ความรู้เรื่องทาน
๓. ประเภทของทาน
ทานแบ่งตามวัตถุ คือ สิ่งของที่จะให้ มี ๒ ประเภทคือ
๓.๑) อามิสทาน การให้อามิส คือ การให้วัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นทาน
๓.๒) ธรรมทาน การให้ธรรมะ คือ การให้ความรู้ ความถูกต้องดีงาม เป็นทาน
๓.๑) อามิสทาน
อามิสทาน คือ การให้สิ่งของเป็นทาน เช่น สิ่งของที่เป็นปัจจัยสี่ หรือการให้ทานวัตถุ มีข้าว
นํ้า ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พักอาศัย ประทีปโคมไฟ เป็นต้น
๓.๑.๑) อามิสทาน แบ่งตามทายก คือ ผู้ให้ มี ๓ ประเภท ดังนื้
(๑) ทานทาสะ บางทีเรียกว่า "ทาสทาน" หมายถึง การที่ทายกให้ของที่ด้อยกว่าของ
ที่ตนบริโภคใช้สอยเอง เช่น เมื่อได้มะม่วงมา ๓ ผล ก็เลือกผลที่เล็กที่สุดให้ไป
หรือได้ ๓ ผลที่มีขนาดเท่าๆ กัน ก็เลือกผลที่ไม่ชอบใจให้ไป การให้อย่างนื้
เรียก ทาสทาน เพราะว่าใจของทายกตกเป็นทาสของความตระหนี่แล้วจึงให้
ดุจการให้สิ่งของแก่คนที่เป็นข้าทาสบริวาร ฉะนั้น
(๒) ทานสหาย บางทีเรียกว่า "สหายทาน" หมายถึง ทายกให้ของที่เสมอกันกับที่ตน
บริโภคใช้สอย ตนบริโภคใช้ของอย่างไร ถึงคราวจะให้ผู้อื่นก็ให้ของอย่างนั้น
เช่น ได้มะม่วงมา ๓ ผล ก็ให้ผลที่ดี เช่นเดียวกับที่ตนจะบริโภค ดุจการให้
สิ่งของแก่คนที่เป็นมิตรสหาย ฉะนั้น
(๓) ทานสามี บางทีเรียกว่า "สามีทาน" หมายถึง ทายกให้ของที่ดีประณีตกว่าของที่
ตนบริโภคใช้สอย โดยเลือกเอาสิ่งของที่ดีที่สุดให้ไป ซึ่งชาวพุทธทั้งหลายเวลา
จะให้ก็ให้สามีทานเป็นส่วนมาก เช่น เวลาจะตักบาตรพระ จะคดข้าวปากหม้อ
ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่ดีที่สุดเอาไว้ถวายพระก่อน หรือเวลาเลี้ยงพระภิกษุสามเณร
จะตกแต่งข้าวปลาอาหารอย่างประณีตบรรจงกว่าที่ตนเองบริโภคถวายท่าน
หรือเวลาที่จะให้ของแก่ผู้ใดผู้หนี่ง แม้ว่าจะมีฐานะเสมอหรือต่ำกว่าเรา ก็เลือก
ของที่ดีที่ชอบใจให้ไป อย่างนี้เรืยกสามีทาน เพราะใจของผู้ให้เอาชนะความ
ตระหนี่ เป็นนาย เป็นเจ้าของ เป็นอิสระ แล้วจึงให้ทาน ดุจให้สิ่งของแก่คนที่
ตนเคารพหรือมีพระคุณแก่ตน เช่น บิดา มารดา ครูบาอาจารย์ พระภิกษุสงฆ์
ฉะนั้น
ผู้ให้ใดที่มีจิตใจชนะความตระหนี่ คือ ความตระหนี่ไม่สามารถ
ครอบงำได้ มีการสั่งสมการให้ทานสามีอยู่เสมอ จนมีคุณธรรมนี้ติดตัว
ท่านเรียกผู้ให้นั้นว่า ทานบดี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในทาน กล่าวคือเป็นผู้มี
จิตใจที่ไม่ถูกความตระหนี่ครอบงำ เป็นอิสระในทานนั้น ไม่ตกเป็นทาส
หรือสหายของความตระหนี่ แต่เป็นใหญ่ในทานนั้นสม่ำเสมอทุกเวลา
๓.๑.๒) อามิสทาน แบ่งตามเจตนาของผู้ให้ มี ๒ ประเภท คือ ปาฏิปุคคลิกทานและสังฆทาน
(๑) ปาฏิปุคคลิกทาน คือ ทานทึ๋ให้เฉพาะเจาะจงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เช่น เราจะ
ทำบุญบ้านเลี้ยงพระจำนวน ๙ รูป ก็เจาะจงไปว่าขอนิมนต์พระรูปนั้นรูปโน้น
การมีเจตนาเจาะจงนิมนต์เช่นนี้เรียกว่า "ปาฏิปุคคลิกทาน"
(๒)สังฆทาน คือ ทานที่ให้แก่หมู่คณะ ไม่เฉพาะเจาะจงผู้ใดผู้หนึ่ง เมื่อผู้ให้ต้อง
การถวายปัจจัยไทยธรรม (สิ่งของที่ควรถวายพระ) ก็เต็มใจถวายแก่ภิกษุ
ทั้งนั้นด้วยความเคารพ ยำเกรงในสงฆ์ (หมู่คณะ) โดยมิได้เจาะจงผู้ใดผู้หนึ่ง
เช่น เมื่อจะนิมนต์พระไปทำบุญบ้าน ก็ เข้าไปหาเจ้าอาวาสหรือเจ้าหน้าที่รับ
นิมนต์ของวัด กราบเรียนท่านว่าจะทำบุญบ้าน ขอนิมนต์พระสงฆ์ไปรับไทย
ธรรม ๙ รูป ทางวัดจะส่งพระรูปใดไปรับไทยธรรมก็มีความยินดีเต็มใจถวาย
ทานแก่ท่าน ทานที่ผู้ให้มีเจตนากว้างไม่เจาะจงนิมนต์อย่างนี้ เรียกว่า
"สังฆทาน"
- พระภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป จัดว่าเป็นสงฆ์ในพระวินัย การถวายทาน
แด่หมู่ภิกษุที่ไม่เจาะจงตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ก็จัดเป็นสังฆทาน
- ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับอนุมัติจากสงฆ์ให้ไปรับไทยธรรม เช่น เราไป
นิมนต์โดยขอภิกษุกับคณะสงฆ์ว่า "ขอจงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปรับสังฆทาน
ที่บ้านด้วยคร้บ" ครั้นได้ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็มีความเคารพยำเกรงใน
ภิกษุรูปนั้น ยินดีว่าได้สงฆ์มาแล้ว ก็เต็มใจถวายทานนั้น ลักษณะเช่นนี้
เรียกว่าสังฆทานเหมือนกัน
๓.๒) ธรรมทาน
ธรรมทาน คือ การให้คำแนะนำสั่งสอนสิ่งที่ดี บอกศิลปวิทยาที่ดี รวมถึงการอธิบายให้รู้
และเข้าใจในเรื่องบุญบาป ให้สะสิ่งที่เป็นอกุศล ดำรงตนอยู่ในทางกุศล ซึ่งจะนำพาตนให้สะอาดบริสุทธิ์
หมดจดจากกิเสสอาสวะทั้งปวงได้
ธรรมทาน แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ วิทยาทาน และอภัยทาน
๓.๒.๑) วิทยาทาน คือ การให้ความรู้ ยังแบ่งได้เป็นวิทยาทานทางโลกและวิทยาทาน
ทางธรรม
(๑) วิทยาทานทางโลก คือ การสั่งสอนให้เกิดความรู้ความสามารถในเชิงศิลปวิทยาการ
เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิต และสามารถดำเนินชีวิต
ต่อไปได้ด้วยความสะดวกสบายทุกอย่าง ดังนั้น ทางพระพุทธศาสนาได้จัด
ความรู้ว่าเป็นฃุมทร้พย์อย่างหนึ่งชื่อ "องฺคสมนิธิ" แปลว่า ขุมทรัพย์ติดตัวได้
บุคคลผู้มีความรู้ดี จึงเปรียบได้ว่ามีขุมทรัพย์ติดตัวไป ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็
เชื่อมั่นได้ว่า สามารถเอาตัวรอดปลอดภัยได้แน่นอน
(๒) วิทยาทานทางธรรม (จัดเป็นธรรมทานแท้ คือ ความรู้ที่เป็นธรรมะนั้นยิ่งเป็น
สิ่งทีประเสริฐ ด้วยเหตุที่ว่า การดำเนินชีวิตของทุกคนนั้น ถ้าขาดเสียซึ่ง
หลักธรรม ชีวิตจะพบแต่ความทุกข์ เดือดร้อน ผิดหวังตลอดไป ต่อเมื่อได้ยิน
ได้ฟังธรรมะ และนำธรรมะมาประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม ย่อมเกิด
ความเจริญงอกงามในชีวิตของตน ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สะอาดบริสุทธิ์
ผ่องใส ในที่สุดก็ทำให้รู้แจ้งเห็นแจ้งในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
และเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้
การให้คำสอนคือธรรมะที่ถูกต้องนั้น เปรียบเหมือนการให้ขุมทรัพย์ที่เป็นอมตะติดตัวไว้
หรือให้ประทีปแสงสว่างที่คอยติดตามไป ดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า การให้ธรรมทานเปรียบเหมือน
การให้ขุมทรัพย์ หรือประทีปที่จะเป็นเครื่องส่องทางชีวิต ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องดีงาม นำชีวิตไปสู่
ความสุขความเจริญ เมื่อยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ย่อมเป็นผู้ไม่ตกต่ำ ย่อมมีชีวิตที่ดีงาม
เกิดในสุคติภพ เมื่ออบรมบ่มบารมีแก่กล้าแล้วย่อมสสะสะกิเลสได้โดยสิ้นเชิง เข้าถึงพระนิพพานได้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง"
๓.๒.๒) อภัยทาน คือ การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีภัยแก่ตนและผู้อื่น ไม่ถือ
โทษโกรธเคืองในการล่วงเกินของผู้อื่น ไม่มีเวร ไม่ผูกเวรภับผู้ใด ทั้งยังมีจิตเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็น
นิตย์
การให้อภัย เป็นการให้ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เป็นการให้ที่ง่าย แต่สำหรับคนที่ทำได้
ยากเพราะมีกิเสสอยู่ในใจ ต้องอาศัยการฟังธรรมและประพฤติปฏิบัติธรรมบ่อยๆ จนเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง
เห็นคุณประโยชน์ของการให้อภัย แล้วจะทำได้ง่ายขึ้น
หากมองเผินๆจะดูเหมือนว่าการให้อภัยเป็นการให้ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมี
ความสุขสบายใจ แต่แท้ที่จริงแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์สุขมากที่สุดก็คือตนเอง เพราะทุกครั้งที่ให้อภัยได้
จะรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ สดชื่นแจ่มใส มีความสุข
นอกจากนี้ การช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายให้ปลอดภัย พ้นจากอันตรายนั้นได้ เช่น
การปล่อยสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่าให้พ้นจากการถูกฆ่า ดังประเพณีปล่อยสัตว์ปล่อยปลา ก็นับว่าเป็นอภัยทาน
เช่นกัน เพราะได้ให้ความไม่มีภัย ให้ความเป็นอิสระแก่สัตว์เหล่านั้น
การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยการไม่
เบียดเบียน จัดเป็นการให้ที่สูงขึ้นไปอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มหาทาน ซึ่งจัดไว้ไนเรื่องศีล
ส่วนการให้อภัย คือ ทำตนเป็นผู้ไม่มีภัยกับตนเอง ใครที่สามารถสละภัย คือ โทสะ ออกจากใจได้ มีจิตใจ
สงบ สะอาด จิตจะประกอบไปด้วยเมตตา เมื่อทำไปถึงระดับหนึ่งแล้วจัดว่าเป็นการภาวนา ซึ่งเรียกว่า
"เมตตาภาวนา" ซึ่งมีอานิสงส์สูงยิ่งดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น