บทบาทสื่อมืออาชีพในญี่ปุ่น

วันที่ 06 กพ. พ.ศ.2564

บทบาทสื่อมืออาชีพในญี่ปุ่น

                  ย้อนไปในอดีต เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2537 คงไม่มีข่าวใดในญี่ปุ่น เป็นที่สนใจของประชาชนมากเท่ากับข่าวการผ่านร่างกฎหมายปฏิรูประบบการเลือกตั้งของสภาไดเอ็ท (รัฐสภาของญี่ปุ่น) และมีสิ่งหนี่งที่อาตมภาพประทับใจเป็นอย่างมาก นั่นก็คือความแม่นยำในการวิเคราะห์ข่าวของสื่อมวลชนญี่ปุ่น

 

20466-1.jpg

                 เมื่อครั้งที่ร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านสภาล่างแล้ว แต่ถูกสภาสูง (วุฒิสภา) ตีกลับไปนั้น ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างตัวแทนทั้งสองสภา เพื่อหาทางประนีประนอมกัน

 

                ขณะที่การประชุมเพิ่งจะเริ่มต้น นักวิเคราะห์ข่าวของ NHK ได้วิเคราะห์ปัญหานี้ ว่ามีทางออกอยู่กี่ทาง และแต่ละทางมีผลดีผลเสียต่อฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านในขณะนั่นอย่างไรบ้าง

 

                จากนั้นก็คาดการณ์ด้วยความมั่นใจว่า การประชุมครั้งนี้ จะต้องพบกับความล้มเหลว เพราะการประนีประนอมจะสำเร็จได้ก็ด้วยการประชุมสุดยอดระหว่างนายกรัฐมนตรีและผู้นำฝ่ายด้านเท่านั่น

 

                 ซึ่งในที่สุดก็ปรากฏว่าเหตุการณ์ได้เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์ข่าวของ NHK คาดไว้ทุกประการ

 

20466-2.jpg

                  ใช่เพียงแค่เรื่องราวภายในประเทศญี่ปุ่นเองเท่านั้น แม้แต่เหตุการณ์ในต่างประเทศ สื่อมวลชนญี่ปุ่นก็เคยวิเคราะห์ได้อย่างแม่นยำมาแล้ว เช่นกรณีการเมืองในประเทศไทย

 

                  สมัยจัดตั้งรัฐบาลผสมเมื่อปี พ.ศ. 2535 ที่มีพรรคสามัคคีธรรม และพรรคชาติไทยเป็นแกนนำโดยมีการเสนอให้เชิญผู้มีความรู้ ความสามารถ จากนอกพรรคมาเป็น นายกรัฐมนตรี จีงเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันหลายกระแสเกี่ยวกับแกนนำ กลุ่มอำนาจต่าง ๆ ที่จะขึ้นมาบริหารประเทศ ซึ้งครั้งนั้นสื่อมวลชนญี่ปุ่นก็สามารถติดตามสถานการณ์และวิเคราะห์ข่าวใด้ตรงกับสิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาภายหลังจริง ๆ

 

                 การที่สื่อมวลชนญี่ปุ่นสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างแม่นยำ น่าจะมาจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้ คือ

 

1. มีความเป็นกลาง

 

               คนญี่ปุ่นถือว่า สื่อมวลชน คือผู้เสนอข่าว มีหน้าที่รายงานความเป็นไปของเรื่องราวต่าง ๆ ต่อสาธารณชนตามความเป็นจริงโดยต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่มีหน้าที่ตัดสินว่าใครถูก ใครผิด ไม่เขียนข่าวใส่ร้ายใคร หรือโจมตีใคร และไม่นำความคิดเห็น หรืออคติส่วนตัวไปปะปนในเนี้อข่าวโดยเด็ดขาด

 

                ถ้าหากต้องการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องใดก็จะระบุว่าเป็นคอลัมน์วิจารณ์ให้ทราบอย่างชัดเจนเลยว่า นี่คือความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนคอลัมน์นั้น ๆ

 

                  ในญี่ปุ่นมีหนังสือพิมพ์ประเภท "ตีใข่ใส่ข่าว" อยู่เหมือนกัน เป็นหนังสือพิมพ์ประเภทหัวสี ซึ่งแยกประเภทออกมาจากหนังสือพิมพ์หลัก โดยเป็นที่รู้กันว่า หนังสือพิมพ์ประเภทนี้เชื่อถือไม่ค่อยได้ ใช้เพียงแค่อ่านเพื่อความมัน เท่านั้นเอง

20466-3.jpg

                   มีอีกกรณีหนึ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับสถานีโทรทัศน์ อาซาฮี กล่าวคือ ทางสถานีโทรทัศน์อาซาฮีถูกร้องเรียนว่าวางตัวไม่เป็นกลางในการเสนอข่าวเกี่ยวกับการเลือกตั้ง

 

                    ผลคือหัวหน้าข่าวต้องออกมาสารภาพว่า ตนเองมีอคติต่อพรรคแอลพีดี ซี่งผูกขาดครองอำนาจเป็นรัฐบาลมาถง 38 ปี จึงเสนอข่าวในเชิงลบต่อพรรคการเมีองนี้ เขาได้ขออภัยต่อประชาชนญี่ปุ่นในฐานะที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณของสื่อมวลชน และตัดสินใจลาออกในที่สุด

 

                   จิตสำนึกของสื่อมวลชน ที่มีความเที่ยงธรรมและเป็นกลางในการเสนอข่าว อีกทั้งเมื่อผิดพลาดก็กล้ายอมรับผิดเช่นนี้ น่าที่จะนำมาปลูกผังในหมู่สื่อมวลชนทั่วไป เพื่อผู้รับข่าวสารจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตรงความเป็นจริง

 

                    ดังวลีอันน่าประทับใจที่หนังสือพิมพ์ The Japan Times ได้ประทับไว้บนหัวหนังสือพิมพ์จนเป็นสัญญาประชาคมว่า

 

ALL THE NEWS WITHOUT FEAR OR FAVOR

ข่าวทุกข่าวล้วนปราศจากซึ่งความกลัวหรือความลำเอียงใด ๆ

 

20466-4.jpg

                   การประกาศแนวทางไว้ชัดเจนเช่นนี้ไม่เพียงมีผลต่อความนิยมของผู้อ่านเท่านั้น ในขณะเดียวกัน สื่อมวลชนของหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการนำเสนอข่าว หรือบทวิเคราะห์วิจารณ์ให้เป็นไปตามแนวทางที่หนังสือพิมพ์ของตนประกาศไว้ด้วย

 

2. มีความรู้จริง

 

                 ในบ้านเราสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อย ยังไม่สามารถสลัดให้หลุดจากสภาพการ "ขายรสชาติ-ขายความมัน” ได้ ดังจะเห็นได้จากการที่ ข่าวความขัดแยัง เรื่องอื้อฉาว หรือข่าวชาวบ้านต่าง ๆ ยังถือว่าเป็นหัวข้อข่าวท็อปฮิต แต่ในญี่ปุ่นในหนังสือพิมพ์ของเขา "ขายความจริง"โดยแข่งกันในแง่ที่ว่า ใครจะเสนอข่าวได้แม่นยำเจาะลึกได้มากกว่ากัน

 

                 ใครทำงานในสายข่าวไหนก็ต้องสืบเสาะข้อมูลเรื่องราวในสายงานของตนให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ยิ่งผู้เชี่ยวชาญประจำสายข่าวด้วยแล้ว ยิ่งต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านนั้น ๆ ถึงขนาดที่กล่าวได้ว่าไม่แพ้ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัยเลยทีเดียว

 

                   เขาถือว่า รู้อะไรต้องรู้ให้จริง ผู้รู้จริงเพียงคนเดียวให้ความกระจ่างแก่สังคมได้ดีกว่าคนรู้แบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ นับพับนับหมื่นคน

 

                  ความเป็นกลางก็ดี ความรู้จริงก็ดี เป็นป็จจัยหลักที่ทำให้สือมวลชนในประเทศญี่ปุ่น สามารถเสนอข่าวและวิเคราะห์ข่าวต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ

 

20466-5.jpg

                  ชี่งเรื่องนี้มีส่วนอย่างมากในการสร้างสังคมญี่ปุ่นให้เป็นสังคมแห่งองค์ความรู้ เพราะประชาชนมีโลกทัศน์ที่กว้างไกล

 

                  สื่อมวลชนไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เราได้มีการพัฒนาในด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมาก เพื่อให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

 

                 ดังนั้นในด้านคุณภาพของเนื้อหาเราก็ต้องทุ่มเทพัฒนาให้ทัดเทียมอารยประเทศด้วยเช่นกัน ข้ออ้างเดิมๆที่ว่า ผู้อ่านหรือผู้ชมเองยังชอบแบบเดิมอยู่ สื่อมวลชนจะล้ำหน้าผู้อ่านหรือผู้ชมมากเกินไปไม่ได้จึงไม่ควรนำมาใช้เป็นข้ออ้างอีกต่อไป หากเราต้องการให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง

 

                   อาตมภาพหวังว่าจะได้เห็นวงการสื่อมวลชนบ้านเราผลิตผลงานที่มีคุณภาพ ด้วยความรู้จริงอย่างมืออาชีพ ทั้งมีความเป็นกลางเป็นมือาชีพ เพื่อจะได้เป็นพลังขับเคลื่อนให้สังคมไทยเจริญก้าวหน้าต่อไป

 

เจริญพร

พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.040096314748128 Mins