บทที่ ๖ กระบวนการเรียนการสอน

วันที่ 26 กค. พ.ศ.2567

 

2567_07_26_b.jpg

 

บทที่ ๖
กระบวนการเรียนการสอน

 


          ในเรื่องของการศึกษานั้น มีบุคคลที่ต้องทำกิจกรรมร่วมกันอย่างใกล้ชิดอยู่สองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้เรียน ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกอยู่หลายคำ เช่นนักเรียน ผู้เรียน นิสิต นักศึกษา ลูกศิษย์ เป็นต้น กับกลุ่มผู้สอน ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกผู้สอนอยู่หลายคำเช่นกัน ได้แก่ ครู ผู้สอน ผู้ฝึก อาจารย์ ฯลฯ


    ในระหว่างบุคคลทั้ง ๒ กลุ่มนี้ กลุ่มที่มีบทบาทสำคัญยิ่งก็คือกลุ่มผู้สอนหรือครูเพราะเป็นกลุ่มที่ประกอบด้วยคุณวุฒิ วัยวุฒิ และประสบการณ์เกี่ยวกับการสั่งสอนอบรม ถ่ายทอดความรู้ ทั้งศาสตร์และศิลป์ให้แก่ศิษย์ได้อย่างกว้างขวาง


       ส่วนกลุ่มผู้เรียนหรือศิษย์นั้น ล้วนอ่อนเยาว์ด้วยประสบการณ์จนกล่าวได้ว่าเป็นกลุ่มที่สมบูรณ์พร้อมด้วยอวิชชาหรือความไม่รู้ทั้งสิ้นซึ่งหากไม่มีโอกาสได้รับการอบรมสั่งสอนจากครูความไม่รู้เหล่านั้นก็จะครอบงำจิตใจของเยาวชนให้มืดมิดด้วยอำนาจกิเลสและมิจฉาทิฐิทำให้ต้องประสบความทุกข์และความเดือดร้อนทั้งโลกนี้และโลกหน้าดังนั้นผู้ปรารถนาความสุขและความเจริญในชีวิตจึงจำเป็นต้องหันมาใส่ใจศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง


วุฒิธรรม ๔


         พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานหลักธรรมสำหรับยึดเป็นหลักปฏิบัติเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตแก่พุทธสาวกทั้งหลาย โดยไม่จำกัดเพศวัย และอาชีพ สำหรับหลักธรรมที่จะอำนวยประโยชน์โดยตรงกับการเรียนการสอนคือ วุฒิธรรม ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ได้แก่


           ๑. แสวงหาท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ (สัปปุริสสังเสวะ) หรือกล่าวสั้นๆ ว่า หาครูดีให้พบ


           ๒. ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ (สัทธัมมัสสวนะ) หรือกล่าวสั้นๆ ว่า ฟังคำครูให้ชัด


           ๓. ตรองคำสอนของท่านให้รู้ชัดถึงสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ (โยนิโสมนสิการ) หรือกล่าวสั้นๆ ว่า ตรองคำครูให้ลึก


          ๔. ประพฤติตามสมควรแก่ธรรมซึ่งได้ตรองเห็นแล้ว (ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ) หรือกล่าวสั้นๆ ว่า ทำตามครูให้ครบ

 

ลำดับวิธีการศึกษาด้วยวุฒิธรรม ๔ สรุปได้ดังภาพต่อไปนี้

 

2567_07_26.JPG

 

คุณสมบัติของครูดี


         คุณสมบัติของครูดีประกอบด้วย


         ๑. มีความรู้จริงในสาขาวิชาที่ตนสอน


         ๒. สามารถทำได้จริงตามที่ศึกษามาและรักษาสุขภาพตนเองได้เป็นอย่างดีจริง


         ๓. มีนิสัยดีจริง มีความประพฤติน่าเคารพ น่าเทิดทูน สามารถปิดนรกและเปิดสวรรค์ให้ตนเองได้จริง เป็นกัลยาณมิตรให้ตนเองได้จริง


      ๔. ครูสั่งสอนได้จริง สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถให้ลูกศิษย์รู้จริง ทำเองได้จริง มีความประพฤติดีเยี่ยมจริง สามารถอบรมสั่งสอนศิษย์ให้ประกอบอาชีพตั้งหลักฐานได้จริง ปิดนรกและเปิดสวรรค์ให้ตนเองตามครูได้จริง นั่นคือครูสามารถเป็นกัลยาณมิตรให้ตนเองและศิษย์ได้จริง
 


คุณสมบัติครูดีสรุปได้ดังภาพต่อไปนี้

 

2567_07_26_01.JPG

 


หลักการฟังค้าบรรยาย

 
         การที่ศิษย์จะสามารถเข้าใจสิ่งที่ครูสั่งสอนได้ถูกต้อง ต้องมีทักษะต่อไปนี้


         ๑. จับเนื้อความหรือประเด็นสำคัญของคำสอนของครูในเรื่องนั้นๆ ได้ถูกต้อง


         ๒. สามารถให้คำจำกัดความหรือนิยามของถ้อยคำอันเป็นสาระสำคัญของคำสอนนั้น ๆ ได้ชัดเจน


         ๓. สามารถจัดลำดับความสำคัญของเนื้อหาสาระที่ได้ฟังทั้งหมด


        ๔. สามารถเชื่อมโยงเปรียบเทียบระหว่างหัวข้อต่างๆ ในคำสอนหรือเกิดปัญญาเชื่อมโยงสาระสำคัญของคำสอนนั้นๆ ทั้งหมดที่ได้ฟังกับเรื่องราวในชีวิตจริง
 


หลักการฟังคำบรรยายสรุปได้ดังภาพต่อไปนี้

 

2567_07_26_02.JPG

 

หลักการเจาะลึกคำสอน


        ศิษย์จะสามารถเข้าใจคำสั่งสอนของครูได้อย่างถูกต้อง ถึงขั้นนำไปปฏิบัติตามได้ต้องมีทักษะดังนี้


        ๑. เข้าใจวัตถุประสงค์ของคำสั่งสอนนั้นๆ


        ๒. เกิดปัญญาพิจารณาเห็นว่า เป็นคำสอนที่ตรงตามทำนองคลองธรรม


        ๓. พิจารณาเห็นว่า ถ้าตนปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามคำสอนนั้นจะเป็นคุณหรือโทษอย่างไร


        ๔. พิจารณาเห็นว่า ควรนำคำสอนนั้นไปปฏิบัติกับเรื่องอะไรกับใคร เมื่อไร ที่ไหน และอย่างไร
 


หลักการเจาะลึกคำสอนสรุปได้ดังภาพต่อไปนี้

 

2567_07_26_03.JPG

 

หลักการถ่ายทอดความรู้ความสามารถและความดี
หลังจากที่ได้พิจารณาไตร่ตรองคำสอนของครูจนเข้าใจดีแล้ว จึง
ตั้งใจปฏิบัติตามคำสอนของครูให้ครบและต่อเนื่อง โดย
แท้จริง
คุ้นเคย
๑. ปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ เพราะมั่นใจว่ามีประโยชน์อย่าง
๒. พยายามปฏิบัติตามคำสอนให้ได้แม้จะลำบาก เพราะยังไม่
๓. ตั้งใจปฏิบัติตามให้ถูกต้องและครบถ้วนตามแบบที่ครูปฏิบัติ
๔. เมื่อปฏิบัติตามคำสอนของครูจนคุ้นแล้ว ก็ปฏิบัติให้ยิ่ง ๆ ขึ้น
เพื่อพัฒนาศักยภาพต่างๆ ให้เกิดขึ้นในตน


หลักการถ่ายทอดความรู้ความสามารถและความดี สรุปได้ดังภาพต่อไปนี้

 

2567_07_26_04.JPG

 

        ศิษย์ที่ตั้งใจพากเพียรปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูดีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จนเป็นนิสัยย่อมได้รับอานิสงส์หลายประการ เช่น


        ๑. มีความภาคภูมิใจในตนว่า เป็นศิษย์มีครู


        ๒. มีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข มีเกียรติและศักดิ์ศรี


        ๓. มีโอกาสไปสู่สุคติ โลกสวรรค์ หลังจากละโลกไปแล้ว


        ๔. ได้โอกาสฝึกหัดขัดเกลาตน เพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่มรรคผลนิพพานในภพชาติต่อไป


เทคนิคการฝึกตนตามวุฒิธรรม ๔


       เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จริง จากกระบวนการเรียนและการสอนสั่งศีลธรรมตามหลักวุฒิธรรมนี้ ครูควรฝึกผู้เรียนให้รู้จักใช้เทคนิคจากวุฒิธรรม ๔ โดยฝึกให้ศิษย์รู้จักตั้งคำถามในลักษณะต่อไปนี้


       ๑. เพื่อหาครูดีให้พบ ควรตั้งคำถามว่าใครกับที่ไหน (Who and Where)


       ๒. เพื่อหาภาพรวมหรือประเด็นสำคัญของเรื่องที่กำลังเรียน ควรตั้งคำถามว่าอะไร (What)

       ๓. เพื่อหาเหตุผลของเรื่องที่กำลังเรียน ควรตั้งคำถามว่าทำไม (Why)


       ๔. เพื่อเลือกหาวิธีทำที่ดีที่สุด เพื่อทำให้สำเร็จ เพื่อให้ตนมีความรู้ ความดี และความสามารถเช่นครู ควรตั้งคำถามว่าอย่างไร (How)

 

เทคนิคการฝึกตนตามวุฒิธรรม ๔ สรุปได้ดังภาพต่อไปนี้

 

2567_07_26_5.JPG

 

กระบวนการศึกษาตามหลักวุฒิธรรม ๔


      การเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการฝึกจากหลักวุฒิธรรม ๔ นั้นมีกระบวนการดังนี้ คือ


      ๑. เมื่อได้ฟังคำสอนจากครูดีแล้ว ถ้าผู้เรียนยังมีความลังเลสงสัยก็พึงตั้งคำถามว่าอะไร (What) ถ้าตอบคำถามได้ ย่อมได้คำนิยามของเรื่องที่ครูสอน


    ๒. เพื่อจะให้เกิดความเข้าใจตรงกันตามวัตถุประสงค์ของครู ก็พึ่งตั้งคำถามว่าทำไม (Why) คำตอบของคำถามนี้ จะทำให้ผู้เรียนทราบชัดเจนว่า วัตถุประสงค์ของเรื่องที่กำลังเรียน หรือสิ่งที่กำลังทำอยู่นั้นมีอะไรบ้าง


       ๓. เพื่อที่จะนำความรู้ความเข้าใจจากเรื่องที่เรียนไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ก็พึงตั้งคำถามว่าอย่างไร (How)


       ๔. ถ้าผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่เรียนนั้นไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ย่อมเกิดผล ๓ ประการคือ


             ๑) เกิดนิสัยดีๆ


              ๒) เกิดความรู้ดีๆ

 
              ๓) เกิดความสามารถดีๆ


        ๕. ผลรวบยอดจากข้อ ๔ นั้น นอกจากนักเรียนจะสามารถพึ่งตนเองได้แล้ว ยังสามารถเป็นที่พึ่งให้แก่ผู้อื่นได้อีกด้วย

 


กระบวนการศึกษาตามหลักวุฒิธรรม ๔ สรุปได้ดังภาพต่อไปนี้

 

2567_07_26_06.JPG

 


        ธรรมบรรยายที่ผ่านมาทั้งหมดนี้ อาจมองได้ว่าเป็นแนวคิดสำหรับกลุ่มศิษย์หรือผู้เรียน แต่การที่ศิษย์จะสามารถมีทักษะในการจับประเด็นคำสั่งสอนของครูจนเกิดปัญญาสามารถตรองตามคำสั่งสอนของครูอีกทั้งมีแรงบันดาลใจที่จะนำคำสั่งสอนของครูไปปฏิบัติจนเกิดเป็นอานิสงส์ ดังกล่าวแล้วนั้น จำเป็นต้องได้รับการแนะนำพร่ำสอนจากครูอย่างต่อเนื่องด้วย โดยสรุปก็คือ วุฒิธรรม ๔ ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทั้งผู้สอนและผู้เรียน ดังนั้นการดำเนินการเรียนการสอนโดยยึดหลักวุฒิธรรมจึงถือได้ว่าเป็นกระบวนการสอนสั่งศีลธรรมที่ถูกต้องอย่างยิ่ง แต่ว่าจะประสบความสำเร็จลุ่มลึกเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ


          ๑. ความเพียรที่ทุ่มเทลงไปในชาตินี้ของศิษย์


          ๒. บุญเก่าที่ติดตัวข้ามภพข้ามชาติ ตลอดจนบุญใหม่ที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่เล็กในชาตินี้ของผู้เรียน

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.0016373991966248 Mins