เศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ

วันที่ 12 กพ. พ.ศ.2546

.....เศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ

.....เป้าหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ
สรุปว่าเป้าหมายในเชิงเศรษฐศาสตร์ของชาวพุทธ มี ๓ ระดับ

.....๑. เป้าหมายบนดิน

.....๒. เป้าหมายบนฟ้า

.....๓. เป้าหมายเหนือฟ้า

.....เป้าหมายบนดิน

.....เรื่องที่ทีฆชาณุขอให้พระผู้มีพระภาคโปรดแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลในภพนี้ เพื่อสุขในภพนี้ คือเป้าหมายบนดิน เมื่อมีชีวิตนี้ก็ขอเพื่อให้ชีวิตที่อยู่ในโลกนี้เป็นสุข เพื่อเกื้อกูลชีวิตไม่ให้ตกต่ำ ส่วนที่ว่าจะต้องทำอย่างไรถึงได้อย่างนั้น ก็มีคาถาอยู่ว่า อุ กา กะ สะ

.....อุ คือ อุฏฐานสัมปทา

.....อา คือ อารักขสัมปทา

.....กะ คือ กัลยาณมิตตตา

.....สะ คือ สมชีวิตา

.....เป้าหมายบนฟ้า

.....หมายถึงศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ที่ได้กล่าวไปแล้ว โบราณย่อเป็นคาถาว่า ส สี จา ป ตามรูปภาษาบาลี (สัทธา สีล จาค ปัญญ)
 

.....เป้าหมายเหนือฟ้า

.....ความจริงนายทีฆชาณุกราบทูลถามสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่เพียง ๒ ข้อ ก็ได้คำตอบมา ๒ ระดับ แต่ในที่นี้ยังอยากทิ้งคำถามเอาไว้ว่า แล้วถ้าต้องการเป้าหมายเหนือฟ้า จะต้องทำอย่างไร

.....ในคำตอบที่พระพุทธองค์ทรงให้มานั้น ได้ทรงทิ้งความหมายเอาไว้ให้ด้วยคำว่า "อริยะ"

.....ทรงทิ้งไว้ให้เป็นช่วงๆ โดยเฉพาะช่วงสุดท้าย คือปัญญาสัมปทา ทิ้งเอาไว้ให้ชัดเจนเลย คือให้ประกอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาเห็นทั้งความเกิดและความดับ อันเป็นอริยะ ทรงทิ้งเอาไว้ให้ตรงนี้ แม้ไม่ได้บอกให้หมดชัดเจน แต่เป้าหมายของพระอริยะเป้าหมายเหนือฟ้าก็คือการปราบกิเลสให้หมดโดยสิ้นเชิงแล้วไปนิพพานนั่นเอง

.....ยันต์มหาเศรษฐีของหลวงพ่อ

.....นักการศึกษาในยุคนี้ คงจะมีการเขียนชารต์ ทำแผนภูมิขึ้นมาว่า เศรษฐศาสตร์จะต้องขั้นมีตอนเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ถามว่าปู่ ย่า ตา ยาย มีการเขียนแผนภูมิอธิบายเศรษฐศาสตร์เชิงพุทธบ้างไหม ตอบได้ว่า มี เขียนให้ดูก็ได้


.....อุ คือ อุฏฐานสัมปทา

.....อา คือ อารักขสัมปทา

.....กะ คือ กัลยาณมิตตตา

.....สะ คือ สมชีวิตา

.....ในสมัยโบราณเขียนออกมาเป็นรูปยันต์ จะให้ดูขลังก็ขมวดปมตามมุมเสียหน่อย ก็ขลัง.. เวลาพระท่านไปเจิมบ้านใหม่ท่านก็เจิมที่หน้าบ้าน บางท่านก็เขียนเป็นตัวขอม

.....ต่อมาเมื่อถึงรุ่นหลังๆ ก็มีการเปลี่ยนเป็นตัวภาษาไทย ก็ออกมาในลักษณะทำนองนี้ อุ อา กะ สะ แล้วก็ศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ก็อยู่ในรูปนี้


 

.....เขียนไว้ที่หน้าบ้านเจิมเอาไว้เลยล่ะด้วยแป้ง แต่เจ้ากรรม พระอาจารย์ที่เขียนก็ไม่ได้อธิบายให้เข้าใจ ลูกศิษย์เจ้าของบ้านเลยไม่รู้เรื่อง แต่รู้ว่าขลัง พระท่านเขียนไว้เสร็จร้อยแล้ว คราวนี้สบายใจ

.....บอกให้รู้กันว่าของจริงๆ มีที่มาอย่างไร คือมาจากพระสูตรนี้ ยันต์มหาเศรษฐีนี้ให้เป้าหมายที่ชัดเจนทั้งบนดิน ทั้งบนฟ้า หรือถ้าจะมุ่งเป้าหมายไปนิพพานก็ยังได้ด้วย ด้วยยันต์รูปเดียวกันนี้ การไปนิพพานก็ไปด้วยมรรคมีองค์ ๘ เพราะยันต์นี้ก็มี ๘ มุม ขึ้นต้นด้วย

.....สัมมาทิฏฐิ - ทิ

.....สัมมาสังกัปปะ - ส

.....สัมมาวาจา - วา

.....สัมมากัมมันตา - ก

.....สัมมาอาชีวะ - อา

.....สัมมาวายามะ - วา

.....สัมมาสติ - ส

.....สัมมาสมาธิ - ส

.....แล้วเพราะโบราณท่านกลัวว่าสูตรนี้จะหายไป ท่านก็เลยให้ลงอักขระไว้ในผ้า ก็กลายเป็นผ้ายันต์ขึ้นมา ต่อมารู้ว่ามันจะไม่ทนก็นำไปลงอักขระไว้ในแผ่นทอง แผ่นเงิน แผ่นโลหะ และเพื่อจะได้เอาติดตัวไปไหนได้ พอลงอักขระเสร็จก็เลยม้วนให้กลม หาเชือกมาร้อยเข้า ก็เลยได้ตะกรุดมาดอกหนึ่ง

.....ตะกรุดดอกนี้ก็มีที่มาอย่างนี้

.....เหล่านี้ก็พอจะทำให้เราได้เห็นภาพรวมๆ ของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธว่า ทุกลมหายใจต้องไม่ทิ้งธรรม คือถ้าจะไม่ให้เผลอไผลไปในเรื่องของการหา ใจก็ต้องตรึกอยู่ในธรรม ต้องตรึกอยู่ที่ศูนย์กลางกาย

.....วันๆ หนึ่งต้องให้ใจอยู่กับเนื้อกับตัว จะทำมาหากินก็ทำไป แต่ไม่ยอมให้บาปเข้ามาได้ ใจก็เอาไว้ในตัว แม้รู้ว่าหากกระทำในสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติเอาไว้ว่าเป็นมิจฉาวาณิชย์ ๕ ประการแล้ว จะมีรายได้มหาศาล แต่ก็ต้องไม่เอา เพราะจะมีเชื้อบาปติดมา

.....ถึงตอนเก็บเงินก็ต้องเก็บเอาไว้ด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกระเทือนถึงคนอื่นที่จะต้องมาเดือดร้อนเพราะเรา จะไม่เก็บก็ไม่ได้ ต้องเผื่อไว้ยามป่วยยามไข้ เก็บเอาไว้ลงทุนบ้าง เก็บเอาไว้เผื่อป้องกันภัย เช่น อยู่ดีๆ ถูกใส่ความโดนจับวันศุกร์ต้องหาตัวประกัน ต้องหาเงินมาประกัน ถ้าไม่มีติดบ้านก็เสร็จ ถูกลากเข้าคุกขังฟรี จึงต้องมีเผื่อเอาไว้

.....แต่ว่าจะเก็บอยู่ในรูปแบบไหน ก็ต้องคิดให้มาก ที่ดีที่สุดก็คือเก็บเป็นอริยทรัพย์ คือเก็บเป็นบุญติดตัวไว้ ไม่ว่าค่าเงินจะขึ้นลงอย่างไรในตลาดโลก แต่ของฉันไม่มีขึ้นลง มีแต่เพิ่มคุณค่าอยู่เรื่อยไปอย่างนั้นจึงเรียกว่าเก็บเป็น

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.061455265680949 Mins