ทำไมต้องทำทานด้วยมือตัวเอง

วันที่ 12 สค. พ.ศ.2554

นอกจากการทำทานจะแบ่งออกเป็น

๑. วัตถุทานบริสุทธิ์ - ไม่ได้ไปปล้นจี้ ลักโกงใครเขา ได้มาจากเงินที่ทำงานบริสุทธิ์
๒. ผู้ให้บริสุทธิ์ - ถือศีลเป็นปกติ มีอาชีพการงานไม่ผิดกฎหมาย
๓. ผู้รับบริสุทธิ์ - มีศีลบริสุทธิ์

ก็ยังแบ่งการเกิดของบุญอันได้มาจากการทำทานออกเป็น ๓ วาระอีก คือ

วาระที่ ๑ เมื่อคิดจะทำใจเป็นบุญ ก็ได้บุญมาแล้ว
วาระที่ ๒ เมื่อลงมือทำ ก็ได้บุญมาอีก
วาระที่ ๓ เมื่อตามระลึกถึง คือ เมื่อตอนนึกถึงเรื่องที่เคยทำบุญแล้วก็ชื่นใจ ก็ยังได้บุญมาอีก

คราวนี้มาดูกันถึงผลต่างการเกิดของบุญในใจ ระหว่างเจ้าของบ้านและคนรับใช้

การเกิดบุญของเจ้าของบ้าน

- เมื่อถึงเวลา เจ้าของบ้านนึกขึ้นมาได้ว่า ยังไม่ได้ให้เงินคนรับใช้ไว้ทำบุญเลย ก็เตรียมเงินไว้ให้ เมื่อนึกอย่างนี้ เจ้าของบ้าน ก็ได้บุญมาแล้ว
- หลังจากส่งเงินให้แล้ว เจ้าของบ้านก็ไม่ได้ติดตามดูว่า คนรับใช้จะทำอย่างไรบ้าง (ดังนั้น บุญในส่วนนี้เจ้าของบ้านจะไม่ได้)
- เมื่อเห็นพระผ่านหน้าบ้านทุกวันๆ ก็ชื่นใจ ได้บุญเพิ่มมาอีก

สรุปแล้ว เจ้าของบ้านได้บุญเพียงช่วงก่อนทำกับหลังทำเท่านั้น

การเกิดบุญของคนรับใช้

- เมื่อถึงเวลาก็มาเตือนเจ้านาย ขอเงินสำหรับเตรียมทำบุญ ก็ได้บุญมาแล้วล่วงหน้าก่อนทำ
- เมื่อถึงเวลา ก็หุงข้าวทำอาหารเอง รวมทั้งตักบาตรเองอีก ก็ได้บุญอีก
- เมื่อเห็นพระผ่านหน้าบ้านทุกวันๆ ก็รู้สึกเป็นสุข ชื่นใจ ได้บุญย้อนหลัง

สรุปแล้ว คนรับใช้ได้บุญเต็ม ๑๐๐%

นี่เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ที่แสดงให้เห็นว่า การทำทานด้วยตนเองย่อมได้บุญมากกว่าวานคนอื่นทำ เจ้าของบ้านซึ่งเป็นเจ้าของเงินแท้ๆ กลับได้บุญน้อยกว่า ส่วนคนรับใช้ซึ่งไม่ได้เป็นเจ้าของเงินเลย แต่มีจิตใจที่ใฝ่ในการทำบุญกุศล และได้ตั้งใจทำบุญให้ทานด้วยมือของตนเอง จึงได้รับผลบุญเต็มเปี่ยมร้อยเปอร์เซ็นต์

เพราะฉะนั้น ใครที่ยังให้คนรับใช้ตักบาตรอยู่ก็ควรเริ่มลงมือทำเองเสีย เพื่อให้ได้ผลบุญเต็มเปี่ยมบริบูรณ์ (จากหนังสือการทำบุญให้ทานที่สมบูรณ์แบบ)

 

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.036352634429932 Mins