ผู้คัดหางเสือ

วันที่ 15 ธค. พ.ศ.2564

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-1.jpg

ผู้คัดหางเสือ

         คืนนี้เป็นคืนที่ ๗๒ ของการบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรมถวายแด่คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงของเรา ซึ่งเป็นผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย อาตมาก็ขอบรรยายธรรมถึงประวัติคุณธรรม และสิ่งที่คุณยายได้บอกได้สอนแก่ตัวอาตมา ตามที่เคยได้ยินได้ฟังมาด้วยตัวเอง เพื่อจะได้เป็นกุศโลบายสำหรับท่านผู้ฟังทุกๆ ท่าน เอาไปใช้ในการสร้างบุญสร้างบารมี

          ในช่วงแรกๆ ที่คุณยายได้รับที่ดินมาผืนแรก ๑๙๖ ไร่ ท่านเล่าให้ฟังว่า ในยุคแรกของการสร้างวัดท่านต้องเหนื่อยมาก เพราะหลวงพ่อหรือพระของวัดเราก็เพิ่งบวชใหม่ๆ อายุพรรษายังไม่มาก ญาติโยมยังรู้จักไม่มากนัก ช่วงนี้คุณยายต้องรับภาระหนักทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับแขก เรื่องการหาทุน แล้วก็เรื่องสอนธรรมะ

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-2.jpg

         อาตมาเคยถามท่านว่า คุณยายรับแขกยังไงเวลาแขกถามอะไรแต่ละเรื่อง คุณยายไม่ได้เรียนหนังสือหนังหามา คุณยายตอบเขาได้ทุกเรื่อง ตอบได้อย่างไม่ติดขัด เป็นคำตอบที่ถูกอกถูกใจ และถูกต้องกับเจตนาของผู้ฟัง ท่านผู้ถามทุกๆ คน คุณยายก็บอกว่า ยายก็ฝึกตัวเองมาตั้งแต่สมัยหลวงพ่อวัดปากนํ้า ยายเตรียมกาย วาจา ใจ ให้พร้อมสำหรับคำถามทุกคำถามของหลวงพ่อ คือ ยายจะดิ่งธรรมะเข้าไปลึกที่สุดซ้อนพระธรรมกายเข้าไปเต็มที่เลย เพราะว่าในสมัยนั้นเมื่อหลวงพ่อวัดปากนํ้าถามคำถามอะไร ต้องได้คำตอบ ต้องค้นคำตอบมาให้ท่านอย่างฉับพลันทันที แล้วก็ถูกต้องรวดเร็วที่สุด

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-3.jpg

          เพราะฉะนั้น เวลาญาติโยมหรือแขกที่เขามาถามปัญหาธรรมะหรือปัญหาอะไรจิปาถะ คุณยายก็จะซ้อนธรรมะเข้าไป เหมือนประหนึ่งว่า เขาได้ถามกับพระธรรมกายโดยตรง แล้วท่านก็เพียงนำคำตอบนั้นผ่านปากคุณยายออกมา คุณยายบอกแบบนี้ เพราะฉะนั้น คำตอบแต่ละเรื่องผู้ถามก็เลยได้คำตอบที่รัดกุมแล้วก็ถูกต้องแบบแทงใจดำเลย แมัไม่เคยเรียนหนังสือมาก่อนท่านใช้คำว่า ยายนะ *กอ ข้อ ไม่กระติกหู แต่คำถามนั้นไม่ว่าจะเป็นคำถามธรรมะในพระไตรปิฎก หรือคำถามเกี่ยวกับเรื่องทางโลกหรืออะไรก็แล้วแต่ คุณยายตอบได้หมด นี่เป็นสิ่งที่น่าทึ่งในปฏิปทาของคุณยาย

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-4.jpg

          พอคุณยายย้ายมาอยู่วัดพระธรรมกาย ที่คลองหลวง ปทุมธานี ซึ่งสมัยนั้นเราใช้ชื่อว่า ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม ประมาณ ๔-๕ ปี ท่านเห็นว่า ช่วงนี้พระของท่านแต่ละรูปอายุพรรษาเพิ่มมากขึ้นแล้ว ท่านจึงได้เริ่มลดบทบาทของตัวเอง จากที่เคยเป็นประธานในทุกสิ่งทุกอย่างประธานก่อสร้าง ประธานหาทุน หรือว่าประธานในเรื่องจัดเตรียมอะไรต่ออะไร ท่านขอลดบทบาทตัวเอง ท่านบอกว่า ตอนนี้ท่านขอเป็นแค่เด็กวัด ท่านจะยกให้

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-5.jpg

หลวงพ่อธัมมชโยเป็นประธานแทนท่าน และเคยปรารภกับอาตมาว่า ต่อไปนี้คนจะมาเยอะ คนที่มาวัดพระธรรมกายจะมีแต่ผู้มีการศึกษามาก คนเหล่านั้นเมื่อได้มา ได้พบพระของยาย พบหลวงพ่อธัมมะ หรือหลวงพ่อทัตตะ ซึ่งแต่ละรูปก็จบการศึกษาสูงๆ เขาเองก็จะพูดคุยกันได้อย่างสนิทใจ ยายไม่รู้หนังสือ เพราะฉะนั้นยายก็ต้องการยกพระของยายให้สูงยิ่งๆ ขึ้นไป

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-7.jpg

           ในช่วงต้นๆ อุบาสกที่มาอยู่วัด ยายถึงยํ้านัก ยํ้าหนาว่า อย่างน้อยต้องเรียนให้จบปริญญาตรีเสียก่อนถึงจะบวชให้ เพราะการเผยแผ่ธรรมะ จะทำได้อย่างกว้างขวาง ใครๆ ก็จะตำหนิไม่ได้ว่า มาอาศัยศาสนาเพียงฝ่ายเดียว แต่จะมาให้พระศาสนาได้อาศัยด้วย ท่านวางแผนไว้ถึงขนาดนี้

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-6.jpg

          คุณยายเหมือนนายท้ายคอยคัดหางเสือเรือ ให้นาวาลำนี้คือวัดพระธรรมกายไปสู่เป้าหมายที่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นอุบาสกเด็กวัด หรือพระก็ตาม ท่านคอย ให้ข้อคิด ให้คำสอน ให้กำลังใจว่า อย่างนี้ดี ทำเถอะ อย่างนี้ทำแล้วได้บุญมาก ได้บุญสะอาด อย่างนี้ไม่ดี อย่าทำเลย ทำ แล้วได้บุญปนกิเลส ได้ไม่คุ้มเสีย คนนี้ควรคบ คนนี้ไม่ควรคบ แล้วท่านจะพยายามมองสอดส่องให้อยู่ในสายตาดลอด ถึงแม้จะไม่ได้เป็นผู้บริหารโดยตรงแต่ทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ในสายตาท่านตลอด เรียกว่า ท่านอยากจะให้พระที่เป็นลูกศิษย์หรืออุบาสกที่เป็นศิษย์ตามๆ กันมานั้น ได้ไปสู่หนทางที่ถูกต้อง

          บางวันคุณยายได้ยินได้ฟังอะไรมา ก็มักจะเรียกอาตมาเข้าไปคุย หรือมาคุยกับอาตมาที่โต๊ะทำงานบ้าง ท่านมักจะใช้คำว่า พระหมูมานี่ ยายจะเล่าอะไรให้ฟัง ถ้านํ้าเสียงท่านสดใสร่าเริง ก็ เออ เราจะได้ฟังของดีๆ แต่ถ้าเสียงท่านฟังแข็งๆ แสดงว่า ท่านคงไปอบรมใครมา แล้วก็จะถ่ายทอดให้อาตมาต่ออีก คือว่าได้ฟังเบิ้ลอีกทีหนึ่ง ท่านบอกว่า ยายจะพูดให้ฟังบ่อยๆ จะได้ไม่ลืม เอาไว้สอนคนอื่นต่อไป

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-8.jpg

          มีวันหนึ่งท่านนิมนต์อาตมาไปหา แล้วเอามือป้องปากด้วย ท่านมานี่ ยายจะคุยอะไรให้ฟัง ท่านบอกว่า ตอนเช้าหลวงพ่อธัมมะฉันภัตตาหารเช้าเสร็จ หลวงพ่อท่านก็ปนรำพึงกับยายว่า คนของเราไม่พอ ท่านต้องใช้คนข้างนอกเสริม หมายถึง อาจจะเป็นอุบาสก อุบาสิกา ข้างนอกวัดแหละที่ไม่ใช่เด็กวัด ใช้ให้เขาช่วยทำงานด้วยความปรารถนาดีหลวงพ่ออยากให้เขาได้บุญ ได้สมบัติไปในภพเบื้องหน้า แล้วงานของเราก็จะสำเร็จเร็วขึ้นด้วย แต่บางคนก็งอแงบ้าง บางคนก็ทำไม่จริงบ้าง ทำๆ เล่นๆ ทำๆ หยุดๆ ทำบ้างไม่ทำบ้าง หงุดหงิดกันเองบ้าง ทะเลาะกันเองบ้าง อะไรทำนองนั้น

         หลวงพ่อท่านว่า เราเองก็มุ่งจะเอาแต่งานให้เสร็จไปเร็วๆ ก็เจอแต่คนไม่เอาจริงอย่างนี้ หลวงพ่อรำ พึงให้ยายฟัง เพราะบางทีช่วงเช้า หลวงพ่อฉันภัตตาหารที่กุฏิคุณยายหลังเก่า (อาคารปรนิมมิตวสวัตดี) คุณยายนั่งรับประทานอาหารเช้าอยู่ที่อาสนะข้างล่าง ยายก็บอกหลวงพ่อไปว่า หลวงพ่อ คนเราแต่ละคนนะ เกิดมามันเอาบุญติดตัวมาไม่เท่ากันหรอก บางคนก็เอามามาก บางคนก็เอามาน้อย ไอ้คนที่เอาบุญมามาก มันก็สอนตัวเองได้ อบรมตัวเองได้ เราก็เหนื่อยน้อยหน่อย แต่คนไหนที่มีบุญมาน้อย เขาเอาบุญติดตัวมาน้อย เราก็ต้องสอนมากหน่อย เพราะคนพวกนี้มันลืมเก่ง ได้หน้าลืมหลัง เขาสอนตัวเองไม่ได้ เราก็ต้องเหนื่อยหน่อย

          ถ้าเราจะใช้เขา เราก็ต้องทุ่มบุญให้เขา เขาถึงจะทำได้ บางคนพอเก่งขึ้นมาหน่อยก็ใช้ความเก่งของตัวเองสร้างความดี เป็นบุญเป็นกุศลติดตัวเขาไปแหละ แต่บางคนพอเก่งขึ้นมาหน่อยก็ลืมตัว มีฤทธิ์มาก ก็มีของแถมให้หลวงพ่อต้องปวดหัวเดือดร้อนอีกนั่นแหละ เพราะฉะนั้นก็ ต้องเลือกคนใช้งานหน่อย คนที่มีพื้นฐานมีบุญมาน้อย เราจะให้ของดีอะไรไป เขาก็รับไม่ค่อยได้ หรือรับได้ก็ได้อย่างฉาบฉวย เหมือนลิงได้แก้ว หรือไก่ได้พลอย เขามองไม่เห็นคุณค่า

641215_%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B2-9.jpg

          ยายก็บอกหลวงพ่อไปอย่างนี้ แล้วยายก็มาเล่าให้ท่านฟ้ง แล้วก็บอก ยายนึกขำๆ นะ นี่เราคุยกัน ๒ คน นะพระหมู ท่านคุยไป หัวเราะไป ท่านบอกว่า ยายนึกถึงตอนยายเด็กๆ ตอนนั้นบ้านอยู่นครชัยศรี บ้านยายอยู่ริมแม่นํ้า ยายเลี้ยงหมาเอาไว้ ๒ ตัว ชื่อไอ้เขียวกับไอ้แดง ตัวผู้ทั้งคู่ ยายไม่เลี้ยงหมาตัวเมีย ไอ้เขียวกับไอ้แดงมันก็เล่นของมันทั้งวัน ไปที่ไหนๆ คลุกฝุ่นมามอมเชียว บางทีทั้งหมัดทั้งเห็บเต็มตัวนั่งเกาทั้งวัน บางครั้งยายก็สงสารมัน ปรารถนาดี เออ อาบนํ้าให้มันสักหน่อยเผื่อมันจะสะอาดขึ้นบ้าง แต่พออาบนํ้าให้มัน เอานํ้าราดเข้าไป ปรากฏว่า มันสะบัดเปียกเราหมด กว่าจะอาบนํ้าให้มันเสร็จ ๒ ตัวนี้ ทั้งคนทั้งหมาเปียกหมด ท่านพูดแล้วท่านก็ขำๆ

          แล้วยิ่งร้ายกว่านั้น พอตัวมันสะอาด เผลอแพลบเดียว มันไปคลุกขี้ฝุ่นอีกแล้ว มันไม่ได้นึกถึงความปรารถนาดีของเราเลย นี่ยายคุยสนุกๆ นะ คุยกันสนุกๆ ๒ คน ยายไม่ได้ว่าใครนะ อย่าให้ยายบาป ไม่ได้กระทบใครนะ ยายนึกถึงตอนเด็กๆ เท่านั้นแหละ ว่ามันเป็นอย่างนี้ ยายเจอมาอย่างนี้ 

          คุณยายก็พูดต่อ เด็กๆ ที่หลวงพ่อท่านส่งออกไปบอกบุญนี่นะ คนที่เขาตั้งใจเอาบุญมันก็มีอยู่ พวกนี้ก็จะได้บุญมาก มันก็จะแบกบุญของมันไปเยอะแยะแหละ แต่บางคนพอบอกบุญได้เยอะๆ สักหน่อย ก็เที่ยวเอาความเก่งไปงัดข้อกับคนอื่น ไปข่มคนอื่นบ้าง มันก็เลยเกิดเรื่องหงุดหงิดกันเองน่ะแหละ เขาคงไม่รู้หรอกว่า ที่เก่งมาได้เพราะอะไร พูดแล้วท่านก็เอามือนี้ไปที่พัดลม พระหมูดูพัดลมนั้นสิ พัดลมมันติด มันเป่าลมได้ หมุนได้ ลองเจ้าของไปดึงปลั๊กไฟออกสิ มันหมดฤทธิ์เลยนะ ท่านชี้ให้ดูง่ายๆ ดึงปลั๊กออก ก็เหมือนของที่ตายแล้วน่ะแหละ

จากหนังสือ เกิดด้วยสองมือยาย 

พระรังสฤษดิ์ อิทฺธิจินฺตโก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.024323733647664 Mins