํ, นตฺถิ เม, สิริธิติ, ทุกฺขปฺปตฺตา ฯลฯ คจฺฉนฺตุ เทวตาคตา ฯ สพฺเพ พุทฺธา, ภวตุ สพฺพมงฺคลํ, นกฺขตฺตยกฺขภูตานํ ๆ
ระเบียบสวดเจ็ดตำนานย่อ ตัดโมรปริตร์ออก จะขัดทั้งหมดหรือไม่ขัดสุดแต่ท่านผู้นำพิเคราะห์ดูฐานะเจ้าของงาน และรูปงานเป็นสำคัญแต่อย่าเอาบทขัดมาเป็นบทสวด ส่วนการสวดอย่างพิสดาร ต้องขัดและสวดเต็มตำรา (ในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง) เช่น ในราชกิจนิมนต์หรืองานมงคลพิเศษ เป็นต้น ฯ
___________________________________________
๑ คาถานี้โดยมากใช้ในงานผู้มียศถาบรรดาศักดิ์
๒ คาถานี้ โดยมากใช้ในราชสกุล
๓ ระเบียบโบราณ ถ้าขึ้น "วิรูปกฺเขหิ" ต้องลง "สมฺมาสมฺพุทฺธานํ" ถ้าขึ้น "อปฺปมาโณ" ต่อเลย "อเปตยญฺจกฺขุมา" ทีเดียว ฯ
ระเบียบ ๓
ในงานทำบุญวันเกิดที่เรียกว่าทำบุญอายุ
สวด นโม, พุทฺธํ, โย จักฺขุมา,
ขัด เยสนฺตา ฯลฯ สห สพฺเพหิ ญาติภิ, อนุตฺตรํ อภิสมฺโพธึ ฯลฯ ภณาม เส ฯ
สวด ธมฺมจกฺก ทั้งผูกจบแล้ว
ขัด ยญฺจ ทฺวาทส ฯลฯ มงฺคลนฺตมฺภณาม เห ๆ
ต่อจากนี้ขัดและสวดเจ็ดตำนานย่อเหมือนระเบียบ ๑ แม้วิธีทำน้ำมนต์ทำนองเดียวกัน ฯ
ระเบียบ ๔
ถ้าสวดมนต์แล้วฉันเช้า หรือฉันเพลในงานมงคล เช่น ฉลองพระ เป็นต้น ต้นสวดมนต์และขัดตำนานเหมือนงานมงคลพิเศษระเบียบ ๑ แต่ถ้ามีเวลาน้อยก็ไม่ต้องขัด ตำนาน สวด นโม, พุทฺธํ, โย จกฺขุมา, นโม ๘ บท, อเสวนา, ยงฺกิญฺจิ วิตฺตํ กรณียมตฺถ, วิรูปกฺเขหิ (ต่อนี้ไปไม่ขัด) อิติปิ โส, พาหุ, มหาการุณิโก, ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ๆ
ตามหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง พิมพ์ครั้งที่ ๕ ก็ใช้ระเบียบนี้เหมือนกันแต่บางท่านสวดเหมือนงานมงคลสามัญ อย่างระเบียบ ๒ เมื่อสวดถึง "นตฺถิเม, ยงฺกิญฺจิ รตนํ โลเก สิริธิติ," จบแล้วสวด พาหุํ, มหาการุณิโก, ภวตุ สพฺพมงฺคล, ทุกฺขปฺปตฺตา, นกฺขตฺตยกฺขภูตานํ ฯ
ระเบียบนี้จะถือเอาเป็นยุติมิได้สุดแล้วแต่กาลเทศะ จะสวดให้มากกว่านั้นก็ได้ แต่มีข้อสำคัญว่า เมื่อสวดแล้วฉันเข้าหรียฉันเพล จะก่อนหรือหลังก็ตาม เป็นงานครั้งเดียวแล้วต้องสวด "พาหุํ, มหาการุณิโก"
ระเบียบ ๕
ในงานศพ (คือศพยังอยู่ในบ้าน) ที่เรียกว่า ทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน คฤหัสถ์อาราธนาพระปริตร พระขัด ผริตฺวาน ฯลฯ สคฺเค เหมือนการมงคลสามัญ
ต้นสวดมนต์ นโม, พุทฺธํ, ปพฺพโตปมคาถา คือ ยถาปิ เสลา ๆ อริยธนคาถา คือ ยสฺส สทฺรา ฯ จบต้นสวดมนต์แล้ว
ขัด เย สนฺตา ฯลฯ สห สพฺเพหิ ญาติภิ
ต่อนี้ขัดสูตรหรือปาฐะที่จะสวด โดยมากทำบุญ ๗ วัน อนัตตลักขณสูตร, ๕๐ วัน อาทิตตปริยายสูตร, ๑๐๐ วัน ธัมมนิยามหรือสติปัฏฐานปาฐ (เว้นไว้แต่เจ้าภาพนิมนต์เฉพาะสูตรหรือปาฐะนั้น หรือสวดแล้วแต่ท่านผู้เป็นประธานจะปรึกษาพร้อมกัน ถ้าศพเผาแล้ว ท่านสวดเจ็ดตำนานย่อ)
ปลายสวดมนต์ สวด อวิชฺชา ฯลฯ นิโรโธ โหติ ฯ
พุทฺธอุทานคาถา คือ ยทา หเว ภทฺเทกรตฺตคาถา คือ อตีตํ นานฺวาคเมยฺย
ทุกฺขปฺปตฺตา ฯลฯ คจฺฉนฺตุ เทวตาคตา ๆ (สพฺเพ พุทฺธา ไม่สวด) ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯ
อนึ่ง ถ้าศพยังมิได้เผาก็ดี หรือเผาแล้ว เจ้าภาพนำอัฐมาตั้ง ณ ที่บูชาก็ดี ที่เรียกว่าทำบุญรัฐ ถ้าสวดเจ็ดตำนานย่อ ถึงทุกฺขปฺปตฺตา ฯลฯ คจฺฉนฺตุ เทวตาคตา ๆ (สพฺเพ พุทฺธา ไม่สวด) ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ โสตฺถี กวนฺตุ เต ฯ (นกฺขตฺตยกฺขภูตานํ ไม่สวด)
อีกอย่างหนึ่ง เวลาเชิญศพขึ้นตั้งก่อนแต่การฌาปนกิจ บางท่านจัดให้มีการสวดมนต์ด้วย ซึ่งเรียกว่าสวดมนต์ปิดศพ ก็สวดเหมือนระเบียบ ๕ ที่กล่าวมาแล้ว แต่โดยมากสวดอนัตตลักขณสูตรสติปัฏฐานปาฐะเป็นพื้น
ระเบียบ ๖
มาติกาและสดับปกรณ์
หรือบังสุกุลในงานศพหรืออัฐิ
สวด นโม, ธมฺมสงฺคิณีมาติกาปาฐ คือ กุสลา ธมฺมา ฯลฯ อนิทสฺสนาปฺ ปฏิฆา ธมฺมา ฯ
มหาปฏฺฐาน คือ เหตุปจฺจโย ฯลฯ อวิคตปจฺจโย ฯ
ถ้าในงานศพเจ้านายหรือศพผู้มียศ สวด วิปสฺสนาภูมิปาฐ ด้วย ปญฺจกฺขนฺธา ฯลฯ ปฏิปทา อริยสจฺจํ ฯ (จบแล้วหยุดสดับปกรณ์หรือบังสุกุลว่า "อนิจฺจา วต สงฺขารา ฯลฯ" เสร็จแล้วบางทีเจ้าภาพมีไทยทานถวายแล้วเริ่มนำอนุโมทนาว่า "ยถา สพฺพี, อทาสิ เม, ฯลฯ ภวตุ สพฺพมงฺคลํ" เป็นเสร็จพิธีสวดมาติกาเพียงเท่านี้ ฯ
ระเบียบ ๗
สวดโพชฌงค์หรือสวดไข้ คือ สวดให้คนไข้ฟังตามระเบียบเก่าสวด "นโม พุทฺธํ ชีวิตํ ยาวนิพฺพาน สรณํ คจฺฉามิ, (ทุติ, ตติ) สมฺพุทฺเธ หรือ โย จกฺขุมา, มหากสฺสปโพชฺฌงฺคสุตฺต บ้าง มหาโมคฺคลฺลานโพชฺฌงฺคสุตฺต บ้าง มหาจุนฺทโพชฺฌงฺคสุตฺต บ้าง ศิริมานนฺทสุตฺต บ้าง โพชฺณงฺคปริตฺต (ในเจ็ดตำนาน) บ้าง อตฺถิ อุณฺหิสวิชย บ้าง (สูตรใดสูตรหนึ่ง สุดแล้วแต่ผู้นำหรือเจ้าภาพเจาะจงบ้าง ถ้าสวดหลายวันก็เปลี่ยนไปตามลำดับ บางท่านก็สวดแต่เฉพาะ เช่น พุทฺธคุณ, ธมฺมคุณ, สงฺฆคุณ" สวดซ้ำๆ ไปหลายๆ เที่ยวจนถึง ๑๘๐ จบก็มี บางท่านก็สวดตามจำนวนกำลังวันก็มี)
ตอนท้ายมีระเบียบดังนี้ "สพฺพโรควินิมุตฺโต, สพฺพีติโย, สกฺกตฺวา, นตฺถิเม, ยงฺกิญฺจิ รตนํ โลเก, ภวตุ สพฺพมงฺคลํ (จบระเบียบสวดไข้เท่านี้)
วิธีสวดไข้นี้ ขึ้นทำนองสวดสังโยคช้าๆ เรียกกันว่า ทำนองลมพัดชายเขา ฯ
นอกจากนี้ยังมีธรรมเนียมเก่าอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า "บังสุกุลเป็น" คือคนที่มีชีวิตอยู่ แต่วัยชรามาก หรือคนที่มีศรัทธาแม้มิได้ป่วยไข้อย่างใด แต่อยากบำเพ็ญกุศลเสียให้ทันตาเห็น ที่เรียกว่า "ทำศพตนเอง" มีการบำเพ็ญกุศลนานาประการ มีธรรมเทศนา เป็นต้น
มีระเบียบสวดดังนี้
"นโม, พุทฺธํ ชีวิตํ, อวิชฺชา อเนกชาติ, กรุณา " ถ้าจะสวดให้มากเพิ่มคาถาปาฐะอื่นอีกก็ได้ เช่น "ปพฺพโตปมคาถา, ติลกฺขณาทิคาถา, ภทฺเทกรตฺตคาถา" เป็นต้น เมื่อจบแล้วเจ้าภาพนอนลง เอาผ้าขาวคลุมตัวแล้วเอาด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าทอดถวายพระภิกษุ ภิกษุพิจารณาว่า
“อจิรํ วตยํ กาโย ฯลฯ แล้วอนุโมทนาว่า "ยถา, สพฺพีติโย, สกฺกตวา, นตฺถ เม, ยงฺกิมฺจิ รตนํ โลเก, สพฺพพุทฺธา, ภวตุ สพฺพมงฺคลํ" ฯ (จบระเบียบสวดเท่านี้)
ในการกุศลพิเศษ เช่น ทำบุญอายุ ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น ผู้เป็นประธานเริ่มนำว่า
ระเบียบอนุโมทนา
ยะถา วริวหา ฯลฯ (รับ) สพฺพีติโย
"เทวตาทิสฺสทกฺขิณานุโมทนาคาถา คือ ยสฺมึ ปเทเส ฯลฯ สทาภทฺรานิ ปสฺสติ" ฯ ลง
ถ้าเกี่ยวด้วยเทวตาพลีอนุโมทนาด้วยสวด "เทวตาภิสมฺมนฺตนคาถา คือ ยานีธ ภูตานิ ฯลฯ ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา" ฯ ลง
ถ้าทำน้ำมนต์ด้วย สวด "ปริตฺตกรณปาฐ คือ ยาวตา สตฺตา (จนจบ)
สุวตฺถิ โหตุ" ฯ "อคฺคปฺปสาทสุตฺต๑ คือ อคฺคโต เว ฯลฯ มงคลจักรวาลน้อย คือ สพฺพพุทฺธานุภาเวน ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ฯลฯ ภวนฺตุ เต" ๆ
เสร็จระเบียบอนุโมทนา
มงคลจักรวาลน้อย ใช้ในการทั่วไป ฯ
กาลทานสุตฺตคาถา ใช้ในกาลทานมีกฐิน เป็นต้น ฯ
วิหารทานคาถา ใช้ในวิหารทาน มีฉลองกุฎี เป็นต้น ๆ
อคฺคปฺปสาทสุตฺตคาถา ใช้ในภัตตทาน (ยกทักษิณานุปทานเสีย) ฯ
นิธิกณฺฑคาถา๒ ใช้อนุโมทนาสาธารณทาน และฉลองพระพุทธรูปเจดีย์ เป็นต้น ฯ
"สงฺคหวตฺถุคาถา" อนุโมทนาทานเนื่องด้วยการสงเคราะห์ ฯ
"อาทิตสุตฺตคาถา ใช้อนุโมทนาปรารภถึงผู้ตายไปนานแล้วทำบุญอุทิศไปให้, ถ้าเป็นกาลใหม่คือผู้ตายไปแล้วไม่นานใช้อนุโมทนา
"ติโรกุฑฺฑกณฺฑคาถา คือ อทาสิเม" ฯ
____________________________________
๑บางท่านใช้โภชนทานอนุโมทนาคาถาแทน
๒ขึ้นแต่ "ยสฺส ทาเนน" ไปบ้างตามเวลา.
ในการสวดมนต์เนื่องด้วยเทวดา นพเคราะห์ ซึ่งว่าด้วยลัทธิพุทธศาสตร์เจือด้วยไสยศาสตร์ตามตำราพราหมณ์ ถือเอากำลังเทวดานพเคราะห์เป็นเกณฑ์ สวดเท่ากำลังเทวดาองค์ที่เสวยอายุ
ระเบียบสวด
โหรอาราธนาศีล พระให้ศีลจบแล้ว โหรเชิญเทวดาและอาราธนาพระปริตร์ พระขัด "ผริตฺวาน เมตฺตํ ฯลฯ สคฺเค สวด นะโม พุทฺธํ, สมฺพุทฺเธ, นโม ๘ บท ขัด เยสนฺตา ฯ สวดมงคลสูตรจบแล้ว หยุดให้โอกาสเพื่อโหรให้พร แล้วสวดตามระเบียบ เมื่อจบสูตรหนึ่งๆ แล้วต้องหยุดทุกๆ สูตรเพื่อให้โอกาสแก่โหรเป็นระยะๆ สลับกันไปจนจบ ฯ
ระเบียบเก่าท่านกำหนดไว้ดังนี้
๑. พระอาทิตย์ สวด อุทฺเทส๑ ๖ จบ
๒. พระจันทร์ สวด ยนฺทุนฺ ๑๕ จบ
๓. พระอังคาร สวด ยสฺสานุภาวโต ๘ จบ
๔. พระพุธ สวด สพฺพาสี ๑๗ จบ
๕. พระพฤหัสบดี สวด อปฺปสนฺเน ๑๙ จบ
๖. พระศุกร์ สวด ปริตฺตํ ๒๑ จบ
๗. พระเสาร์ สวด ยโตหํ ๑๐จบ
๘. พระราหู สวด กินฺนุสนฺตรมาโน๒ ๑๒ จับ
๙. พระเกตุ สวด ชยนฺโต ๙ จบ
__________________________________
๑ถ้าผู้ใดเกิดข้างขึ้นสวดอุทเทต เกิดข้างแรมสวดอเปต บางท่านว่าเกิดกลางวันควรสวดอุทเทตกลางคืนสวดอเปต ฯ
๒ถ้าผู้ใดเกิดข้างขึ้นให้สวดสุริยปริตร์ เกิดข้างแรมสวดจันทปริตร์ โดยเหตุว่า อานาปาน เมื่อแรกเกิดนั้นข้างขึ้นเป็นฝ่ายสุริยะ ข้างแรมเป็นฝ่ายจันทร์ จึงได้สวดภาณวารตามเหตุนั้น
อีกอย่างหนึ่ง เพื่อย่นเวลาให้สั้น สวดเทวดานพเคราะห์องค์ละปริตร์ดังต่อไปนี้
พระ ๑ ขัด ปูเรนฺตมฺโพธิ สวด อุทฺเทต
พระ ๒ ขัด ปุญฺญลาภํ สวด ยนฺทุนฺ
พระ ๓ ชัด ยสฺสานุภาวโต สวด กรณียมตฺถ
พระ ๔ ขัด สพฺพาสี สวด วิรูปกฺเข
พระ ๕ ขัด ปณิธานโต สวด ยานีธ
พระ ๖ ขัด ยสฺสานุสฺสรเณ สวด ธชคฺคสุตฺต
พระ ๗ ขัด ปริตตํ สวด ยโตหํ
พระ ๘ ขัด อปฺปสนฺเนหิ สวด วิปสฺสิสฺส
พระ ๙ ขัด ชยํ เทวมนุสฺสานํ สวด มหาการุณิโก
(มฤตยู๑ ขัด สํสาเร สวด โพชฺฌงฺโค)
__________________________
๑ใช้ในการผูกดวงชตา.