บรรพชิต คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่

วันที่ 12 เมย. พ.ศ.2566


บรรพชิต
ควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า
คุณวิเศษของเรามีอยู่หรือไม่

ที่จะให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน
ในเวลาเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง

บรรพชิตพึงพิจารณาเนือง ๆ ว่า ญาณทัสสนะวิเศษอันสามารถกําจัดกิเลส เป็นอริยะ คือ อุตตริมนุสสธรรม อันเราได้บรรลุแล้วมีอยู่หรือหนอ ที่เป็นเหตุให้เราผู้อันเพื่อนพรหมจรรย์ถามแล้ว จักไม่เป็นผู้เก้อเขินในกาลภายหลัง

อตฺถิ นุ โข เม อุตฺตริมนุสฺสธมฺมา อลมริยญาณทสฺสนวิเสโส อธิคโต โสหํ ปจฺฉิเม กาเล สพฺรหฺมจารีหิ ปุฏโฐ น มงฺกุ ภวิสฺสามิ

660412_01.jpg

       ญาณทัสสนะ หมายถึง ความรู้แจ้งเห็นแจ้ง คือ ทั้งรู้ทั้งเห็น สภาวธรรมตามความเป็นจริง เห็นไปถึงไหนก็รู้ไปถึงนั่น คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะนี้ สามารถทําให้บุคคลธรรมดาก้าวสู่ความเป็น พระอริยบุคคลได้
       อุตตริมนุสสธรรม แปลได้ ๒ นัย คือ
       ๑. ธรรมของมนุษย์ผู้ยวดยิ่ง คือ บุรุษผู้ประเสริฐสุด ซึ่ง ได้แก่ธรรมของผู้ได้ฌาน และพระอริยเจ้าซึ่งเป็นมนุษย์ที่ยิ่งยวด เป็นมนุษย์ชั้นอุกฤษฏ์

       ๒. ธรรมอันยิ่งยวดที่ประเสริฐกว่ามนุษยธรรม ธรรมที่ล่วงเลยพวกมนุษย์ไป มนุษยธรรม คือ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ กุศล กรรมบถ ๑๐ แต่ธรรมนี้วิเศษยิ่งกว่ามนุษยธรรมนั้น และธรรมนี้ ล่วงเลยพวกมนุษย์ไปให้ลุถึงความเป็นพรหมหรือพระนิพพาน

660412_02.jpg

       อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน อภิญญา วิชชา มรรค ผล เป็นต้น
       ภิกษุควรพิจารณาว่า อุตตริมนุสสธรรมของเรานั้นมีอยู่ คือ เป็นอยู่ในสันดานของเราหรือไม่ ญาณทัสสนะอันบริสุทธิ์ของพระ ธรรมกายในตัว เราได้บรรลุแล้วหรือไม่ เพราะเหตุผล ๒ ประการ คือ 
       ๑. เมื่อถูกเพื่อนผู้ร่วมประพฤติพรหมจรรย์ถาม ก็ไม่คอตกเก้อเขิน เพราะเราเข้าถึงพระธรรมกายแล้วจริง
       ๒. เมื่อถึงคราวต้องหลับตาลาโลกก็มีพระธรรมกายนําทาง ไป แต่ถ้ายังไม่เข้าถึง ก็ต้องรีบปรารภความเพียร จะได้ไม่คอตก เก้อเขิน อับอาย เมื่อถูกถาม

สรุปอานิสงส์ของการพิจารณาเนือง ๆ
       ๑. เพิ่มพูนสมณสัญญา บริหารสรีระและบริขารด้วยความ สันโดษ เสงี่ยมเจียมตน ละความขัดเคืองใจและความถือตัวลงได้
       ๒. ไม่หลงตัวเพราะเขากราบไหว้ กระทําสักการะ ประพฤติ สงบเสงี่ยมเจียมตน ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลแก่ตน และแก่ญาติโยมผู้ถวายปัจจัยสี่มาด้วยความศรัทธา
       ๓. มีกิริยามารยาทอันงดงามสมควรแก่ความเป็นนักบวช มี สติสัมปชัญญะ สามารถทําสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ และปัญญาให้ บริบูรณ์ขึ้นได้ เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของญาติโยม
       ๔. - ๕. ศีลจะถึงความบริบูรณ์รอบด้าน แม้ตนเองระลึกถึง แล้วก็เกิดความปลื้มปีติ และผู้รู้พบเห็นแล้วก็ติเตียนมิได้ ย่อมเกิดหิริ คือ ความละอายที่เกิดขึ้นในใจตนเอง และโอตตัปปะ คือ ความเกรง กลัวบาป ความกลัวการติเตียนจากผู้อื่น ซึ่งหิริโอตตัปปะที่เกิดขึ้น จะทําให้เกิดความสํารวมในทวารทั้ง ๓ คือ กายทวาร วจีทวาร และ มโนทวาร ความสํารวมในทวารทั้ง ๓ นี้ย่อมทําให้จตุปาริสุทธิศีล บริบูรณ์ บรรพชิตผู้ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เจริญวิปัสสนาแล้ว จะ สามารถบรรลุอรหัตผลได้
       ๖. เมื่อเกิดความพลัดพรากจะสามารถทําใจได้ทัน ใจจะไม่ เสียความเป็นกลาง สามารถมองสิ่งทั้งหลายตามสภาวะความเป็นจริงได้ เกิดมรณานุสติระลึกถึงความตายได้ จึงเป็นผู้ไม่ประมาท มีความบริสุทธิ์กาย วาจา และใจยิ่ง ๆ ขึ้นไป
       ๗. บรรพชิตที่พิจารณาถึงความที่เรามีกรรมเป็นของตนอยู่ บ่อย ๆ ย่อมเว้นจากการทําบาป ทําแต่กรรมดี หมั่นกลั่นใจให้ใส อัน เป็นเครื่องต้านทานความชั่ว และอาศัยกรรมดีนั้นเป็นที่พึ่งได้ทั้ง ในโลกนี้และโลกหน้า
       ๘. มีความไม่ประมาทในการบําเพ็ญสมณธรรม กุศลธรรม เพิ่มพูนอยู่เป็นนิตย์
       ๙. ทําให้เป็นผู้ไม่คลุกคลีกับหมู่คณะมากเกินความจําเป็น หาเวลาปลีกตัวไปในที่สงบ กระทําวิเวก ๓ คือ กายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวกให้เจริญยิ่งขึ้น
       ๑๐. เกิดความอุตสาหะในการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อเข้าถึง พระธรรมกายในตัว และอาศัยพระธรรมกายในตัวกําจัดกิเลส ให้ เข้าถึงอุปธิวิเวกได้ในที่สุด

บทส่งท้าย
       ในอภิณหปัจจเวกขณธรรม ๑๐ ข้อนั้น ๓ ข้อต้น คือ
       ๑. เราเป็นผู้มีเพศต่างจากคฤหัสถ์
       ๒. ชีวิตของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
       ๓. มารยาทอย่างอื่นอันเราควรทํานั้นมีอยู่
       เป็นสมณสัญญา คือ ความกําหนดหมายรู้ที่เกิดขึ้นแก่ สมณะโดยตรง ที่พระบรมศาสดาตรัสไว้ในสมณสัญญาสูตร เพื่อปลูกจิตสํานึกของความเป็นสมณะว่า “เราเป็นผู้สงบจากบาป การกระทําใด ๆ ของเราสมกับความเป็นผู้สงบจากบาปหรือไม่” หากภิกษุใดหมั่นทําให้บริบูรณ์แม้เพียง ๓ ข้อนี้ ก็จะมีอานิสงส์ให้ ได้คุณธรรมเบื้องสูง ๗ ประการ คือ
       ๑. เป็นผู้มีความสม่ําเสมอในการปฏิบัติและรักษาสิกขาบท ทั้งหลายได้อย่างต่อเนื่อง
       ๒. เป็นผู้ไม่โลภมาก
       ๓. เป็นผู้ไม่พยาบาท
       ๔. เป็นผู้ไม่ถือตัว
       ๕. เป็นผู้ใคร่ในการศึกษา
       ๖. เป็นผู้มีการพิจารณาในปัจจัยสี่ทั้งหลาย ถึงความจําเป็น ต่อชีวิตว่า ปัจจัยเหล่านี้มีประโยชน์เช่นนี้ แล้วจึงบริโภค
       ๗. เป็นผู้ปรารภความเพียร

       เมื่อสามัญสํานึกในความเป็นบรรพชิตทั้ง ๓ ข้อข้างต้นมี ความสม่ําเสมอดีแล้ว จะเป็นฐานให้การปฏิบัติในข้ออื่น ๆ ดียิ่งขึ้น ไปด้วย ศีลทั้งหลายก็จะได้รับการคุ้มครองรักษาไว้เป็นอย่างดี แม้ตนเองระลึกถึงก็จะมีแต่ปีติปราโมทย์ ไม่อาจติเตียนศีลของตนเอง ได้ และผู้รู้ทั้งหลายก็ไม่อาจติเตียนศีลของเราได้ คุณธรรมคือ หิริและ โอตตัปปะจะเพิ่มพูน มีความละอายชั่วเกรงกลัวต่อบาปมากยิ่งขึ้น ความมีเยื่อใยในร่างกายของตนและความผูกพันต่อคน สัตว์ และสิ่งของจะลดน้อยลง เพราะได้พิจารณาถึงความพลัดพรากอยู่บ่อยๆ
       อีกทั้ง ยังเข้าใจในเรื่องกรรมเป็นอย่างดีว่า สัตว์ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน กรรมใดที่ตนเองทําไว้ ไม่ว่าจะดีหรือชั่วก็ตาม ย่อมส่งผลต่อตนเองทั้งในภพนี้และภพหน้า จึงหมั่นละกรรมชั่วทําแต่กรรมดี มีความปีติปราโมทย์ในกรรมดีของตนที่เพิ่มพูนยิ่งขึ้น ทุก ๆ วัน
       ภิกษุเช่นนี้ชื่อว่า ไม่ปล่อยวันคืนให้ล่วงไปโดยเปล่าประโยชน์ มักหลีกเร้นไปสู่สถานที่วิเวก ทํากายวิเวก จิตวิเวก และอุปธิวิเวก ให้เจริญขึ้น จิตรวมแน่วแน่เป็นเอกัคคตาได้ง่าย และอาจบรรลุ คุณวิเศษเบื้องสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไปได้
       ฉะนั้น บรรพชิตทั้งหลายจึงควรพิจารณาและปฏิบัติธรรม ทั้ง ๑๐ ประการนี้เป็นประจํา เพื่อเป็นประโยชน์ให้แก่ตนเองและ ผู้อื่น และเป็นประโยชน์ให้กับพระพุทธศาสนาได้เจริญงอกงาม ไพบูลย์ยิ่ง ๆ ขึ้นไปตลอดกาล

 

 

บทความจากหนังสือ บรรพชิตมหาพิจารณา สำนึกของพระเเท้
ดาวน์โหลดหนังสือเล่มนี้ (ไฟล์ PDF) ได้ที่นี่

บรรพชิตมหาพิจารณา สำนึกของพระเเท้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.042745582262675 Mins