รัตนสูตร บทสวดแก้โรคระบาด

วันที่ 17 มีค. พ.ศ.2563

630317_02.jpg

           รัตนสูตร เป็นพระสูตรที่พระอานนท์เถระเรียนจากพระพุทธองค์โดยตรง เพื่อใช้สวดขจัดปัดเป่าภัยพิบัติร้ายแรงทั้งหลาย ที่เกิดขึ้นกับชาวกรุงเวสาลี มีทั้งโรคระบาด อันตรายจากภูติผีปีศาจ ความอดอยากล้มตาย พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระอานนท์เถระ รำลึกคุณพระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ ทำกัจจกิริยา ประพรหมน้ำพระพุทธมนต์ให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ชาวกรุงเวสาลี ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตน-สูตรนี้ ภัยพิบัติร้ายแรงได้ระงับลงอย่างฉับพลัน ปัจจุบันนิยมสวดรัตนสูตรทุกครั้ง ที่มีการทำน้ำพระพุทธมนต์ ทั้งยังมีอานุภาพป้องกันจากโจรผู้ร้าย นายผู้ปกครอง อาวุธ เคราะห์กรรม สัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติอีกด้วย

รัตนปริตร (บทย่อ)

"...ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ ฯ
 
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง   
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ

 

630317_01.jpg

 

รัตนปริตร (บทเต็ม)
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
สัพเพ วะ ภูตา สุมะนา ภะวันตุ
อะโถปิ สักกัจจะ สุณันตุ ภาสิตัง
ตัสมา หิ ภูตา นิสาเมถะ สัพเพ
เมตตัง กะโรถะ มานุสิยา ปะชายะ
ทิวา จะ รัตโต จะ หะรันติ เย พะลิง
ตัสมา หิ เน รักขะถะ อัปปะมัตตา ฯ
 
ยังกิญจิ วิตตัง อิธะ วา หุรัง วา
สัคเคสุ วา ยัง ระตะนัง ปะณีตัง
นะ โน สะมัง อัตถิ ตะถาคะเตนะ
อิทัมปิ พุเธ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ขะยัง วิราคัง อะมะตัง ปะณีตัง
ยะทัชฌะคา สักยะมุนี สะมาหิโต
นะ เตนะ ธัมเมนะ สะมัตถิ กิญจิ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ยัมพุทธะเสฏโฐ ปะริวัณณะยี สุจิง
สะมาธิมานันตะริกัญญะมาหุ
สะมาธินา เตนะ สะโม นะ วิชชะติ
อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
เย ปุคคะลา อัฏฐะ สะตัง ปะสัฏฐา
จัตตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนติ
เต ทักขิเณยยา สุคะตัสสะ สาวะกา
เอเตสุ ทินนานิ มะหัปผะลานิ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหนตุ ฯ
 
เย สุปปะยุตตา มะนะสา ทัฬเหนะ 
นิกกามิโน โคตะมะสาสะนัมหิ
เต ปัตติปัตตา อะมะตัง วิคัยหะ
ลัทธา มุธา นิพพุติง ภุญชะมานา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ยะถินทะขีโล ปะฐะวิง สิโต สิยา
จะตุพภิ วาเตภิ อะสัมปะกัมปิโย
ตะถูปะมัง สัปปุริสัง วะทามิ
โย อะริยะสัจจานิ อะเวจจะ ปัสสะติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
เย อะริยะสัจจานิ วิภาวะยันติ
คัมภีระปัญเญนะ สุเทสิตานิ
กิญจาปิ เต โหนติ ภุสัปปะมัตตา
นะ เต ภะวัง อัฏฐะมะมาทิยันติ
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
สะหาวัสสะ ทัสสะนะสัมปะทายะ
ตยัสสุ ธัมมา ชะหิตา ภะวันติ
สักกายะทิฏฐิ วิจิกิจฉิตัญจะ
สีลัพพะตัง วาปิ ยะทัตถิ กิญจิ
จะตูหะปาเยหิ จะ วิปปะมุตโต
ฉะ จาภิฐานานิ อะภัพโพ กาตุง
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
กิญจาปิ โส กัมมัง กะโรติ ปาปะกัง
กาเยนะ วาจายุทะ เจตะสา วา
อะภัพโพ โส ตัสสะ ปะฏิจฉะทายะ
อะภัพพะตา ทิฏฐะปะทัสสะ วุตตา
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
วะนัปปะคุมเพ ยะถา ผุสสิตัคเค
คิมหานะมาเส ปะฐะมัสมิง คิมเห
ตะถูปะมัง  ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ
นิพพานะคามิง ปะระมัง หิตายะ
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง  ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
วะโร วะรัญญู วะระโท วะราหะโร 
อะนุตตะโร ธัมมะวะรัง อะเทสะยิ 
อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง  ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ขีณัง ปุราณัง นะวัง นัตถิ สัมภะวัง
วิรัตตะจิตตายะติเก ภะวัสมิง
เต ขีณะพีชา อะวิรุฬหิฉันทา
นิพพันติ ธีรา ยะถายัมปะทีโป
อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง
เอเตนะ สัจเจนะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
พุทธัง นะมัสสามะ สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
ธัมมัง นะมัสสามะ   สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
ยานีธะ ภูตานิ สะมาคะตานิ
ภุมมานิ วา ยานิวะ อันตะลิกเข
ตะถาคะตัง เทวะมะนุสสะปูชิตัง
สังฆัง นะมัสสามะ   สุวัตถิ โหตุ ฯ
 
              บทสวดมนต์รัตนบทนี้ สามารถแก้ไขภัยได้ 3 ประการด้วยกันคือ ภัยจากโรคระบาด ภัยจากอมนุษย์(ภูต ผี ปีศาจ) และภัยจากความอดอยาก
              บทสวดนี้มีมูลเหตุมาจากเมืองเวสาลี ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรวัชชี ประสบวิกฤติเศรษฐกิจ เกิดข้าวยากหมากแพงฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าแห้งเหี่ยวตาย เกิดทุพภิกขภัยใหญ่ และมีโรคระบาด พวกคนยากจนอดอยากล้มตายเป็นจำนวนมาก ซากศพที่ถูกนำไปทิ้งไว้นอกเมืองก็เผาแทบไม่ทันก็ส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทั่ว พวกอมนุษย์ก็พากันเข้าเมือง เมื่อมีคนยิ่งล้มตายกันมากขึ้น ก็เกิดโรคระบาดตามมา
           กษัตริย์ลิจฉวีจึงสั่งให้ประชาชนประชุมพร้อมกันที่ท้องพระโรง เพื่อร่วมกันพิจารณาสอดส่องความประพฤติของบรรดากษัตริย์ทั้งหลายว่า ทำผิดประเพณีอันใดไว้จึงเป็นเหตุให้เกิดเภทภัยต่าง ๆ
           เมื่อเห็นว่าไม่มีความผิดอันใด จึงเห็นชอบร่วมกันว่า ควรกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้ามาช่วย ภัยจึงจะสงบ
           ขณะนั้นพระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงของรัฐมคธ จึงได้ส่งกษัตริย์ลิจฉวี ๒ องค์ เป็นทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าพิมพิสาร และกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ และได้กราบทูลขอนิมนต์พระพุทธเจ้าเพื่อเสด็จไปโปรดเมืองเวสาลี พระพุทธเจ้าได้ตอบรับการเสด็จในครั้งนี้
           ครั้นเรือขนานเทียบถึงฝั่ง พอพระพุทธเจ้าทรงยกพระบาทแรกย่างเหยียบฝั่งแม่น้ำคงคาเท่านั้น ก็บังเกิดเหตุมหัศจรรย์ กลุ่มเมฆมหึมาหนาทึบซึ่งตั้งเค้ามืดมาก็บันดาลให้ฝนตกลงมา น้ำฝนไหลนองท่วมพื้นดินระดับน้ำสูงถึงเข่าถึงสะเอวบ้าง พัดพาเอาซากศพลอยลงแม่น้ำคงคาไปหมด ทำให้พื้นดินมีความสะอาดบริสุทธิ์
           ขณะนั้นพระอินทร์ได้เสด็จลงมาพร้อมด้วยเหล่าเทวดามาชุมนุมอยู่ด้วย ทำให้พวกอมนุษย์และภูตผีปีศาจเกรงกลัวอำนาจพากันหลบหนีไปหมด
           พระพุทธเจ้าเสด็จถึงประตูเมืองเวสาลีในเวลาเย็น ได้สั่งให้พระอานนท์เรียนเอา ''รัตนสูตร'' เพื่อนำไปทำการสวดป้องกันในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น ในเมืองเวสาลีพระสูตรนี้จึงเรียกว่า ''รัตนะ'' เพราะมุ่งเอาอานุภาพของพระรัตนตรัย คือ พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ และสังฆรัตนะ มาปกป้องคุ้มครองภัยสำหรับชาวเมือง

 

           เมื่อพระอานนท์เรียนเอารัตนสูตรจากพระพุทธเจ้า แล้วก็ถือเอาบาตรของพระพุทธเจ้าใส่น้ำถือไปยืนที่ประตูเมือง แล้วน้อมระลึกถึงพระพุทธคุณตั้งแต่ทรงตั้งความปรารถนาที่จะได้บรรลุพระโพธิญาณจนถึงทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตนสูตร แล้วเดินสวดมนต์เข้าไปภายในพระนคร

           พวกอมนุษย์ที่ยังหลงเหลืออยู่ พากันกลัวหนีออกจากเมืองไปหมด

           เมื่อพระพุทธเจ้าได้ประทับอยู่ที่เมืองเวสาลี ภัยทั้งหลายก็สงบระงับลงอย่างน่าอัศจรรย์ เมื่อทรงเห็นว่าภัยทุกอย่างสงบเรียบร้อยแล้ว จึงตรัสลากษัตริย์ลิจฉวีและชาวเมืองทั้งหลายเสด็จกลับเมืองราชคฤห์

           เรื่องพระอานนท์เรียนเอาพระปริตรสวดป้องภันภัยตลอดทั้งคืน จนเมืองเวสาลีกลายเป็นเขตปลอดภูตผีปีศาจนั้นต่อมาภายหลัง ได้กลายเป็นแบบอย่างในการทำน้ำพระพุทธมนต์ของพระสงฆ์ในปัจจุบัน

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0011473178863525 Mins