อย่าประมาท...ต้องรีบสร้างความดี ตอนที่ ๒

วันที่ 14 ธค. พ.ศ.2564

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-1.jpg

     
 อย่าประมาท...ต้องรีบสร้างความดี ตอนที่ ๒

         คุณยายจะสอนให้พวกเรารักษาสมบัติพระศาสนา ควบคู่ไปกับการทำความสะอาด มีบ่อยครั้งที่ท่านไปตรวจวัดแล้วเจอพวกเศษวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ วางทิ้งไว้บ้าง พวกช่างก่อสร้างลืมเอาไว้บ้าง หรือไม่ก็ของเหลือใช้ต่างๆ พวกเศษไม้ เศษเหล็ก เศษอิฐ หรือเศษแผ่นปูน ท่านเห็นแล้วก็มักจะบอกพวกเราว่า ให้พยายามใช้ของพวกนี้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด คิดหาทางเอาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ให้ได้ เพราะถ้ามัวแต่ซื้อของใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ เราเองก็ไม่ค่อยมีเงินที่จะซื้อประการหนึ่ง อีกประการหนึ่ง เราจะใช้ของญาติโยมที่เขาทำบุญมาไม่คุ้ม เพราะเขาทำ บุญมา ถ้าเราใช้ของเขาไม่คุ้ม เดี๋ยวเราเกิดไปชาติหน้าก็ต้องไปเป็นขี้ข้าเขา 

           ท่านสอนว่า ของที่เขาทำบุญมาทั้งหมดนี้ พยายามใช้ให้คุ้มที่สุดเลย ท่านเล่าว่า ในสมัยที่ท่านอยู่วัดปากนํ้า บ้านธรรมประสิทธิ์ บางครั้งวัสดุของใช้ต่างๆ ที่คนอื่นเอาไปทิ้งที่กองขยะ ท่านไปเห็นแล้ว ของบางอย่างยังพอใช้ได้ ท่านก็ไปเก็บมา จะเป็นโต๊ะ เป็นเก้าอี้ บางทีขาหัก ก็ไปวานให้ช่างเขาซ่อมให้ แล้วก็เอามาล้างมาเข็ดทำความสะอาดเสียอย่างดี เอามาตั้งรับแขกก็จะพอใช้งานได้ จะเป็นขวดนํ้าหรือควนหวาย (ตะกร้าหวาย บรรจุขวดนํ้าดื่มเป็นชุดๆ ละ ๔-๖ ขวด) ที่เขาใช้ใส่ขวดนํ้า ท่านก็ไปเก็บบังสุกุลเอามา ขวดนํ้าท่านไปเอามาจากโรงครัว พวกขวดนํ้าหวาน ขวดนํ้าปลา เอามาล้างให้สะอาด แล้วก็ใส่นํ้าฝนไว้รับแขก 

             ท่านพยายามเอาของที่ทุกคนคิดว่าไม่มีประโยชน์ ทำให้มีประโยขน์ขึ้นมา คุณยายบอกว่า ท่านจะทำของที่ตายแล้วให้คืนชีพขึ้นมา ทำให้เป็นของที่มีค่าเหมือนเดิม ทุกคนจะได้ใช้อย่างสบายใจ

          นอกจากจะสอนเรื่องการรักษาความสะอาดแล้ว บางครั้งท่านก็วางต้นแบบในการทำพิธีกรรมต่างๆ ที่จะขยายงานมาในปัจจุบันนี้ สมัยก่อนการบูชาข้าวพระในวันอาทิตย์ต้นเดือน เราทำพิธีที่ศาลาจาตุมหาราชิกา บางทิก็มีสาธุชนมาประมาณ ๒,๐๐๐ - ๓,๐๐๐ คน ยังไม่มากเพียงแต่ล้นคาสาออกมาหน่อยๆ ที่โคนต้นไม้บริเวณสนามหญ้าด้านข้าง ญาติโยมผู้มีศรัทธาก็เอาข้าวของบ้าง อาหารบ้าง ขนมบ้าง มาจัดในแท่นพิธีที่บูขาข้าวพระ ทุกคนก็อยากจะจัดของตัวเองขึ้นไปบนแท่นพิธีนั้น บน stage ที่บูชาข้าวพระ ซี่งเป็นแท่นเดียวกับที่พระสงฆ์นั่ง แต่อยู่คนละฟากกัน จนกระทั่งของที่บูชามากขึ้นเรื่อยๆ ก็ต้องต่อโต๊ะเสริม ออกมาตั้งข้างหลัง stage

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-2.jpg

          คุณยายไปเห็นเข้า ปรารภว่า นี่ต่อไปคนมากขึ้นเราก็ต้องเอาโต๊ะมาเพิ่มไห้มากขึ้น ภาชนะอาหารมากขึ้นไปอีก ดูไม่ค่อยเรียบร้อย คุณยายจึงสั่งให้จัดวางแต่พองาม ไม่มากไม่น้อยเกินไป ให้อาตมาพร้อมด้วยทีมงานคุยกับท่านเจ้าภาพแต่ละท่านที่เอามา ให้เข้าใจว่า ในการ บูชาข้าวพระของคุณยาย ไม่ว่าอาหารนั้นจะไปมอบให้ไว้ที่โรงทานอาคารยามาก็ตาม เอาไปจัดไว้ที่วงพระฉันก็ตามหรือจะเอาไปเตรียมไว้สำหรับแจกสาธุชนผู้มาในวันงานก็ตาม ใครที่นำอาหารมา แล้วตั้งอกตั้งใจที่จะนำมาบูชาข้าวพระให้ตั้งใจให้ดี ยายจะน้อมเอาไปบูชาพระพุทธเจ้าหมด ไม่ให้ตกหล่นเลย ไม่ใช่แต่เฉพาะอาหารตรงแท่นพิธีกรรมหรอก เอาขึ้นไปบูชาหมดทั้งวัดแหละ ไม่ว่าอาหารนั้นจะอยู่ตรงไหนของวัดพระธรรมกาย จะเป็นข้าวสารอาหารแห้งที่เจ้าภาพเอามาไว้ให้ในครัว ยายเอาขึ้นไปบูชาหมดทั้งนั้นแหละ

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-3.jpg

          เพราะฉะนั้นให้ทุกคนลบายใจได้ว่า ของที่เอามานั้นตัวเองจะได้บุญเต็มที่ จะได้ไม่ต้องกังวลว่า เขาจะจัดภาชนะของเราขึ้นไปร่วมพิธีไหม ต้องมาเป็นห่วงกังวลว่า ภาชนะเราจะไปปนเปสับสนกันไหม ท่านได้พยายามวางรากฐานอันนี้ไว้ แล้วก็ให้ใช้วิธีนี้ตอนที่จะจัดงานใหม่ที่ สภาธรรมกายหลังคาจาก ให้บอกต่อๆ กันไปว่า ทุกคนจะได้บุญเต็มที่ ไม่ใช่ว่าจะเอามาไว้เฉพาะตรงแท่นพิธีกรรมเท่านั้น แม้แต่เอาไปถวายที่จุดอธิษฐานธรรมก็ไปถึงกันหมดแหละ ให้เจ้าภาพตั้งใจให้ดีก็แล้วกัน

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-4.jpg

           ในช่วงที่มีภารกิจมาก คุณยายกรำงานหนัก ต่อมาท่านป่วย โอกาสที่ท่านจะไปกรำงานหนักก็เริ่มน้อยลง บางทีหมอก็ไม่อยากให้ไปกรำงานหนัก ป่วยในช่วงที่ ๒ นั้น ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๒๖ ช่วงนั้นอาตมาอยู่ในช่วงออกไปบอกบุญ หลวงพ่อจึงให้ออกจากทีมบอกบุญมาช่วยดูแลครัวเต็มเวลา แล้วดูแลคุณยายบ้าง เผื่อขับรถพาท่านไปหาหมอ เพราะในช่วงนั้นอาตมายังไม่ได้บวช ตอนป่วยคุณยายบอก ท่านไม่มีแรงไปเฉยๆ อย่างนั้นแหละ หมอบอกว่าเป็นโรคขาดอาหาร ต้องงดรับแขก งดปลูกต้นไม้ชั่วคราว และพักผ่อนมากๆ  

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-5.jpg

           ช่วงกลางวันก็จัดเตรียมสำรับอาหารไปส่ง ตอนบ่ายๆ ก็ไปคุยกับท่านที่กุฏิ ท่านมักจะถามว่า วันนี้ทำอะไรบ้าง เราก็รายงานว่า ตอนเช้าทำโปนทำนี่ ตอนสายทำอะไร ตอนบ่ายทำอะไร ท่านก็ว่า เออ... ดี แล้วก็ปรารภว่า ตอนนี้ยายป่วย ทำอะไรไม่ได้ มันไม่มีแรง ได้แต่นอน แล้วก็ดูองค์พระของยายไปเรื่อย องค์พระใสๆ ดูบุญที่ทำมาตั้งแต่เริ่มต้นเข้าวัดถึงปัจจุบันนี้ ได้บุญเท่าไหร่ๆ ก็ดูบุญไปเรื่อย ดูบุญของยายเสร็จ ก็มาดูบุญของพระทุกองค์ ดูไล่ไปตั้งแต่ของหลวงพ่อธัมมะ หลวงพ่อทัตตะ หลวงพี่ฐิตะ หลวงพี่ฌานา ดูไล่ตามอาวุโสไป เลย จนกระทั่งถึงบุญของเด็กวัด แต่ละคนได้บุญเท่าไหร่แล้ว ดวงบุญโตใหญ่เท่าไหร่แล้ว

           ท่านบอกว่า ดางบุญที่โตใหญ่เท่านั้นๆ แล้วนี่ เมื่อเทียบกับยายแล้วยังกะจิ๊ดริด ดูยายไว้เป็นตัวอย่างนะ ยายสั่งสมบุญมาขนาดนี้ ไอ้ดำมันยังเล่นงานเสียนอนซมอยู่นี่ เพราะฉะนั้น พากเราทุกคนอย่าประมาทว่าจะไม่ป่วยไม่ไข้ ถ้าแข็งแรงอยู่ก็ต้องรีบสร้างคาามดี
    ยายอธิษฐานตลอดเลยว่า อย่าให้ลูกหลานของยายต้องมาป่วยอย่างนี้เลย แม้ท่านป่วย ท่านยังอธิษฐานว่า อย่าให้ลูกหลานป่วย ยายอยู่ในบุญตลอด อธิษฐานเรียกบุญทั้งบุญเก่าบุญใหม่ที่ท่ามาทั้งหมดให้มาช่วยให้แข็งแรงไวๆ ท่านบอกว่า ถ้ายายสามารถฟื้นกำลังได้อีกสักหน่อย พอเดินได้อีกสักหน่อยล่ะก็ยายจะรีบสร้างบุญ คราวนี้ท่านบอก จะสร้างบุญให้ยิ่ง
กว่าเดิมขึ้นไปอีก แล้วก็จะลุยให้สุดฤทธิ์สุดเดชจนกระทั้งให้ถึงที่สุดกันเลย ขนาดป่วยนะ ท่านยังมีจิตใจที่เข้มแข็งและเด็ดเดี่ยวอย่างนี้

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-6.jpg

          ต้องใช้เวลา ๔ ปี กว่าอาการป่วยของท่านจะทุเลา ออกมาตรวจวัดได้ หรือทำภารกิจอะไรข้างนอกได้บ้าง สมัยนั้นได้รถสามล้อ มีคุณอารีพันธุ์ขี่ให้ หรือบางทีก็มีเด็กวัด คือคุณประดิษฐ์ ซึ่งปัจจุบันคือ พระประดิษฐ์ อริฌฺชโย ช่วยปั่นให้ ท่านได้อาศัยสามล้อนั้นไปตรวจวัด ไปดูต้นไม้ที่ปลูกไว้ แต่ในระยะหลัง ท่านไม่สามารถปลูกต้นไม้ได้มากๆ เหมือนแต่ก่อนแล้ว ได้แต่ชื่นชมต้นไม้ที่ท่านปลูกไว้ว่า เออ มันโตแล้วนะ จะได้เป็นมรดกให้ลูกหลาน

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-7.jpg

          ท่านมักจะสั่งผู้ใกล้ชิดว่า ช่วยกันดูนะ ต้นไม้เหล่านี้เป็นของมีค่า กว่าจะได้มาต้องเหนื่อยกันมากทีเดียว ต้นไม้มันก็โตขึ้นทุกวัน ชีวิตเรามันก็แก่ลงทุกวัน ต้องรีบทำความดีไว้เยอะๆ อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เวลาไม่คอยใคร เดี๋ยวก็วัน เดี๋ยวก็เดือน เดี๋ยวก็ปี เดี๋ยวก็ตาย เพราะฉะนั้นอยู่ใกล้ๆ ยายต้องทำอย่างยายทีเดียวนะ ช่วยกันดู ช่วยกันทำ ช่วยกัน เก็บให้ดี

          คุณยายพูดว่า ยายจะพูดซํ้าๆ บ่อยๆ พวกเราก็อย่าเบื่อนะ ยายจะพูดบ่อยๆ เพราะต้องการให้จำเข้าไปในใจ ต่อไปจะได้จำคำของยายได้แม่นๆ วันข้างหน้าจะได้ไม่ลืม ถ้ากลัวจำไม่ได้ให้จดเอาไว้เลย เผื่อกันลืม ยายจะอยู่กับพวกเราอีกไม่นาน อีกไม่นานยายก็ตายแล้ว เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราจดจำเอาไว้ สิ่งที่เป็นคำสอนของยายก็ตาม จะเป็นตัวแทนของยาย หมั่นเอามาอ่าน แล้วก็ทำให้ได้อย่างที่ยายสอน แล้วก็สอนเด็กรุ่นใหม่ๆ ไว้ด้วยว่า สิ่งนี้ยายสอน สิ่งนี้ยายทำ สิ่งนี้ยายพูด เขาจะได้มีแบบอย่างในการสร้างความดี ใครอยากได้บุญอย่างยาย ก็ต้องทำให้ได้อย่างยาย ใครก็ตามที่มาใกล้ชิดจะได้รับการสอนแบบนี้ทั้งหมด

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-8.jpg

          คุณยายจะพยายามสอนทุกคนว่า ในการสร้างความดี ที่จะไปให้ได้ถึงที่สุดนั้น ต้องทำแบบสุดฤทธิ์สุดเดช ต้องทำจนหมดอายุขัยเลย ทำบุญจนสุดชิวิตของเราแหละ เหมือนอย่างที่หลวงพ่อวัดปากนํ้าท่านบอกว่า เวลาสู้นี่ สู้กันแค่ตาย สู้ไปจนชนะ อย่างนี้เราจะได้บุญมากที่สุด เราจะได้ส่วนที่เป็นที่สุดของบุญ เพราะฉะนั้น พวกเราลูกหลานยายต้องดูคุณยายไว้เป็นต้นบุญเป็นต้นแบบ สิ่งที่คุณยายได้ฝากฝังไว้กับพวกเราทุกๆ คนก็คือสร้างลานธรรมมหารัตนวิหารคด รอบมหาธรรมกายเจดีย์ ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นที่รวมของคนรุ่นหลังที่จะมา แล้วก็เป็นพื้นที่ปฏิบัติธรรมที่พวกเราทุกคนจะได้บุญใหญ่ ในฐานะที่เป็นผู้สร้าง

          ก่อนที่คุณยายจะละโลกประมาณสัก ๖๐ วัน วันนั้น ประมาณวันที่ ๑๒ กรกฎาคม อาตมาเข้าไปหาคุณยายแล้วก็เรียนท่านว่า ได้รับบุญเอาลายโป้งของผู้มีบุญทั้งหลายไปติดตั้งที่ลานธรรม จะมาขอลายโป้งของยายบ้าง เผื่อจะเก็บไว้เป็นอนุสรณ์แก่ลูกหลานว่า ลายโป้งของยายเป็นแบบนี้ เป็นลายโป้งของคนที่ทำบุญตลอดชีวิต สร้างกุศลมาตลอดชีวิต ก็เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ ทั้งหมึก Stamp ทั้งกระดาษ เตรียมไปปึกใหญ่เชียว กะเอาเยอะเลย

          คุณยายลืมตามาดู แล้วก็ยิ้มๆ ท่านไม่ได้พูดอะไร หงายมือให้ดูที่ฝ่ามือ ช่วงนั้นท่านไม่ค่อยพูดแล้ว เราก็ตกลงกันเองว่า ท่านอนุญาตแล้ว เพราะท่านหงายมือให้ ก็ให้คุณอารีพันธุ์รีบจัดการพิมพ์ลายนี้วมือคุณยายเลย ก็ได้ลายนี้วมือเอาไว้ อย่างที่เราเห็นในธงชัยที่โบกสะบัดเมื่อวันคล้ายวันเกิดหลวงพ่อวัดปากนํ้า ลายโป้งข้างหลังธงเป็นของคุณยาย

641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-9.jpg

          เพราะฉะนั้นพวกเราทั้งหลายที่ตามมาภายหลังจะได้เห็นว่า นี่คือลายนิ้วมือของมหาปูชนียาจารย์ที่สร้างความดีเป็นต้นบุญต้นแบบของเราตลอดชีวิตทีเดียว เราเองจะได้เอาอย่าง แล้วบอกคนต่อๆ ไปว่า เอาแบบอย่างนี้ ลายนี้วมือนี้เป็นสิ่งที่ท่านทิ้งไว้ให้เป็นอนุสรณ์แห่งความดีของท่านทีได้ทำตลอดชีวิต


641214_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-10.jpg

 

จากหนังสือ เกิดด้วยสองมือยาย 

พระรังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.066763500372569 Mins