การปฏิบัติวิปัสสนา

วันที่ 16 ตค. พ.ศ.2566

BL-16-10-66.jpg

๖.๓ การปฏิบัติวิปัสสนา

           ๑. เริ่มต้นเหมือนการเจริญสมถภาวนา
                     ๑.๑ คือต้องรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
                     ๑.๒ ละปลิโพธ เครื่องกังวลใจทั้ง ๑๐ ประการ
                     ๑.๓ ต้องมีครูอาจารย์เป็นกัลยาณมิตร ผู้มีคุณสมบัติที่ดีครบ ๑๕ ประการ
                            (ในสมถกรรมฐาน กล่าวไว้แล้ว ๗ ประการ) อีก ๘ ประการคือ
                            สีละ เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งจตุปาริสุทธิศีล
                            สุตะ เป็นผู้รอบรู้ในพระไตรปิฎกอย่างกว้างขวาง
                            จาคะ เสียสละเพื่อศิษย์ได้ แม้เลือดเนื้อชีวิต
                            สติ เป็นผู้มั่นอยู่ด้วยสติ
                            ปัญญา เป็นผู้มั่นอยู่ด้วยปัญญา
                            สมาธิ เป็นผู้มั่นอยู่ด้วยสมาธิ
                            สัทธา เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธาแรงกล้า
                            วีริยะ เป็นผู้มั่นอยู่ด้วยความเพียร
           (ผู้เป็นครูอาจารย์หรือกัลยาณมิตรนั้นต้องประกอบด้วยการกล่าวกถาวัตถุ ๑๐ ประการ คือ คำพูดที่ให้พอใจต่อความมักน้อย พอใจในปัจจัย ๔ ที่มีอยู่ เกี่ยวกับกายวิเวก จิตวิเวก
                     - ไม่เกี่ยวในทางโลกียสุข
                     - ให้มีความเพียรในการปฏิบัติ
                     - เกี่ยวกับการปฏิบัติศีล
                     - เกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิ
                     - เกี่ยวกับการภาวนากิจ
                     - เกี่ยวกับการแสดงผลญาณ
                     - เกี่ยวกับปัจจเวกขณญาณ พิจารณามรรค ผล นิพพาน และกิเลสที่ยังเหลืออยู่)
                     ๑.๔ ต้องมีสัปปายะ ๗ อย่าง คือ
                     ก. สถานที่อยู่ ประกอบด้วยเหตุ ๕ อย่าง
                     - ไม่มีคนพลุกพล่าน
                     - ไม่มียุงรบกวน
                     - มีรั้วรอบขอบชิด
                     - มีสถานที่จงกรมเปลี่ยนอิริยาบถ
                     - มีอากาศดี ทั้งพัดผ่านถ่ายเทสะดวก
                    - มีน้ำใช้น้ำดื่มสมบูรณ์ อาจจะเป็นราวป่า โคนต้นไม้ หรือเรือนว่าง ก็ได้ขอให้เป็นที่สงบสงัด ปราศจากสรรพสำเนียงสรวลเสเฮฮาของผู้บริโภคกาม
                     ข. เรื่องอาหาร ให้แสวงหาบริโภคได้ตามสมควร ไม่กันดาร การแสวงหาไม่ลำบาก
                     ค. เป็นที่ถ้าหากจําเป็นต้องพูดคุยกันบ้าง ก็เป็นเรื่องอยู่ในกถาวัตถุ ๑๐
                     ง. บริบูรณ์ด้วยโภชนาหาร
                     จ. มีอุตุ คือ ดินฟ้าอากาศ ความร้อนหนาว เป็นที่เหมาะต่อการปฏิบัติ
                     ฉ. เป็นที่มีผู้แสดงกถาวัตถุ ๑๐
                     ช. เป็นที่สะดวกในการปฏิบัติ เหมาะสมในการเคลื่อนไหว หรือเดินจงกรมเป็นต้น

            ๒. สำหรับผู้ปฏิบัติเอง ควรประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
                     - มีศรัทธาจริง มีอายุไม่น้อยกว่า ๗ ปี
                     - ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง
                     - เป็นผู้ไม่มีหนี้สิน
                     - ไม่มีโรคอันตราย โรคติดต่อ หรือสุขภาพไม่ดีพอในการทำความเพียร
                     - ไม่เป็นโรคจิต หรือเคยเป็นบ้ามาก่อน
                     - ไม่มีความผิด หนีอาญาแผ่นดิน หนีราชการ หรือมีคดีค้างอยู่ในโรงศาล
                     - ไม่เป็นคนที่มหาชนรังเกียจ ฯลฯ

             ๓. การเริ่มปฏิบัติ
                    ๓.๑ บูชาพระรัตนตรัย
                    ๓.๒ นมัสการรำลึกถึงองค์พระบรมศาสดา ผู้ประทานวิปัสสนากรรมฐาน
                  ๓.๓ ปฏิบัติให้เกิดศีลวิสุทธิ์ ถ้าเป็นพระภิกษุก็ปลงอาบัติหรือแก้ไขตามกําหนดกฎเกณฑ์ในพระวินัยให้เรียบร้อย ถ้าเป็นฆราวาสจึงสมาทานศีลเสียใหม่
                   ๓.๔ กล่าวถวายอัตตภาพร่างกายและชีวิตต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้เกิดความเพียรไม่ย่อหย่อน และเพื่อเป็นสัตยาธิษฐานให้ได้กำลังใจ
                    ๓.๕ กล่าวการยอมตัวทั้งกายและใจต่อผู้เป็นครูอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน
                    ๓.๖ ขอกรรมฐานจากผู้สอน
                   ๓.๗ เข้าสู่ห้องหรือสถานที่ปฏิบัติที่เตรียมไว้ บูชาคุณของพระศรีรัตนตรัยอีกครั้ง น้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ตลอดจนคุณของบิดามารดา ครู อุปัชฌาย์ อาจารย์และผู้มีบุญคุณทั้งหลาย คุณของเทพเจ้าที่สถิตย์อยู่ยังสถานที่ใกล้ไกลต่าง ๆ ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ตลอดบรรพชิตที่ได้รักษาพระศาสนาสืบทอดตลอดมาแล้ว ตั้งสัจจอธิษฐานโดยมั่นคงว่า
                    "ถ้าไม่บรรลุผลที่ควรจะได้จะถึงแล้วเมื่อใด ด้วยกำลังแห่งความเพียร ด้วยกำลังอันบากบั่นไม่ท้อถอย ถึงแม้ว่าเนื้อทุกชิ้น โลหิตทุกหยด จะเหือดแห้งไป เหลืออยู่แต่เนื้อเอ็น กระดูก ก็ตามที เมื่อนั้นเราจะสละกำลังทุกส่วน เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย คุณของผู้มีคุณ คุณของเทวดา ตลอดความสัตย์ความจริงที่ตั้งใจไว้นี้ จงมาเป็นพลวปัจจัย และคุ้มครองป้องกันอันตรายทั้งปวง ให้การปฏิบัติเห็นธรรม รู้ธรรม ตามคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เทอญ"
                    ๓.๔ อธิษฐานเสร็จแล้ว ให้แผ่เมตตาแก่ตนเองและผู้อื่นตลอดสรรพสัตว์ทั่วไป
                    ๓.๕ ในขณะปฏิบัติมีข้อห้ามที่ต้องพึงสังวรดังนี้
                        - ห้ามหยุดพักการปฏิบัติ เว้นไว้แต่เผลอหรือหลับ
                        - ห้ามพูดกับคนภายนอก ยกเว้นผู้สอน หากจำเป็นต้องพูด ให้พูดแต่น้อยไม่ต้องมองหน้า สำรวมตั้งสติกำหนดการเคลื่อนไหวของปากทุกคําพูด
                        - ห้ามทำกิจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ไม่จำเป็น เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ เป็นต้น
                        - ห้ามนอนหลับกลางวัน กลางคืนนอนน้อย เพียรมาก
                        - ห้ามของเสพติดทุกชนิด
                        - ห้ามพูดกับผู้ปฏิบัติด้วยกัน
                    ส่วนข้อปฏิบัติมี
                            - ต้องไม่อยู่โดยปราศจากอาจารย์
                            - ต้องรักษากรรมฐานที่อาจารย์ให้
                            - ต้องผูกจิตไว้ในการเจริญสติ และตั้งอยู่ในอปัณณกะปฏิปทา ปฏิบัติไม่ผิด ๓ อย่าง มี

                    อินทรีย์สังวร สำรวมอินทรีย์ทั้ง 5 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มีสติรู้ทันขณะเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ และธรรมารมณ์ รู้ทันทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่งนอน ตู้เหยียด เคลื่อนไหว เป็นต้น ไม่ให้เลยไปถึงยินดียินร้ายต่ออารมณ์ที่มากระทบ
                    โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการกินอาหารพอสมควร ไม่มากไม่น้อย
                    ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียร เพื่อจะชำระใจให้หมดจด ไม่เห็นแก่นอนมากนัก

                     ๔. การลงมือปฏิบัติ ด้วยวิธีตั้งสติรู้ทันปัจจุบันของรูปนาม เริ่มต้นที่อิริยาบถใหญ่ ๆ ก่อน แล้วจึงค่อยให้ละเอียดขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
                     ระยะที่หนึ่ง อันเป็นระยะแรก เริ่มด้วย อิริยาบถ ๔
                     ขณะนั่ง (การนั่ง เป็นรูป การรู้ว่านั่ง เป็นนาม) เอาสติรู้ให้ทันโดยตั้งสติไว้เฉพาะที่รูปนั่ง กำหนดรู้ว่า "นั่ง”
                  ขณะยืน (การยืน เป็นรูป การรู้ว่ายืนเป็นนาม) เอาสติรู้ให้ทัน โดยตั้งสติไว้ที่รูปยืน กำหนดรู้ว่า ยืน (ควรเก็บมือไว้ข้างหน้า หรือข้างหลัง สายตา มองชั่วระยะ ๓ ก้าว เพื่อป้องกันจิตไปรู้รูปอื่น)
                     ขณะเดิน (การก้าวไปเป็นรูป การรู้ว่าก้าวเป็นนาม) เอาสติรู้ให้ทัน โดยตั้งสติไว้ที่รูปก้าวกำหนดรู้ ว่าก้าว (สายตามองต่ำเพียงชั่วแอก)
                     ขณะนอน (การนอนเป็นรูป การรู้ว่านอนเป็นนาม) เอาสติรู้ทัน โดยตั้งสติไว้ที่รูปนอนกำหนดรู้ว่านอน

                     การกำหนดในอิริยาบถทั้ง ๔ นี้ ถ้าในระยะแรกกระทำได้ยาก ใจคอยฟุ้งซ่านอย่างหนัก จะใช้วิธีนั่งหลับตากำหนดลมหายใจเข้าออกบ้างก็ได้ โดยตั้งสติไว้ที่จมูก เมื่อลมหายใจเข้าออกกระทบตรงจมูก ให้รู้ทันว่า การที่ลมหายใจกระทบจมูกเป็นรูป การรู้ว่ากระทบเป็นนาม กระท่าจนกว่าจะหายฟัง จึงกำหนดในอิริยาบถต่อไป

                     ระยะที่สอง คงกระทำตามระยะที่หนึ่งและเพิ่ม
                   ขณะพูด (การเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดการเปล่งคำพูดเป็นรูป การรู้ว่าพูดเป็นาม) สติรู้ทันทุกคําพูดตั้งสติไว้ที่ขากรรไกรล่าง ถ้าขึ้นอ้าลง กำหนดรู้ว่า พูด
                     ขณะเคี้ยว (อาการเคี้ยวเป็นรูป การรู้ว่าเคี้ยวเป็นนาม) มีสติรู้ทัน ตั้งสติไว้ที่การเคลื่อนไหวของขากรรไกร กำหนดรู้ว่าเคี้ยว

                     ระยะที่สาม ทำตามระยะที่หนึ่ง สอง และเพิ่ม ขณะเห็น สีเป็นรูป เห็นเป็นนาม ฯลฯ

                     ระยะที่สี่ ทำตามระยะ ๑-๒-๓ และเพิ่ม ขณะได้ยิน เสียงเป็นรูป ได้ยินเป็นนาม ฯลฯ

                     ระยะที่ห้า ทำตามระยะ ๑-๒-๓-๔ และเพิ่ม ขณะรู้สึกถูกต้อง เครื่องกระทบกาย เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เป็นรูป รู้สึกเป็นนาม ฯลฯ

                     ระยะที่หก ทำตามระยะ ๑-๒-๓-๔-๕ และเพิ่ม ขณะรู้กลิ่น ขณะรู้รส ฯลฯ

                     ระยะเจ็ด ทำตามระยะ ๑-๒-๓-๔-๕-๖ และเพิ่ม ขณะ เหยียด เคลื่อนไหว เหลียว กลืน ฯลฯ

                 ระยะที่แปด ท้าตามระยะ ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗ และเพิ่ม ขณะปวด สบาย ไม่สบายเฉย ๆ ขณะรู้สึกอยากได้ รู้สึกไม่ชอบ ง่วงเหงาหาวนอน ฟุ้งซ่าน สงสัยลังเลใจ เผลอ และขณะนึกคิด

                     ระยะที่เก้า ทำตามระยะ ๑-๒-๓-๔-๕-๖-๗-๘ และเพิ่ม
                            ๙.๑ เวลาตื่นนอน มีขณะตื่น ลืมตา เห็น ขยับ พลิก นึกจะลุก พลิก ยกมือเคลื่อนมือ มือถูกบุ้ง จับกุ้ง ยกมุ่ง เลิกบุ้ง ลุกขึ้น นั่ง ขยับ ฯลฯ ทำการกำหนดไปทุก ๆ ขณะที่เคลื่อนไหว
                            ๙.๒ เวลาล้างหน้า มี ขณะนึกจะล้าง เห็นขันน้ำ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน เหลียว นั่ง ลุก ยืน ก้าว เห็น นั่ง เอามือออก ยื่นมือไป ถูกขันน้ำ จับ ยก ไป ลง ถึง ปล่อย เปิดน้ำ ฯลฯ
                               ๙.๓ เวลาแปรงฟัน ฯลฯ
                               ๙.๔ เวลาอาบน้ำา ฯลฯ
                               ๙.๕ เวลาแต่งกาย ฯลฯ
                               ๙.๖ เวลารับประทานอาหาร ฯลฯ
                               ๙.๗ เวลาถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ฯลฯ
                               ๙.๘ เวลาเข้านอน ฯลฯ
                               ๙.๙ เวลากราบครูอาจารย์ ฯลฯ

                     ระยะที่ ๑๐ ปฏิบัติตามระยะที่ ๑ ถึงที่ ๔ จนมีสติรู้ทันโดยสมบูรณ์ อาศัยความเพียรกับสติเป็นกำลังใหญ่ รู้ทันพร้อมอยู่ทุกขณะ ในการกระทำดังนี้จำต้องอาศัยบัญญัติบริกรรม ควบคู่ไปด้วย
                     บัญญัติบริกรรม คือการกล่าวคำภาวนาในใจด้วยถ้อยค่าที่สมมติที่เรียกใช้กันอยู่ เช่น ยืนเป็นรูป การรู้ว่ายืนเป็นนาม ก็บริกรรมว่า “ยืนเป็นรูป เป็นนาม” หรือ “ยืนหนอ” ดังนี้เป็นต้น คำบริกรรมเหล่านี้ ในขณะที่สติยังอ่อนอยู่ จำเป็นต้องใช้ เพื่อเป็นที่จับของสติ พร้อมกับเป็นเครื่องกั้นจิตไม่ให้แลบไปสู่บัญญัติเหล่าอื่น เป็นทางนำให้เกิดขณิกสมาธิทำให้สติรู้เท่าทันแก่กล้ายิ่งขึ้น
                     เมื่อสติเข้าถึงสภาวะแท้ๆ และผู้ปฏิบัติบริกรรมได้คล่องแคล่วเองเป็นอัตโนมัติเมื่อนั้นการบริกรรมก็หมดความจำเป็น ควรละการบริกรรมลง แต่ถ้าหากพอละบริกรรมภาวนาลงแล้ว สตีกลับอ่อนลงก็ให้กระทำใหม่ได้ตามความจำเป็น พออินทรีย์แก่กล้าขึ้นอีก คือมีความเชื่อ ความเพียร สติ สมาธิ รู้สภาวธรรมชัด พึงละบริกรรมเหล่านั้นเสีย

                      ระยะที่ ๑๑
                      เมื่อสติปัญญาเข้าถึงสภาวะ รู้จักรูปนามในทัศนะที่เป็นจริง ปราศจากการคิดเอา เดาเอา หรือคาดคะเนเอา รู้ด้วยภาวนาญาณแท้ ๆ ละบัญญัติในโลกทั้งหมดลงได้ ทั้งละบริกรรมได้ด้วย ก็จะปรากฏรู้แจ้ง เห็นชัดเจนขึ้นในจิตใจว่า
                             ๑๑.๑ รูปนามทั้งสองนี้เป็นคนละอัน
                             ๑๑.๒ ผู้รู้รูปนาม ก็เป็นอีกอันหนึ่ง
                             ๑๑.๓ รูปนามทั้งสองนี้เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน คือ
                                      - ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เหล่านี้ รูปเป็นปัจจัยให้เกิดนาม
                                      - ทางใจ นามเป็นปัจจัยให้เกิดรูป
                             ๑๑.๔ รูปนามทั้งสองนี้เกิดขึ้นมาแล้วดับไปพร้อมกัน
                             ๑๑.๕ รูปนามดับไปพร้อมกับรู้สึกในใจว่า ไม่เที่ยงก็มี
                             ๑๑.๖ รูปนามดับไปพร้อมกับรู้สึกในใจว่า ทนอยู่ไม่ได้ก็มี
                             ๑๑.๗ รูปนามดับไปพร้อมกับรู้สึกในใจว่า บังคับบัญชาไม่ได้ก็มี
                      เมื่อเป็นเช่นนี้ ให้ประคองให้เห็นรูปนามดับไป ๆ พร้อมกับรู้ว่าไม่เที่ยง หรือทนอยู่ไม่ได้ หรือบังคับบัญชาไม่ได้ รู้ทันกันอยู่เสมอโดยไม่เผลอเลย เมื่อรู้จนชำนาญแล้วจึงเลิกประคองการตามรู้นั้น คงให้รู้แต่สภาวะ รูปธรรมนามธรรมดับไปพร้อมกับลักษณะที่ไม่เที่ยง หรือทนอยู่ไม่ได้ หรือบังคับบัญชาไม่ได้เท่านั้นตลอดไปนี้แล้ว

                     ระยะที่ ๑๒
                     เมื่อเห็นแจ้งชัดในรูปธรรมนามธรรมเป็นสภาวะล้วน ๆ ไม่มีบัญญัติเจือปนเช่น 
                     ความรู้แก่กล้าขึ้น จะเห็นแจ่มแจ้งว่า
                            ๑๒.๑ ตัวผู้รู้ก็ดับไปพร้อมกับรูปนามด้วยทุกขณะ
                            ๑๒.๒ จิตใจต่างไปจากปรกติ มีกำลังขึ้นอย่างแปลกประหลาด
                            ๑๒.๓ จิตใจเป็นทุกข์ อึดอัดคับแคบ
                     เมื่อเป็นดังนี้ เพียรให้ผู้รู้นั้นดับไป ๆ พร้อมกับรูปนามถี่ขึ้นเสมอ ๆ

                     ระยะที่ ๑๓
                     เมื่อเกิด ญาณความรู้ เข้าไปเห็นรูปนาม กับผู้รู้ เกิดดับพร้อม ๆ กัน นานเข้า ๆ เห็นแต่ผู้รู้ดับไป ๆ ติดกับรูปนามถี่ยิบจนคณานับไม่ไหว เหมือนกับพยับแดดหรือเม็ดฝนหรือเหมือนจับเม็ดกรวดเม็ดทรายหว่านฉะนั้น เห็นชัดแจ้งจริง ๆ ว่า

                            ๑๓.๑ รูปนามเกิดดับ เป็นระยะ ๆ เป็นจังหวะ ๆ ไม่ซ้อนกัน ถ้าเกิดทางทวารหนึ่งแล้วทางทวารอื่นไม่เกิด
                            ๑๓.๒ เห็นรูปนามทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ดับ
                           ๑๓.๓ เห็นรูปนามทางใจ ดับถี่มาก ก้าวไปก้าวหนึ่งจะเห็นการดับตั้งแต่ยกเท้าขึ้น ขณะพ้นพื้น ขณะเอาเท้าไป เอาลง ถูกพื้น เหยียบ นับไม่ถ้วน
                            ๑๓.๔ เห็นรูปนามที่หัวใจ เต้นชัดทุกขณะ
                            ๑๓.๕ เห็นรูปนามที่กำลังเกิดดับ ในทุกส่วนของร่างกาย ดับถี่ยิบชัดเจนในขณะใช้วิปัสสนาญาณดูตั้งแต่ศีรษะถึงพื้นเท้า
                           ๑๓.๖ เห็นรูปนามเกิดดับ ขณะหายใจสัมผัสจากปลายจมูกถึงปอด และปอด ต้นทรวงอกและท้องให้พองขึ้น แฟบลงชัดแจ้ง ดับถี่ยิบจนถึงที่สุดละเอียดที่สุดอยู่ทุกขณะ ดุจเห็นละอองลอยผ่านแสงแดดฉะนั้น

                     เมื่อเห็นเช่นนี้แล้วให้เพียรเพ่งดูแต่ดับ ดับ ดับ เสมอ แม้จิตใจจะมีอาลัยหวาดสะดุ้งก็อย่าได้เกรงกลัว ให้ดูรูปนามดับไปอยู่เช่นนั้นไม่ละวาง ถ้าละวางไปจับอารมณ์อื่น นอกจากรูปนามในขณะนี้ ให้ถือได้ว่าไม่ใช่หนทางถูกต้อง

                     ระยะที่ ๑๔
                  เมื่อวิปัสสนาญาณรู้แจ้งชัดในรูปธรรมนามธรรมดับไป ๆ พร้อมกันเช่นนี้ จะเกิดความรู้สึกขึ้นมาในจิตใจอย่างไม่เคยมีมาในกาลก่อน คือ
                            ๑๔.๑ เห็นรูปนามกับผู้รู้ดับไป ๆ รู้สึกเป็นภัย น่ากลัวที่สุด
                            ๑๔.๒ เห็นรูปนามกับผู้รู้ดับไป ๆ รู้สึกเป็นโทษที่สุด
                            ๑๔.๓ เห็นรูปนามกับผู้รู้ดับไป ๆ รู้สึกน่าเบื่อหน่ายที่สุด
                            ๑๔.๔ เห็นรูปนามกับผู้รู้ดับไป ๆ รู้สึกใคร่จะหนี
                            ๑๔.๕ เห็นรูปนามกับผู้รู้ดับไป ๆ รู้สึกหาทางหนี
                            ๑๔.๖ เห็นรูปนามกับผู้รู้ดับไป ๆ รู้สึกว่าหนีไม่พ้น จำเป็นต้องดูเฉย ๆ อยู่
                    เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วผู้ปฏิบัติต้องรวบรวมกำลังใจต่อสู้กับความท้อถอยความหวาดหวั่น พรั่นพรึง ใจสั่น ใจจะขาด มีอาการคล้ายคนจวนจะตาย จะมีอาการมากขนาดไหน ก็ต้องตั้งใจให้เข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ยอมสละชีวิตเลือดเนื้อ ติดอาลัยในโลกนี้เสีย เพียรเพ่งดูรูปนามที่ดับไปพร้อม ๆ กับมีลักษณะไม่เที่ยง หรือมีลักษณะทนอยู่ไม่ได้ หรือมีลักษณะบังคับบัญชาไม่ได้ จับเอาลักษณะอันใดอันหนึ่งใน ๓ อย่างตามความถนัด ปฏิบัติต่อไปไม่ย่อท้อ

                    ระยะที่ ๑๕
                   เมื่อเห็นรูปนามดับไป ๆ พร้อมกับความรู้ตัวว่าหนีไม่พ้น ต้องทนดูเฉยอยู่เช่นนั้น จนกำลังญาณความรู้สมบูรณ์ขึ้น มีอาการดังนี้เกิด
                           ๑๕ ๑ รู้สึกทุกข์ที่สุด อึดอัดคับแคบราวจะขาดใจ เหมือนอยู่ในหลุมที่มีดินทับถมหรืออยู่ในกองไฟ
                           ๑๕.๒ ไม่มีความอยากได้อะไรเลย ใจแห้ง น้ำลายแห้งผากเหมือนกับร่างกายปราศจากเลือดเนื้อ
                           ๑๕ ๓ จิตใจเปี่ยมไปด้วยความหวังเป็นที่สุดที่จะพ้นจากทุกข์นี้
                           ๑๕.๔ ญาณคือความรู้ที่เกิดขึ้นเฉียบแหลมคมกล้าเหมือนศาสตราอันคมกริบ
                   เวลาที่เกิดญาณเห็นรูปนามกับผู้รู้ดับไป ๆ ย่อมมีลักษณะ ๓ อย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มขึ้นเหมือนการวิ่งหนีสัตว์ร้าย เป็นไปตามลำดับขณะของวิถีชวนะจิตดังนี้
                    ขณะที่ ๑. รูปนามดับไป ๆ ไม่เที่ยงจริง
                    ขณะที่ ๒. รูปนามดับไป ๆ ไม่เที่ยงจริง เพิ่มแรงขึ้น ๆ อีก
                    ขณะที่ ๓. รูปนามดับไป ๆ ไม่เที่ยงจริง ๆ แรงที่สุด
                    ขณะที่ ๔. ไม่เห็นรูปนามแล้ว ความรู้สึกน้อมไปสู่ความดับของรูปนาม
                    ขณะที่ ๕ รูปนามและโลกนี้ดับหมด เหมือนความดับแห่งไฟดินระเบิด ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีทุกข์ในที่เกิด
                    ขณะที่ ๖ เห็นดับอยู่เช่นนั้น ไม่ใช่โลกนี้ ไม่ใช่โลกอื่น แต่เที่ยง
                    ขณะที่ ๗ เหมือนขณะที่ ๖
                    ขณะที่ ๘ และขณะต่อ ๆ ไป รู้สึกตัวว่ามาสู่โลกนี้ตามเดิม มีความรู้สึกในประสาทสัมผัสต่าง ๆ คืนมา มีใจเบา รูปนามละเอียดมาก
                 เมื่อถึงขั้นนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมสิ้นความสงสัย มีญาณรู้ชัดว่าถึงความดับไปของรูปนามแล้ว ดับทุกข์ทั้งปวงได้ ถึงสภาวะที่เที่ยงแท้คงทน เป็นสันติธรรมเรียกปรโมสุโข ตัดวัฏฏะลงได้จะเกิดอย่างมากอีกไม่เกิน ๗ ชาติเท่านั้น ปิดประตูอบายทั้ง ๔ เสียได้ พ้นจากมิจฉาทิฏฐิ
ทั้งปวง มีเบญจศีลอันบริสุทธิ์ มีสันติธรรมถาวรเป็นอารมณ์ ตั้งสติทำความเพียรรุดหน้าต่อไป ไม่มีถอยหลัง

                    ระยะที่ ๑๖
                    เมื่อปฏิบัติต่อไปก็จะเกิดญาณตามมาเป็นลำดับดังต่อไปนี้ คือ
                           ๑๖.๑ ญาณรู้รูปนามเกิดดับ ไม่เที่ยง ทนไม่ได้ บังคับไม่ได้
                           ๑๖.๒ ญาณรู้รูปนามดับไป ๆ
                           ๑๖.๓ - ๑๖.๘ เป็นเช่นเดียวกับ ระยะ ๑๕ มัคควิถีจิตก็จะเกิดขึ้นเช่นระยะที่ ๑๕ รวม ๔ ขณะ เป็นการก้าวพ้นโลกีย์ขึ้นสู่ความเป็นผู้เห็นความดับจากโลกนี้เป็นขั้นที่สองและพึงกระทำต่อในทำนองเดียวกัน จนดับจากโลกนี้เป็นขั้นที่สามและขั้นที่สี่ ย่อมรู้แจ้งเฉพาะคนว่าภพชาติสิ้นสุดลง อกุศลธรรมดับสิ้นไม่มีเหลือ ปราศจากสิ่งทั้งดีและไม่ดี

                  ระยะที่ ๑๗
                  ผู้ปฏิบัติที่พบความดับแล้วทั้ง ๔ ครั้ง สามารถเข้าอยู่ในความดับนั้นได้ ๒ วิธี วิธีที่หนึ่ง มีรูปนามเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยส่ง ปฏิบัติผ่านอารมณ์ในวิปัสสนาญาณจนกระทั่งขึ้นสู่ผลชวนะวิถี คือ
                         ขณะที่ ๑ เห็นรูปนามดับไปไม่เที่ยง
                         ขณะที่ ๒ เห็นรูปนามดับไปไม่เที่ยง แรงขึ้น
                         ขณะที่ ๓ เห็นรูปนามดับไปไม่เที่ยง แรงที่สุด
                         ขณะที่ ๔ เห็นรูปนามหายไป เข้าถึงความบริสุทธิ์ของจิต
                         ขณะที่ ๕ ความดับที่เคยเห็นมาปรากฏอีก
                         ขณะที่ ๖-๗ ความดับปรากฏอยู่เช่นนั้น
               ขณะจิตต่อไป ก็เพ่งเอาอารมณ์ดับนั้นเป็นอารมณ์เสมอไป ดับจากอารมณ์อื่นทั้งสิ้น ดับได้ตามกำหนดเวลาที่อธิษฐานไว้ โดยมีหลักดังนี้
               ๑. มีความปรารถนาจะอยู่ในความดับอันบรมสุขนั้น
               ๒. ผู้พบความดับครั้งที่ ๑-๒-๓-๔ สามารถกระทำได้ทั้งหมด
               ๓. อธิษฐานกำหนดเวลาเข้าอยู่ในความดับจาก ๑-๒-๓-๔-๕-๖ นาที ตลอดถึง ๑-๒-๓-๔-๕ ชั่วโมง ตลอดวัน คืน ก็ได้ตามความชำนาญและกำลังของสมาชิ
               ๔. กำหนดรูปนามตามลำดับญาณ จนความดับปรากฏทั้งนิมิตและรูปนามทั้งปวงดับหมดสิ้น
               ๕. ถือเอาความดับเป็นอารมณ์จนถึงอัปปนาสมาธิ มีความแน่แน่วอยู่ในความตับเป็นอารมณ์เดียวตามกำหนดเวลาที่อธิษฐานไว้ โดยมีองค์ฌานของปฐมฌานเข้าประกอบ
               ๖. เมื่อหมดอ่านาจของสมาธิ หมดเวลาก็ทิ้งอารมณ์ดิบ รับอารมณ์ในปัญจทวารตามเดิม

               วิธีที่สอง ไม่ใช่มีรูปนามเป็นอารมณ์ แต่ได้ฌานเป็นอารมณ์เป็นปัจจัยส่ง ให้เข้าอยู่ในความดับ ดับความรู้สึกทั้งหมดสิ้นเชิง ดับทั้งจิตและเจตสิกตลอด ๗ วัน โดยการเพ่งฌานเป็นอารมณ์ โดยมาจากวิธีนำกรรมฐานอันใดอันหนึ่งที่สามารถให้เข้าถึงปัญจมฌานได้มาปฏิบัติ บริกรรมจนเกิดอุคคหนิมิตติดตา บริกรรมไปจนเกิดปฏิภาคนิมิต ขยายนิมิตเป็นส่วน ๆ ออกได้ จนเป็นอุปจารสมาธิใกล้ต่อความเป็นฌาน แล้วเพ่งต่อไปจนเป็นอัปปนา สมาธิ มีองค์ฌาน คือวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เข้าประกอบ ข่มนิวรณ์มีกามฉันทะชอบใจในกามารมณ์ พยาบาท ความชัง นะมิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน อุทธัจจะกุกกุจจะความฟุ้งซ่าน รำคาญใจ วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย จนผ่านฌานต่าง ๆ คือ
                ๑. ผ่านปฐมฌาน        แล้วทิ้งเสีย ขึ้นทุติยฌาน
                ๒. ผ่านทุติยฌาน        แล้วทิ้งเสีย ขึ้นตติยฌาน
                ๓. ผ่านตติยฌาน        แล้วทิ้งเสีย ขึ้นจตุตถฌาน
                ๔. ผ่านจตุตถฌาน      แล้วทิ้งเสีย ขึ้นปัญจมฌาน
                ๕. ผ่านปัจมฌาน        แล้วทิ้งเสีย ขึ้นอรูปฌาน
                ๖. ผ่านอรูปฌาน อากาสานัญจายตนฌาน ขึ้น วิญญาณัญจายตนฌาน
                ๗. ผ่านวิญญาณัญจายตนฌาน ขึ้น อากิญจัญญายตนฌาน
                ๘. ผ่านอากิญจัญญายตนะฌาน ขึ้น เนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน

                เมื่อถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะแล้ว กำลังสมาธิอรูปฌานแรงมากจนถึงกระทำให้จิตละเอียดอ่อน สงบประณีต จำได้บ้าง จำไม่ได้บ้าง ดับสนิทลงทันทีเป็นเอกันตบรมสุข จิตเจตสิกดับหมดอยู่ได้ ๗ วัน ในท่าเดียว ถ้ายืนก็ยืนอยู่ตลอด ถ้านั่งก็นั่งตลอดทั้ง ๗ วัน ไม่ตายเวลานั้นจะเอาไฟมาเผาก็ไม่ไหม้ การเข้าสู่ความดับตามวิธีนี้เรียกว่า เข้านิโรธสมาบัติมีหลักดังนี้
                ๑. มีความปรารถนาจะเข้านิโรธ เพื่อหนีทุกข์จากรูปนามที่ได้รับอยู่
                ๒. ต้องได้อรูปฌานถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
                ๓. ผู้เข้า ต้องเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ที่ได้ฌานสมาบัติ ๘
                ๔. ทำวสี ชำนาญในสัมปทา ๔ คือ
                         - ชำนาญในการมีสมาธิและวิปัสสนาที่มีกำลัง
                         - ชำนาญในการระงับกายสังขาร วจีสังขาร และมโนสังขาร
                         - ชานาญในโสฬสญาณ
                         - ชานาญในฌานสมาบัติ ๘ มาก่อน
                ๕. จิตและเจตสิกดับหมด
                ๖. ตั้งอยู่ในความดับ หมดความรู้สึกใด ๆ ทั้งสิ้น ๗ วัน

                 ขณะเข้านิโรธอยู่ ใครจะเอาไปท่าอะไร เผาไฟ หรือฝังดิน ก็ไม่เป็นอันตราย เมื่อครบกำหนด ๗ วัน จะมีความรู้สึกคืนเป็นอย่างเดิม การที่ไม่ตาย ไม่เน่า ไม่เปื่อย ไม่เป็นอันตราย เพราะอำนาจของ นิโรธ และโอซาแห่งอาหารคุ้มครองไว้ เมื่อออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ จะรู้สึกหิว ผู้ใดได้ถวายทานที่ตนได้มาโดยสุจริต พร้อมด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ทั้งเทกาล ในเนื้อนาบุญคือพระอรหันต์ที่ออกจากนิโรธสมาบัติดังนี้ ผู้นั้นจะได้รับผลบุญในปัจจุบันทันตา

                  การปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้เรียกว่า "ผล" เป็นขั้นสูงสุดของการศึกษา
                         ชั้นที่หนึ่ง เรียกภาคปริยัติ เปรียบเหมือนชั้นประถม
                         ชั้นที่สอง เรียกภาคปฏิบัติ เปรียบเหมือนชั้นมัธยม
                         ชั้นที่สาม เรียกภาคปฏิเวธ เปรียบเหมือนชั้นอุดม
                   แต่ละขั้นต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ภาคปฏิเวธคือผล ต้องอาศัยการทดลองกระทำ
                   คือภาคปฏิบัติ ภาคปฏิบัติต้องอาศัยภาคทฤษฎีคือภาคปริยัติ
               ที่กล่าววิธีเจริญวิปัสสนาในตอนนี้ เป็นการเจริญแบบกำหนดรูปนาม โดยอนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเห็นไตรลักษณ์มากเท่าใด อนุสัยก็จะน้อยเบาบางลง จนดับสิ้นโดยไม่ต้องรอกาลเวลา

                    สรุป การเจริญวิปัสสนา ยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อันใดอันหนึ่งที่ถูกแก่อัธยาศัย อาสวะที่ไหลและหมักดองอยู่ คือ ทิฏฐาสวะ (อาสวะคือทิฏฐิ) กามาสวะ (อาสวะคือกาม) ภวาสวะ (อาสวะคือภพ) อวิชชาสวะ (อาสวะคือวิชชา) ก็จะถูกทำลายลง จะไหลเข้ามาหมักดองเหมือนกาลก่อนไม่ได้ อาสวะจะค่อยบรรเทาเบาบางไปทีละน้อย ๆ ด้วยอ่านาจของวิปัสสนาญาณ จนหมดสิ้นไป เมื่อสิ้นอาสวะขณะใด ผู้ปฏิบัติย่อมบรรลุสันติลักษณะอันเป็นลักษณะที่สงบดับจากทุกข์ทั้งปวง คือ พระนิพพาน โดยอาศัยญาณทั้ง ๑๖ ตามลำดับดังนี้
                          ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ            ญาณเห็นทั้งรูปทั้งนาม
                          ๒. นามรูปปัจจยปริคคหญาณ    ญาณเห็นปัจจัยของรูปนาม
                          ๓. สัมมสนะญาณ                     ญาณเห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม
                          ๔. อุทยัพพยญาณ                   ญาณเห็นรูปนามทั้งเกิดทั้งดับ
                          ๕. ภังคญาณ                           ญาณเห็นรูปนามดับไป ๆ
                          ๖. ภยตูปัฏฐานญาณ                 ญาณเห็นรูปนามเป็นภัย
                          ๗. อาทีนวญาณ                       ญาณเห็นรูปนามเป็นโทษ
                          ๘. นิพพิทาญาณ                      ญาณเห็นรูปนามน่าเบื่อหน่าย
                          ๙. มุญจิตุกัมยตาญาณ              ญาณที่ใคร่จะหนีให้พ้นไปจากรูปนาม
                        ๑๐. ปฏิสังขาญาณ                     ญาณหาทางหนีรูปนาม
                        ๑๑. สังขารุเปกขาญาณ              ญาณเห็นรูปนามตามเป็นจริงว่าหนีไม่พ้น จึงต้องทนเฉยอยู่
                        ๑๒. อนุโลมญาณญาณเห็นรูปนามตามกำลังกิจในอริยสัจยิ่งขึ้น
                        ๑๓. โคตรภูญาณญาณโอนโคตร หน่วงรู้พระนิพพาน
                        ๑๔. มัคคญาณญาณเห็นพระนิพพาน ๑ ขณะ
                        ๑๕. ผลญาณญาณเห็นพระนิพพาน ๒ - ๓ ขณะ
                        ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ                ญาณเห็นมัคค ผล นิพพาน และกิเลสที่เหลือ


ลักษณะ ๓*

                        เมื่อกล่าวว่า การเจริญวิปัสสนา คือการยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ต้องเข้าใจโดยถ่องแท้เสียก่อนว่า ไตรลักษณ์ คือ อะไร
                        ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะ ๓ ประการ
                        คำว่าลักษณะ หมายความว่า เป็นเครื่องหมายของสังขารธรรม
                       ดังนั้นทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นรูป หรือ นาม จะเป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต ทั้งภายในตัวภายนอกตัว ล้วนแต่จะต้องมีลักษณะทั้ง ๓ ประจำอยู่ครบถ้วนบริบูรณ์
                        ลักษณะหรือเครื่องหมาย ๓ อย่างนี้ คือ อนิจจตา ทุกข์ตา อนัตตา
                    อนิจจัง คือ ความสิ้นไป เสื่อมไป ดับไปอยู่เรื่อย ๆ อย่างติดต่อกันของสังขตธรรมเป็นความไม่เที่ยง เพราะว่ามีการวิปริตผิดแปลกเปลี่ยนไปด้วยความเกิดดับ เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมสิ้นดับไปไม่มีเหลือ
                        ทุกขัง คือ ความทนอยู่ไม่ได้ ต้องดับไปอยู่เรื่อย ๆ ติดต่อกันของสังขารธรรมต้องถูกเบียดเบียนบีบคั้นอยู่ร่ำไปด้วยการเกิดดับ
                       อนัตตา คือ ความไม่มีแก่นสาร ปราศจากเรา-เขา ที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการ ไม่เป็นไปตามอำนาจหรือกำหนดกฎเกณฑ์ของสิ่งใด ไม่มีเจ้าของมาบังคับบัญชาให้เป็นดังนั้นดังนี้

                     การยกรูปนามขึ้นสู่พระไตรลักษณ์ ก็คือ การใช้ปัญญาพิจารณากำหนดรู้เห็นลักษณะทั้ง ๓ ในรูปนามทั้งปวง ถ้าเป็นการพิจารณาอยู่เนือง ๆ ก็เรียกว่า อนุปัสสนา เรียกว่า อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา และอนัตตานุปัสสนา ซึ่งถ้ากล่าวใจความสำคัญมีเพียง ๓ นี้เท่านั้น ถ้ากล่าวให้กว้างขวางอย่างพิสดาร มี ๑๘ เรียกว่า มหาวิปัสสนา ๑๘ ดังที่เคยกล่าวไว้ในตอนการเจริญภาวนาเพื่อไปบังเกิดในกามสุคติภูมิตอนต้นครั้งหนึ่งแล้ว

 

อนุปัสสนา ๓**

                         ต่อไปนี้ จะกล่าวเรื่องอนุปัสสนาทั้ง ๓ และลำดับขั้นของญาณต่าง ๆ พอเข้าใจโดยง่าย

๑. อนิจจานุปัสสนา

                          อนิจจะ ได้แก่ ธรรมที่ไม่เที่ยง
                          อนิจจลักขณะ ได้แก่เครื่องหมายที่ทำให้รู้ว่า ไม่เที่ยง
                         อนิจจานุปัสสนา ได้แก่ ปัญญาที่พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในนามในรูป คือขันธ์ ๕ หรือกายใจอยู่เนือง ๆ ได้แก่ปัญญาที่อยู่ในจิตที่เป็นมหากุศลจิต มหากิริยาจิต ในขณะทำการกำหนดรู้รูปนามขันธ์
                         ลักษณะความเป็นอนิจจังนั้น มีเครื่องหมายให้รู้ได้ ๕ อย่าง คือ
                                ๑. มีการเกิด ดับ (อุปปาทวยวนตตตา)
                                ๒. มีการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่มีเหลือ (หุตวา อยาว)
                                ๓. มีการเปลี่ยนไป ไม่อยู่คงที่ (วิปริณาม)
                                ๔. มีการตั้งอยู่เพียงชั่วขณะ (ดาวกาลิก)
                                ๕. มีการปฏิเสธความเที่ยง คล้ายกับจะรับรองว่า ไม่เที่ยง (นิจจปฏิกเขป)
                         ลักษณะทั้ง ๕ นี้ ลักษณะที่ ๒ หุตวา อภาวะ (เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปไม่มีเหลือ) เป็นลักษณะเด่นที่สุด เมื่อพิจารณาเห็นรูปนามโดยลักษณะอนิจจังในข้อนี้ได้เวลาใด เวลานั้นย่อมรู้ในอีก ๔ ลักษณะไปด้วย

                         เช่นเดียวกับในสังขตธรรม*** ทั้งหลายย่อมมีลักษณะ ๓ อย่างเป็นของประจำอยู่ คือ การเกิดขึ้น (อุปาทะ) ตั้งอยู่ (ฐิติ) และดับไป (ภังคะ) หรือจะเรียกว่า ชาติ (เกิด) ชรา (แก่) มรณะ (ตาย) ก็ได้ สังขตธรรมเหล่านี้เมื่อว่าโดยการพิจารณาเห็นของปัญญาในทางวิปัสสนาแล้ว เป็นอนิจจังด้วยเหมือนกันดังนั้น อุปปาทะ ฐิติ ภังคะ ก็เป็นอนิจจังไปด้วยในลักษณะทั้ง ๓ นี้ ภังคะแสดงลักษณะความเป็นอนิจจังที่เด่นชัดที่สุด ยิ่งกว่าสองประการแรก
                       เมื่อใดผู้ปฏิบัติกำหนดพิจารณาในสังขารธรรม รูป-นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัย ทำให้สันตติบัญญัติ**** และฆนบัญญัติ***** ที่กำบังปกปิดการเกิดดับของสังขารธรรม รูป-นามขาดแตกไป ทำให้ความเห็นบริสุทธิ์เกิดขึ้น เมื่อนั้นวิปัสสนาญาณของผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึง อนิจจานุปัสสนา

                     คนปกติธรรมดาทั่วไปเมื่อเห็นสิ่งใดอยู่เฉพาะหน้า ย่อมมองเห็นโดยความเป็นบัญญัติ คือ ที่กำหนดแต่งตั้งสมมติเรียกหากัน เช่นเมื่อตาได้เห็นสี ก็เข้าใจเอาว่าสิ่งที่เห็นนั้นเป็น ชาย หญิง เด็ก ผู้ใหญ่ สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของนั้น ๆ ตามแต่สันตติบัญญัติและมันบัญญัติ จะทําให้กําหนดเห็นไป
                       เมื่อหูได้ยินเสียง ก็เข้าใจเอาว่าเป็นเสียงพูด เสียงหัวเราะ ร้องไห้
                       เมื่อได้กลิ่น ก็เข้าใจว่าหอมเหม็น กลิ่นดอกไม้ กลิ่นอาหาร กลิ่นอุจจาระปัสสวะ ฯลฯ
                       เมื่อลิ้มรสก็เข้าใจแต่เพียง รสมะขาม มะนาว ส้ม ผลไม้ พริก เกลือ น้ำตาล ไปต่าง ๆ ฯลฯ
                       เมื่อได้สัมผัสกับความเย็น ร้อน อ่อน ตึง แข็ง หย่อน ก็ว่าเป็นการสัมผัสกับ น้ำแข็ง น้ำร้อน ไฟ สำลี นุ่น ไม้ มีด อิฐ หิน ร่างกายหนักเบาหย่อนตึง ฯลฯ
                         การเข้าใจของคนทั่วไปดังนี้เพราะสันตติบัญญัติและคนบัญญัติกำบังปกปิดในอารมณ์ภายนอก จึงมีความรู้ความเข้าใจตื้น ๆ ไม่ทะลุแจ่มแจ้งอยู่เพียงแค่นั้น เรียกว่า สันตติบัญญัติไม่ขาด และคนบัญญัติก็ไม่แตก

                        แต่โดยความเป็นจริงแล้ว ขณะเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่นั้น รูปารมณ์เก่าดับไปรูปารมณ์ใหม่เกิดขึ้นแทนอยู่เรื่อย ๆ ไม่ขาดสาย เช่นเดียวกับกระแสไฟฟ้าในหลอดไฟ หรือกระแสน้ำที่ไหลอยู่ในน้ำ กระแสเปลี่ยนเกิดดับอยู่ตลอดเวลา กระแสเมื่อครู่กับที่กำลังเห็นอยู่ย่อมไม่ใช่อันเดียวกัน แต่เป็นเพราะการเกิดดับติดต่อกันรวดเร็วมากที่สุด ปัญญาธรรมดาจึงไม่สามารถพิจารณาเห็นได้ทัน จึงคิดว่าเป็นอยู่อย่างเดิม ลักษณะดังนี้แหละเรียกว่า สันตติบัญญัติปิดบัง
                         ส่วนฆนบัญญัติ ความเห็นว่าเป็นก้อนเป็นแท่งก็เป็นในทำนองเดียวกัน เพราะการเกิดดับนั้นถี่ละเอียดมาก มิใช่มองเห็นชัดเจนโดยรวดเร็วด้วยสายตาธรรมดา เราจึงมองเห็นสภาพความเป็นกลุ่มเป็นก้อนอยู่ในรูป นามทุกชนิด อันเป็นความเข้าใจผิด
                         ผู้ปฏิบัติที่กำหนดสังขารธรรม รูป-นามที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าโดยมีสติรู้อยู่อย่างติดต่อกันโดยไม่ขาดสาย ย่อมรู้เห็นทะลุปรุโปร่งสันตติบัญญัติและคนบัญญัติขาดลงเป็นตอน ๆ ไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เรียกว่าสันตติบัญญัติขาด ฆนบัญญัติแตก เข้าถึง อนิจจา นุปัสสนา ที่แท้จริง
                        เมื่อเกิดวิปัสสนาญาณรู้เห็นอนิจจลักษณะตามสภาวะที่แท้แล้ว สัญญา ความจำ หมายว่าเที่ยง ว่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง อันเป็นนิจจสัญญาวิปัลลาสก็หายไป
                         เมื่อนิจจสัญญาวิปัลลาสหายไป ย่อมทำให้ นิจจทิฏฐิวิปัลลาส และนิจจจิตตวิปัลลาส บรรเทาเบาบางลงไปด้วย พร้อมกันนั้นก็มีการประหาณ กิเลสวัฏ กัมมวัฏ วิปากวัฏ ที่เนื่องมาจากนิจจสัญญา วิปัลลาสที่จะเกิดใหม่ลงไปได้ตามสมควร
                        (กิเลสวัฏ หมายเอา อวิชชา ความหลงไม่รู้ในสภาวะธรรมที่กำลังปรากฏอยู่เฉพาะหน้าและหมายเอาตัณหา ความยินดีพอใจรักใคร่อยู่ในอารมณ์ของอุปาทาน (ความยืดมั่น) ด้วยอ้านาจของโลภะ ทิฏฐิ
                        กัมมวัฏ หมายเอาสังขาร คือการจัดแจงปรุงแต่งกาย วาจา ใจ ในสิ่งที่ดีและไม่ดีและหมายเอา กัมมภาวะ คือการลงมือกระทำด้วยกาย วาจา ใจ ในเรื่องที่ดีและไม่ดี วิปากวัฏ หมายเอา วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรา มรณะ)

                          เมื่ออนิจจานุปัสสนา เกิด ทุกขานุปัสสนาและ อนัตตานุปัสสนา ย่อมเกิดขึ้นตามพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในอังคุตตรพระบาลีว่า
                                อนิจฺจสญฺญา ภาเวตพฺพา อสมิมาน สมุดมาตาย
                                อนิจฺจสัญฺญิโน ภิกขเว อนตฺตสัญญา สัณฐาติ
                                อนตฺตสัญฺญี อสมิมานสมุกฆาต ปาปุณาติ ทิฏเฐว ธมฺเม นิพพาน ฯ

                          แปลความว่า พึงเจริญอนิจจสัญญาคือความจำหมายว่าไม่เที่ยง เพื่อถอนออกเสีย ซึ่งอัสสมิมานะ ที่มีการถือตนว่าเราเป็นนั่นเป็นนี้ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอนัตตสัญญาความจำหมายว่าไม่ใช่ตน เราเขาย่อมตั้งขึ้นเองอยู่ด้วยดี แก่ผู้ที่มีการพิจารณา
เห็นเป็นอนิจจะ ผู้ที่พิจารณาเห็นว่าเป็นอนัตตะคือไม่ใช่ตัวตนเราเขานั้น ย่อมเป็นผู้ที่เข้าถึงซึ่งการถอนออกแห่งอัสมิมานะที่มีอาการยกตนว่า “เรา” แล้วเข้าถึงนิพพานคือความสงบแห่งกิเลสในภพที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้านี้นั้นเที่ยว

 

๒. ทุกขานุปัสสนา 

                           ทุกขธรรม ธรรมที่เป็นทุกข์ ได้แก่รูป นาม
                           ทุกขลักษณะ เครื่องหมายที่กำหนดว่าเป็นทุกข์ของรูป นาม
                       ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่มีการพิจารณา เห็นความเป็นทุกข์อยู่เนือง ๆ ในรูป นาม คือพิจารณาเห็นความทนอยู่ไม่ได้ของรูปนาม อันเนื่องมาจากถูกเบียดเบียนด้วยอาการเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสาย ในขณะที่กำหนดรู้รูปนามตามสภาวะอยู่นั้นแหละ มีปัญญาชื่อว่า ทุกขานุปัสสนา เกิดขึ้นจะมีความรู้สึกในขณะนั้นว่า กาย ใจนี้เป็นของน่าเกลียด น่ากลัว ไม่ดี เป็นภัย จะหาความสุขสบาย จากกายใจอย่างแท้จริงนั้น หาไม่ได้เลย ปัญญาดังนี้ได้แก่ปัญญาที่เกิดในจิตอันเป็นมหากุศล และมหากิริยา

                                 ทุกขะ เมื่อว่าโดยย่อ มีอยู่เพียง ๓ อย่าง
                                 ๑. ทุกขทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ เพราะทนได้ยาก เป็นทุกข์จริง ได้แก่ทุกข์กาย ทุกข์ใจ
                                 ๒. วิปริณามทุกข์ ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเปลี่ยนแปลงแปรปรวนไปโดยไม่หยุดยั้ง ได้แก่ สุขกาย สุขใจ
                                 ๓. สังขารทุกข์ ชื่อว่าทุกข์ เพราะมีการจัดแจงปรุงแต่งด้วยความเกิดดับ ได้แก่รูป นาม หรือ กาย ใจ โดยทั่วไป

                              อย่างที่หนึ่ง ทุกข์กายทุกข์ใจ เรียกว่าทุกข์ เพราะเป็นสิ่งทนได้ยาก เช่น ทุกข์กายมี อาการทางกายเป็นไปต่าง ๆ เช่น หิว กระหาย จุก เสียด แน่น เฟื้อ ขัดยอก ปวดหัว ปวดฟัน เป็นแผล เป็นฝี ถูกตีฟันแทง เจ็บไข้ โรคต่าง ๆ ดังที่พบเห็นกันอยู่ทั่วไป

                             อย่างที่สอง ความสุขกายสุขใจ ก็เรียกว่าเป็นทุกข์ เพราะอันที่จริงมิใช่ความสุขเป็นเพียงอยู่ในสภาวะที่ความทุกข์ลดน้อยลงเท่านั้น และเป็นภาวะที่ไม่คงที่ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรวนแปรไปไม่คงที่อยู่ได้นั่นเอง เช่นกำลังอยู่ในอากาศร้อนอบอ้าว มีใครเปิดพัดลมให้ รู้สึกเย็นชื่นใจ ความทุกข์จึงลดลง มีความสุขกายสุขใจเกิดขึ้น ครั้นอยู่ในสภาพดังนั้นนานเข้า ความรู้สึกก็ไม่สุขดังเช่นตอนต้น คงกลายเป็นรู้สึกเฉย ๆ ธรรมดาทั้งทางกาย ทางใจ หรือถ้าเลิกใช้พัดลม ความสุขก็กลับหายไปอีก ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าแม้ความสุขก็ไม่คงที่กลับกลายเป็นหายไป หรือเป็นทุกข์ได้ใหม่ ดังนั้นจึงจำต้องคอยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอารมณ์ที่มากระทบอยู่เสมอ การต้องคอยแสวงหาอารมณ์ใหม่มาป้อนให้แก่จิตใจ หรือร่างกายก็ตาม นับเป็นความทุกข์อย่างหนึ่งเรียกว่า วิปริณามทุกข์

                            อย่างที่สาม รูป นาม ชื่อว่า สังขารทุกข์ เพราะนามขันธ์ ๔ (จิตใจ) คอยปรุงแต่งด้วย การเกิดดับอยู่เสมอ ความเกิดดับของจิตใจนี้รวดเร็วมาก ชั่วขณะดีดนิ้วมือครั้งหนึ่ง มีการเกิดดับได้นับแสนโกฏิครั้ง ส่วนการเกิดดับทางรูปหรือกายก็เกิดดับได้ถึงห้าพันโกฏิครั้ง ซึ่งผู้เจริญวิปัสสนาได้รับผลแล้วสามารถรู้เห็นได้ ส่วนบุคคลธรรมดามองไม่เห็น เปรียบเหมือนภาพที่ปรากฏในจอภาพยนต์หรือโทรทัศน์ ความจริงไม่ใช่ภาพเดียวกัน เขาถ่ายรูปไว้ในฟิล์มจำนวนมาก เวลานำมาฉาย เครื่องฉายทำการเลื่อนฟิล์มเหล่านั้นทีละฟิล์มตามลำดับต่อเนื่องติดต่อกันอย่างรวดเร็ว ผู้ดูจับความเร็วไม่ทัน จึงมองเห็นเป็นเสมือนสิ่งต่าง ๆ ในภาพเคลื่อนไหวไปได้ ต้องลดความเร็วของการฉายภาพลงให้หมุนฟิล์มไปช้า ๆ จึงสามารถเห็นว่าเป็นการต่อเนื่องกันของภาพต่าง ๆ การเกิดดับติดต่อกันของรูปนามซึ่งเป็นไปโดยไม่ขาดสายก็เป็นไปในทำนองเดียวกันฉันนั้น จึงกล่าวได้ว่า รูปนามทั้งหมดเป็นสังขารทุกข์

                             แต่ในทุกข์ทั้ง ๓ นี้ มีสังขารทุกข์อย่างเดียวที่อยู่ประจำทั่วไปในสังขารธรรมทั้งปวง ทั้งสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต ส่วนอีก ๒ อย่างนั้นมีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตเป็นส่วนใหญ่ ทุกข์ทั้ง ๓ อย่างเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นเอง มิได้มีเทวดา พรหม หรือสิ่งมีอำนาจอันใดดลบันดาล

                            ทุกขานุปัสสนา ปัญญาที่พิจารณาเห็นความทุกข์อยู่เนือง ๆ ในรูปนามก็มี ๓ อย่าง
                            ๑. ทุกขทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ ที่เป็นทุกข์แท้จริง
                            ๒. วิปริณามทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่มิใช่เป็นทุกข์จริง (ซึ่งบุคคลมีใคร่คำนึงถึงทุกข์นี้)
                            ๓. สังขารทุกขานุปัสสนา ปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ทั่วไปที่รู้ได้ยาก
                         ทุกขทุกขานุปัสสนา แม้นับเป็นทุกขานุปัสสนาแท้จริง แต่ก็ยังรู้เห็นในทุกข์ทุกข์และวิปริณามทุกที่เป็นบัญญัติอยู่ จึงประหาณกิเลสได้เพียงชั่วคราว เป็นตหังคประหาณไม่ตรงตามพระพุทธประสงค์ที่ทรงวางหลักปฏิบัติเพื่อให้ได้มรรคผล ส่วนการรู้เห็นสังขาร ทุกข์อันเป็นการรู้เห็นความเป็นไปของรูปนามตามสภาวะ ไม่มีบัญญัติเข้ามาเจือปน สามารถประหาณกิเลสเป็นสมุจเฉทประหาณ ถูกพุทธประสงค์ที่สุด
                                           สพเพ สังขารา ทุกชาติ           ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
                                           อถ นิพพินทติ ทุกเช               เอส มคฺโค วิสุทธิยา ฯ
                           เมื่อใดผู้ปฏิบัติมาพิจารณาเห็นด้วยวิปัสสนาญาณว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้นย่อมเบื่อหน่ายในสังขารทุกข์ คือกายใจ การเบื่อหน่ายเช่นนี้ เป็นหนทางแห่งความบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง
                           ผู้ไม่มีการกำหนดรู้รูปนาม ย่อมไม่สามารถรู้เห็นการเบียดเบียนให้เกิดทุกข์จากอาการเกิดดับที่เป็นไปอยู่ในรูปนามโดยไม่ขาดสายในทวารทั้ง ๖ ดังนั้นเมื่อมีทุกข์กายอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดด้วยสาเหตุอยู่ในอิริยาบถไม่สม่ำเสมอ ทำให้มีอาการปวด เมื่อย เจ็บ ขัด ยอก แค้น หรือ อื่น ๆ ย่อมมองไม่เห็นว่าอาการเหล่านั้น แท้ที่จริงเป็นความทุกข์ที่มีอยู่ในกายโดยความเป็นสังขารธรรมของรูปนาม คงเห็นเป็นแต่ในทางบัญญัติที่เนื่องมาจากสักกายทิฏฐิว่า เราปวด เราเมื่อย ฯลฯ เมื่อรู้สึกดังนั้น ก็รีบเปลี่ยนอิริยาบถเสียใหม่ ให้ความทุกข์ดังกล่าวหายไป จึงเป็นการปิดบังไม่ให้พบเห็นสภาวะที่ทนได้ยากนั้นโดยไม่รู้สึกตัว (ใช้การเปลี่ยนอิริยาบถปิดบังความทุกข์กาย)
                           ส่วนผู้มีสติกำหนดรู้อยู่ในรูปนามย่อมสามารถรู้เห็นทะลุแจ่มแจ้งว่าอาการทุกข์เหล่านี้ เป็นเรื่องของสังขารธรรมรูปนามล้วน ๆ ไม่ติดบัญญัติ เพ็กอิริยาบถเสียได้ มีสติรู้ตลอดต่อเนื่องกันไป

                           ในวิสุทธิมรรคอรรถกถา กล่าวว่า
                                      ทุกขลักขณ์ อภิณหสมปฏิปีฟันสุส อมนสิการา
                                      อิริยาปเกหิ ปฏิจฉนุนตฺตา น อุปฏฐาติ
                                      อภิณหสมปฏิปีฬน มนสิกาวา อิริยาบถ อุคฆาฏิเต
                                      ทุกฺขลกขณ์ ยถาวสรสโต อุปฏฐาติ ฯ
                           แปลความว่า ทุกขลักษณะไม่ปรากฏก็เพราะไม่มีการกำหนดพิจารณาความเบียดเบียนโดยอาการเกิดดับอยู่เสมอ และการเปลี่ยนอิริยาบถใหม่ คือการยืน เดิน นั่ง นอนมาปกปิด แต่เมื่อได้กำหนดพิจารณาความเบียดเบียนโดยอาการเกิดดับอยู่เสมอ และเพิกอิริยาบถที่ปกปิดไว้ กล่าวคือมีการกำหนดความปวดเมื่อยก่อนที่จะทำการเปลี่ยนอิริยาบถตลอดจนจิตคิดจะเปลี่ยน การเปลี่ยนอิริยาบถ ความสุขที่เกิดขึ้นใหม่ เช่นนี้แล้วทุกขลักษณะย่อมปรากฏโดยสภาพของตนอย่างแท้จริง
                           ทุกขานุปัสสนาแท้ เมื่อเกิดขึ้นขณะใด ขณะนั้นย่อมละวิปัลลาสทั้ง ๓ คือ สุขสัญญาวิปัลลาส สุขจิตตวิปัลลาส สุขทิฏฐิวิปัลลาส พร้อมด้วยกิเลสที่เป็นบริวารลง กล่าวคือ
                           ตามธรรมดาวิสัยจิตใจของคนเรา เมื่อมีอารมณ์ต่าง ๆ มากระทบ วิปัลลาสทั้ง ๓ ดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นอยู่เป็นประจำ ขณะนั้นกิเลสต่าง ๆ มีตัณหา มานะ ทิฏฐิ ตลอดจนการทำดี ทำชั่วอันเป็นกุศล อกุศลกรรมก็เกิดตามมา เป็นเหตุให้มีวิบากนามขันธ์ ๔ และกัมมชรูปเกิดในขณะปฏิสนธิใหม่ วนเวียนไปในภพทั้ง ๓ อย่างไม่รู้จบสิ้น ต่อเมื่อใดได้ทำการกำหนดรู้เห็นกาย ใจ ว่าเป็นทุกข์ โดยอาศัยการปรากฏของทุกขลักษณะ เวลานั้น ปัญญาที่รู้เห็นความเป็นทุกข์ในกายใจ คือ ทุกขานุปัสสนา ก็ทำการประหาณวิปัลลาสธรรมทั้ง ๓ พร้อมด้วยกิเลสอันเป็นบริวาร ตลอดจนกุศล อกุศลไม่ให้เกิด เมื่อธรรมที่เป็นฝ่ายเหตุเกิดไม่ได้ จึงเท่ากับดับธรรมที่เป็นฝ่ายผลลงไปแล้วนั่นเอง ถึงความสิ้นทุกข์ ได้ด้วยทุกชานุปัสสนา


๓. อนัตตานุปัสสนา

                         ปัญญาที่ได้กำหนดรู้เห็น ความไม่มีอะไรบังคับบัญชาได้ของรูปนาม เห็นประจักษ์ว่าไม่มีตัวตนเราเขา มีแต่อาการเกิดขึ้นแล้วดับไปของรูปนามติดต่อกันอยู่อย่างไม่ขาดสายปัญญาในขณะกำหนดรู้รูปนามตามสภาวะนี้อยู่ ปัญญานี้ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา
                        คำว่า อนตฺตา คือคำว่า น รวมกับคำว่า อตฺตาน แปลว่า ไม่ใช่ อตตา แปลว่าตน แต่อตตา ที่แปลว่าตัวตน มีความหมายออกเป็น ๔ นัย คือหมายถึง จิต กาย สภาวะธรรมและวิญญาณพิเศษ เช่น
                          นัยที่หนึ่ง อตฺตาน ทมยนฺติ ปณฺฑิตา แปลว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกฝนตน ในทีนี้ ตน ได้แก่จิต
                          นัยที่สอง นตฺถิ อตฺตสม เปม แปลว่า ความรักเสมอด้วยตนไม่มี ในที่นี้ ตน ได้แก่ กาย
                          นัยที่สาม อตฺตทีปา ภิกขเว วิหรถ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย จงเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่งอยู่ ในที่นี้คำว่า ตน ได้แก่ กุศลธรรม อันเป็นสภาวะ
                          นัยที่สี่ อยู่ อตฺตา นิจโจ ธุโว สสสโต อวิปริณามธมฺโม แปลว่า ตนนี้เป็นของเที่ยงแข็งแรง ตั้งอยู่มั่นคง ไม่มีการแตกดับ ในที่นี้คำว่า ตน หมายถึง ปรมอัตตะ หรือปรมวิญญาณ วิญญาณพิเศษอันเป็น ความเชื่อถือของชาวอินเดียที่ถือกันมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันว่า อัตตาเป็นของเที่ยง ไม่ตาย เมื่อร่างกายแตกดับ อัตตาก็ย้ายไปหาที่อยู่ใหม่

                       ในคำแปลทั้ง ๔ นัยดังกล่าว คำว่าอนัตตา หมายถึงสภาวะที่ตรงกันข้ามกับอัตตาตามนัยที่สีนี้เอง ส่วนนัยต้นทั้งสาม เป็นความหมายที่ถูกต้องอยู่ตามคำแปลนั้นแล้ว
                         ผู้ใดก็ตามยึดมั่นใน อัตตา เรียกผู้นั้นว่าผู้มีอัตวาทุปาทาน เป็นผู้มีความเห็นผิดเดินหลงทาง
                         อนัตตา แปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า ไม่มีแก่นสาร ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร
                         อนัตตลักษณะ คือ เครื่องหมายของธรรมทั้งปวงที่ไม่ใช่อัตตา ได้แก่ความไม่มีแก่นสาร ปราศจากเรา เขาที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการนั่นเอง
                       อนัตตานุปัสสนา คือ การกำหนดรู้เห็นรูปนามที่เป็นอนัตตาอยู่เนือง ๆ จนอนัตตลักษณะปรากฏ หรือ การกำหนดรู้เห็นความไม่มีแก่นสาร ปราศจากเราเขาที่จะบังคับบัญชาให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใดอยู่เนือง ๆ ชื่อว่า อนัตตานุปัสสนา


การพิจารณาให้เห็นความเป็นอนัตตา

                      การที่บัญญัติต่าง ๆ ปกปิดสภาวะธรรมเอาไว้ ทำให้ผู้ที่ไม่เคยกำหนดรู้รูปนามรู้จักสิ่งต่าง ๆ โดยความเป็นอัตตา เช่นเมื่อพบเห็น เส้นผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้เล็ก อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง ก็เข้าใจเอาเพียงบัญญัติเป็นชิ้น เป็นก้อน เป็นแท่งตามฆนบัญญัติปิดบังไว้ ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว ของทั้ง ๒๐ อย่างนี้ล้วนเป็นเพียงปฐวีธาตุเท่านั้น เมื่อใดพิจารณาให้มนะความเป็นกลุ่มเป็นกองแตกทำลายไป เมื่อนั้นอนัตตลักขณะย่อมปรากฏโดยสภาวะของตนอย่างแท้จริง
                       เมื่อใดพิจารณามนะแตกลงไป นอกจากอัตตาจะหายไปแล้ว บัญญัติยังหายไปด้วยทำให้อนัตตา และปรมัตถ์ เกิดขึ้นแทน พอยกตัวอย่างให้เห็นชัดดังนี้
                       เช่นเส้นผม มีสัณฐานบัญญัติว่า กลม ๆ ยาว ๆ เมื่อถูกบดจนละเอียดป่นเป็นผงฆนบัญญัติ ความเป็นเส้นผมย่อมหายไป เพราะความเป็นกลุ่มก้อนแตกทำลายไปแล้ว ของที่เห็นอยู่กลายเป็น ปฐวีธาตุ ปฐวีธาตุ เป็นสภาวะปรมัตถ์ เมื่อปรากฏออกมาเช่นนี้ บัญญัติว่า “เส้นผม” ย่อมหายไปเอง เรียกว่าอนัตตาปรากฏ อัตตาหายไป ในทำนองเดียวกันสิ่งอื่น ๆ ภายในภายนอกร่างกายก็กำหนดพิจารณาในลักษณะเดียวกัน

                     การเจริญวิปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นั้น ในระยะต้น ๆ จำเป็นอยู่เองที่การกำหนดอารมณ์ยังต้องใช้บัญญัติอยู่ อัตตายังปรากฏ ต่อเมื่อปัญญาภาวนาแก่กล้ายิ่ง ๆ ขึ้น อารมณ์บัญญัติก็หายไป อารมณ์ปรมัตถ์เกิดขึ้นแทน ในระยะนี้เองอัตตาหายไป อนัตตาปรากฏ
                       เมื่อมีผู้ปฏิบัติกำหนดพิจารณาในสังขตธรรม รูป นาม ที่เกิดอยู่เฉพาะหน้าตามสภาวะที่เกิดจากเหตุปัจจัยอยู่ สันตติบัญญัติและคนบัญญัติที่ปกปิดการเกิดดับของสังขตธรรมรูปนามก็ขาดแตกไป ความเห็นบริสุทธิ์เกิดขึ้น ในเวลานั้นเรียกว่าวิปัสสนาญาณของผู้นั้นเข้าถึงความเป็นอนัตตานุปัสสนาได้
                      เมื่อปัญญาจากอนัตตานุปัสสนาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมประหาณ อัตตสัญญาวิปัลลาสอัตตจิตตวิปัลลาส และอัตตทิฏฐิวิปัลลาส พร้อมด้วยกิเลสทั้งหลายที่เป็นบริวาร

 

 

 

 

 

 

เชิงอรรถ

*อธิบายธรรม ๖ หมวด ข้อ ๑๒ ว่าด้วยลักษณะ
**อธิบายธรรม ๖ หมวด ข้อ ๑ ๓ ว่าด้วยอนุปัสสนา ๓
***ธรรมที่มีปัจจัย ๔ กรรม จิต อุตุ อาหารปรุงแต่งให้เกิด
****การกำหนดเรียกเอาเพราะความสืบต่อเนื่อง
*****การกำหนดเรียกเอาเพราะความเป็นก้อนเป็นแห่ง

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.043080651760101 Mins