ทิศเบื้องล่าง

วันที่ 04 กค. พ.ศ.2557

 

ทิศเบื้องล่าง


          หมายถึงผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้างของเรา พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดหน้าที่ให้เป็นอริยวินัยของผู้เป็นหัวหน้า และผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง ที่ต้องปฏิบัติต่อกันฝ่ายละ 5 ประการดังนี้


หน้าที่รับผิดชอบของนายจ้าง


          พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำหนดหน้าที่ให้เป็นอริยวินัยของผู้เป็นหัวหน้าหรือนายจ้าง ที่ต้อง
ปฏิบัติเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อลูกน้อง หรือลูกจ้าง ไว้เป็นตัวอย่างให้ดู 5 ประการ คือ


       1)สามารถจัดการงานให้สมควรแก่กำลัง หมายความว่ามอบหมายงานให้แก่ลูกน้องหรือลูกจ้าง ให้เหมาะสมกับกำลังตามวัยและเพศ ตลอดจนความถนัด ความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของลูกน้องแต่ละคน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิผลสูงสุด


         2) ให้อาหารและรางวัล หมายความว่านายจ้างต้องมีความเมตตากรุณาต่อลูกจ้าง เสมือน
หนึ่งลูกของตน โดยให้ค่าจ้างแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีการขึ้นเงินเดือนและจ่ายโบนัสตามความเหมาะ สมสำหรับลูกจ้างที่อยู่อาศัยในชายคาเดียวกัน ก็ต้องจัดอาหารให้อย่างเหมาะ สม ไม่ให้อดอยากขาดแคลนนายจ้างที่มีสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจ ย่อมปฏิบัติหน้าที่ข้อนี้ได้อย่างสมบูรณ์


        3) ดูแลรักษายามเจ็บป่วย หมายถึงอนุญาตให้ลาพักงานได้เมื่อลูกจ้างเจ็บป่วยโดยไม่หักค่า
จ้างแรงงาน ให้ความสนใจ ไถ่ถามข่าวความเจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยความเมตตากรุณา


       4) แจกของแปลกๆ พิเศษให้กิน หมายถึงจัดให้มีการเลี้ยงฉลองในวาระโอกาสพิเศษแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกจ้าง ด้วยอาหารรส เลิศพิเศษ เพื่อแสดงความมีน้ำใจ และความเมตตาของผู้บังคับบัญชาต่อผู้ใต้บังคับบัญชา


       5) ให้หยุดตามโอกาสหมายถึงให้หยุดงานตามวันหยุดประจำ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตลอด
จนวันสำคัญของชาติและศาสนา ซึ่งมีการกำหนดให้หยุดเป็นประเพณีหัวหน้า ผู้บังคับบัญชา หรือนายจ้าง จะมีความรับผิดชอบ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ทั้ง 5 ประการดังกล่าวได้ สมบูรณ์ ไม่บกพร่อง ก็เพราะมีลักษณะนิสัยของมิตรแท้ อันเกิดจากการได้รับการปลูกฝังอบรม
สัมมาทิฏฐิให้เข้าไปอยู่ในใจ ตั้งแต่เยาว์วัยจากครอบครัว โรงเรียนสถาบันการศึกษา และพระภิกษุสงฆ์

 

 

จากหนังสือ DOU

วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.050855084260305 Mins