ชาติสุดท้ายของมหาทุคตะ

วันที่ 03 กย. พ.ศ.2567

2567%2009%2003%20b.jpg

 

ชาติสุดท้ายของมหาทุคตะ

 

       เมื่อท่านเทพบุตรท่องเที่ยวบนสวรรค์ตลอด   ๑   พุทธันดรเรียบร้อยแล้ว  ได้จุติลงมายังโลกมนุษย์  ด้วยอานุภาพบุญของท่าน  เวลามาเกิดในครรภ์มารดา มารดาเกิดความคิดในใจเลยว่า จะไม่ขัดใจลูกคนนี้เด็ดขาด จะตามใจทุกสิ่งตามอัธยาศัยเลย

2567%2009%2003b.jpg

       ต่อมา   มารดาเกิดแพ้ท้อง   มีความคิดอยากจะนิมนต์พระมา   ๕๐๐   รูป   แล้วเอาข้าวคลุกปลาตะเพียนถวายภัตตาหารเป็นสังฆทาน เลี้ยงพระทั้งหมด ๕๐๐ รูป ส่วนตนเองห่มผ้าย้อมฝาดไปด้วย ห่มเหมือนพระอย่างนั้น แล้วไปยืนอยู่ข้างท้าย คอยรับข้าวคลุกปลาตะเพียนที่เหลืออยู่จากพระภิกษุเพื่อเอามารับประทาน เมื่อทำอย่างนี้อาการแพ้ท้องก็ระงับไป เมื่อคลอดบุตรออกมา ทารกมีผิวพรรณวรรณะเปล่งปลั่งสว่างไสว แม่ก็ตั้งใจไว้ว่า จะไม่ขัดใจลูกเลย

2567%20%2009%20%2003%20b.jpg

       เมื่อเด็กคลอดออกมา ตามประเพณีจะมีการพาเด็กไปรับสิกขะ คือ รับศีล บิดามารดาพาเด็กน้อยไปหาพระสารีบุตร เพื่อให้รับสิกขาบทและในวันตั้งชื่อก็พาไปรับสิกขาบทเช่นกัน พระเถระถามว่า เด็กคนนี้ชื่ออะไร ผู้เป็นแม่จึงเล่าว่า เด็กน้อยนี้เมื่อยังอยู่ในครรภ์ ผู้คนในเรือนไม่ว่าใครก็ตามที่เป็นคนไม่ฉลาดก็กลับกลายเป็นคนฉลาด ด้วยเหตุนี้เด็กน้อยจึงได้ชื่อว่า “บัณฑิต”

         สำหรับงานมงคลทั้ง ๗ ครั้งของกุมารน้อยนี้  คือ ๑. ตอนอยู่ในครรภ์ ๒. วันเกิด ๓. ตอนตั้งชื่อ ๔. ตอนเริ่มกินอาหารเองได้ ๕. ตอนเจาะหู ๖. ตอนนุ่งผ้าใหม่ ๓. ตอนโกนจุก ครอบครัวได้ถวายทานเป็นภัตตาหารด้วยข้าวคลุกปลาตะเพียนแด่คณะพระภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป ที่มีพระสารีบุตรเป็นประธานทุกครั้ง

         กุมารน้อยบัณฑิตดำเนินชีวิตอยู่ทางโลกจนกระทั่งอายุ  ๗  ขวบ บิดา มารดา หรือแม้ใครต่อใครไม่เคยขัดใจกุมารน้อยเลย อยากจะทำอะไรก็ตามใจทุกอย่าง เนื่องจากท่านเป็นผู้มีบุญมาก่อน เพราะฉะนั้นสิ่งที่ท่านคิด พูด หรือกระทำอะไรนั้นล้วนเป็นทางมาแห่งบุญทั้งสิ้น ผิดแผกแตกต่างจากเด็กทั่วๆ ไป

2567%20%2009%20%2003%20%20b.jpg

         พออายุ  ๗  ขวบ  ก็ออกบวชในสำนักของพระสารีบุตร  โดยมีพระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์  ตอนพาไปบวช  กุมารน้อยก็ได้สร้างมหาทาน พอบวชเป็นสามเณรแล้ว ได้ถวายมหาทานติดต่อกันอีก ๗ วัน บิดามารดาก็ไปอยู่ที่วัดกันทั้ง ๗ วัน และได้ถวายมหาทานด้วยข้าวคลุกปลาตะเพียนทั้ง ๗ วัน เนื่องจากข้าวคลุกปลาตะเพียนนี้เป็นอาหารที่ติดใจข้ามภพข้ามชาติมาถึง ๑ พุทธันดรนอกจากจะฉันด้วยตัวเองแล้ว ก็อยากจะให้พระทั้งหลายได้ขบฉันด้วย เพราะว่าข้าวคลุกปลาตะเพียนในชาติที่เป็นมหาทุคตะนั้น เป็นมื้อที่พิเศษสุด ที่พระอินทร์จำแลงทรงปรุงเอาไว้เพื่อถวายแด่พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

2567%20%20%20%2009%20%20%20%2003%20b.jpg

        จนกระทั่งวันที่  ๘  พระสารีบุตรได้นำสามเณรบัณฑิตออกไปบิณฑบาตครั้งแรก   สามเณรมีหน้าที่ถือบาตรของพระอุปัชฌาย์ คือ พระสารีบุตรซึ่งเป็นภาพที่น่าเอ็นดู พระสารีบุตรเดินนำหน้า มีสามเณรน้อยผิวพรรณผ่องใสแก้มใสเป็นสีชมพู หน้าตาน่ารักน่าเอ็นดูเดินตามหลัง เวลาสามเณรบิณฑบาตใครๆ เห็นก็อยากใส่บาตรท่าน ญาติโยมพากันมาใส่บาตรเป็นแถว

        สามเณรบัณฑิตเดินถือบาตรไป  ชมทิวทัศน์ท้องไร่ท้องนาไปเรื่อยๆแล้วก็ช่างซักช่างถาม  เมื่อเดินไปเจอเหมือง ซึ่งก็คือที่ดอนสูงๆ ที่เขาขุดเป็นลำราง แล้วมีช่องทางเปิดให้น้ำไหลเข้านา ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ต่ำกว่า น้ำจึงไหลเข้านาได้เหมืองนี้คนทั่วไปเดินผ่านไปผ่านมานับครั้งไม่ถ้วน แต่ไม่ได้ข้อคิดสะกิดใจอะไร เขาเห็นว่าเหมืองก็คือเหมือง น้ำก็คือน้ำ ไม่ได้คิดอะไร แต่สามเณรบัณฑิตไม่เป็นอย่างนั้น ท่านเป็นคนรู้จักคิดพิจารณา นี่คืออัจฉริยภาพของผู้มีบุญซึ่งจะมีความคิดที่ประกอบไปด้วยปัญญาจากใจที่สว่างผ่องใส สามเณรถามพระสารีบุตรว่า “สิ่งนี้คืออะไรครับ” พระสารีบุตรตอบว่า “นี่คือเหมือง” “แล้วเขาเอาไว้ทำอะไร” ท่านก็ตอบว่า “เขาเอาไว้ปล่อยน้ำเข้ามาในเหมือง แล้วก็เปิดทางนํ้าเข้านา”

2567%20%20%20%2009%20%20%20%2003%20%20%20%20b.jpg

       “น้ามีจิตใจไหมครับ”  สามเณรเข้าใจซักถาม  หากเป็นคนทั่วไปเขาคงไม่ถามเรื่องนี้กัน  พระสารีบุตรตอบว่า  “ไม่มี”  สามเณรก็นิ่ง เดินครุ่นคิดไปตลอดทางว่า “น้ำไม่มีจิตใจ แต่คนสามารถสร้างเหมืองบังคับน้ำให้ไปทางนั้นทางนี้ได้ จิตใจของเราก็คงเช่นเดียวกัน น่าจะฝึกได้ดัดได้ ฝึกให้เป็นไปตามความปรารถนาของเราได้” ซึ่งเป็นความคิดที่น่าอัศจรรย์มากๆ ทีเดียว

2567%2009%2003%20.b.jpg

         การบิณฑบาตในสมัยก่อนต้องเดินกันเป็นระยะทางไกลทีเดียว  เพราะแต่ละบ้านอยู่ห่างกันเป็นกิโลเลย พอเดินไปได้สักระยะหนึ่ง ผ่านไปเห็นช่างศรกำลังดัดลูกศรอยู่ โดยนายช่างเอาลูกศรลนไฟแล้วค่อยๆ ดัดให้ตรงเวลายิงสัตว์จะได้เข้าเป้าโดยง่าย ไม่เฉ ไม่เบี่ยงเบนไป สามเณรถามว่า “นั่นอะไรครับ” พระสารีบุตรตอบว่า “นั่นคือลูกศร” สามเณรจึงถามต่อว่า “แล้วเขากำลังทำอะไร” “ช่างศรเขากำลังดัดลูกศรให้มันตรง เวลายิงจะได้เข้าเป้าแม่นยำ” ได้ฟังเพียงแค่นี้ท่านก็คิดแล้วถามต่อว่า “แล้วลูกศรมีจิตใจไหมครับ” “ไม่มีหรอกมันเป็นของธรรมดาอย่างนั้นแหละ” พระเถระตอบ

2567.09.03%20b.jpg

        สามเณรผู้มีปัญญาจึงคิดต่อไปอีกว่า “ลูกศรไม่มีจิตใจ ยังดัดได้ จิตใจของเราก็ต้องดัดได้เหมือนกัน ให้ตรงต่อหนทางพระนิพพาน มันต้องดัดได้” แล้วสามเณรน้อยก็ครุ่นคิดต่อไปเรื่อยๆ

       กระทั่งสามเณรเดินไปถึงช่างไม้  ซึ่งกำลังถากไม้ให้เป็นดุมเป็นล้อเกวียนอยู่  ก็ถามขึ้นว่า  “นั่นอะไรครับ”  พระสารีบุตรตอบว่า  “ช่างไม้เขากําลังถากไม้ให้เป็นล้อเกวียน” “ไม้มีจิตใจไหมครับ” สามเณรถามต่อ ท่านบอกว่า “ไม่มี” สามเณรก็คิดไปอีกว่า
“ไม้ไม่มีจิตใจยังถากให้เป็นไปตามความปรารถนาได้ จิตใจของเราก็เช่นเดียวกันคงจะต้องดัดได้ ขูดได้ ถากได้ ให้ตรงต่อหนทางพระนิพพาน ให้ใช้ประโยชน์ได้”

2567%2009%2003.b.jpg

2567%20.09.%2003%20b.jpg

         พอคิดอย่างนี้ได้   ๓   ครั้งเท่านั้น  สามเณรพลันบอกกับพระอุปัชฌาย์ว่า  “กระผมขอกลับไปทำกรรมฐานก่อน”  แล้วจึงส่งบาตรคืนให้แก่พระสารีบุตร และยังขอให้พระสารีบุตรบิณฑบาตข้าวคลุกปลาตะเพียนมาฝากด้วย

          เราจะเห็นว่า   สามเณรท่านไม่ลืมความเลิศรสของข้าวคลุกปลาตะเพียนในภพชาติที่เป็นมหาทุคตะ  นี่ขนาดจะไปทำกรรมฐา  ยังฝากเอาไว้อย่างนี้พระสารีบุตรบอกว่า “เอ...ข้าวคลุกปลาตะเพียนไม่รู้จะมีหรือเปล่านะ” สามเณรจึงเรียนตอบไปว่า “ถ้าไม่ได้ด้วยบุญของท่าน ก็จะได้ด้วยบุญของกระผมขอรับ”

      พระสารีบุตรจึงบอกสามเณรว่า  “อย่าลืมเอาลูกดาล (ลูกกุญแจ) ไปด้วยนะ  แล้วนั่งในกุฏินั่นแหละ  เพราะวัดเราอยู่ในป่า  มันอันตราย เดี๋ยวสัตว์ร้ายจะมาทําร้ายเอาได้ หรือโจรป่าจะจับตัวไป” พระเถระยืนส่งสามเณรด้วยความเป็นห่วง แต่เด็ก ๗ ขวบนี้ไม่ห่วงอะไรแล้ว เดินมุ่งหน้าจะไปปฏิบัติกรรมฐานด้วยใจที่แน่วแน่ ครุ่นคิดถึงเรื่องที่ว่า จิตของเราต้องฝึกได้เหมือนไม้ เหมือนลูกศรและเหมือนน้ำ ที่แม้ไม่มีจิตยังฝึกได้ ยังดัดได้

     ขณะเดินกลับวัด สามเณรรู้สึกปลื้มปีติ เบิกบานใจ และมั่นใจอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน  ซึ่งก็เป็นปกติธรรมดาของคนที่จะบรรลุธรรม จะมีจิตใจที่เบิกบานเป็นพิเศษ คล้ายกับว่า วันนี้จะเป็นวันสมความปรารถนาของชีวิตที่เดินทางในสังสารวัฏมานับภพนับชาติไม่ถ้วนสั่งสมบุญบารมีกันมามากมาย บางชาติก็ทำได้มาก บางชาติก็ทำได้น้อย บางชาติพลาดพลั้งตกไปในอบายก็มี แต่ว่าบุญเล็ก บุญน้อย บุญใหญ่ บุญทุกชนิดที่ทำไว้ก็ไม่ได้สูญหายไปไหน รอเวลารวมกันมาส่งผลให้ไปถึงจุดหมายปลายทางได้ในที่สุด

2567.09.03.b.jpg

        ฉะนั้น ตอนที่บารมีเต็มเปี่ยม จะเกิดความรู้สึกอย่างนี้และคิดอย่างนี้ ดวงปัญญาจะแตกฉาน จะแจ่มแจ้งเข้าใจชีวิต เกิดความรู้สึกอิ่มพอแล้วกับชีวิตของการเป็นปุถุชน จะต้องก้าวต่อไปในชีวิตที่ประณีตขึ้น สูงขึ้น ซึ่งตอนนี้บุญจะได้ช่องเต็มที่

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.042871832847595 Mins