สถานการณ์พระพุทธศาสนา ในประเทศไทยยุคปัจจุบัน

วันที่ 19 กพ. พ.ศ.2563

สถานการณ์พระพุทธศาสนา ในประเทศไทยยุคปัจจุบัน

 

                     พระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองในประเทศไทยมาช้านาน ดังจะเห็นได้จากการมีศาสนทายาท อันได้แก่ พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา เป็นผู้สืบทอดพระธรรมคำสอน รวมถึงศาสนสถาน อันได้แก่ วัดวาอารามและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา

 

                    โดยบรรพชนไทยได้อาศัยพระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวและ ขัดเกลาจิตใจ จนเกิดเป็นวัฒนธรรมชาวพุทธอันดีงามที่สืบทอดจาก รุ่นสู่รุ่นมาถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับ พระพุทธศาสนาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดังจะเห็นได้จากจำนวน พระภิกษุและสามเณรในประเทศไทยที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

 

                  จากข้อมูลสถิติจำนวนพระภิกษุและสามเณรในประเทศไทย ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๑ พบว่าพระภิกษุและสามเณรมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าในปี พ.ศ. ๒๕๕๙ และปี พ.ศ. ๒๕๖๐ จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่ก็ไม่มากนัก

 

                 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณา จำนวนพระภิกษุและสามเณรในปี พ.ศ. ๒๕๖๑ กลับพบว่า พระภิกษุ และสามเณรมีจำนวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด และจากการเปิดเผยผลสำรวจจำนวนพระภิกษุและสามเณรในปี พ.ศ. ๒๕๖๒

 

                  ของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ยิ่งตอกย้ำให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าในหลาย ๆ ปีที่ผ่านมา พระภิกษุและสามเณรมีจำนวนลดลงอย่างรวดเร็ว และเป็นจำนวนมาก

 

                อีกทั้งจากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ยิ่งเป็นที่น่าหวั่นวิตกว่า ในปีต่อ ๆ ไป จำนวนพระภิกษุและสามเณรในประเทศไทย จะมีแนวโน้ม ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลดังกล่าวนี้ เราจึงไม่อาจปฏิเสธถึง สภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับวิกฤตปัญหาจำนวนศาสนทายาทที่เกิด ขึ้นกับพระพุทธศาสนาในประเทศไทยในขณะนี้ได

             

 

                    เกี่ยวกับในเรื่องดังกล่าว ได้มีบทความ “การลดจำนวนของ พระสงฆ์และผลกระทบต่อพระพุทธศาสนาในอนาคต” ของ ผศ.ดร. ชาญณรงค์ บุญหนุน อาจารย์ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่เขียนลงวารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ปีที่ ๑๘ ฉบับที่ ๓ ประจำเดือนกันยายน - ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ พบว่า สัดส่วนจำนวนพระภิกษุและสามเณรต่อประชากรทั้ง ประเทศลดลงอย่างต่อเนื่องในรอบ ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมา

 

                  โดยสาเหตุหลักที่จำนวนสามเณรลดลงอย่างต่อเนื่อง ผศ.ดร. ชาญณรงค์ บุญหนุน ได้กล่าวถึงสาเหตุไว้ว่า มาจากนโยบายการศึกษา ภาคบังคับของรัฐซึ่งขยายไปจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และกำลัง จะขยายไปถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ทำให้มีเด็กมาบวชเป็นสามเณรน้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับในสมัยก่อนนั้น การบวชเป็นสามเณรเป็นทาง เลือกที่ทำให้เข้าถึงโอกาสในการศึกษา และมีพระภิกษุจำนวนไม่น้อย ในชนบทก็มาจากสามเณรที่บวชแล้วยังไม่ลาสิกขา             

 

                    แต่จากนโยบายการศึกษาในปัจจุบันจึงไม่มีความจำเป็นที่ จะต้องเข้าไปศึกษาภายในระบบวัด อีกสาเหตุหนึ่งคือ การขาดแรงงาน ในหมู่บ้าน อันสืบเนื่องมาจากนโยบายวางแผนครอบครัว ที่ทำให้ ครอบครัวมีจำนวนบุตรน้อยลง การที่ครอบครัวหนึ่งมีบุตรหลายคน ย่อมไม่ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน อีกทั้งการที่ใครจะมา บวชก็สามารถบวชได้นาน โดยไม่เป็นภาระแก่ครอบครัวแต่อย่างใด   

 

                    นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลทางสถิติที่น่าสนใจเกี่ยวกับการประกอบ กิจทางศาสนาของพุทธศาสนิกชน โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งแบ่ง ออกเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ๑) การสวดมนต์ ๒) การใส่บาตร ๓) การรักษาศีล ๕ และ ๔) การนั่งสมาธิ โดยสำรวจกับพุทธศาสนิกชนผู้ มีอายุตั้งแต่ ๑๓ ปีขึ้นไป จำนวน ๕๐,๘๙๙,๖๔๔ คน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั่วราชอาณาจักร มีผลสำรวจที่น่าใจหายไม่น้อย ดังที่ปรากฏ

 

                    

 

              จากข้อมูลจำนวนพุทธศาสนิกชนผู้ประกอบกิจทางศาสนา พบว่า ๔๙.๗ % ได้มีโอกาสสวดมนต์เป็นประจำหรือในวาระโอกาส ต่าง ๆ และจำนวนของผู้ที่ใส่บาตรเป็นประจำหรือในโอกาสต่าง ๆ มี จำนวน ๖๔.๗ % แต่จำนวนผู้ที่รักษาศีล ๕ และนั่งสมาธิลดลงไปถึง ๑๙.๕ % และ ๑๐.๖ % ตามลำดับในโอกาสเดียวกัน

 

                     นั่นหมายความว่า พุทธศาสนิกชนในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการประพฤติปฏิบัติ ธรรมด้วยการสวดมนต์ ทำทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ไม่ มากเท่าที่ควร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการรักษาศีล ๕ และ การเจริญสมาธิภาวนา มีจำนวนผู้ที่ลงมือปฏิบัตินาน ๆ ครั้ง และไม่เคยอยู่ถึง ๘๐.๕ % และ ๘๙.๔ % ตามลำดับ ด้วยข้อมูลสถิติดังกล่าว เราไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในยุคปัจจุบันพุทธศาสนิกชนให้ความสำคัญใน การทำกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาลดน้อยลง

 

เชิงอรรถ อ้างอิง

   ๑ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ อ้างโดยสำนักข่าวไทยพีบีเอส

“จำนวนพระภิกษุ - สามเณร ๑๔ ปี ย้อนหลัง”  ๑๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

จากหนังสือ ที่สุดแห่งธรรม ถึงได้ด้วยความเคารพ 3
                                             โดยคุณครูไม่เล็ก

                  

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.02857483625412 Mins