กำเนิดมนุษยชาติ
เรื่องการกำเนิดโลกและมนุษยชาติ เป็นเรื่องที่เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากการแตกทำลาย
ของโลกคือหลังจากที่โลกถูกทำลายไปแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็ถูกทำลายไปพร้อมกัน แล้วเมื่อโลก
หมุนเวียนกลับมาเจริญอีกครั้ง มนุษย์มาจากไหน สึ๋งนี้เป็นข้อสงสัยของมนุษย์เรื่อยมา ลัทธิความ
เชื่อต่าง ๆ ก็มีมติแตกต่างกันไป
ในเรื่องนี้พระพุทธองค์ได้ทรงให้คำตอบไว้ชัดเจน ทรงอธิบายว่า ก่อนที่โลกจะถูกทำลาย
ด้วยไฟบรรลัยกัลป์ มนุษย์ที่มองการณ์ไกลก็จะรีบเจริญภาวนาเพื่อให้ไปเกิดในพรหมโลก เมื่อ
โลกเย็นลง พรหมเหล่านี้ก็จะจุติกลับลงมาบนพื้นโลกอีกครั้ง เรื่องนี้มีปรากฎอยู่ใน "อัคคัญญสูตร"
มีเนื้อความดังต่อไปนี้
อัคคัญญสูตร1 ว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก
เรื่องสามเณรชื่อวาเสฎฐะและสามเณรชื่อภารทวาชะ
ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนื่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของนางวิสาขามิคารมาตา ในบุพพาราม
เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น สามเณรชื่อวาเสฎฐะและสามเณรชื่อภารทวาชะ หวังความเป็นภิกษุ จึง
อยู่อบรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย ครั้นในเวลาเย็น พระผู้พระภาคทรงออกจากการหลีกเร้น
แล้ว ได้เสด็จลงจากปราสาท ทรงจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งที่ร่มเงาปราสาท
สามเณรชื่อวาเสฏฐะได้เห็นพระผู้มีพระภาคทรงออกจากการหลีกเร้น เสด็จลงจาก
ปราสาทแล้ว ทรงจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งที่ร่มเงาปราสาทในเวลาเย็น จึงเรียกสามเณรชื่อ ภารทวาชะ
มากล่าวว่า "คุณภารทวาชะ พระผู้มีพระภาคนี้ทรงออกจากการหลีกเร้น เสด็จลงจาก
ปราสาท ทรงจงกรมอยู่ในที่กลางแจ้งที่ร่มเงาของปราสาทในเวลาเย็น มาเถิด เราจักไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ เราควรจะได้ฟังธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคบ้าง" ภารทวาชสามเณรก็รับคำแล้ว
ครั้งนั้น วาเสฎฐสามเณรและภารทวาชสามเณรพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้เดินจงกรมตามเสด็จพระผู้มีพระภาคซึ่งกำลังทรง
จงกรมอยู่ พระผู้มีพระภาค จึงรับสั่งเรียกวาเสฎฐสามเณรและภารทวาชสามเณรมาตรัสว่า
"วาเสฎฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมีชาติเป็นพราหมณ์ มีตระกูลเป็นพราหมณ์ ออกจากตระกูล
ของพราหมณ์ บวชเป็นบรรพชิต พวกพราหมณ์ไม่ด่าไม่บริภาษเธอทั้งสองบ้างหรือ"
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์ด่า2บริภาษข้าพระองค์ทั้งสองด้วยคำเหยียดหยาม
อย่างสมใจ เด็มรูปแบบ3 ไม่ใช่ไม่เต็มรูปแบบ"
"ก็พวกพราหมณ์ด่าบริภาษเธอทั้งสองด้วยคำเหยียดหยามอย่างสมใจ เต็มรูปแบบ ไม่ใช่
ไม่เต็มรูปแบบอย่างไร"
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกพราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า 'วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือ
พราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้น
บริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของ
พระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพระพรหม เจ้าทั้งสอง
มาละวรรณะที่ประสริฐที่สุด เข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือ สมณะโล้น เป็นคนรับใช้4 เป็น
คนวรรณะต่ำ (กัณหโคตร) เป็นเผ่าของมาร เกิดจากพระบาทของพระพรหม5 เธอทั้งสองมาละวรรณะที่ประเสริฐที่สุด เข้าไปอยู่ในวรรณะที่เลวทราม คือ สมณะโล้น เป็นคนรับไข้ เป็นคนวรรณะต่ำ เป็นเผ่าของ
มาร เกิดจากพระบาทของพระพรหมนี้ ไม่เป็นความดี ไม่เป็นการสมควรเลย' ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พวกพราหมณ์ได้พากันด่า บริภาษข้าพระองค์ทั้งสองด้วยถ้อยคำเหยียดหยามอย่างสมใจเต็มรูปแบบ ไม่ใช่ไม่เต็มรูปแบบอย่างนี้"
"วาเสฎฐะและภารทวาชะ พวกพราหมณ์ระลึกถึงเรื่องเก่าของตนไม่ได้6 จึงกล่าวอย่างนี้
ว่า 'วรรณะที่ประเสริฐที่สุด คือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น
วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร
เป็นโอรส เกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม เกิดจากพระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็น
ทายาทของพระพรหม' วาเสฎฐะและภารทวาชะ ก็ปรากฎชัดอยู่ว่า นางพราหมณีของพราหมณ์
ทั้งหลายมีระดูบ้าง มีครรภ์บ้าง คลอดอยู่บ้าง ให้ลูกดื่มนมบ้าง ก็พราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เกิดทาง
ช่องคลอดของนางพราหมณีทั้งนั้น ยังกล่าวอย่างนี้ว่า 'วรรณะที่ประเสริฐที่สุด คือพราหมณ์
เท่านั้น ฯลฯ เป็นทายาทของพระพรหม' ก็พราหมณ์เหล่านั้นกล่าวตู่พรหมและพูดเท็จ พวกเขา
จะต้องประสบสิ่งที่ไม่ใช่บุญเป็นอันมาก
ความบริสุทธิ์แห่งวรรณะ ๔
วาเสฎฐะและภารทวาชะ วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ (๑) กษัตริย์ (๒) พราหมณ์ (๓) แพศย์ (๔) ศูทร
๑) แม้กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ประพฤติ
ผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิต
พยาบาท เห็นผิดด้วยประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ
นับว่ามีโทษ ไม่ควรประพฤติ นับว่าไม่ควรประพฤติ ไม่สามารถเป็นอริยธรรม นับว่าไม่
สามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมดำ7 มีวิบาก8 ที่วิญญชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่าง
ชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
๒) แม้พราหมณ์...
๓) แม้แพศย์...
๔) แม้ศูทรบางคนในโลกนี้เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ประพฤติผิดในกาม
พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อเพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิตพยาบาท เห็นผิด
ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นอกุศล นับว่าเป็นอกุศล มีโทษ นับว่ามีโทษ ไม่
ควรประพฤติ นับว่าไม่ควรประพฤติ ไม่สามารถเป็นอริยธรรม นับว่าไม่สามารถเป็นอริยธรรม
เป็นธรรมดำ มีวิบากดำที่วิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่างชัดเจนในศูทร บางคนในโลกนี้ วาเสฏฐะและภารทวาชะ
๑) แม้กษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของเขาไม่ได้ให้ เว้นขาดจากการประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก
การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้
ของของเขา มีจิตไม่พยาบาท เห็นชอบด้วยประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่า
เป็นกุศล ไม่มีโทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรประพฤติ นับว่าควรประพฤติ สามารถเป็นอริยธรรม
นับว่าสามารถเป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว9 มีวิบากขาว10 ที่วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้น
ปรากฏอย่างชัดเจนในกษัตริย์บางพระองค์ในโลกนี้
๒) แม้พราหมณ์...
๓) แม้แพศย์...
๔) แม้ศูทรบางคนในโลกนี้เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ... ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของของเขา มีจิต
ไม่พยาบาท เห็นชอบ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ธรรมเหล่าใดเป็นกุศล นับว่าเป็นกุศล ไม่มี
โทษ นับว่าไม่มีโทษ ควรประพฤติ นับว่าควรประพฤติ สามารถเป็นอริยธรรม นับว่าสามารถ
เป็นอริยธรรม เป็นธรรมขาว มีวิบากขาว ที่วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านั้นปรากฏอย่าง
ชัดเจนในศูทรบางคนในโลกนี้
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อวรรณะ ๔ เหล่านี้ รวมกันเป็นบุคคล ๒ จำ พวก คือ
๑) พวกที่ดำรงอยู่ในธรรมดำที่วิญญูชนติเตียนจำพวกหนง
๒) พวกที่ดำรงอยู่ในธรรมขาวที่วิญญูชนสรรเสริญจำพวกหนึ่ง
ในเรื่องนี้ พวกพราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า 'วรรณะที่ประเสริฐที่สุด คือพราหมณ์เท่านั้น
วรรณะอื่นเลว วรรณะที่ขาวคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นดำ พราหมณ์เท่านั้นบริสุทธิ์ ผู้ที่ไม่ใช่
พราหมณ์ไม่บริสุทธิ์ พราหมณ์เท่านั้นเป็นบุตร เป็นโอรสเกิดจากโอษฐ์ของพระพรหม เกิดจาก
พระพรหม เป็นผู้ที่พระพรหมสร้างขึ้น เป็นทายาทของพระพรหม' วิญญชนทั้งหลายย่อมไม่
รับรองถ้อยคำของพราหมณ์เหล่านั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า บรรดาวรรณะ ๔ เหล่านี้ ผู้ใด
เป็นภิกษุอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว11 ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว12 ปลงภาระได้แล้ว13
บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นเรียกได้ว่า
เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายในวรรณะ ๔ เหล่านั้น โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม เพราะธรรม
เท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
วาเสฏฐะและภารทวาชะ โดยเหตุผลนี้ เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า 'ธรรมเท่านั้นประเสริฐ
ที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า'
วาเสฎฐะและภารทวาชะ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงทราบว่า 'พระสมณโคดมเสด็จออก
ผนวชจากศากยตระกูลที่เท่าเทียมกัน14' ดังนี้ ก็พวกศากยะยังต้องตามเสด็จพระเจ้าปเสนทีโกศล
อยู่ตลอดเวลา และพวกเจ้าศากยะยังต้องกระทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ อัญชลี
กรรม และสามีจิกรรม ในพระเจ้าปเสนทิโกศลอยู่
ด้วยประการดังว่ามานี้ พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงกระทำการนอบน้อม การอภิวาท การ
ต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรมนั้นในเราตถาคต ดังที่พวกเจ้าศากยะกระทำการนอบน้อม
การอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรมในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์มิได้ทรง
กระทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรมนั้น ด้วยทรงดำริว่า
'พระสมณโคคมมีพระชาติกำเนิดดี เราเองมีชาติกำเนิดไม่ดี พระสมณโคดมทรงแข็งแรง เราเอง
ไม่แข็งแรง พระสมณโคดมมีผิวพรรณผ่องใส เราเองมีผิวพรรณเศร้าหมอง พระสมณโคดมเป็นผู้
สูงศักดิ์ เราเองเป็นผู้ต่ำศักดิ์' โดยที่แท้ พระองค์เมื่อจะทรงสักการะธรรม เคารพธรรม นับถือ
ธรรม บูชาธรรม นอบน้อมธรรม จึงทรงกระทำการนอบน้อม การอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม
และสามีจิกรรมในเราตถาคตอย่างนี้ โดยเหตุผลนี้ เธอพึงทราบอย่างนี้ว่า 'ธรรมเท่านั้น
ประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า'
วาเสฎฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองมีชาติกำเนิดต่างกัน มีชื่อต่างกัน มีโคตรต่างกัน มี
ตระกูลต่างกัน ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เมื่อมีผู้ถามว่า 'ท่านเป็นพวกไหน' พึงตอบเขาว่า
'เราเป็นพวกพระสมณศากยบุตร' ดังนี้เถิด ผู้ใดแลมีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคต เกิดแต่ราก
ประดิษฐานมั่นคงที่สมณพราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกให้หวั่นไหวไม่ได้ ควรจะ
เรียกผู้นั้นว่า 'เป็นบุตร เป็นโอรส เกิดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เกิดจากพระธรรม อัน
พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นทายาทของพระธรรม' ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า 'ธรรมกาย' ก็ดี
'พรหมกาย' ก็ดี'ธรรมภูต' ก็ดี'พรหมภูต' ก็ดี ล้วนเป็นชื่อของตถาคต
วาเสฏฐะและภารทวาชะ สมัยหนึ่ง ครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านาน โลกนี้เสื่อม เมื่อโลกกำลัง
เสื่อม เหล่าสัตว์ส่วนมากไปเกิดที่พรหมโลกชั้นอาภัสสระ นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา
มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิต
อยู่นานแสนนาน
สมัยหนึ่ง ครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านาน โลกนี้เจริญขึ้น เมื่อโลกกำลังเจริญขึ้น เหล่าสัตว์
ส่วนมากจุติจากพรหมโลกชั้นอาภัสสระมาเป็นอย่างนี้15 นึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา16 มี
ปีติเป็นภักษา17 มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปในอากาศ อยู่ในวิมานอันงดงาม สถิตอยู่
นานแสนนาน
ความปรากฎแห่งง้วนดิน
วาเสฎฐะและภารทวาชะ สมัยนั้น ทั่วทั้งจักรวาลนี้แหละเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนอนธการ
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายยังไม่ปรากฎ กลางคืน กลางวันยังไม่ปรากฎ
เดือนหนึ่ง ครึ่งเดือน ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฎ หญิงชายก็ยังไม่ปรากฎ สัตว์ทั้งหลายปรากฏชื่อแต่
เพียงว่า 'สัตว์' เท่านั้น ครั้นเวลาล่วงเลยมาช้านาน เกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำ ปรากฏแก่สัตว์
เหล่านั้นดุจน้ำนมที่บุคคลเคี่ยวให้แห้งแล้ว ทำให้เย็นสนิทจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ง้วนดินนั้น
สมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส มีสีเหมือนเนยใสหรือเนยข้นอย่างดี และมีรส
อร่อยเหมือนน้ำผึ้งมิ้มซึ่งปราศจากโทษ18 ต่อมา สัตว์ผู้หนึ่งมีนิสัยโลภกล่าวว่า 'ท่านผู้เจริญสิ่งนี้จะ
เป็นเช่นไร19' แล้วใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู เมื่อเขาใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดูอยู่ รสง้วน
ดินได้แผ่ซ่านไป เขาจึงเกิดความอยากในรส แม้สัตว์เหล่าอื่นก็พากันถือแบบอย่างสัตว์นั้น จึงใช้
นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดู เมื่อสัตว์เหล่านั้นใช้นิ้วช้อนง้วนดินขึ้นมาลิ้มดูอยู่ รสง้วนดินก็แผ่ซ่าน
ไป และสัตว์เหล่านั้นก็เกิดความอยากในรสขึ้นเช่นเดียวกัน
ความปรากฏแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เป็นต้น
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ต่อมา สัตว์เหล่านั้นพากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำ ๆ เพื่อจะ
บริโภค เมื่อใด สัตว์เหล่านั้นพากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำ ๆ เพื่อบริโภค เมื่อนั้น รัศมีที่ซ่าน
ออกจากร่างกายของสัตว์เหล่านั้นก็หายไป เมื่อรัศมีที่ซ่านออกจากร่างกายหายไป ดวงจันทร์
ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ปรากฏ เมื่อ
ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏ กลางคืน กลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืน กลางวันปรากฏ เดือน
หนึ่ง ครึ่งเดือนก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่ง ครึ่งเดือนปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้
โลกนี้จึงได้กลับฟื้นขึ้นอีก
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้นต่อมา สัตว์เหล่านั้นเมื่อบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินนั้นเป็น
ภักษา มีง้วนดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เมื่อบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินนั้นเป็น
ภักษา มีง้วนดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้ง
ผิวพรรณก็ปรากฏแตกต่างกัน สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม บางพวกมีผิวพรรณทราม สัตว์เหล่า
ใดมีผิวพรรณงาม สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์ที่มีผิวพรรณทรามว่า 'พวกเรามีผิวพรรณงามกว่า
สัตว์เหล่านัน สัตว์เหล่านั้นมีผิวพรรณทรามกว่าพวกเรา' เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมีมานะถือตัว
เพราะการดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย ง้วนดินจึงหายไป
เมื่อง้วนดินหายไป สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้วต่างก็พากันโหยหาว่า 'รสเอ๋ย รสเอ๋ย20 ' แม้ทุกวันนี้ก็เหมือนกัน พวกมนุษย์ได้ของมีรสดีบางอย่าง มักกล่าวอย่างนี้ว่า 'รสเอ๋ย รสเอ๋ย'
พวกพราหมณ์พากันนึกได้แต่คำโบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกเท่านั้น แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคำนั้นเลย
ความปรากฏแห่งสะเก็ดดิน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อง้วนดินของสัตว์เหล่านั้นหายไป สะเก็ดดินก็ปรากฏ สะเก็ด
ดินนั้นปรากฏลักษณะเหมือนดอกเห็ด สะเก็ดดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์
ด้วยรส มีสีเหมือนเนยใสหรือเนยข้นอย่างดี และมีรสอร่อยเหมือนนํ้าผึ้งมิ้มซึ่งปราศจากโทษ
ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นได้พากันบริโภคสะเก็ดดิน เมื่อบริโภคสะเก็ดดินนั้น มีสะเก็ดดิน
นั้นเป็นภักษา มีสะเก็ดดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เมื่อบริโภคสะเก็ดดิน มี
สะเก็ดดินนั้นเป็นภักษา มีสะเก็ดดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน สัตว์เหล่านั้นจึงมี
ร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฏแตกต่างกัน สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม บางพวกมี
ผิวพรรณทราม สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณงาม สัตว์เหล่านั้น ก็ดูหมิ่นสัตว์ที่มีผิวพรรณทรามว่า 'พวก
เรามีผิวพรรณงามกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมีผิวพรรณทรามกว่าพวกเรา' เมื่อสัตว์เหล่านั้น
เกิดมีมานะถือตัว เพราะการดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย สะเก็ดดินจึงหายไป
ความปรากฏแห่งเครือดิน
วาเสฎฐะและภารทวาชะ เมื่อสะเก็ดดินหายไป เครือดินก็ปรากฏ เครือดินนั้นปรากฏ
คล้ายเถาผักบุ้ง เครือดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส มีสีเหมือนเนยใส
หรือเนยข้นอย่างดี และมีรสอร่อยเหมือนน้ำผึ้งมิ้มซึ่งปราศจากโทษ
ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นได้พากันบริโภคเครือดิน เมื่อบริโภคเครือดินนั้น มีเครือดินนั้นเป็น
ภักษา มีเครือดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เมื่อบริโภคเครือดิน มีเครือดินนั้นเป็น
ภักษา มีเครือดินนั้นเป็นอาหาร ดำรงอยู่นานแสนนาน สัตว์เหล่านั้นจึงมีร่างกายหยาบขึ้น ทั้ง
ผิวพรรณก็ปรากฏแตกต่างกัน สัตว์บางพวกมีผิวพรรณงาม บางพวกมีผิวพรรณทราม
สัตว์เหล่าใดมีผิวพรรณงาม สัตว์เหล่านั้นก็ดูหมิ่นสัตว์ที่มีผิวพรรณทรามว่า 'พวกเรามี
ผิวพรรณงามกว่าสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้นมีผิวพรรณทรามกว่าพวกเรา' เมื่อสัตว์เหล่านั้นเกิดมี
มานะถือตัว เพราะการดูหมิ่นเรื่องผิวพรรณเป็นปัจจัย เครือดินจึงหายไป เมื่อเครือดินหายไป
สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้วต่างพากันโหยหาว่า
'พวกเราเคยมีเครือดิน บัดนี้เครือดินของพวกเราหายไปแล้ว' ในสมัยนี้ก็เหมือนกัน พวก
มนุษย์ถูกทุกข์ระทมบางอย่างกระทบเข้าก็พากันบ่นเพ้อว่า 'เราเคยมีของสิ่งนี้ แต่เดี๋ยวนี้ของของ
เราหายไปแล้ว' พวกพราหมณ์พากันนึกได้แต่คำโบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิด
ของโลกเท่านั้น แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคำนั้นเลย
ความปรากฏแห่งข้าวสาลีในที่ที่ไม่ต้องไถ
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เมื่อเครือดินของสัตว์เหล่านั้นหายไปแล้ว ข้าวสาลีอันผลิผลใน
ที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสารก็ปรากฏ ที่ที่พวกเขา
เก็บเกี่ยวข้าวสาลีไปเพื่อเป็นอาหารเย็นในตอนเย็น ก็กลับมีข้าวสาลีงอกสุกขึ้นได้ในตอนเช้า ที่ที่
พวกเขาเก็บเกี่ยวข้าวสาลีไปเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ก็กลับมีข้าวสาลีงอกสุกขึ้นได้ในตอนเย็น
ความพร่องไม่ปรากฎเลย ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายพากันบริโภคข้าวสาลีซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่
ต้องไถ มีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษา มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน
ความปรากฏแห่งเพศหญิงและเพศชาย
วาเสฎฐะและภารทวาชะ เมื่อสัตว์เหล่านั้นบริโภคข้าวสาลี ซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ต้องไถ
มีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษา มีข้าวสาลีนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน สัตว์เหล่านั้นจึงมี
ร่างกายหยาบขึ้น ทั้งผิวพรรณก็ปรากฎแตกต่างกัน และอวัยวะเพศหญิงปรากฎแก่ผู้เป็นหญิง
อวัยวะเพศชายปรากฏแก่ผู้เป็นชาย กล่าวกันว่า หญิงเพ่งดูชาย และชายก็เพ่งดูหญิงนานเกินไป
เมื่อชนทั้ง ๒ เพศต่างเพ่งดูกันและกันนานเกินไป ก็เกิดความกำหนัดขึ้น ความเร่าร้อนก็ปรากฏ
ขึ้นในกาย เพราะความเร่าร้อนเป็นปัจจัย ชนเหล่านั้นจึงได้เสพเมถุนธรรม
ก็โดยสมัยนั้น สัตว์เหล่าใดเห็นสัตว์เหล่าอื่นกำลังเสพเมถุนกันจึงขว้างฝุ่นใส่บ้าง ขว้าง
ขี้เถ้าใส่บ้าง ขว้างมูลโคใส่บ้าง ด้วยกล่าวว่า 'คนถ่อย เจ้าจงฉิบหาย คนถ่อย เจ้าจงฉิบหาย' แล้ว
กล่าวต่อไปว่า 'ก็ไฉน สัตว์จึงทำกรรมอย่างนี้แก่สัตว์เล่า' ข้อที่ว่ามานั้น แม้ในขณะนี้ ในชนบท
บางแห่ง เมื่อเขานำสัตว์ที่จะถูกฆ่าไปสู่ที่ประหาร มนุษย์เหล่าอื่นก็จะขว้างฝุ่นใส่บ้าง ขว้างขี้เถ้า
ใส่บ้าง ขว้างมูลโคใส่บ้าง พวกพราหมณ์พากันนึกได้แต่คำโบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้น
กำเนิดของโลกเท่านั้น แต่ไม่รู้เนื้อความแห่งคำนั้นเลย
การประพฤติเมถุนธรรม
วาเสฏฐะและภารทวาชะ สมัยนั้น การเสพเมถุนธรรมอันเป็นเหตุให้ถูกขว้างฝุ่นใส่เป็น
ต้นนั้น ถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี แต่บัดนี้ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา สมัยนั้นเหล่าสัตว์ผู้เสพเมถุนธรรม
ไม่ได้เข้าไปยังหมู่บ้านหรือนิคมตลอด ๑ เดือนบ้าง ๒ เดือนบ้าง เนื่องจากสัตว์เหล่านั้นต้องการ
เสพอสัทธรรมเกินเวลา ต่อมาจึงพากันสร้างเรือนขึ้น เพื่อปกปิดอสัทธรรมนั้น สัตว์21บางคนเกิด
ความเกียจคร้านจึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ เรานี้ช่างลำบากเสียจริง ที่ต้องนำข้าวสาลีมา
เพื่อเป็นอาหารเย็นในตอนเย็น และเพื่อเป็นอาหารเช้าในตอนเช้า ทางที่ดี เราควรนำข้าวสาลีมา
ครั้งเดียวให้พอเพื่อเป็นอาหารเช้าและอาหารเย็น'
ต่อแต่นั้นมา สัตว์นั้นก็นำข้าวสาลีมาเพียงครั้งเดียว เพื่อเป็นอาหารเย็นและอาหารเช้า ครั้ง
หนึ่ง สัตว์ผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์นั้นถึงที่อยู่แล้วได้ชักชวนว่า 'มาเถิด ท่านผู้เจริญ พวกเราไปเก็บ
ข้าวสาลีกันเถิด' สัตว์นั้นจึงตอบว่า 'อย่าเลย ท่านผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมาครั้งเดียวพอเพื่อเป็น
อาหารเย็นและอาหารเช้าแล้ว' ต่อมา สัตว์นั้นจึงถือแบบอย่างสัตว์คนแรก นำข้าวสาลีมาครั้งเดียว
พอเพื่อเป็นอาหารถึง ๒ วันด้วยกล่าวว่า 'เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่าน'
ต่อมา สัตว์อีกผู้หนึ่งจึงเข้าไปหาสัตว์คนที่ ๒ ถึงที่อยู่ กล่าวชวนสัตว์คนนั้นว่า 'มาเถิด
ท่านผู้เจริญ พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันเถิด' สัตว์นั้นจึงตอบว่า 'อย่าเลย ท่านผู้เจริญ เรานำข้าว
สาลีมาครั้งเดียวพอเพื่อเป็นอาหารถึง ๒ วัน' ต่อมา สัตว์นั้นจึงถือเอาแบบอย่างสัตว์คนที่ ๒ นำ
ข้าวสาลีมาครั้งเดียวพอเพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วัน ด้วยกล่าวว่า 'เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่าน'
ต่อมา สัตว์อีกผู้หนึ่งเข้าไปหาสัตว์คนที่ ๓ ถึงที่อยู่ กล่าวชวนสัตว์คนนั้นว่า 'มาเถิดท่าน
ผู้เจริญ พวกเราไปเก็บข้าวสาลีกันเถิด' สัตว์นั้นจึงตอบว่า 'อย่าเลย ท่านผู้เจริญ เรานำข้าวสาลีมา
ครั้งเดียวพอเพื่อเป็นอาหารถึง ๔ วัน' ต่อมา สัตว์นั้นจึงถือแบบอย่างสัตว์คนที่ ๓ นำ ข้าวสาลีมา
ครั้งเดียวพอเพื่อเป็นอาหารถึง ๘ วัน ด้วยกล่าวว่า 'เออ อย่างนี้ก็ดีเหมือนกันนะท่าน'
เพราะสัตว์ทั้งหลายพากันบริโภคข้าวสาลีที่สั่งสมไว้ ดังนัน ข้าวสาลีจึงมีรำห่อเมล็ดบ้าง
มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก ความพร่องได้ปรากฏให้เห็น จึงได้มี
ข้าวสาลีเป็นหย่อม ๆ
การแบ่งข้าวสาลี
วาเสฎฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงประชุมกัน ครั้นแล้วต่างพากันปรับ
ทุกข์ว่า 'ท่านผู้เจริญ บาปธรรมก็ปรากฏในสัตว์ทั้งหลายแล้ว ด้วยว่าในกาลก่อน พวกเรานึกคิด
อะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา มีปีติเป็นภักษา มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย เที่ยวสัญจรไปใน
อากาศ อยู่ในวิมานงดงาม สถิตอยู่นานแสนนาน สมัยหนึ่ง เมื่อล่วงไปนาน ๆ เกิดง้วนดินลอยขึ้น
บนนํ้าปรากฏแก่พวกเรา ง้วนดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส พวกเรานั้น
ได้พากันใช้มือปั้นง้วนดินให้เป็นคำ ๆ เพื่อบริโภค เมื่อพวกเราพากันใช้มือปั้นง้วนดิน ให้เป็น
คำ ๆ เพื่อบริโภคอยู่ รัศมีที่ซ่านออกจากร่างกายก็หายไป เมื่อรัศมีที่ซ่านออกจากร่างกายหายไป
ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏ เมื่อดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ปรากฏแล้ว ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็
ปรากฏ เมื่อดวงดาวนักษัตรทั้งหลายปรากฏแล้ว กลางคืน กลางวันก็ปรากฏ เมื่อกลางคืนกลางวัน
ปรากฏแล้ว เดือนหนึ่ง ครึ่งเดือนก็ปรากฏ เมื่อเดือนหนึ่ง ครึ่งเดือนปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ
พวกเรานั้นบริโภคง้วนดิน มีง้วนดินเป็นภักษา มีง้วนดินเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน
เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ ง้วนดินของพวกเราจึงหายไป เมื่อง้วนดินหายไป สะเก็ดดินก็
ปรากฏ สะเก็ดดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์ด้วยรส พวกเรานั้นได้พากัน
บริโภคสะเก็ดดิน พวกเรานั้นบริโภคสะเก็ดดินนั้น มีสะเก็ดดินนั้นเป็นภักษา มีสะเก็ดดินนั้นเป็น
อาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ สะเก็ดดินของพวกเราจึงหายไป
เมื่อสะเก็ดดินหายไป เครือดินก็ปรากฏ เครือดินนั้นสมบูรณ์ด้วยสี สมบูรณ์ด้วยกลิ่น สมบูรณ์
ด้วยรส พวกเรานั้นได้พากันบริโภคเครือดิน พวกเรานั้นบริโภคเครือดินนั้น มีเครือดินนั้นเป็น
ภักษา มีเครือดินนั้นเป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ เครือดิน
ของพวกเราจึงหายไป เมื่อเครือดินหายไป ข้าวสาลีอันผลิผลในที่ที่ไม่ต้องไถ ไม่มีรำ ไม่มีแกลบ
บริสุทธิ์ มีกลิ่นหอม มีเมล็ดเป็นข้าวสารก็ปรากฏ ที่ที่พวกเราเก็บเกี่ยวข้าวสาลีไปเพื่อเป็นอาหาร
เย็นในตอนเย็น ก็กลับมีข้าวสาลีงอกสุกขึ้นได้ในตอนเข้า ที่ที่พวกเราเก็บเกี่ยวข้าวสาลีไปเพื่อเป็น
อาหารเช้าในตอนเช้า ก็กลับมีข้าวสาลีงอกสุกขึ้นได้ในตอนเย็น ความพร่องไม่ปรากฏเลย พวก
เรานั้นเมื่อพากันบริโภคข้าวสาลีซึ่งเกิดสุกเองในที่ที่ไม่ด้องไถ มีข้าวสาลีนั้นเป็นภักษา มีข้าวสาลี
เป็นอาหาร ได้ดำรงอยู่นานแสนนาน เพราะบาปอกุศลธรรมปรากฏ ข้าวสาลีของพวกเราจึงมีรำ
ห่อเมล็ดบ้าง มีแกลบหุ้มเมล็ดบ้าง ต้นที่ถูกเกี่ยวแล้วก็ไม่กลับงอกขึ้นอีก ความพร่องได้ปรากฏให้
เห็นจึงได้มีข้าวสาลีเป็นหย่อม ๆ ทางที่ดี เราควรแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกันเถิด' ครั้งนั้น
สัตว์ทั้งหลายจึงพากันแบ่งข้าวสาลีและปักปันเขตแดนกัน
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์ผู้หนึ่งมีนิสัยโลภ รักษาส่วนของตนไว้แล้ว ถือเอา
ส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มาบริโภค คนทั้งหลายจับเขาได้ จึงกล่าวว่า 'คุณ คุณทำกรรมชั่วที่รักษาส่วน
ของตนไว้แล้ว ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มาบริโภค คุณอย่าทำกรรมชั่วอย่างนี้อีก' สัตว์นั้นก็รับคำแล้ว
แม้ครั้งที่ ๒ สัตว์นั้น...
แม้ครั้งที่ ๓ สัตว์นั้นก็รักษาส่วนของตนไว้แล้ว ถือเอาส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มาบริโภค คน
ทั้งหลายได้พากันจับเขาแล้ว กล่าวคำนี้ว่า 'คุณ คุณทำกรรมชั่ว ที่รักษาส่วนของตนไว้แล้ว ถือเอา
ส่วนอื่นที่เขาไม่ให้มาบริโภค คุณอย่าได้ทำอย่างนี้อีก' คนเหล่าอื่น ใช้ฝ่ามือบ้าง ก้อนดินบ้าง
ท่อนไม้บ้าง ทำร้าย วาเสฎฐะและภารทวาชะ ในเพราะเรื่องนั้นเป็นเหตุ การถือเอาสิ่งของที่
เจ้าของเขาไม่ได้ให้จึงปรากฏ การครหาจึงปรากฏ การพูดเท็จจึงปรากฏ การถือทัณฑาวุธจึงปรากฏ
มหาสมมตราช
วาเสฏฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงได้ประชุมกันปรับทุกข์กันว่า 'ท่านผู้
เจริญ บาปธรรมปรากฏในหมู่สัตว์แล้ว คือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้จักปรากฏ การ
ครหาจักปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือทัณฑาวุธจักปรากฏ ทางที่ดี พวกเราควรสมมต
(แต่งตั้ง) สัตว์ผู้หนึ่ง ซึ่งจะว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดย
ชอบ พวกเราจักแบ่งปันข้าวสาลีให้แก่สัตว์ผู้นั้น
ครั้นแล้ว สัตว์เหล่านั้นจึงเข้าไปหาท่านที่มีรูปงดงามกว่า น่าดูกว่า น่าเลื่อมใสกว่า น่าเกรง
ขามกว่า แล้วจึงได้กล่าวดังนี้ว่า 'มาเถิด ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว จงติเตียนผู้
ที่ควรติเตียน จงขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่โดยชอบเถิด และพวกเราจักแบ่งปันข้าวสาลีให้แก่ท่าน'
สัตว์ผู้นั้นรับคำแล้ว ได้ว่ากล่าวผู้ที่ควรว่ากล่าว ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ขับไล่ผู้ที่ควรขับไล่
โดยชอบ และสัตว์เหล่านั้นก็ได้แบ่งปันข้าวสาลีให้แก่สัตว์ผู้นั้น
วาเสฏฐะและภารทวาชะ เพราะเหตุที่สัตว์นั้นอันมหาชนสมมต (แต่งตั้ง) ฉะนั้น คำแรก
ว่า 'มหาสมมต มหาสมมต' จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่สัตว์นั้นเป็นใหญ่แห่งที่นาทั้งหลาย ฉะนั้น คำ
ที่ ๒ ว่า 'กษัตริย์ กษัตริย์' จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุที่สัตว์นั้นให้ชนเหล่าอื่นยินดีได้โดยชอบธรรม
ฉะนั้น คำที่ ๓ ว่า 'ราชา ราชา' จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวง22 กษัตริย์นั้นขึ้น
แก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ที่มิใช่
พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำโบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้น
กำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
แวดวงพราหมณ์
วาเสฎฐะและภารทวาชะ ครั้งนั้น สัตว์บางพวกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ บาป
ธรรมเกิดขึ้นในหมู่สัตว์แล้ว คือ การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้จักปรากฎ การครหาจัก
ปรากฏ การพูดเท็จจักปรากฏ การถือฑัณฑาวุธจักปรากฏ การขับไล่จักปรากฏ ทางที่ดี พวกเรา
ควรลอยบาปอกุศลธรรมทิ้งเสียเถิด สัตว์เหล่านั้นจึงได้พากันลอยบาปอกุศลธรรมนั้นทิ้งไป
เพราะสัตว์ทั้งหลายพากันลอยบาปอกุศลธรรมทิ้งไป ฉะนั้น คำแรกว่า 'พราหมณ์ พราหมณ์' จึง
เกิดขึ้นพราหมณ์เหล่านั้นจึงสร้างกระท่อมมุงด้วยใบไม้ไว้ในราวป่าแล้ว บำเพ็ญฌานอยู่ใน
กระท่อมที่มุงด้วยใบไม้นั้น พราหมณ์เหล่านั้นไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว พากันเที่ยวไปยัง
หมู่บ้านตำบลและเมืองแสวงหาอาหาร เพื่อเป็นอาหารเย็นในตอนเย็น เพื่อเป็นอาหารเช้าในตอน
เช้า พวกเขาได้อาหารแล้วก็บำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อมมุงด้วยใบไม้ในราวป่านั่นเทียวอีก หมู่
มนุษย์พบเขาแล้วจึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'ท่านผู้เจริญ สัตว์เหล่านี้สร้างกระท่อมมุงด้วยใบไม้ในราวป่า
แล้ว บำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้นั้น พวกเขาไม่มีการหุงต้ม ไม่มีการตำข้าว พากัน
เที่ยวไปยังหมู่บ้านตำบลและเมืองแสวงหาอาหาร เพื่อเป็นอาหารเย็นในตอนเย็น เพื่อเป็นอาหาร
เช้าในตอนเช้า พวกเขาได้อาหารแล้วมาบำเพ็ญฌานอยู่ในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่าอีก
เพราะพวกเขาบำเพ็ญฌานอยู่ คำที่ ๒ ว่า 'ฌายกา ฌายกา' จึงเกิดขึ้น ในจำนวนสัตว์เหล่านั้น สัตว์
บางพวก เมื่อไม่บรรลุฌานนั้นในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไปยังหมู่บ้านที่
ใกล้เคียงกันและนิคมที่ใกล้เคียงกัน พากันทำคัมภีร์อยู่ มนุษย์ทั้งหลายเห็นเขาแล้วจึงกล่าวอย่างนี้
ว่า 'ท่านผู้เจริญ สัตวเหล่านี้ไม่ได้บรรลุฌานนั้นในกระท่อมที่มุงด้วยใบไม้ในราวป่า จึงเที่ยวไป
ยังหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกันและนิคมที่ใกล้เคียงกัน พากันทำคัมภีร์อยู่ ชนเหล่านี้ไม่บำเพ็ญฌาน'
เพราะชนเหล่านี้ ไม่บำเพ็ญฌาน ในบัดนี้ คำที่ ๓ ว่า 'อัชฌายกา อัชฌายกา' จึงเกิดขึ้น สมัยนั้น คำ
ว่า 'อัชฌายกา' นั้นถือกันว่าเป็นคำเลว แต่ในสมัยนี้ คำว่า 'อัชฌายกา' นั้นถือกันว่าประเสริฐ ด้วย
เหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงพราหมณ์นั้นขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น
มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ที่มิใช่พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดย
อธรรม ตามคำโบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐ
ที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
แวดวงแพศย์
วาเสฎฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้น บางพวกยึดมั่นเมถุนธรรม23 แล้วแยก
ประกอบการงานที่แตกต่างออกไป24 เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้นยึดมั่นเมถุนธรรม แล้วแยก
ประกอบการงานที่แตกต่างออกไป ฉะนั้น คำว่า 'เวสสา เวสสา' จึงเกิดขึ้น ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้
จึงได้เกิดมีแวดวงแพศย์นั้นขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวก
เดียวกันเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ที่มิใช่พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำ
โบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้ง
ในโลกนี้และโลกหน้า
แวดวงศูทร
วาเสฎฐะและภารทวาชะ บรรดาสัตว์เหล่านั้น สัตว์ที่เหลือประพฤติตนโหดร้าย ทำงานต่ำ
ต้อย เพราะสัตว์เหล่านั้นประพฤติตนโหดร้าย ทำงานที่ต่ำต้อยฉะนั้น คำว่า 'ศูทร ศูทร' จึงเกิดขึ้น
ด้วยเหตุดังกล่าวมานี้ จึงได้เกิดมีแวดวงศูทรนั้นขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น
มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ที่มิใช่พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดย
อธรรม ตามคำโบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐ
ที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
วาเสฎฐะและภารทวาชะ มีสมัยที่กษัตริย์ติเตียนธรรม25ของตน จึงออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตด้วยประสงค์ว่า 'เราจักเป็นสมณะ' พราหมณ์ติเตียนธรรมของตนจึงออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตด้วยประสงค์ว่า 'เราจักเป็นสมณะ' แพศย์ติเตียนธรรมของตนจึงออกจากเรือนบวช
เป็นบรรพชิตด้วยประสงค์ว่า 'เราจักเป็นสมณะ' แม้ศูทรก็ติเตียนธรรมของตนจึงออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตด้วยประสงค์ว่า 'เราจักเป็นสมณะ' จึงได้เกิดมีแวดวงสมณะจากแวดวงทั้งสี่นี้ขึ้น
แก่สัตว์เหล่านั้นเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์เหล่าอื่น มีแก่สัตว์พวกเดียวกันเท่านั้น ไม่มีแก่สัตว์ที่มิใช่
พวกเดียวกัน มีโดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม ตามคำโบราณที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้น
กำเนิดของโลก ก็ธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
เรื่องการประพฤติทุจริต เป็นต้น
วาเสฎฐะและภารทวาชะ แม้กษัตริย์ผู้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีความเห็น
ผิด และชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิด เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม
ความเห็นผิดเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
แม้พราหมณ์...
แม้แพศย์...
แม้ศูทร ...
แม้สมณะผู้ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต มีความเห็นผิด และชักชวนผู้อื่นให้
ทำกรรมตามความเห็นผิด เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดเป็นเหตุ หลังจาก
ตายแล้วจะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก
แม้กษัตริย์ผู้ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีความเห็นชอบและชักชวนผู้อื่นให้
ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสูคติโลกสวรรค์
แม้พราหมณ์...
แม้แพศย์...
แม้ศูทร ...
แม้สมณะผู้ประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต มีความเห็นชอบ และชักชวนผู้อื่นให้
ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ หลังจากตาย
แล้วจะไปเกิดในสูคติโลกสวรรค์
วาเสฎฐะและภารทวาชะ แม้กษัตริย์ผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและกายสุจริต ทั้งวจีทุจริต
และวจีสุจริต ทั้งมโนทุจริตและมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิดและมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวน
ผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการ
ชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบเป็น
เหตุ หลังจากตายแล้วเขาจะเสวยทั้งสุขและทุกข์
แม้พราหมณ์ผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและกายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริตทั้งมโนทุจริต
และมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิดและมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม
ความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรม
ตามความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบเป็นเหตุ หลังจากตายแล้ว
เขาจะเสวยทั้งสุขและทุกข์ แม้แพศย์ผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและกายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริต
ทั้งมโนทุจริตและมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิดและมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่นให้ทำ
กรรมตามความเห็นผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้
ทำกรรมตามความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบเป็นเหตุ หลังจาก
ตายแล้วเขาจะเสวยทั้งสุขและทุกข์
แม้ศูทรผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและกายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริต ทั้งมโนทุจริต
และมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิดและมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็น
ผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม
ความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วเขาจะ
เสวยทั้งสุขและทุกข์
แม้สมณะผู้ประพฤติทั้งกายทุจริตและกายสุจริต ทั้งวจีทุจริตและวจีสุจริต ทั้งมโนทุจริต
และมโนสุจริต ทั้งมีความเห็นผิดและมีความเห็นชอบ ทั้งชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็น
ผิดและชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบ เพราะการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตาม
ความเห็นผิดและการชักชวนผู้อื่นให้ทำกรรมตามความเห็นชอบเป็นเหตุ หลังจากตายแล้วเขาจะ
เสวยทั้งสุขและทุกข์
การเจริญโพธิปักขิยธรรม
วาเสฎฐะและภารทวาชะ กษัตริย์ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวดแล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
แม้พราหมณ์ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗
หมวดแล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
แม้แพศย์ผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวด
แล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
แม้ศูทรผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวดแล้ว
จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
แม้สมณะผู้สำรวมกาย สำรวมวาจา สำรวมใจ อาศัยการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวด
แล้ว จะปรินิพพานในโลกนี้ทีเดียว
วาเสฎฐะและภารทวาชะ บรรดาวรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ ผู้ใดเป็นภิกษุอรหันตขีณาสพ อยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว
สินภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ ผู้นั้นเรียกได้ว่า เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลายใน
วรรณะ ๔ เหล่านั้น โดยธรรมเท่านั้น ไม่ใช่โดยอธรรม เพราะธรรมเท่านั้นประเสริฐที่สุดในหมู่
ชนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า
วาเสฎฐะและภารทวาชะ สมดังคาถานี้ที่สนังกุมารพรหมกล่าวไว้ว่า
'ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วย
วิชชาและจรณะ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทพและมนุษย์ '
วาเสฎฐะและภารทวาชะ สนังกุมารพรหมกล่าวคาถานั้นไว้ชอบ ไม่ใช่ไม่ชอบ กล่าวไว้
ถูกต้อง ไม่ใช่ไม่ถูกต้อง มีประโยชน์ ไม่ใช่ไม่มีประโยชน์ เราเห็นด้วยทีเดียว แม้เราก็กล่าวอย่าง
เดียวกันนี้ว่า
'ในหมู่ชนที่ถือตระกูลเป็นใหญ่ กษัตริย์จัดว่าประเสริฐที่สุด ส่วนท่านผู้เพียบพร้อมด้วย
วิชชาและจรณะ จัดว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด ในหมู่เทพและมนุษย์ '
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้เเล้ว วาเสฏฐสามเณรเเละภารทวาชสามเณรมีใจยินดี
ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเเล้วเเล
อัคคัญญสูตร จบ
จากพระสูตรนี้ ทำให้ทราบว่าในตอนสังวัฎฎกัปของโลกช่วงสุดท้าย คือ ช่วงที่โลกเสื่อม
ลงจนสลายไป สัตว์โลกส่วนมากที่รอดชีวิต ได้ไปเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม มีสภาพเป็นกาย
ทิพย์ จากนั้น เป็นกำเนิดและวิวัฒนาการของโลก ตั้งแต่ตอนต้นแห่งวิวัฏฎกัป คือ ช่วงที่โลก
กลับก่อตัวขึ้นใหม่ เริ่มจากสภาพที่เป็นน้ำแผ่เต็มอวกาศ ไม่มีดวงจันทร์ ดวงดาว ดวงอาทิตย์ โลก
ค่อย ๆ แข็งตัวขึ้น มีพืชพรรณแรกเกิดขึ้นคือ ง้วนดิน ลอยอยู่บนผิวน้ำ
ขณะเดียวกัน มนุษย์ก็มีวิวัฒนาการควบคู่ไปกับวิวัฒนาการของโลก คือ มนุษย์ในยุคแรก
นั้นมีกำเนิดมาจากอดีตพรหมที่ลงมาบนพื้นโลก เริ่มลองกินง้วนดินแล้วค่อย ๆ พ่ายแพให้กับ
กิเลสภายในใจที่บีบคั้นมากขึ้น จนทำให้มีกายที่หยาบขึ้น ส่งผลถึงอาหารก็ลดความประณีตและ
โอชะลงไปเรื่อยๆ จากนั้น ก็มีการกระทำที่ชั่วหยาบขึ้นเพราะเริ่มมีการเห็นแก่ตัว เช่น เกิด
การลักขโมยเพราะมีการกักตุนอาหาร ทำให้ต้องแต่งตั้งผู้ที่จะมาทำหน้าที่ต่าง ๆ ให้ส่วนรวม
จนเป็นที่มาของวรรณะหรืออาชีพต่าง ๆ นั่นเอง
ดังนั้น การแบ่งชนชั้นวรรณะจึงเป็นเรื่องของความเข้าใจผิด เพราะไม่ว่าวรรณะใด หาก
ประพฤติอธรรม คือ กายทุจริต วจีทุจริต และ มโนทุจริต หลังจากตายก็ไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรกเหมือนกัน แต่ถ้าประพฤติธรรม คือ สุจริต ๓ หลังจากตายก็ไปเกิดในสุคติ
เหมือนกัน และไม่ว่าวรรณะใด หากออกบวชเป็นบรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์จนบรรลุธรรม
ผู้นั้นสมควรได้ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐ คือ ประเสริฐโดยธรรม ไม่ใช่โดยวรรณะ
เชิงอรรถอ้างอิง
1พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค, มจร เล่ม ๑๑ หลัา ๘๓
2ด่า ในที่นี้หมายถึงด่าด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ อย่าง คือ (๑)เจ้าเป็นโจร (๒)เจ้าเป็นคนพาล (๓)เจ้าเป็นคนหลง
(๔)เจ้าเป็นอูฐ (๕)เจ้าเป็นโค (๖) เจ้าเป็นลา (๗) เจ้าเป็นสัตว์นรก (๘) เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน (๙) เจ้าไม่ได้สุคติ (๑๐) เจ้าหวังได้แต่ทุคติเท่านั้น
3เต็มรูปแบบ ในที่นี้หมายถึงยก อักโกสวัตถุทั้ง ๑๐ อย่างมาด่า
4เป็นคนรับใช้ ในที่นี้หมายถึงคหบดีซึ่งพวกวรรณะพราหมณ์ถือว่าเป็นคนชั้นต่ำ เพราะยังถูกเครื่องผูกคือเรือนผูกไว้
5เป็นเผ่าของมาร เกิดจากพระบาทของพระพรหม แปลจากบาลีว่า "พนฺธุปาทาปจฺเจ" ตามนัย ที.ปา.อ.๑๑๓/๔๗ ส่วน ที.สี.อ.๒๖๓/๒๒๙ ให้ความหมายว่าเกิดจากพระบาทของพระพรหมเท่านั้น
6ระลึกถึงเรื่องเก่าของตนไม่ได้ หมายถึงไม่รู้จักกำเนิดและความเป็นไปของโลก ที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีว่าด้วยต้นกำเนิดของโลกอันมีมาแต่โบราณ
7ธรรมดำ ในที่นี้หมายถึงธรรมที่ไม่บริสุทธิ์มาแต่เดิม
8มีวิบากดำ ในที่นี้หมายถึงมีผลเป็นทุกข์
9ธรรมขาว ในที่นี้หมายถึงธรรมที่บริสุทธิ์เพราะปราศจากกิเลส
10มีวิบากขาว ในที่นี้หมายถึงมีผลเป็นสุข
11อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว หมายถึงได้เป็นพระอเสขะ ส่วนพระเสขะ ๗ จำพวก และกัลยาณปุถุชนชื่อว่ากำลังประพฤติพรหมจรรย์
12ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว หมายถึงทำกิจมีความกำหนดรู้ เป็นต้นในอริยสัจ ๔ ด้วยมรรค ๔
13ปลงภาระได้แล้ว หมายถึง ปลง กิเลสภาระ(ภาระคือกิเลส) ขันธภาระ(ภาระคือร่างกาย) และอภิสังขารภาระ (ภาระคืออภิสังขาร) ลงแล้ว
14เท่าเทียมกัน เป็นคำเปรียบเทียบที่พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงใช้เพื่อยกย่องศากยตระกูลว่าเสมอกับราชตระกูลของพระองค์
15มาเป็นอย่างนี้ ในที่นี้หมายถึงมาเกิดเป็นมนุษย์
16นึกคิดอะไรก็สำเร็จ ได้ตามปรารถนา หมายความว่าสัตว์เหล่านั้นแม้มาเกิดในมนุษยโลกนี้ ก็ยังเป็นโอปปาติกะ เกิดขึ้นด้วยใจที่บรรลุอุปจารฌานอย่างเดียวกัน
17มีปีติเป็นภักษา หมายความว่า แม้อยู่ในมนุษยโลกนี้ก็มีปีติเป็นอาหารเหมือนอยู่ในพรหมโลก
18ปราศจากโทษ ในที่นี้หมายถึงไม่มีตัวอ่อนในรัง
19สิ่งนี้จะเป็นเช่นไร หมายความว่า รสของง้วนดินนี้จะเป็นเช่นไร
20รสเอ๋ย รสเอ๋ย เป็นคำรำพึงรำพันว่า 'รสอร่อยที่เคยบริโภคหายไปแล้ว'
21สัตว์ ในที่นี้หมายถึงมนุษย์ในระยะแรก ๆ ที่เปลี่ยนสภาพมาจากเทพ
22แวดวง แปลจากคำว่า มณฺฑล ซึ่งอรรถกถาให้ความหมายว่า คณะ(หมู่) เช่น คำว่า พฺราหฺมณคณสฺส แปลว่า หมู่ของพราหมณ์
23เมถุนธรรม แปลว่า ธรรมแห่งการดำเนินชีวิตของคนคู่ หมายถึงอสัทธรรมซึ่งเป็นประเวณีของชาวบ้าน มารยาทของคนชั้นต่ำ กิริยาชั่วหยาบ มีนํ้าเป็นที่สุด เป็นกิจที่ต้องทำในที่ลับ ต้องทำกันสองต่อสอง
24การงานที่แตกต่างออกไป ในที่นี้หมายถึงการงานที่ทำให้มีชื่อเสียงโดดเด่น เช่น โคปกกรรม(การรักษาความปลอดภัย) พาณิชยกรรม (การค้าขาย)
25ธรรม ในที่นี้หมายถึงอาชีพการงานนั้น ๆ