บทที่ ๓ ธรรมแม่บทแห่งความเป็นครู

วันที่ 19 กค. พ.ศ.2567

 

2567_07_18_b.jpg

 


บทที่ ๓
ธรรมแม่บทแห่งความเป็นครู


อริยมรรคมีองค์ ๘

        อริยมรรคมีองค์ ๘ หรือมักนิยมเรียกกันติดปากว่า มรรคมีองค์ ๘ เป็นธรรมแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อพัฒนามนุษย์ทุกเพศทุกวัยทุกระดับหรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติที่มีอำนาจประหารกิเลสทั้งปวงให้อันตรธานไปจากจิตใจของผู้ปฏิบัติได้โดยเด็ดขาดถาวรไม่มีทางกำเริบออกฤทธิ์ได้อีกเลยยังผลให้ผู้ปฏิบัติก้าวสู่อิสรภาพและประสบสุขอันประณีตอย่างแท้จริงในชีวิตเนื่องจากข้ามพ้นปัญหาทุกข์ประจําชีวิตของมนุษย์ทั้ง๓ประการได้โดยมีเงื่อนไขสำาคัญว่าการปฏิบัติตามองค์มรรคทั้ง๘จะต้องเกิดขึ้นพร้อมกันดังมีคำศัพท์ว่ามัคคสมังคีโดยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงตรัสสรรเสริญมรรคมีองค์๘ว่าเป็นทางเอกสายเดียวบ้างเป็นทางอันเกษมบ้าง


         มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วยข้อปฏิบัติทางกาย วาจา และใจ รวม ๔ ข้อด้วยกัน คือ


         ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นถูกต้อง


         ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริถูกต้อง


         ๓. สัมมาวาจา การพูดถูกต้อง


         ๔. สัมมากัมมันตะ การกระทำถูกต้อง


         ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพถูกต้อง


          ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามถูกต้อง


          ๗. สัมมาสติ ความระลึกถูกต้อง


          ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นถูกต้อง

 

           เพื่อให้การนำามรรคมีองค์ ๘ ไปปฏิบัติได้โดยสะดวกเหมาะสมกับทุกเพศ ทุกวัย ทุกระดับ ความรู้ความสามารถ จึงแบ่งมรรคมีองค์ ๘ออกเป็น ๒ ระดับ คือระดับต้นและระดับสูง


       ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์๘ระดับต้นได้ครบถ้วนย่อมได้ชื่อว่าเป็นคนดีที่โลกต้องการหรือมนุษย์ที่สมบูรณ์ผู้ที่สามารถปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ระดับสูงได้สมบูรณ์ย่อมได้ชื่อว่าอริยบุคคลตั้งแต่ระดับพระโสดาบันไปจนถึงพระอรหันต์ผู้พ้นทุกข์โดยสิ้นเชิงซึ่งความหมายของมรรคมีองค์ ๘ ทั้ง ๒ ระดับแสดงได้ดังตารางต่อไปนี้

 

ตารางที่ ๓-๑ การเปรียบเทียบมรรคมีองค์ ๘ ทั้ง ๒ ระดับ

 

มรรคมีองค์ ๘ ลักษณะ ความหมายเบื้องต้น ความหมายเบื้องสูง

๑. สัมมาทิฐิ : ความเห็นถูกต้อง

เห็นถูกต้องตรงตามความเป็นจริง

 คือมีความเห็นถูกต้องหรือเข้าใจถูกเรื่องโลกและคือมีปัญญาเห็นถูกต้องชีวิตตามความเป็นจริงว่า

 

๑. ทานมีผลจริง


๒. การสงเคราะห์มีผลจริง


๓. การบูชายกย่องมีผลจริง


๔. ผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมีจริง


๕. โลกนี้มีจริง


๖. โลกหน้ามีจริง


๗. มารดามีพระคุณจริง


๘. บิดามีพระคุณจริง


๙. สัตว์เกิดแบบโอปปากะมีจริง

ความหมายเบื้องสูงคือมีปัญญาเห็นถูกต้องตามความเป็นจริงในเรื่อง อริยสัจ ๔

 

 

 

มรรคมีองค์ ๘ ลักษณะ ความหมายเบื้องต้น ความหมายเบื้องสูง
    ๑๐.สมณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบจนสามารถกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปได้ด้วยตนเองโดยชอบ แล้วสั่งสอนผู้อื่น
ให้รู้ตามมีจริง
 
๒. สัมมาสังกัปปะ: ความดำริถูกต้อง น้อมจิตเลือกคิเฉพาะสิ่งดีๆ เท่านั้น

         คือ มีความดำริถูกต้อง คือ มีปัญญาดำริในการดำรงชีวิตว่า การที่จะดำรงชีวิตให้เป็นสุขได้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า นั้น ตนเองต้องตั้งต้น

จากการมีความคิดดีงาม ๓ ประการ ได้แก่

 

๑. ความคิดที่ไม่หมกมุ่น มัวเมาในกามและอบายมุข

 

๒. ความคิดที่ไม่อาฆาตมาดร้ายใครๆ ทั้งสิ้น

 

๓. ความคิดที่ไม่เอาเปรียบเบียดเบียน หรือรังแกใครๆ ทั้งสิ้น

คือ มีปัญญาดำริหรือคิดเฉพาะเรื่องที่ถูกต้องดีงามเหล่านี้เท่านั้น ได้แก่

ดำริปลอดจากกาม

ดำริปลอดจากพยาบาท

ดำริปลอดจากการเบียดเบียนสัตว์โลกทั้งหลาย

๓. สัมมาวาจา : การพูดถูกต้อง เลือกพูดในขณะที่ใจใสๆ เท่านั้น คือ ไม่ว่าจะพูดเรื่องใดกับใครก็ตามต้องมุ่งหวังให้ตนเองเป็นสุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า ด้วยการ

คือมีปกติประพฤติวจีสุจริต ๔ คือ


๑. ไม่พูดเท็จ


๒. ไม่พูดส่อเสียด


 

มรรคมีองค์ ๘ ลักษณะ ความหมายเบื้องต้น ความหมายเบื้องสูง
   

ตั้งเจตนาเว้นขาดจากวจีทุจริต ๔ คือ

๑. การพูดเท็จ


๒. การพูดส่อเสียด


๓. การพูดค่าหยาบ


๔. การพูดเพ้อเจ้อ

๓. ไม่พูดคำหยาบ

 

๔. ไม่พูดเพ้อเจ้อ

๔. สัมมากัมมันตะ: การกระทำถูกต้อง มุ่งกระทำ
เฉพาะสิ่ดีๆ
เท่านั้น

 

คือ ไม่ว่าจะทําการงานใดกับใครก็ตาม ต้องมุ่งหวังให้ตนเองเป็นสุขทั้งโลกนี้ ด้วยการตั้งเจตนาเว้นจากกายทุจริต ๓ ได้แก่

๑. การฆ่าสัตว์

 

๒. การลักทรัพย์

 

๓. การประพฤติผิดในกาม

คือ มีปกติประพฤติกายสุจริต ๓ ไดแก่

๑. การฆ่าสัตว์

 

๒. การลักทรัพย์

 

๓. ไม่เสพเมถุน

๕. สัมมาอาชีวะ : การเลี้ยงชีพ
ถูกต้อง
เลือกทำงาน
ที่บริสุทธิ์
เท่านั้น
เลี้ยงชีพ
คือ ไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด ต้องมุ่งหวังให้ตนเองเป็นสุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า ด้วยการตั้งเจตนางดเว้นจากการแสวงหารายได้โดยวิธีผิดศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย ผิดจารีตประเพณี เช่น คือ มีปกติไม่เลี้ยงชีพด้วยการทำบาปกรรมทุกชนิด (มิจฉาอาชีวะ) โดยเด็ดขาดสำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะเป็นปกติ

 

 

มรรคมีองค์ ๘ ลักษณะ ความหมายเบื้องต้น ความหมายเบื้องสูง
   

มิจฉาวณัชชา ๕ ได้แก่


๑. การค้ามนุษย์


๒. การค้าสิ่งเสพติด


๓. การค้าอาวุธ


๔. การค้าสัตว์เอาไปฆ่า


๕. การค้ายาพิษ

 
๖. สัมมวายามะ: ความพยายามถูกต้อง  เพียรประคับไว้ในกายเหมือนประคองถาดน้ำมันเต็ม ๆ ไม่ให้หก คือ พยายามฝืนใจ ข่มใจ ตัดใจ จากมิจฉาทิฐิแล้ว พัฒนาสัมมาทิฐิขึ้นมาแทนจากมิจฉาสังกัปปะ แล้วพัฒนาสัมมาสังกัปปะขึ้นมาแทนจนเป็นนิสัยประจำใจ

คือ รักษาใจให้บริสุทธิ์

สะอาดด้วยการบำเพ็ญ ปธาน ๔ ได้แก่

๑. ปรารภความเพียรเพื่อป้องกันบาปอกุศลที่ยังไม่มี มิให้บังเกิดขึ้น

 

๒. ปรารภความเพียร
เพื่อละบาปอกุศล
ที่มีอยู่


๓. ปรารภความเพียร
เพื่อทํากุศลที่ยังไม่มี
ให้เกิดขึ้น


๔. ปรารภความเพียร
เพื่อทำกุศลที่มีอยู่แล้วให้เจริญยิ่งขึ้น

๗. สัมมาสติ : ความระลึกถูกต้อง น้อมใจเข้ามาไว้ในกาย สำรวมใจให้อยู่ในตัวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มีความรู้สึกตัวพร้อมอยู่เสมอใน


 

มรรคมีองค์ ๘ ลักษณะ ความหมายเบื้องต้น ความหมายเบื้องสูง
  ไม่ปล่อยให้เลื่อนลอย  
การสํารวมรักษาใจให้สว่างอยู่กลางกายอย่างต่อเนื่องทุกอิริยาบถ ทําให้สามารถพิจารณาเห็นกายในกายเวทนาในเวทนาจิตในจิต ธรรมในธรรม ไปตามลำดับ
๘. สัมมาสมาธิ : ใจหยุดนิ่งตั้งมั่นผ่องใสอยู่ภายใน น้อมใจมาตั้งไว้อย่างมั่นคง ณศูนย์กลางกาย มีใจตั้งมั่นอยู่ ณ ศูนย์กลางกายจนกระทั่ง บรรลุปฐมฌาน ทุติยฌานตติยฌาน จตุตถฌานไปตามลำาดับมีจิตบริสุทธิ์จากกิเลสยิ่งขึ้น จนกระทั่งบรรลุนิพพาน

 

 

มรรคมีองค์ ๘ สําหรับครู


         คําอธิบายเรื่องมรรคมีองค์ ๘ ที่ผ่านมานั้นเป็นคำาอธิบายโดยย่อสำหรับบุคคลโดยทั่วไปแต่สำหรับผู้มีอาชีพครูผู้ได้ชื่อว่าเป็นปูชนียาจารย์มีภาระหน้าที่จะต้องทำตั้งแต่การทำตนเป็นแบบอย่างเป็นผู้ชี้แนะปลูกฝังอบรมเป็นผู้กำกับและติดตามประเมินผลตลอดจนตอกย้ำและให้กำลังใจบรรดาศิษย์ให้มีนิสัยเป็นคนเก่งและดีอย่างแท้จริง


         เพื่อส่งเสริมให้ครูเล็งเห็นหลักการและแนวทางในการปลูกฝังอบรมความรู้เรื่องมรรคมีองค์ ๘ แก่บรรดาศิษย์ให้เกิดเป็นนิสัยประจำใจตลอดไปจึงมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้


            ๑. สัมมาทิฐิ คือความเห็นถูกต้อง หรือความเข้าใจถูกต้องเรื่องโลกและชีวิต สิ่งที่ครูต้องเข้าใจและปฏิบัติต่อศิษย์ตามนัยแห่งสัมมาทิฐิ ได้แก่

 

             ๑) ต้องปลูกฝังอบรมสัมมาทิฐิ ๑๐ ประการ ตั้งแต่เด็กระดับอนุบาล หากปลูกฝังอบรมช้าไป เด็กก็จะมีความเห็นผิดหรือมีมิจฉาทิฐิซึ่งแก้ไขได้ยาก


           ๒) ความรู้เรื่องสัมมาทิฐิ ๑๐ ประการ จะทำให้เด็กเกิดปัญญาเข้าใจเรื่อง บุญ-บาป กฎแห่งกรรม และความจำเป็นในการรักษาศีลให้เป็นนิสัยได้ง่าย


              ๓) การปลูกฝังสัมมาทิฐิ ๑๐ ประการ ต้องเริ่มจากง่ายไปหายาก


           ๔) ต้องมีกิจกรรมปลูกฝังสัมมาทิฐิ ๑๐ ประการ ให้ทำเป็นกิจวัตรอย่างเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ทั้งต้องทำซ้ำๆ จนเห็นผล


               ๕) การอบรมสั่งสอนสัมมาทิฐิทั้ง ๑๐ ประการ ต้องมีกิจกรรมและสื่อประกอบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมทุกระดับชั้นเรียน


              ๖) เด็กที่ได้รับการอบรมสัมมาทิฐิ ๑๐ ประการ จากครอบครัวมาแล้วทางโรงเรียนก็พึงปลูกฝังอบรมเพิ่มเติมในลักษณะตอกย้ำให้เป็นนิสัยที่ดียิ่งๆขึ้นและคัดเลือกให้เป็นต้นแบบแก่เพื่อนๆส่วนเด็กที่มีนิสัยไม่ดีเพราะขาดการอบรมจากครอบครัวครูก็ต้องพลิกทิฐิหรือดัดนิสัยให้เป็นสัมมาทิฐิให้ได้อย่าปล่อยทิ้งไว้เป็นอันขาดแม้แต่ผู้เดียวเพราะจะเป็นตัวอย่างที่เลวในอนาคต


             ๗) ครูต้องระลึกเสมอว่า “นิสัยที่ดีเท่านั้นที่จะช่วยส่งเสริมศิษย์ให้มีความรู้ทางวิชาการก้าวหน้า ไม่มีวันตกต่ำ” 

 

            โดยเหตุที่สัมมาทิฐิมีรายละเอียดถึง ๑๐ ประการ จึงได้นำเสนอเพิ่มเติมไว้ต่อจากหัวข้อจิตของวัยรุ่นเป็นสมาธิช้ากว่าเด็กเล็ก ภายใต้หัวข้อสัมมาทิฐิ ๑๐ แม่บทการสร้างกำลังใจในการทําความดี


            ๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริถูกต้องในการดำรงชีวิตสิ่งที่ครูต้องเข้าใจและปฏิบัติต่อศิษย์ตามนัยแห่งสัมมาสังกัปปะ ได้แก่


           ๑) แม่บทที่จะสอนให้คนดำริถูกต้องหรือคิดเป็น ก็คือ สัมมาทิฐิ ๑๐ ประการที่อบรมมาดีแล้ว


           ๒) คนเราจะมีพฤติกรรมทางกายและวาจาดีหรือชั่ว ล้วนเนื่องมาจากความคิดทั้งสิ้น กล่าวคือ ถ้าคิดดีก็พูดดี ทำดี ถ้าคิดชั่วก็พูดชั่ว ทำชั่ว


           ๓) การจัดกิจกรรมต่างๆ ในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ครูต้องควบคุมมิให้เกิดภาวะความรู้สึกทางเพศหรือกามราคะกำเริบในกลุ่มศิษย์แม้ในการจัดการแข่งขันกีฬาก็ต้องระมัดระวังมิให้นักเรียนเกิดความอาฆาตพยาบาท หรือใช้กลโกง กลั่นแกล้งกัน ฯลฯ


         ๔) ครูต้องระลึกเสมอว่า ตนจะต้องคิดหาทางปลูกฝังทั้งนิสัย ใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ทำดี รวมทั้งการพัฒนาตนให้เป็นคนเก่งและดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรงให้แก่ศิษย์อย่างเต็มความรู้ความสามารถเพื่อเป็นหลักประกันว่าบั้นปลายชีวิตครูเองจะได้อยู่อย่างสงบสุขเพราะประเทศชาติอยู่ในความรับผิดชอบของคนเก่งและดี ซึ่งก็คือศิษย์ของตนนั่นเอง



           ๓. สัมมาวาจา คือ การพูดถูกต้องสิ่งที่ครูต้องเข้าใจและปฏิบัติต่อศิษย์ตามนัยแห่งสัมมาวาจา ได้แก่


          ๑) เด็กที่ได้รับการปลูกฝังอบรมสัมมาทิฐิ ๑๐ มาอย่างดีแล้วกระทั่งเกิดปัญญา คิดเป็นเนื่องจากเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรมเป็นอย่างดีแล้วเท่านั้น จึงไม่กล่าววจีทุจริตทั้ง ๔ ประการอย่างเด็ดขาด


        ๒) การสวดพระพุทธมนต์ การกล่าวคำปฏิญาณ การกล่าวคำอธิษฐาน การกล่าวคำสรรเสริญ การท่องพุทธภาษิต การท่องสุภาษิตคำกลอน การร้องเพลงชาติ ฯลฯ เป็นประจำ จัดเป็นการเสริมสัมมาวาจาทั้งสิ้น

 

           ๓) การไม่ว่าร้ายใครๆ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ล้วนเป็นสัมมาวาจา


            ๔. สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำถูกต้องสิ่งที่ครูต้องเข้าใจและปฏิบัติต่อศิษย์ตามนัยแห่งสัมมากัมมันตะ ได้แก่


            ๑) ครูต้องปลูกฝังอบรมศิษย์ให้ตระหนักอยู่เสมอว่า การเรียนรู้ทั้งหลายต้องนำไปใช้เพื่อบำเพ็ญคุณความดีอย่างแท้จริงเท่านั้น จึงต้องไม่ประพฤติกายทุจริต ๓ หรือไม่ทำผิดศีล ๓ ข้อแรกในศีล ๕ จนเป็นนิสัย


             ๒) ครูต้องมีกิริยามารยาทสุภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ เพื่อเป็นต้นแบบให้ศิษย์ยึดถือปฏิบัติตาม ขณะเดียวกันก็พร่ำสอนเรื่องการแสดงกิริยามารยาทที่พึงปฏิบัติในโอกาสต่างๆให้แก่ศิษย์จนเป็นนิสัยเพราะกิริยามารยาทสุภาพงดงามเหล่านั้นคือนิสัยประจำตัวของศิษย์
และจะเป็นนิสัยประจำชนชาติไทยในอนาคต

 

                ๓) ครูต้องระลึกอยู่เสมอ และปลูกฝังอบรมศิษย์ให้ตระหนักว่าการประกอบสัมมาทิฐินั้น ต้องระวังมิให้ผิดสัมมากัมมันตะด้วย เช่นไม่โกงทรัพย์ผู้อื่นมาทำทาน เพราะนอกจากตนเองต้องทำบาปแล้ว ยังเป็นการทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนอีกด้วย
 


            ๕. สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพถูกต้องสิ่งที่ครูต้องเข้าใจ และปฏิบัติต่อศิษย์ตามนัยแห่งสัมมาอาชีวะ ได้แก่


          ๑) ครูต้องปลูกฝังอบรมให้ศิษย์เข้าใจว่า ทุกคนต้องพึ่งตนเองให้ได้ จึงต้องประกอบสัมมาอาชีพเพื่อเลี้ยงตน ไม่ทำตัวเป็นกาฝากของ
สังคม


          ๒) ต้องปลูกฝังอบรมให้ศิษย์เข้าใจว่า การประกอบอาชีพก็เพื่อให้สามารถแสวงหาธาตุ ๔ มาเพิ่มเติมให้กับร่างกาย เพื่อให้มีชีวิตอยู่ต่อไปได้ นี้คือวัตถุประสงค์สำคัญที่สุด ส่วนการแสวงหาปัจจัย ๔ เป็นวัตถุประสงค์รอง


           ๓) เกี่ยวกับการแสวงหาทั้งธาตุ ๔ และปัจจัย ๔ มีเรื่องที่ต้องระมัดระวังหลายประการ ดังนี้


            - การแสวงหาโดยทุจริต ย่อมผิดศีล เป็นการทำบาป


         - เนื่องจากทรัพยากรในโลกนี้มีจำกัด การแสวงหามามากเกินจำเป็นย่อมทำให้ผู้อื่นขาดแคลนเป็นเรื่องที่ผิดธรรมเพราะเป็นการทำร้ายผู้อื่นทางอ้อม การบริโภคโดยไม่รู้ประมาณ เข้าทำนองฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย นอกจากเป็นการทำร้ายผู้อื่นโดยทางอ้อมแล้ว ยังทำให้เกิดมลภาวะ เป็นการทำลายโลกอีกด้วย


             ดังนั้นในการแสวงหา การเก็บออม การใช้สอย และการแบ่งปัน เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ การที่ใครจะคิดได้ต้องมีสัมมาทิฐิประจำใจก่อน ซึ่งครูต้องเป็นทั้งผู้ฝึก และเป็นตัวอย่างให้แก่ศิษย์


              ๔) ครูต้องชี้แนะให้ศิษย์เห็นว่า อบายมุขทั้ง ๖ มิจฉาวณิชชาและมิจฉาอาชีวะต่าง ๆ นั้น ก่อให้เกิดทุกข์และโทษแก่ผู้เกี่ยวข้องทั้งในโลกนี้และโลกหน้าอย่างไรก่อให้เกิดทุกข์และโทษแก่ชาวโลกอย่างไรขณะเดียวกันครูเองก็ต้องไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งชั่วร้ายนั้นอย่างเด็ดขาด


                ๖. สัมมาวายามะ คือ ความพยายามถูกต้องสิ่งที่ครูต้องเข้าใจและปฏิบัติต่อศิษย์ตามนัยแห่งสัมมาวายามะ ได้แก่


              ๑) การปรารภความเพียรตามหลักปธาน ๔ นั้น เป็นการเพาะนิสัยบุคคลให้มีคุณธรรมพื้นฐาน ๓ ประการ คือ ความเคารพ ความอดทน และความมีวินัยโดยอัตโนมัติ


               ๒) ครูมีหน้าที่โดยตรงในการปลูกฝังอบรมคุณธรรมพื้นฐาน ๓ ประการ ดังนี้


                  - ความเคารพ ฝึกได้โดยให้ศิษย์อภิปรายคุณความดีของบุคคล สถานที่ ฯลฯ อภิปรายข้อดีหรือประโยชน์ของพิธีกรรม หนังสือ วรรณกรรม งานศิลปะ ฯลฯ


             - ความอดทน ฝึกได้โดยให้ศิษย์ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆทั้งกิจกรรมในหลักสูตร และนอกหลักสูตร ทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ตามความเหมาะสมด้วยประการต่างๆ และบทฝึกที่ขาดไม่ได้ก็คือ การทำสมาธิภาวนาหรือการบริหารจิต ทั้งนี้เพราะ เมื่อใจสงบย่อมเกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาย่อมก่อให้เกิดความคิดและกำลังใจที่จะฟันฝ่าอุปสรรคต่าง ๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้ตามเป้าหมาย


                   - ความมีวินัย ฝึกได้โดยการตรงต่อเวลา เช่น เข้าเรียนตรงเวลา ส่งการบ้านตรงเวลา รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎกติกาและระเบียบต่างๆ ของโรงเรียน เช่น แต่งกายถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียนไม่กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นข้อห้ามของโรงเรียน รู้จักทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง เป็นต้น


              ๓) คุณธรรมพื้นฐาน ๓ ประการนี้ เป็นเครื่องมือแก้นิสัยของคนเราได้โดยปริยาย ขณะเดียวกันก็ช่วยพัฒนาคนที่มีนิสัยดีอยู่แล้วให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นอีกด้วย


                ๔) ครูจึงมีปณิธานอันแน่วแน่ในการสั่งสมบุญบารมีให้เป็นแบบอย่างแก่ชาวโลก คราใดที่ศิษย์รำลึกถึงครูเช่นนี้ ย่อมเกิดแรงบันดาลใจที่จะบำเพ็ญคุณความดีตามอย่างครูอย่างต่อเนื่อง


                 ๗. สัมมาสติ คือ ความระลึกถูกต้องสิ่งที่ครูต้องเข้าใจและปฏิบัติต่อศิษย์ตามนัยแห่งสัมมาสติ ได้แก่


                 ๑) ครูมีหน้าที่ตลอดชีวิตในการเป็นต้นแบบนิสัยใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ทําดี มีความสามารถให้แก่ชาวโลก


                  ๒) มุ่งมั่นปลูกฝังอบรมศิษย์ให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ ใฝ่ทำดี มีความสามารถ เพื่อเป็นที่พึ่งแก่ตนเองและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี


             ๓) การฝึกสำรวมใจให้อยู่ภายในตัว ไม่คิดฟุ้งซ่านไปในเรื่องไร้สาระ ก็จะมีสติอยู่เสมอ ไม่เผอเรอ ไม่ประมาท ขณะเดียวกันก็จะสมบูรณ์พร้อมด้วยคุณธรรมพื้นฐาน ๓ ประการ คือ มีความเคารพ อดทน และมีวินัย


                  ๔) ครูสามารถฝึกศิษย์ให้มีสติ ระมัดระวังในการทำหน้าที่การงานต่าง ๆ ไม่ให้เกิดความผิดพลาด ด้วยการฝึกศิษย์ให้มีนิสัยรักการทําสมาธิภาวนา


                  ๘. สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นถูกต้องสิ่งที่ครูต้องเข้าใจ และปฏิบัติต่อศิษย์ตามนัยแห่งสัมมาสมาธิ ได้แก่


                       ๑) สมาธิเป็นเรื่องของใจ ซึ่งเป็นนายของกาย ดังนั้นความพยายาม สติกับสมาธิจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดเสมือนเป็นเรื่องเดียวกัน


                          ๒) บุคคลที่มีสมาธิย่อมทำงานได้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนักเรียนที่มีสมาธิดีย่อมเรียนหนังสือเก่ง เพราะเข้าใจบทเรียนได้ถูกต้องและจดจําได้ไม่ลืมเลือน


                         ๓) ครูฟังฝึกให้นักเรียนทำสมาธิภาวนา ประมาณ ๕ ถึง ๑๐ นาที ก่อนเริ่มเรียนวิชาการในชั่วโมงแรกของทุกๆ วัน และทุกครั้งของต้นชั่วโมงที่เปลี่ยนวิชาเรียนดังนั้นในแต่ละวันย่อมทำสมาธิรวมกันได้หลายนาทีถ้าทำเป็นกิจวัตรย่อมทำให้ใจตั้งมั่นถูกต้องยิ่งขึ้นทำให้สามารถเข้าใจบทเรียนต่างๆอย่างทะลุปรุโปร่งสอบได้คะแนนดีเป็นคนเรียนหนังสือเก่งขณะเดียวกันก็ตระหนักถึงคุณค่าและความจำเป็นของการทำสมาธิจนเป็นนิสัยพร้อมกันนั้นคุณธรรมพื้นฐานทั้ง ๓ ประการก็จะพัฒนายิ่งขึ้น เกิดปัญญาเล็งเห็นคุณค่าของสัมมาทิฐิ ตลอดจนการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ และเล็งเห็นโทษของมิจฉาทิฐิ อบายมุข การประพฤติทุจริต และอกุศลกรรมทั้งปวงได้ง่าย


                      ๔) คำสอนทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ในพระพุทธศาสนา รวมลงในมรรคมีองค์ ๘ ทั้งสิ้น ถ้าข้อใดอนุโลมลงในมรรคมีองค์ ๘ ไม่ได้ ข้อนั้นไม่ใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเพียงกาฝากในศาสนาเท่านั้น


                        ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า มรรคมีองค์ ๘ นี้ เป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติของพุทธศาสนิกชน ทุกเพศ ทุกวัย และทุกระดับและเป็นแม่บทการศึกษาอย่างแท้จริง ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติที่สมบูรณ์ที่สุดของชาวโลกทุกยุคทุกสมัยตลอดมา


หลักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘


        โดยเหตุที่มรรคมีองค์ ๘ แต่ละข้อมิได้มีความสมบูรณ์ในตัวเองกล่าวคือ บางข้อมีบางส่วนเป็นได้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติพร้อมกันบางข้อเป็นเฉพาะภาคทฤษฎีเท่านั้นบางข้อก็มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติสมบูรณ์อยู่ในตัว ซึ่งสามารถส่งเสริมสนับสนุนการปฏิบัติอีก ๗ ข้อให้สัมฤทธิผลด้วย บางข้อก็เป็นภาคปฏิบัติล้วนแต่มีผลสัมฤทธิ์ครอบคลุมการปฏิบัติของข้ออื่นทั้ง ๗ ข้อ ดังนั้นการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ให้ได้ผลดีจริงจึงต้องใช้วิธีบูรณาการ ดังนี้

 

2567_07_18_05.JPG

 

        ๑. พยายามปฏิบัติให้ครบทุกข้อ ไม่ควรขาดข้อใดข้อหนึ่งไป


         ๒. พยายามปฏิบัติทั้ง 4 ข้อพร้อม ๆ กัน หากแยกข้อใดข้อหนึ่งมาปฏิบัติตามลำพัง ย่อมได้ผลไม่เต็มที่ เช่น ปฏิบัติข้อ ๑ ในสัมมาทิฐิ คือทำทานใส่บาตรทุกวันแต่ยังกล่าววจีทุจริต ๔ อยู่เสมอ ไม่สนใจทำสมาธิภาวนา โดยอ้างเหตุผลว่าไม่มีเวลา เช่นนี้ย่อมไม่สามารถแก้นิสัยเสียๆให้หมดไปได้


           ๓. การปฏิบัติแต่ละข้อต้องพยายามให้สมบูรณ์ตามแบบที่กําหนดไว้ ในความหมายเบื้องต่ำของมรรคแต่ละข้อ เช่น ในการปฏิบัติสัมมาสังกัปปะ มีความคิดและตั้งใจที่จะไม่อาฆาตพยาบาทใครๆที่สร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้ตน มีความคิดที่จะไม่เอาเปรียบเบียดเบียนหรือรังแกใครๆที่เคยเอาเปรียบตน แต่ก็ยังเกี่ยวข้องพัวพันอยู่กับอบายมุข ทั้งการดื่มสุรา และเล่นการพนัน เช่นนี้ถือว่า ยังไม่สมบูรณ์


           ข้อบกพร่องในการปฏิบัติมรรคข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบในเชิงลบต่อการปฏิบัติมรรคข้ออื่นๆ ได้เสมอ แม้จะพยายามปฏิบัติมรรคไปนานเท่าใด ย่อมยากที่จะก่าจัดนิสัยเสียๆ ได้สําเร็จ


           ๔. การปฏิบัติแต่ละข้อต้องพยายามให้ได้สัดส่วนที่พอเหมาะกัน เช่น เมื่อมีสัมมาทิฐิเข้าใจเรื่องบุญและบาป เรื่องกฎแห่งกรรมเรื่องโทษของการผิดศีล จึงตั้งใจปฏิบัติสัมมาวาจา ด้วยการงดเว้นวจีทุจริต ๔ ตั้งใจปฏิบัติสัมมากัมมันตะ ด้วยการงดเว้นกายทุจริต ๓ แต่มิได้มีความคิดที่จะปฏิบัติสัมมาสมาธิอย่างจริงจังใจจึงไม่ตั้งมั่นเผลอสติตั้งอยู่ในความประมาทจึงทำผิดพลาดได้ง่ายครั้นแล้วก็หาวิธีพ้นผิดด้วยการกล่าวเท็จ นี่คือผลของการปฏิบัติแต่ละข้อโดยมิได้สัดส่วนที่พอเหมาะ


              ๕. พยายามปฏิบัติให้ต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดเป็นนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เป็นชีวิตจิตใจ

              การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ แบบบูรณาการนี้ อุปมาเหมือนกับการตำนํ้าพริกรสเด็ด ซึ่งต้องมีส่วนประกอบต่างๆ ให้ครบทั้ง ๔ อย่าง ได้แก่ กะปิ กระเทียม กุ้งแห้ง มะเขือพวง พริก น้ำตาล น้ำปลา มะนาว เป็นต้น ถ้าขาดเครื่องปรุงอย่างใดอย่างหนึ่งไป ก็จะไม่ครบเครื่องน้ำพริกรสเด็ด เมื่อมีเครื่องปรุงครบถ้วนแล้ว ก็นำเครื่องปรุงที่เป็นของแข็งทั้งหมดใส่รวมกันในครกแล้วโขลกจนละเอียดหลัง จากนั้นจึงเติมเครื่องปรุงที่เป็นของเหลวลงไป แล้วคนให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว อย่างไรก็ตามเครื่องปรุงแต่ละอย่างต้องมีสัดส่วนพอเหมาะกัน จึงจะทำให้มีรสชาติอร่อยเพราะถ้าใส่กะปิมากเกินไปก็จะมีกลิ่นกะปิรุนแรงไม่ชวนรับประทาน ถ้าใส่พริกมากเกินไปก็จะเผ็ดจนรับประทานไม่ได้ ถ้าใส่มะนาวมากเกินไปก็จะไม่ใช่น้ำพริกรสเด็ดที่น่ารับประทาน แต่เป็นน้ำพริกรสเปรี้ยว รับประทานไม่ได้


                    อุปมาเรื่องน้ำพริกฉันใด อุปมัยเรื่องการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ก็ฉันนั้น คือต้องปฏิบัติตามหลัก ๕ ประการ ได้แก่ ๑. ครบข้อ๒. พร้อมกัน ๓. สมบูรณ์แบบ ๔. ได้สัดส่วน และ ๕. ต่อเนื่อง จนกระทั่งเกิดเป็นนิสัยปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์ ๘ ตลอดชีวิต


                 ผู้ที่มีนิสัยรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ เป็นกิจวัตร ย่อมเป็นผู้มีกำลังใจในการบำเพ็ญคุณความดีอย่างมหาศาล เพื่อเป็นการสั่งสมบุญกุศลของตน และเพื่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม และเพราะเหตุที่ใจไม่ตกอยู่ในอำนาจของนิวรณ์ ๕ จึงไม่เกิดอาการเครียด เบื่อ กลุ่มเพราะกามฉันทะบ้าง เพราะพยาบาทบ้าง เพราะหดหู่เซื่องซึม (ถีนมิทธะ) บ้าง เพราะฟุ้งซ่านรำคาญใจ (อุทธัจจกุกกุจจะ) บ้าง เพราะลังเลสงสัย (วิจิกิจฉา) จนกลุ้มกลัดบ้าง


             ในทางตรงข้ามกลับมีกำลังใจคิดปรับปรุงแก้ไข เพื่อพัฒนาตนให้เป็นคนดียิ่งๆขึ้น ผลที่ปรากฏในเบื้องต้นคือนิสัยเก่าๆที่ไม่ดีทั้งหลายได้ถูกขจัดไปด้วยนิสัยดีๆที่เกิดขึ้นใหม่ส่วนนิสัยดีๆที่เคยมีมานานก็ถูกตอกย้ำให้มั่นคงยิ่งๆขึ้นจึงมีชีวิตใหม่ที่พรั่งพร้อมด้วยความสุขและความเจริญก้าวหน้าขึ้นไปตามลำดับ


                   กล่าวได้ว่า อานิสงส์หรือผลดีที่เกิดจากการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ จนเป็นนิสัย อันดับแรกก็คือมีความสุขกายสบายใจในชีวิตประจำวัน ขณะเดียวกันก็เกิดความปรารถนาดีต่อผู้อื่นอยากให้ผู้อื่นมีความสุขกายสบายใจเช่นเดียวกับตนด้วยจึงตั้งใจทำหน้าที่กัลยาณมิตรและโดยเหตุที่ตนเป็นผู้รักการรักษาศีลจนเป็นผู้มีศีลธรรมประจำใจยังผลให้คุณความดีต่างๆมากมายบังเกิดขึ้นในตนกลายเป็นผู้มีคุณธรรมประจำใจมีจิตใจสะอาด สว่าง สงบอย่างมั่นคง ในที่สุดก็สามารถบรรลุความเป็นผู้รู้เห็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง รู้แจ้งเห็นแจ้งอริยสัจ ๔ ตรงตามความเป็นจริงที่เกิดภายในตนอย่างชัดเจนไปตามลำดับ

2567_07_18_06.JPG

 

             จากภาพการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ รอบแรก ซึ่งเริ่มจากความเห็นถูกหรือมรรคที่ ๑ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับองค์มรรคอื่นๆอย่างต่อเนื่องจนถึงมรรคที่๔ประสบการณ์จากการปฏิบัติครบรอบแรกย่อมสามารถทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความรู้ความเข้าใจหลักธรรมดีขึ้นจึงเกิดปัญญาคิดปรับปรุงแก้ไขพัฒนาตนให้มีนิสัยดีๆที่พึงปรารถนาขณะเดียวกันก็รู้สึกมีความสุขกายสบายใจ ยิ่งกว่านั้น ยังสังเกตพบว่าตนเป็นคนใหม่ที่ผู้คนรอบข้างให้เกียรติ ให้ความรักใคร่เอ็นดูและความเคารพดีกว่าในอดีตหรืออย่างน้อยก็ไม่ถูกตำหนิจากญาติผู้ใหญ่

2567_07_18_07.JPG

 

             จากภาพการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ อย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่าเมื่อผู้ปฏิบัติได้ประจักษ์ในคุณค่าของการปฏิบัติในรอบแรกแล้วก็จะมีกำลังใจปฏิบัติในรอบต่อไปอีกบุคคลที่สามารถปฏิบัติได้ต่อเนื่องโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆย่อมปรารถนาจะปฏิบัติให้แก่รอบเรื่อยไปเพราะนอกจากตนจะประสบความสุขกายสบายใจแล้วยังประจักษ์แก่ใจตนอีกด้วยว่าบุญกุศลและปัญญาของตนพัฒนาขึ้นตามลำดับจึงรักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ยิ่งขึ้น ด้วยศรัทธามั่นว่าหากการปฏิบัติของตนบริบูรณ์พร้อมด้วยสัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิแล้วไซร้ ย่อมมีโอกาสบรรลุมรรคผลระดับใดระดับหนึ่งในชาตินี้ และมั่นใจว่าประสบการณ์ทั้งหมดนี้ย่อมไม่สูญสลายหายไป แต่จะถูกสั่งสมไว้เป็นนิสัย ปัจจัยสําหรับการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ในภพชาติต่อไปอย่างแน่นอน



              กระบวนการฆ่ากิเลสของมรรคมีองค์ ๘


             จากภาพที่ ๓-๓ แสดงให้เห็นว่า การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ที่แก่รอบ คือวิถีทางแห่งการบรรลุธรรม คำว่าบรรลุธรรมในบริบทนี้ หมายถึง บรรลุนิพพาน คำว่า นิพพาน หมายถึง ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์ ดังนั้นจึงกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า การปฏิบัติมรรค
มีองค์๘ที่แก่รอบย่อมสามารถฆ่ากิเลสที่ฝังตัวเกาะติดอยู่ในใจคนเรามาตั้งแต่แรกถือกําเนิดในครรภ์มารดาได้อย่างสิ้นเชื้อไม่เหลือเศษ


              บางท่านอาจสงสัยว่า มรรคมีองค์ ๘ ฆ่ากิเลสได้อย่างไร
              ได้กล่าวไว้แต่ต้นบทแล้วว่า การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ที่จะก่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริงนั้น ต้องปฏิบัติในลักษณะมัคคสมังคี คือ ปฏิบัติพร้อม ๆ กันทั้ง ๔ ข้อ การพยายามปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ พร้อม ๆ กันทุกข้อ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ (สัมมาวายามะ) ย่อมก่อให้เกิดบุญต่อเนื่องกันเป็นสายพร้อมกันนั้นกำลังใจของผู้ปฏิบัติก็ทับทวียิ่งขึ้นส่งผลให้สามารถเอาชนะนิสัยไม่ดีต่างๆที่เคยมีขณะเดียวกันก็มีความระมัดระวัง (สัมมาสติ) ไม่เผลอใจไปก่อบาปอกุศล ในขณะที่แสวงหา ปัจจัย ๔ หรือธาตุ ๔ มาเลี้ยงชีวิตบุญจึงทับทวีขึ้นเรื่อยๆเกิดเป็นดวงบุญสว่างไสวต่อเนื่องกันโดยอัตโนมัติบุญเหล่านี้เองที่เป็นตัวทำลายและกำจัดกิเลสที่เกาะติดอยู่ในใจคนเรามาตั้งแต่เกิดจนสิ้นซาก

              เกี่ยวกับกระบวนการกำจัดกิเลสของมรรคมีองค์ ๘ อาจอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ๆ ดังนี้


           ขณะที่บุคคลมุ่งปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ย่อมเป็นการสร้างกรรมดีอย่างต่อเนื่องพลังบุญจึงทับทวีขึ้นเรื่อยๆขณะที่สร้างกรรมดีอย่างต่อเนื่อง ย่อมไม่มีการสร้างกรรมชั่วบาปใหม่จึงไม่เกิดขึ้นเลย


              กิเลสที่เคยเกาะติดอยู่ในใจคนเรามาตั้งแต่แรกถือกำเนิดในครรภ์มารดา ย่อมไม่สบโอกาสครอบงำและควบคุมจิตใจ ขณะเดียวกันก็ถูกพลังบุญแผ่อำนาจเข้าไปทำลายล้างจนสิ้นซาก


               ยิ่งกว่านั้น สิ่งที่อันตรธานไปพร้อมกับกิเลสก็คือความทุกข์ ๓ ประการ ดังได้กล่าวแล้วในบทที่ ๒ พร้อมกันนั้นธาตุ ๔ ในร่างกายที่ไม่บริสุทธิ์ ก็จะถูกบุญกลั่นให้บริสุทธิ์ได้ในระดับหนึ่ง


               การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ สำหรับเด็กเล็ก


               การปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ให้ได้ผลดีจริงมีเงื่อนไขว่า ต้องใช้วิธีบูรณาการ ๕ ประการ คือ ต้องปฏิบัติให้ครบทั้ง ๔ ข้อ ต้องปฏิบัติพร้อมๆกันทั้ง 4 ข้อ ต้องปฏิบัติให้สมบูรณ์ตามรายละเอียดทุกข้อ ต้องปฏิบัติให้ได้สัดส่วนกัน ทั้ง 4 ข้อ และต้องปฏิบัติทั้ง 4 ข้ออย่างต่อเนื่องรอบแล้วรอบเล่า


                 จากเงื่อนไข ๕ ประการนี้ อาจทำให้ครูบาอาจารย์บางท่านมีความคิดกังวลว่า การสอนมรรคมีองค์ ๘ ควรเริ่มสอนนักเรียนที่โตแล้ว เพราะสามารถเข้าใจคำอธิบายเรื่องมรรคมีองค์ ๘ ในภาคทฤษฎีจากการอ่านได้เป็นอย่างดี เมื่อเข้าใจภาคทฤษฎีแล้วย่อมลงมือปฏิบัติภาวนาได้ง่าย ดังนั้นจึงน่าจะยังไม่ควรสอนมรรคมีองค์ ๘ ให้แก่นักเรียนในระดับอนุบาลหรือประถมต้น ซึ่งมีความรู้ไม่แตกฉานในอักขรสมัย หรือการอ่านข้อความต่างๆ ควรรอไว้ให้เด็กนักเรียนอยู่ชั้นประถมปลาย และมัธยมต้น จะได้ประโยชน์มากกว่า เพราะเด็กสามารถอ่านเขียนได้ดีหรืออะไรทํานองนี้


         แท้ที่จริงถึงแม้จะเริ่มสอนภาคทฤษฏีแก่เด็กอนุบาลไม่ได้เราก็สามารถเปลี่ยนไปเริ่มที่ภาคปฏิบัติก่อนได้ โดยการให้ทำสมาธิ ภาวนา ทั้งนี้เพราะใจของเด็กเล็กยังไม่แตก หมายความว่า องค์ประกอบของใจอันได้แก่ ดวงเห็น ดวง ดวงคิด และดวงรู้ ยังซ้อนกันอยู่ยังไม่แตกแยกจากกัน ถ้าให้เด็กทำสมาธิ เด็กก็จะสามารถรวมดวงเห็นดวง ดวงคิด ดวงรู้ เข้าเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างรวดเร็ว เมื่อใจรวมเป็นหนึ่งก็สว่างโพลงขึ้นทันที ทำนองเดียวกับการเสียบปลั๊กไฟฟ้า กล่าวคือ พอเสียบปลักไฟ ติดทันที แต่พอดึงปลั๊กออกไฟก็ดับทันทีเหมือนกัน


              นั่นคือ เด็กสามารถทําใจเป็นสมาธิได้อย่างรวดเร็ว แต่อาจจะไม่สามารถรักษาไว้ได้นาน ถึงกระนั้นเด็กที่ฝึกสมาธิอยู่เสมอก็จะมีความคิดสุจริต บริสุทธิ์สะอาด จึงมีนิสัยประณีต มีกิริยาวาจาเรียบร้อยน่ารัก ว่านอนสอนง่าย ไม่ดื้อด้าน ไม่ก้าวร้าว เป็นเด็กไม่มีปัญหา


             อนึ่ง ในการทำใจให้เป็นสมาธินั้น มีหลักสำคัญอยู่ตรงที่การวางใจนิ่งๆอยู่ที่ศูนย์กลางกาย โดยไม่คิดอะไรทั้งสิ้น ตามธรรมดาเด็กเล็กๆย่อมไม่ใคร่มีเรื่องต้องคิดอยู่แล้ว จึงสามารถวางใจให้สงบนิ่งเป็นสมาธิได้รวดเร็ว ความสว่างโพลงอันเกิดจากใจหยุดนิ่ง ย่อมทำให้เด็กมีจิตใจผ่องใส ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจกิเลส จึงคิดดี พูดดี และทำดีได้ง่าย จึงมีนิสัยประณีตเรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย

 

                สำหรับครูบาอาจารย์ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ อย่าพึ่งคิดโต้แย้งโดยยึดเอามาตรฐานของผู้ใหญ่เป็นเกณฑ์ตัดสิน อย่าคิดว่าขนาดผู้ใหญ่ยังทำไม่ได้ แล้วเด็กจะทำได้อย่างไร ขอให้ท่านลองทดลองดูก่อน โดยให้เด็กเล็กๆทั้งในระดับอนุบาลและประถมต้น ทำสมาธิในตอนเช้าก่อนเริ่มเรียนหนังสือทุกวัน ไม่ต้องนานนัก ประมาณไม่เกิน ๑๐ นาที และถ้าเป็นไปได้อาจจะให้ทำทุกต้นชั่วโมงของการเปลี่ยนไปเรียนวิชาใหม่ ครั้งละไม่เกิน ๑๐ นาที ไม่เกิน ๑ สัปดาห์เท่านั้น แน่นอนเหลือเกินว่าท่านจะพบว่าลูกศิษย์แต่ละคนมีนิสัยประณีต อ่อนโยน ว่านอนสอนง่ายปกครองง่ายขึ้น ช่วยให้ท่านไม่ต้องจับปูใส่กระด้งอีกต่อไป

 
           เด็กเล็กที่เคยฝึกสมาธิเป็นประจำ ถ้าหยุดไปสักระยะหนึ่งประสบการณ์ภายในก็อาจจะเลือนหายไป ทำนองเดียวกับการเรียนวิชาทักษะต่าง ๆ เช่น ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ ถ้าเรียนสักระยะหนึ่งแล้วหยุดเรียนไปนานๆก็ย่อมจะลืมเลือนสิ่งที่เคยเรียนไปแล้ว


         อย่างไรก็ตาม ถ้าจะหวนกลับไปเรียนภาษาต่างประเทศนั้นอีกก็อาจจะรื้อฟื้นความจำ และสามารถเรียนรู้ได้เร็วกว่าผู้ที่ไม่เคยเรียนมาก่อนเลย


            ในทำนองเดียวกัน เด็กที่เคยฝึกสมาธิในสมัยที่อยู่ชั้นอนุบาลและประถมแล้วเลิกล้มไป ครั้นเมื่อเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ปรารถนาจะฝึกสมาธิก็อาจสามารถทำได้ไม่ยากนักเพราะเคยมีประสบการณ์มาแล้วความทรงจําของเด็กอนุบาลอาจตราตรึงตลอดไปในสมัยก่อนการเรียนการสอนในโรงเรียนจะมีบทท่องจํา หรือ เรียกว่า อาขยาน ให้นักเรียนท่องกันตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยม สำหรับเด็ก

 

             ความทรงจําของเด็กอนุบาลอาจตราตรึงตลอดไป


            ในสมัยก่อนการเรียนการสอนในโรงเรียนจะมีบทท่องจำ หรือ เรียกว่า อาขยาน ให้นักเรียนท่องกันตั้งแต่ชั้นประถมถึงมัธยมสำหรับเด็กประถมต้นนั้นแม้จะท่องบทอาขยานได้ถูกต้องคล่องแคล่วแต่ส่วนมากไม่รู้ความหมายเข้าทำนองพูดได้แบบนกแก้วนกขุนทองฉะนั้นแต่ความทรงจำในวัยเด็กเล็กของผู้คนไม่น้อยก็ยังตราตรึงอยู่ในใจตลอดชีวิต บางคนอายุ ๘๐ ปีแล้ว ก็ยังสามารถท่องอาขยานที่เคยท่องสมัยเรียนอยู่ชั้นประถมได้


            ดังนั้นประสบการณ์ในการนั่งสมาธิในสมัยที่เป็นเด็กเล็กๆของบางคน ก็อาจตราตรึงอยู่ในความทรงจำไปตลอดชีวิตแม้จะเว้นระยะการนั่งสมาธิไปบ้างแต่ถ้าได้กลับมาทำสมาธิอย่างต่อเนื่องก็แน่นอนเหลือเกินว่าผลการนั่งสมาธิของเขาจะต้องก้าวหน้าขึ้นอย่างมากมายชนิดการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ แบบรอบแล้วรอบเล่าทีเดียว


              สิทธัตถะราชกุมารบรรลุปฐมฌาน


              เมื่อครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระเยาว์มีพระชนม์มายุได้ ๗ พรรษา ยังเป็นพระสิทธัตถะราชกุมารได้ตามเสด็จพระราชบิดาไปในงานวัปปมงคลแรกนาขวัญในตอนบ่ายวันนั้นขณะที่พระราชกุมารประทับนั่งอยู่ใต้ต้นหว้าอันร่มเย็นตามลำพังได้เจริญสมาธิภาวนาทำให้สงบจากกามและอกุศลทั้งหลายแล้วบรรลุปฐมฌานที่มีวิตก (ความตรึก) วิจาร (การพิจารณาอารมณ์) ปีติ (ความดื่มในใจ) และสุขอันเกิดจากวิเวก (ความสงัด) อยู่


            การที่พระสิทธัตถะราชกุมารซึ่งมีพระชนม์เพียง ๗ พรรษา ทรงรู้วิธีการทําสมาธิภาวนาโดยไม่มีครูบาอาจารย์สอน และยังสามารถบรรลุปฐมฌานอีกด้วยย่อมแสดงว่าความรู้และประสบการณ์ในการทำสมาธิภาวนาในอดีตชาติยังคงประทับอยู่ในความทรงจำของพระราชกุมารต่อเนื่องมาถึงภพชาติใหม่

                แต่โดยเหตุที่ทรงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยให้มีโอกาสได้ทําสมาธิภาวนา พระองค์ก็มิได้ทรงทำสมาธิภาวนาอีกเลยเป็นเวลา ถึง ๒๒ ปี แต่ในที่สุดประสบการณ์ในอดีตชาติผนวกกับการได้ทรงพบเห็นเทวทูต ก็ทำให้พระองค์ตัดสินพระทัยเสด็จออกบรรพชา


                 หลังจากที่ทรงบำเพ็ญเพียรทุกกรกิริยานานถึง ๖ ปีก็ไม่ทรงประสบผลสำเร็จแต่ประการใดในที่สุดก็ทรงสามารถรำลึกถึงประสบการณ์ในการทำสมาธิเมื่อครั้งทรงพระเยาว์ได้จึงตัดสินพระทัยเลิกวิธีทรมานตนทรงบำรุงพระวรกายให้แข็งแรงแล้วทรงเริ่มปฏิบัติตามวิธีที่เคยปฏิบัติในครั้งนั้นในระยะเวลาไม่นานก็ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า


                  จากเรื่องราวของพระพุทธองค์นี้ย่อมให้ข้อคิดว่า


                  ๑. เด็กในระดับอนุบาลและประถมนั้นสามารถสอนให้ฝึกสมาธิได้


               ๒. ผู้ที่มีประสบการณ์การฝึกสมาธิในวัยเด็ก แม้จะหยุดการปฏิบัติไปนานกว่า ๓๐ ปี เมื่อหันกลับมาเริ่มปฏิบัติอีก ก็สามารถประสบความสําเร็จภายในระยะเวลาไม่นานนัก


                   ด้วยเหตุนี้ การสอนมรรคมีองค์ ๘ ให้แก่เด็กในระดับอนุบาลและประถมต้น จึงควรเริ่มด้วยการปฏิบัติสัมมาสมาธิ สำหรับองค์มรรคอื่นๆ ที่มีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติก็ควรนำภาคปฏิบัติมาสอนให้ก่อน ต่อเมื่อเด็กเลื่อนชั้นไปอยู่ประถมปลายสามารถอ่านเขียนได้คล่องแล้วจึงค่อยสอนภาคทฤษฎีแต่สำหรับสัมมาสมาธินั้นต้องปฏิบัติต่อเนื่องไปทุกระดับชั้น

 

                    จิตของวัยรุ่นเป็นสมาธิช้ากว่าเด็กเล็ก

                     ท่านผู้อ่านคงเคยได้ยินคนพูดกันว่า พวกเด็กวัยรุ่นนั้นใจแตกในทางธรรมนั้นใจแตกหมายถึง องค์ประกอบทั้ง ๔ ของใจ คือ ดวงเห็นดวง ดวงคิด และดวงรู้ ต่างแตกแยกกันออกไปติดอยู่กับกามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส หรือที่เรียกว่า ความคิดฟุ้งซ่าน นั่นเอง จิตใจของวัยรุ่นจึงยากที่จะรวมเป็นหนึ่ง หรือเป็นสมาธิแน่วแน่ได้


                    ผลการทำสมาธิภาวนาในกลุ่มเด็กวัยรุ่น อาจจะพบกับความสงบและความสว่างบ้าง แต่ประสบการณ์ภายในจะไม่ก้าวหน้ารวดเร็วเหมือนเด็กอนุบาลและประถมต้น ยกเว้นเด็กบางคนที่มีประสบการณ์ภายในติดข้ามภพข้ามชาติมาจนถึงปัจจุบัน


                   อย่างไรก็ตามการเรียนการสอนมรรคมีองค์ ๘ สำหรับเด็กโตก็ควรประกอบด้วยทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติไปพร้อมๆกันสำหรับการปฏิบัติสมาธิเป็นกิจวัตรจนเป็นนิสัยนั้นจะสามารถส่งเสริมให้เด็กเป็นทั้งคนเก่งและคนดีมีปัญญามากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวกทั้งหลายมีปัญญารู้แจ้งโลกและบรรลุนิพพาน ก็เพราะปัญญาอันเกิดจากการทำภาวนา ที่เรียกว่า ภาวนามยปัญญา นั่นเอง

2567_07_18_08.JPG

 

        สัมมาทิฐิ ๑๐ แม่บทการสร้างกำลังใจในการทําความดี


                  ในการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีนั้นนอกจากจะต้องมีความรู้ความสามารถแล้ว จำเป็นต้องมีควาชำนาญและกำลังใจมากพอด้วยซึ่งการที่คนเราไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่จะสร้างกำลังใจให้เพิ่มพูนได้นั้นผู้นั้นต้องมั่นใจว่าตนมีความรู้ความสามารถในเรื่องนั้นๆจริงแม้กำลังใจในการประกอบคุณความดีก็เช่นกัน จะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืนตลอดชีวิต ก็ต่อเมื่อมีความรู้ความเข้าใจถูกเรื่องโลกและชีวิต และมีความชำนาญในการปฏิบัติตนตามหลักสัมมาทิฐิซึ่งศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูประกอบด้วยความเห็นถูกต้องในเรื่องหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข และ ความจริงประจําโลก ดังต่อไปนี้

 

 

2567_07_18_09.JPG

 

                    ๑. ชีวิตของชาวโลกจะเป็นสุขได้ ก็เพราะชาวโลกต่างต้องรู้จักแบ่งปันกันอยู่ ปันกันกิน ปันกันใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี ต่างไมหวงแหน กักตุน เอาเปรียบแย่งชิงกัน นั่นคือ เข้าใจถูกว่าทานมีผลจริง ซึ่งจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างถูกวิธีอีกด้วย


                      ๒. ชีวิตของชาวโลกจะเป็นสุขได้ ก็เพราะชาวโลกต่างต้องไม่ทอดทิ้งซ้ำเติมผู้ตกทุกข์ได้ยาก แต่ต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกันจนสุดความรู้ความสามารถเพื่อแก้ไขบรรเทาทุกข์เหล่านั้นนั่นคือเข้าใจถูกว่า การสงเคราะห์มีผลจริง ซึ่งจะเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมอย่างถูกวิธีด้วย


                       ๓. ชีวิตของชาวโลกจะเป็นสุขได้ ก็เพราะต่างต้องเลิกจับผิดกันแต่รักการจับถูก คือค้นหาความดีของกันและกัน ครั้นพบแล้วก็ประกาศคุณความดีนั้นๆให้ปรากฏแก่สังคม เป็นการยกย่องให้เกียรติ ให้กำลังใจที่จะทำความดียิ่งๆขึ้น นั่นคือเข้าใจถูกว่า การบูชายกย่องคนดีมีผลจริงเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาการเมืองอย่างถูกวิธี


                       ๔. ชีวิตของชาวโลกจะเป็นสุขได้ ก็เพราะต่างต้องไม่ทำอะไรด้วยความลำเอียงเอาแต่ใจตัว ต่างต้องรู้ชัดว่ากรรมดีและกรรมชั่วเป็นอย่างไรเมื่อทำแล้วมีผลดีผลชั่วประการใดจึงเว้นจากการทำกรรมชั่วทั้งทางกายทางวาจาและทางใจโดยเด็ดขาดเลือกทำเฉพาะกรรมดีเท่านั้นเพราะตระหนักว่าหากตนทำกรรมดีตนเองนั่นแหละจะได้รับผลเป็นความสุขหากทำกรรมชั่วตนก็จะได้รับผลเป็นความทุกข์นั่นคือเข้าใจถูกว่าผลวิบากแห่งกรรมที่ทำดีและชั่วมีจริงยิ่งไปกว่านั้นการเลือกทำแต่ความดียังเป็นการป้องกันแก้ไขปัญหาการปกครองอย่างถูกวิธีอีกด้วย


                      การปลูกฝังสัมมาทิฐิ ตั้งแต่ข้อที่ ๑-๔ ซึ่งเป็นหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุขแก่เยาวชนและประชาชนทั่วไปอย่างจริงจัง โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา เพศ วัย เช่นนี้ ย่อมเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ได้อย่างถาวร ทั้งในระดับรากหญ้าและระดับโลก


                 ๕. โลกนี้มีจริง ความสุขหรือทุกข์ ความเจริญหรือเสื่อมที่บุคคลได้รับอยู่ขณะนี้ หาได้เกิดขึ้นเองลอยๆ หรือมีผู้วิเศษคนใดบันดาลหรือสาปแช่งไม่แต่เกิดจากผลกรรมที่ตนเองได้ปฏิบัติตามหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔ ทั้งในอดีตชาติ และช่วงเวลาที่ผ่านมาในชาตินี้ว่า ถูกต้องหรือผิดพลาดมากน้อยเพียงใด นั่นคือเข้าใจถูกว่าโลกนี้ คือตัวเราเองย่อมมีที่มาจริง


                 ๖. โลกหน้ามีจริง คนเราตายแล้วจะยังไม่สูญ เพราะยังไม่หมดกิเลส ต่างต้องไปเกิดใหม่อีก แต่จะเกิดดีหรือร้ายประการใด ขึ้นอยู่กับศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูผลกรรมที่ตนเองได้ปฏิบัติตามหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔ ตั้งแต่ปัจจุบันนี้ จนกระทั่งวันละโลกว่าถูกต้องหรือผิดพลาดเพียงใด รวมกับผลกรรมในอดีตที่ยังติดตามมา หาได้เกิดขึ้นเองลอยๆ หรือมีผู้วิเศษตนใดบันดาลหรือสาปแช่งไม่ นั่นคือเข้าใจถูกว่าโลกหน้าคือตัวเราเองมีที่ไปจริง


                 ๗. มารดามีพระคุณจริง คือมารดามีพระคุณต่อบุตรเพราะ


                      ๑) เป็นผู้ให้ชีวิต


                      ๒) เป็นต้นแบบกายมนุษย์


                      ๓) อบรมสั่งสอนเลี้ยงดูบุตรให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตาม


หลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔


              ในทางตรงกันข้าม หากมารดาไม่อบรมสั่งสอนบุตรตาม
หลักการดำาเนินชีวิตให้เป็นสุข ย่อมมีโทษต่อบุตร นั่นคือเข้าใจถูกว่า
มารดามีพระคุณหรือมีโทษต่อบุตรจริง


               ๘. บิดามีพระคุณจริง คือบิดามีพระคุณต่อบุตรเพราะ


                    ๑) เป็นผู้ให้ชีวิต


                    ๒) เป็นต้นแบบกายมนุษย์


                    ๓) อบรมสั่งสอนบุตรให้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ตามหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔


                   ในทางตรงกันข้าม หากบิดาไม่อบรมสั่งสอนบุตรตามหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ย่อมมีโทษต่อบุตร นั่นคือเข้าใจถูกว่าบิดามีพระคุณหรือมีโทษต่อบุตรจริง


                ๙. โอปปาติกะมีจริง โอปปาติกะ คือสัตว์ที่เกิดผุดขึ้นมาและโตเต็มที่ในทันใด โดยไม่ต้องมีมารดาบิดา เมื่อตายก็ไม่มีซากปรากฏ เช่น เทวดา และสัตว์นรก นี้เป็นการยืนยันว่า นรก และสวรรค์มีจริง การเกิดศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูเป็นสัตว์นรก หรือเป็นเทวดาบนสวรรค์ เป็นผลเนื่องมาจากกรรมชั่ว หรือดี ที่ตนทำไว้ในสมัยที่เป็นมนุษย์ ผู้ทำกรรมชั่วหรือบาปไว้มาก เมื่อละโลกไปแล้วย่อมต้องรับวิบากที่ตนเคยทำไว้ โดยเกิดเป็นสัตว์นรก มีความทุกข์อย่างแสนสาหัส เพราะถูกลงโทษอย่างรุนแรงและต่อเนื่องตลอดอายุขัย ซึ่งยืนยาวนับด้วยล้านหรือโกฏิปี ขณะที่ผู้ทำกรรมดีหรือบุญไว้มาก เมื่อละโลก ย่อมได้เสวยผลบุญที่ตนเคยทำไว้ โดยเกิดเป็นเทวดาบนสวรรค์ มีชีวิตอยู่อย่างเป็นสุขตลอดอายุขัย ซึ่งยืนยาวนับด้วยล้านหรือโกฏิปีเช่นกัน


                    ดังนั้นคนเราจะต้องไม่คิดผิดแบบผู้มีมิจฉาทิฐิว่าตายแล้วสูญหรือโลกหน้าไม่มี ขณะที่มีชีวิตอยู่ก็ต้องสร้างบุญกุศลทุกรูปแบบไว้มากๆ เพื่อความสุขในโลกหน้า นั่นคือเข้าใจถูกว่า สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมีจริง


                     การปลูกฝังสัมมาทิฐิตั้งแต่ข้อที่ ๕-๙ เป็นอย่างดี ย่อมทำให้ประจักษ์ถึงกฎแห่งกรรมซึ่งเป็นความจริงประจำโลกได้อย่างชัดเจน


                     ๑๐. พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์มีจริง เป็นธรรมชาติว่า สมัยใดหากสมณพราหมณ์หรือนักบวชท่านใด ประพฤติดีปฏิบัติชอบ กลั่นกายวาจา ใจตนเองให้ผ่องใสเป็นนิจ โดยถวายชีวิตเป็นเดิมพัน ย่อมรู้แจ้งแทงตลอดเรื่องโลกนี้ และโลกหน้า ด้วยปัญญาอันยิ่งเองยิ่งกว่านั้น ท่านยังมีน้ำใจตระเวนสั่งสอนชาวโลกให้รู้แจ้งแทงตลอดในความจริงทั้งหลายตามท่านอีกด้วย ชาวโลกจึงขนานนามท่านด้วยความเคารพยิ่งว่าพระพุทธเจ้านั่นคือเข้าใจถูกว่า พระพุทธเจ้ามีจริง ชาวโลกทั้งหลายจึงสมควรยึดถือพระองค์ท่านเป็นบรมครูและประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระองค์ท่าน เพื่อให้ชีวิตปลอดภัยและเป็นสุขเช่นเดียวกับท่าน

                         การจัดกิจกรรมส่งเสริมสัมมาทิฐิ ๑๐ ประการ ให้ผู้เรียนทั้งประเทศ ได้ปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม และสม่ำเสมอทั่วถึงจนกลายเป็นนิสัย ทั้งหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔ ความจริงประจ้าโลก ๕ และความศรัทธาในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือความสำเร็จในการจัดการศึกษาของประเทศชาตินั้น ๆ อย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพราะ


                      ๑. ผู้มีสัมมาทิฐิ ๑๐ ย่อมมีกำลังใจทำความดี


                      ๒. ผู้มีกำลังใจทําความดี ย่อมมีกำลังใจฝึกสมาธิอย่างต่อเนื่อง


                    ๓. ผู้ปฏิบัติสมาธิอย่างต่อเนื่องย่อมมีใจเบิกบาน สว่างไสว เห็นและยอมรับธรรมชาติการอยู่ร่วมกันของมหาชนตามความเป็นจริงได้โดยง่าย คือ


                      ก. เห็นและยอมรับความไม่สมบูรณ์พร้อมของแต่ละบุคคลได้โดยง่าย


                      ข. เห็นและยอมรับความจำเป็นที่แต่ละบุคคลต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกันได้โดยง่าย


                   ๔. ผู้เห็นและยอมรับธรรมชาติการอยู่ร่วมกันตามความเป็นจริง ทั้ง ๒ ประการเหล่านี้ ย่อมฝึกตนให้มีความเคารพ ความอดทน ความมีวินัยได้ง่าย


                  ๕. ผู้ที่มีความเคารพ ความอดทน ความมีวินัย ย่อมรังเกียจและงดเว้นกรรมกิเลส ๔ อคติ ๔ อบายมุข ๖ ได้ง่าย ตรงกันข้ามย่อมรักและพอใจที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ประจำทิศ ๖ สังคหวัตถุ ๔ ศีล ๕ อุโบสถศีล และมรรคมีองค์ ๘ ทั้งระดับโลกียะและโลกุตระได้ง่ายตลอดจนรักที่จะเลือกคบเฉพาะมิตรแท้ ๔ ประเภทเท่านั้น


                   ๖. ผู้ที่มีความรักความพอใจปฏิบัติตามศีล ตามธรรม และเลือกศาสตร์และศิลป์แห่งความเป็นครูคบเฉพาะมิตรแท้ ย่อมใฝ่เรียนรู้ใฝ่หาดี และใฝ่รักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตเป็นปกติ ย่อมเหมาะสมต่อการประกอบคุณงามความดีต่างๆตามสมควรแก่เพศและวัยของตนตั้งแต่ยังอยู่ในวัยเรียน จึงเป็นหลักประกันได้ว่า เมื่อจบการศึกษาย่อมเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมจะเป็นที่พึ่งให้แก่ตนเอง และให้สังคมได้ฟังตลอดไป

 

บทบาทของครูตามหลักสัมมาทิฐิ  ๑๐

ตารางที่ ๓-๒ บทบาทของครูตามหลักสัมมาทิฐิ ๑๐ 

 

๑. เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔
๑. ทานมีผลจริง


๑. มุ่งมั่นถ่ายทอดความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมให้แก่ศิษย์ด้วยความปรารถนาดีต่อศิษย์อย่างบริสุทธิ์ใจที่จะให้ศิษย์เป็นคนดีที่โลกต้องการ ประสบแต่ความสุข ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต


๒. แบ่งปันความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม รวมทั้งประสบการณ์ในวิชาชีพครู ตลอดจนเทคโนโลยีสมัยใหม่ในวงการศึกษาให้แก่เพื่อนครูด้วยความจริงใจ

 

๓. ร่วมมือในการทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อประโยชน์แก่โรงเรียนหรือสถาบันของตน โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากและโดยไม่ขาดตกบกพร่อง


๔. สละเวลาในการถ่ายทอดความรู้ด้านวิชาการ หรือปลูกฝังอบรมศีลธรรมให้แก่เด็กบางคน บางกลุ่มที่มีปัญหาเป็นกรณีพิเศษด้วยจิตเมตตา


๕. เมื่อมีปัญหากระทบกระทั่งกันในหมู่เพื่อนร่วมงาน ก็พยายามให้อภัยกัน สร้างความรักสมัครสมานสามัคคีระหว่างเพื่อนร่วมงาน และศิษย์ทั้งหลาย

 

  การประพฤติปฏิบัติเหล่านี้ถือเป็นการทำทานในอีก
ลักษณะหนึ่งของผู้มีอาชีพครู ด้วยตระหนักว่า ทานมีผลจริง
เพราะนำมาซึ่งความสุขกายสบายใจอย่างต่อเนื่อง
๒. การสงเคราะห์มีผลจริง

๑. สงเคราะห์นักเรียนที่มีปัญหาต่างๆเพื่อให้สามารถเรียนได้จนจบหลักสูตร ด้วยวิธีการที่เหมาะสม เช่น นักเรียนที่ขาดแคลนทุนเล่าเรียน ก็หางานพิเศษให้ทำ หรือหาทุนอุดหนุนการศึกษาจากองค์กรของรัฐและเอกชนให้


๒. สงเคราะห์นักเรียนที่เรียนดี มีความประพฤติดีแต่ยากจนด้วยการสละเวลาสอนพิเศษให้รวมทั้งการสร้างโอกาสให้ศิษย์ได้เข้าสอบแข่งขันชิงทุนการศึกษา หรือทุนศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศหลังจากจบการศึกษาในโรงเรียนที่กำลังเรียนอยู่


๓. เมื่อเพื่อนครู นักเรียน หรือเจ้าหน้าที่แผนกต่างๆ ประสบปัญหาไม่ว่าอุบัติเหตุ หรือภัยธรรมชาติ ต้องช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ


      การประพฤติปฏิบัติเหล่านี้ ถือเป็นการสงเคราะห์เพื่อน
มนุษย์ด้วยกัน ด้วยตระหนักว่า การสงเคราะห์มีผลเป็น
ความสุขและความดีจริง

๓. การบูชายกย่องมีผลจริง

๑. ครูพึงมีทัศนคติที่ดีต่อทุกๆ คน ขณะเดียวกัน ก็มองหาคุณธรรมความดีและความสามารถทั้งของผู้บริหารซึ่งเป็นหัวหน้าของตนและเพื่อนครูผู้ร่วมงานทุกคน เมื่อเห็นใครทำดีทำถูกต้อง ก็กล่าวยกย่องสรรเสริญให้ปรากฏตามความเหมาะสม


๒. ครูต้องไม่นินทาว่าร้ายผู้บริหารให้นักเรียนฟัง เพราะจะทำให้นักเรียนขาดความเคารพต่อผู้บริหาร และขาดความภาคภูมิใจในสถานศึกษาของตน
๓. ครูต้องไม่นินทาว่าร้ายเพื่อนครูให้นักเรียนฟัง เพราะ

 

 

ก. หากนักเรียนเชื่อ ก็จะพากันรังเกียจหรือไม่เคารพนับถือครูผู้ถูกนินทา


ข. นักเรียนที่ได้รับการปลูกฝังนิสัยมรรคมีองค์ ๘ แล้ว จะมองว่า ครูผู้นินทาผิดศีล ไม่น่าเคารพ


ค. ความลับไม่มีในโลก ผู้ถูกนินทาย่อมรู้ว่าใครนินทาตนเป็นเหตุให้เกิดอคติต่อกัน ครั้นความจริงปรากฏ ครูผู้นินทาจะกลายเป็นแกะดำเป็นที่รังเกียจในหมู่เพื่อนครู


๔. ครูต้องไม่แสดงความลำเอียงต่อนักเรียน ไม่พูดจาไพเราะเฉพาะกับนักเรียนที่เก่งและดี หรือใช้ถ้อยคำตำหนิติเตียนรุนแรงหรือหยาบคายกับเด็กที่เรียนอ่อน ยากจน ควรใช้คำพูดที่สุภาพนุ่มนวล อ่อนโยนแก่ศิษย์


     อย่างไรก็ตาม ครูต้องระลึกเสมอว่า การทำงานร่วมกับมวลชนหรือคนหมู่มาก จำต้องรู้หลักจิตวิทยาเป็นอย่างดี จึงจะประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง


      ครูผู้ประพฤติตนสม่ำเสมอต่อคนรอบข้างไม่ว่าศิษย์หรือเพื่อนครูในเชิงยกย่องให้เกียรติเช่นนี้ย่อมเป็นที่รักของผู้ร่วมงานและมีโอกาสเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ทั้งนี้เพราะตระหนักว่า การบูชายกย่องให้เกียรติกันมีผลดีจริง

๔. กรรมที่ทำไว้มีผลจริง

๑. ครูต้องศึกษาเรื่อง กฎแห่งกรรม ให้เข้าใจในระดับโยนิโสมนสิการเป็นอย่างน้อย เพื่อให้สามารถอธิบายเกี่ยวกับพฤติกรรมต่างๆของคนเราได้ด้วยเหตุและผลว่า เป็นไปตามหลักกฎแห่งกรรมอย่างไร ทำให้ครูมีศรัทธามั่นในกฎแห่งกรรมยิ่งขึ้น


๒. เมื่อครูมีศรัทธามั่นในกฎแห่งกรรม ย่อมตั้งมั่นในการปฏิบัติสัมมาทิฐิ พร้อมกับสัมมาสมาธิได้ถูกต้องตามที่ครูบาอาจารย์อบรมสั่งสอนเป็นประจำ ย่อมประสบความก้าวหน้าถึงขั้นบรรลุฌานระดับใดระดับหนึ่ง

 

 


๓. ครูพึงระลึกเสมอว่า กฎแห่งกรรมคือหัวใจของสัมมาทิฐิ ครูจึงต้องตอกย้ำให้ศิษย์มั่นคงในสัมมาทิฐิ ด้วยการปลูกฝังอบรมศิษย์ทั้งมวลให้มีศรัทธามั่นในเรื่องกฎแห่งกรรม เพื่อเป็นหลักประกันว่าศิษย์เหล่านั้นจะเป็นคนดีมีสัมมาทิฐิระดับต้น เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนามรรคมีองค์ ๘ ให้แก่รอบยิ่งขึ้น


       กล่าวได้ว่า การปลูกฝังอบรมศิษย์ทั้งมวลให้เป็นคนดีมั่นคงอยู่ในสัมมาทิฐิ คือกรรมดีที่ครูได้ทำทั้งเพื่อตนเองสังคม และประเทศชาติ ทั้งนี้เพราะเชื่อมั่นว่า ทุกการกระทำของตนล้วนมีผลจริง

๒. เป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตตามหลักความจริงประจำโลก ๕
๕. โลกนี้มี (ที่มาจริง)

     เหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าหรือความเสื่อมในอาชีพครูของตนล้วนเป็นผลมาจากการดำเนินชีวิตของครูในช่วงเวลาที่ในปัจจุบันผ่านมา ว่าเป็นไปตามหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔ หรือไม่เพียงใดประการหนึ่ง ประกอบกับวิบากแห่งกรรมในชาติปางก่อนที่ตามมาให้ผลหรือตัดรอน อีกประการหนึ่ง


     ดังนั้นเมื่อมั่นใจว่าตนครองชีวิตถูกต้องตามหลักการดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔ แล้ว แต่ยังไม่ได้รับผลตามที่คาดหวังก็ไม่ท้อใจยังคงมุ่งมั่นพากเพียรทำให้ดียิ่งๆ ขึ้นไปอีก เพราะตระหนักชัดว่า บุญกุศลที่ได้ทำแล้วในชาตินี้มีผลจริง

๖. โลกหน้ามี (ที่ไปจริง)
      ความเจริญหรือความเสื่อมในอาชีพครูของตนในอนาคต
ขึ้นอยู่กับความเข้มงวดกวดขันตนเองทั้งในด้านนิสัยส่วนตัว และ
ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ว่าเป็นไปตามหลักการ
ดำเนินชีวิตให้เป็นสุข ๔ มากน้อยเพียงใด นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป
รวมกับผลในข้อ ๕

 

       ครูจึงตั้งมั่นอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นพิจารณาตรวจสอบแก้ไขและพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน ขณะเดียวกัน ก็หมั่นพิจารณาตรวจสอบ แก้ไขและพัฒนาลักษณะนิสัยของตนด้วยการสอนใจตนเองอยู่เสมอว่า ความสำเร็จในชีวิตของครูนั้นต้องอยู่ที่คุณภาพและคุณธรรมของศิษย์ทั้งมวลเป็นสำคัญมิได้อยู่ที่ตำแหน่งหน้าที่การงาน ลาภ หรือยศ อย่างไรก็ตามถ้าครูได้ทุ่มเทชีวิตปฏิบัติหน้าที่เพื่อความเจริญก้าวหน้าของศิษย์ทั้งมวลแล้ว ความเจริญก้าวหน้าจะเกิดขึ้นแก่ตัวครูเอง ด้วยตระหนักชัดว่า บุญกุศลทั้งมวลที่ทำไว้ย่อมส่งผลจริง

๗. มารดามีพระคุณจริง

๘. บิดามีพระคุณจริง

      ครูต้องมีความกตัญญูกตเวทีต่อมารดา บิดา ครู-อาจารย์ และผู้มีพระคุณ การปฏิบัติเช่นนี้ นอกจากเป็นคุณธรรมหรือกรรมดีของครูโดยตรงแล้ว ยังเป็นแบบอย่างด้านคุณธรรมให้แก่บุตรธิดา ลูกศิษย์ และคนรอบข้างอีกด้วย


      นอกจากนี้ครูยังต้องแนะนำสั่งสอนอบรมให้ศิษย์ตระหนักถึงคุณของบิดา ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ามารดาด้วย ทั้งนี้เพราะปัจจุบันมีปัญหาครอบครัวแตกแยกเกิดขึ้นทุกสังคม บุตรส่วนใหญ่จะใกล้ชิดสนิทสนมกับมารดา ห่างไกลกับบิดาหรือในบางครอบครัวที่บิดาจมอยู่กับอบายมุข ก็มักจะทำทารุณโหดร้ายต่อมารดา ทำให้บุตร
บางคนถึงกับเกลียดชังบิดาของตน


       ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของครูที่จะปลูกฝังชี้แนะให้ศิษย์มีความเข้าใจ และความคิดถูกต้องเรื่องพระคุณของมารดา-บิดา เพื่อป้องกันมิให้เด็กมีบาปกรรมติดตัวไป เพราะมีความคิดเห็นเป็นมิจฉาทิฐิเกี่ยวกับพระคุณของมารดาบิดา ครูที่สามารถเปลี่ยนทิฐิของศิษย์ได้ ย่อมถือว่าเป็นความสำเร็จในชีวิตครู ทั้งนี้เพราะครูตระหนักชัดว่า มารดา-บิดามีพระคุณจริง

 

๙. สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมีจริง       ครูที่ทุ่มเทชีวิตเพื่อปลูกฝังอบรมเหล่าศิษย์ให้เป็นคนดีมีสัมมาทิฐิอย่างมั่นคง รู้จักเสียสละทำงานเพื่อส่วนรวมด้วยความบริสุทธิ์ใจ ขณะเดียวกัน ครูเองก็ทำตนเป็นต้นแบบศีลธรรมและคุณความดีทุกอย่างทุกประการที่ครูพร่ำสอนศิษย์ครูประเภทนี้แม้หายากแต่ก็มีอยู่จริง จึงกล่าวได้ว่า ครูที่เป็นมนุสเทโว คือเป็นมนุษย์แต่มีน้ำใจเยี่ยงเทวดานั้นมีอยู่จริง ครูประเภทนี้ย่อมเป็นปูชนียบุคคลให้แก่มนุษย์และเทวดาได้กราบไหว้ทั้งโลกนี้และโลกหน้าทั้งนี้เพราะตระหนักชัดว่า สัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมีจริง
๑๐. พระพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูของสัตว์โลก

        อย่างไรก็ตามมีครูบางคนทำหน้าที่การงานในตำแหน่งเสมือนเป็นงานอดิเรก เบียดบังเวลาราชการ หรือเวลาในตำแหน่งหน้าที่ไปทำธุรกิจส่วนตัวหลายรูปแบบ แม้อยู่ที่โรงเรียนก็ทำหน้าที่ครูเฉพาะอยู่ในห้องเรียนเท่านั้น เมื่อก้าวพ้นจากห้องเรียน จิตใจก็พะวักพะวนอยู่กับเรื่องธุรกิจ ครูประเภทนี้ถ้าบังเอิญเป็นที่โปรดปรานของผู้บริหาร ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองในตำแหน่งหน้าที่ แต่ครูประเภทนี้ก็ไม่ถือว่าประสบความสำเร็จในอาชีพครู เพราะไม่ถูกต้องตามหลักสัมมาทิฐิ


         ครูผู้ประสบความสำเร็จในชีวิต จึงหมายถึง ครูผู้อุทิศชีวิตเพื่อทำหน้าที่ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยศิษย์ของตนให้มีนิสัยใฝ่เรียนรู้และใฝ่ทําความดี มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา ด้วยมีความคิดว่าการทำงานในหน้าที่ของตนทุกอย่าง ล้วนเป็นการสั่งสมบุญบารมีให้แก่ตนเองเยี่ยงพระโพธิสัตว์ ด้วยมั่นใจอย่างเต็มเปี่ยมว่า พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองมีจริง

 

 

คุณค่าและความจำเป็นในการปลูกฝังสัมมาทิฐิ ๑๐


           จากธรรมบรรยายที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า มรรคองค์แรกมีคุณค่าต่อการดำเนินชีวิตและการอยู่ร่วมกันในสังคมสุดจะนับจะประมาณได้และเป็นคำตอบว่า ทำไมพ่อแม่และครูบาอาจารย์จึงต้องปลูกฝังอบรมเรื่องนี้ให้แก่บุตรธิดาหรือเหล่าศิษย์โดยเร็วที่สุด กล่าวคือ


             ๑. สำหรับสัมมาทิฐิข้อที่ ๑ ทานมีผลจริง และ ๒ การสงเคราะห์มีผลจริงนั้น ถ้าเด็กๆ ได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องเขาก็จะประจักษ์ได้ด้วยตนเองว่า


             ๑) การเป็นผู้ให้ย่อมก่อให้เกิดความอิ่มเอิบใจ ปลื้มใจภูมิใจมากกว่าการเป็นผู้รับ ไม่ว่าจะให้แก่บุคคลประเภทไหนก็ตามยิ่งถ้าได้ถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ก็จะปลื้มใจมากยิ่งขึ้นทำให้เกิดความคิดว่าบุญมีจริงทำบุญแล้วมีแต่ความสุขจริงขณะเดียวกันก็ประจักษ์ชัดว่า การทำบาป ทำชั่ว มีแต่ความร้อนใจและความทุกข์ 


            ๒) การช่วยเหลือสงเคราะห์คนพิการหรือคนยากจนข้นแค้นน่าสงสาร ย่อมทำให้เด็กเกิดปัญญาคิดได้ว่า จะต้องพยายามฝึกฝนตนเองให้สามารถยืนหยัดบนขาของตนให้ได้ไม่ต้องรอให้ใครมาสงเคราะห์นั่นคือเกิดความคิดว่าตนจะต้องเป็นที่พึ่งของตนขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่น หรือเป็นที่พึ่งให้คนอื่น ซึ่งจะทำให้เกิดความภูมิใจในตนเอง ผิดกับการคอยรับความช่วยเหลือจากผู้อื่นเพราะนอกจากจะไม่เกิดความภาคภูมิใจในตนเองแล้วยังอาจรู้สึกมีปมด้อยอีกด้วย


              ๒. สำหรับสัมมาทิฐิข้อที่ ๓ การยกย่องมีผลจริง เด็กๆ ที่ถูกฝึกให้มีนิสัยยกย่องบูชาคนดี ครั้นเมื่อตนทำดีก็จะได้รับการยกย่องทั้งจากครูบาอาจารย์ เพื่อนฝูง เด็กๆ เหล่านี้จึงพยายามแข่งกันทำดี เพราะทำความดีแล้วมีความสุข ความสบายใจ เป็นที่ยอมรับของเพื่อนๆ เด็กเหล่านี้ จึงมีกิริยาวาจาสุภาพและมีความอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอทำให้ไม่มีเรื่องการกระทบกระทั่งกันต่างเอาใจใส่เรื่องการเรียนเมื่อขยันเรียนก็กลายเป็นคนเรียนเก่ง เป็นที่ปลาบปลื้มใจของพ่อแม่และครูอาจารย์สิ่งเหล่านี้ย่อมทำให้เด็กๆเข้าใจซาบซึ้งเรื่องกฎแห่งกรรมโดยอัตโนมัติว่าทำดีต้องได้ดีอย่างแน่นอน ตรงตามสัมมาทิฐิข้อที่ ๔ กรรมที่ทำไว้มีผลจริง


                ๓. สำหรับสัมมาทิฐิ ๔ ข้อแรกนี้ ถ้าทางบ้านและทางโรงเรียนต่างปลูกฝังให้เด็กๆ ทำกิจวัตรกิจกรรมจนเป็นนิสัย ย่อมจะยังผลให้เด็กๆเข้าใจซาบซึ้งเรื่องกฎแห่งกรรมมากขึ้นในที่สุดก็จะทำให้รู้เป้าหมายชีวิตได้โดยอัตโนมัติว่าเป้าหมายระดับต้นในชีวิตที่ตนจะต้องทำให้สำเร็จคือการตั้งหลักฐานในชีวิตให้ได้เมื่อเกิดความคิดเช่นนี้แล้วเด็กๆย่อมรู้ได้ด้วยตนเองว่าจะต้องไม่ประพฤติตัวเกะกะเกเรไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งปวง เพราะตระหนักชัดว่าอบายมุขทั้งปวง เป็นสิ่งให้โทษต่อร่างกายและจิตใจ ทําให้เสียทรัพย์ เสียการเรียน เสียความไว้วางใจจากพ่อแม่ครูบาอาจารย์ และเป็นอุปสรรคต่อการตั้งหลักฐานในชีวิตของตนด้วย


                  ๔. การปฏิบัติสัมมาทิฐิ ๔ ข้อแรกจนเป็นนิสัย เด็ก ๆ ก็จะสามารถพัฒนาคุณธรรมพื้นฐาน ๓ ประการ คือ ความเคารพความอดทนและความมีวินัยโดยที่ผู้ใหญ่ไม่ต้องเคี่ยวเข็ญเช่นเด็กๆที่ได้รับการฝึกให้ใส่บาตรในตอนเช้าทุกวันด้วยความเคยชินก็จะบังคับตัวเองให้ตื่นเช้า เพื่อช่วยมารดาทำอาหารและเตรียมอาหารใส่บาตร มีความเคารพในพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญ เป็นต้น


               ๕. สำหรับสัมมาทิฐิข้อ ๕ โลกนี้มี (ที่มาจริง) และข้อ ๖ โลกหน้ามี (ที่ไปจริง) จะช่วยให้เด็กเกิดความเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล เด็กที่มีปัญหามาแต่กำเนิด เช่น พิการ เรียนไม่เก่ง ครอบครัวยากจน รูปร่างหน้าตาไม่ดี ย่อมสามารถยอมรับสภาพของตนเองได้เพราะเข้าใจถึงเหตุที่ทำให้ตนมีสภาพเช่นนั้นไม่คิดโทษใครส่วนเด็กที่เกิดมามีสภาพเหนือกว่าผู้อื่นก็จะไม่ผยองไม่กล้าทำความชั่ว ทำบาปคิดสร้างแต่บุญกุศลเรื่อยไป เพราะตระหนักว่าหากบาปกรรมเก่าตามทันตนก็จะไม่มีทางเลี่ยงทุกข์ไปได้ เมื่อเข้าใจที่ไปที่มาของชีวิตตนแล้ว ย่อมไม่ประมาท ไม่ดูถูกเหยียดหยามใคร มุ่งมั่นทำแต่ความดีให้ยิ่งๆ ขึ้น


                      ๖. สำหรับสัมมาทิฐิข้อที่ ๗ มารดามีพระคุณจริง และ ๘ บิดามีพระคุณจริง ถ้าเด็กได้รับการอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงสภาพวิกฤตชีวิตของตนนับตั้งแต่ขณะที่คลอดจากครรภ์มารดาและความยากลำบากของพ่อแม่ที่ต้องเลี้ยงดูตนมาตั้งแต่เกิดลูกๆย่อมมีความกตัญญกตเวทีต่อมารดาบิดาอย่างแน่นอน

              อนึ่ง สำหรับผู้เป็นพ่อแม่ทั้งหลาย เมื่อตนให้กำเนิดลูกแล้วย่อมจะมีความรักและปรารถนาดีต่อลูก ปรารถนาให้ลูกไปสู่สุคติโลกสวรรค์เมื่อมีความปรารถนาดีเช่นนี้ก็จำต้องรีบปลูกฝังสัมมาทิฐิให้แก่ลูกตั้งแต่เยาว์วัยทั้งต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ลูกตลอดเวลาพ่อแม่ที่มีความคิดเช่นนี้ย่อมจะตั้งอยู่ในความไม่ประมาท ไม่ประพฤติผิดศีล ผิดธรรม ผิดกฎหมาย ทั้งไม่เกี่ยวข้องพัวพันกับอบายมุขทุกชนิดหากทำได้เช่นนี้ทุกชีวิตในครอบครัวก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

                  เด็กๆที่ได้รับการปลูกฝังอบรมเรื่องสัมมาทิฐิจนเกิดเป็นนิสัยเมื่อเจริญเติบโตขึ้นย่อมจะเป็นคนดีที่โลกต้องการเพราะนอกจากรู้เป้าหมายระดับต้นว่าจะต้องตั้งหลักฐานให้ได้แล้วยังจะรู้เป้าหมายระดับกลาง คือการไปสู่สุคติโลกสวรรค์ในภพชาติต่อไป เขาจึงตั้งใจบำเพ็ญคุณความดีทุกรูปแบบ ตั้งใจดูแลเอาใจใส่บุพการีของตนเป็นอย่างดี ด้วยตระหนักในพระคุณอย่างสูงสุดของท่าน

               อย่างไรก็ตาม บรรดาลูกๆ ทั้งหลายที่ต้องทำหน้าที่ดูแลพ่อแม่ของตนอยู่นั้น พึงระลึกถึงพระคุณของผู้สูงอายุท่านอื่นๆ อีกด้วยเพราะท่านเหล่านี้ ล้วนมีบทบาทสำคัญในการทำนุบำรุงประเทศชาติ และพระพุทธศาสนา ให้ยืนยาวเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ถ้าขาดท่านเหล่านี้เสียแล้ว ก็ไม่อาจจะทราบได้ว่าประเทศไทยและพระพุทธศาสนาจะยืนยาวมาจนถึงปัจจุบันได้หรือไม่


                    ๗. เด็กที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎแห่งกรรม เรื่องโลกนี้โลกหน้าเป็นอย่างดีแล้ว ย่อมเข้าใจสัมมาทิฐิข้อที่๔ได้โดยง่ายว่าสัตว์ที่เกิดแบบโอปปาติกะมีจริงนรกและสวรรค์มีจริงจึงเกิดความกระตือรือร้นที่จะบำเพ็ญกุศลธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้น


                      ๘. ความรู้เรื่องสัมมาทิฐิจากข้อที่ ๑ ถึงข้อที่ ๔ ย่อมช่วยให้เด็กๆรู้เป้าหมายชีวิตทั้งระดับต้นและระดับกลางเป็นอย่างดี ครั้นเมื่อได้เรียนรู้สัมมาทิฐิข้อที่ ๑๐ ที่ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบรมครูของสัตว์โลกมีจริง ก็จะรู้ชัดว่า เป้าหมายสูงสุดในชีวิตของคนเราคือ การทำกิเลสให้หมดสิ้นไป เพราะเข้าใจดีว่า ตราบใดที่ยังเวียนตายเวียนเกิดอยู่ในสังสารวัฏ ก็จะต้องประสบความทุกข์ความเดือดร้อนอยู่ร่ำไป และหากชาติใดเกิดมาไม่พบพระพุทธศาสนาย่อมไม่รู้ธรรม ไม่รู้จักการปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ไม่มีเนื้อนาบุญ ซึ่งจะเป็นเหตุปัจจัยให้เราก่อกรรมชั่วก่อบาป อันเป็นเหตุให้ไปสู่ทุคติ ประสบทุกข์แสนสาหัสโดยไม่รู้จบสิ้น


                      เพราะฉะนั้น เมื่อได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วก็พึ่งพากเพียรปฏิบัติสัมมาสมาธิให้เต็มที่ยิ่งกว่านั้นเด็กๆจะเข้าใจคุณค่าและความจำเป็นจนทำให้รักการปฏิบัติสัมมาสมาธิยิ่งขึ้นอีก ทั้งนี้เพราะมีพ่อแม่และครูบาอาจารย์ให้การปลูกฝังอบรม และปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างอย่างไรก็ตามเด็กๆที่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องสัมมาทิฐิอย่างถูกต้องลึกซึ้ง และปฏิบัติจนเป็นนิสัยแล้ว ย่อมมองไม่เห็นคุณค่าและความจำเป็นของการปฏิบัติสมาธิทำให้เผลอสติตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสและกลายเป็นมิจฉาทิฐิผู้ไร้เป้าหมายชีวิต ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อตนเองและประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

 

 

 

 

 

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0018730998039246 Mins