ขึ้นภาษีบุหรี่..ช่วยชีวิตคน

วันที่ 09 พค. พ.ศ.2549

 

               การมีโรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องธรรมดาของคน ทั้งโรคที่เกิดขึ้นจากกรรมพันธุ์ เกิดขึ้นตามอายุขัยและโรคที่เกิดขึ้นจากการทำร้ายตัวเอง แต่เราสามารถป้องกันโรคร้ายต่างๆได้ด้วยการรักษาที่ถูกวิธีหรือหาทางหลีกเลี่ยงภัยต่างๆที่จะทำให้เกิดโรคนั้นๆ

บุหรี่...ภัยร้ายทำให้เกิดโรคซึ่งคร่าชีวิตคนมาแล้วมากมาย ถามว่าจะมีวิธีใดที่สามารถจะลดปริมาณการตายจากโรคร้ายที่เกิดขึ้นจากบุหรี่ได้บ้าง

ในการประชุมด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ.2549 มีผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขกล่าวว่า ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญต่างเป็นกังวลถึงโรคไขหวัดนก ซึ่งอาจเกิดการระบาดไปทั่วโลก แต่ความจริงแล้วโรคที่ส่ากลัวที่สุดกลับเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดซึ่งเป็นมหันตภัยร้ายคร่าชีวิตคนมากที่สุดในโรค เช่น โรคหัวใจ โรคหัวใจล้มเหลวและเส้นโลหิตในสมองแตก เหล่านี้ได้คร่าชีวิตไปแล้วทั่วโลกถึง 13 ล้านคนในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมากกว่าผู้เสียชีวิตจากโรคเอดส์ วัณโรค และมาลาเรียรวมกันถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อายุ 35-64 ปี

แพทย์ทางด้านหัวใจและหลอดเลือดกล่าวว่า “จีนเป็นประเทศตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจมมากที่สุด โดยมีการสูบบุหรี่ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคอ้วนเป็นปัจจัยสนับสนุน และในหลายประเทศกำลังพัฒนา ความเจริญของประเทศได้ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการบริโภคและวิถีชีวิตของคน การหาซื้ออาหารได้ถูกขึ้น อาหารไขมันสูง และการอพยพของคนชนบทสู่เมืองล้วนเป็นปัจจัยกระตุ้นทั้งสิ้น”การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยให้โรคหัวใจดีขึ้นหรือไม่

ในผู้สูบบุหรี่น้อยกว่า 20 มวนต่อวัน การหยุดสูบบุหรี่จะลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตทางโรคหัวใจขาดเลือดและถ้าหากเลิกสูบบุหรี่เป็นเวลามากกว่า 10 ปี จะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเท่ากับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ส่วนผู้ที่เคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหรือหัวใจขาดเลือดหากเลิกบุหรี่จะลดอัตราตายลงได้ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจซ้ำอีกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ประธานศัลยแพทย์ของสหรัฐอเมริกาสรุปว่า "การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบทั้งชายและหญิงของสหรัฐอเมริกา" นั่นคือ การไม่สูบบุหรี่จะเป็นการลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจที่สำคัญที่สุดและในผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบแล้ว การเลิกสูบบุหรี่จะเป็นการลดอัตราการเกิดโรคซ้ำและลดอัตราตายได้ถ้าคุณอยากเลิกสูบบุหรี่ควรทำอย่างไร

1.ตั้งใจ ตัดสินใจ แน่วแน่ ว่าต้องการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง

2.กำหนดวัน "ปลอดบุหรี่" ของตนเอง อาจเป็นวันสำคัญของศาสนา วันเกิดตนเองหรือบุตร ภรรยาไม่ควรเลือกช่วงเวลาที่งานเครียด

3.ทิ้งบุหรี่และอุปกรณ์ทั้งหมด เพื่อมิให้สิ่งเหล่านี้มากระตุ้นความอยากบุหรี่อีก

4.แจ้งแก่คนในครอบครัวที่ทำงาน นายจ้าง เพื่อนสนิท เพื่อร่วมงาน เพื่อให้เป็นกำลังใจ เป็นแรงสนับสนุนให้เลิกได้สำเร็จ

5.ให้งดสุรา กาแฟ อาหารรสจัด ละเว้นการรับประทานอาหารให้อิ่มเกินไป ไม่ควรนั่งโต๊ะอาหารนาน ๆ เพราะหลังอาหารทุกมื้อจะเกิดความอยากบุหรี่อีก

6.ในช่วงแรกที่อดบุหรี่จะรู้สึกหงุดหงิด ให้สูดหายใจเข้า-ออกลึก ๆ ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดความอยากหรืออาจอาบน้ำ

7.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หางานอดิเรกทำเพื่อคลายเครียด เพราะส่วนใหญ่หลังเลิกบุหรี่น้ำหนักตัวจะขึ้นการออกกำลังกาย ควบคุมอาหาร ลดอาหารหวาน จะเป็นการควบคุมน้ำหนักได้ทางหนึ่ง

ศาสตราจารย์ดีน เจมิสัน จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียได้ให้ข้อคิดในการประชุมครั้งนี้ว่า “ การขึ้นภาษีบุหรี่เป็นทางหนึ่งที่รัฐบาลสามารถช่วยชีวิตประชาชนได้ โดยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเชิงบังคับ ซึ่งผลการศึกษาชี้ว่า การขึ้นภาษีบุหรี่รวม 70% ทั่วโลกจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของคนได้ราว 46-114 ล้านคนใน 50 ปีข้างหน้า”

ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนามีความเสี่ยงที่ประชาชนจะเป็นโรคดังกล่าวถึง70% ของประชากรทั้งประเทศ วิธีการขึ้นภาษีบุหรี่ของศาสตราจารย์ดีน เจมิสัน น่าจะเป็นการช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของคนในประเทศได้

ฝากไว้...คุณผู้อ่านทุกท่านที่ยังไม่เลิกบุหรี่จะรอให้คนอื่นมาช่วยชีวิตคุณหรือจะช่วยชีวิตตัวเองก่อน แต่..โรคร้ายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตคุณ มันไม่รออะไรทั้งสิ้นมีแต่จะบั่นทอนชีวิตคุณลงไปทีละน้อย..ทีละน้อย เลิกบุหรี่ซะแต่ตอนนี้ ก่อนที่คุณจะไม่มีชีวิตให้คิดเลิก

 

อ้างอิง..สถาบันควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.034936233361562 Mins