ความหมายของสัมมาทิฏฐิ
สัมมาทิฏฐิหมายถึงอะไร
ความหมายที่สมบูรณ์ของสัมมาทิฏฐิในระดับโลกิยะ คือ ความเข้าใจถูกเกี่ยวกับเรื่องโลกและชีวิตตามความเป็นจริง ที่สำคัญมีอยู่ 10 ประการ คือ
1. การทำทานมีผลดี ควรทำ
2. การสงเคราะห์ทั้งสาธารณสงเคราะห์ และบุคคลสงเคราะห์ เป็นสิ่งดี ควรทำ
3. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา เป็นสิ่งดี ควรทำ
4. ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่ว ที่บุคคลทำแล้วมีจริง เป็นจริง นั่นคือกฎแห่งกรรม
เป็นจริง ต้องเชื่อ
5. โลกนี้มีคุณ คือเป็นสถานที่แห่งเดียวเท่านั้นในภพ 3 ที่เปิดโอกาสให้ทุกชีวิตได้สร้างบุญบารมีตลอดจนทำพระนิพพาน ให้แจ้ง
6. โลกหน้ามี หมายความว่าสรรพสัตว์ทั้งปวง ถ้ายังไม่สามารถทำอาสวกิเลสให้หมดสิ้นไปจากใจก็จะต้องเวียนตาย เวียนเกิด ทนทุกข์ทรมานอยู่ในสังสารวัฏเรื่อยไปโดยไม่มีจุดจบ
7. มารดามีคุณต่อบุตรทุกคนสุดที่จะพรรณนา ที่สำคัญก็คือการเป็นต้นบุญต้นแบบของ
ร่างกายมนุษย์ให้แก่บุตร ถ้าบุตร ได้รูปแบบกายที่ไม่ใช่มนุษย์ย่อมหมดโอกาสั่งสมบุญบารมี
8. บิดามีคุณ เช่นเดียวกับมารดา คือการเป็นต้นแบบร่างกายมนุษย์ ถ้าไม่มีบิดาแล้วไซร์การถือกำเนิดของบุตรย่อมมีขึ้นไม่ได้ ดังนั้นมารดาและบิดาจึงมีพระคุณอย่างยิ่งใหญ่ต่อบุตรสมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับความกตัญูกตเวทีอย่างสูงสุดจากบุตร
9.สัตว์ที่ผุดขึ้นเกิด หรือโอปปาติกะมีจริง ทั้งนี้ย่อมมีนัยว่า นรกสวรรค์ มีจริง ทุกคนอย่าได้
ตั้งอยู่ในความประมาทและทำกรรมชั่วเป็นอันขาด
10. มณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ชนิดที่ทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้า ด้วยปัญญาอันยิ่ง
เอง แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามมีจริงสัมมาทิฏฐิข้อนี้ย่อมให้นัยว่า
10.1 พระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริง
10.2 พระอรหันตสาวกผู้รู้แจ้งโลกนี้โลกหน้า ด้วยการฝึกอบรมตนตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ แล้วสอนผู้อื่นให้รู้ตาม มีจริง
พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัย ซึ่งตกทอดมาถึงปัจจุบันนี้ ชนิดอุทิศชีวิตเป็นเดิมพัน จนสามารถทำให้แจ้งโลกนี้โลกหน้าแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งตามยังมีอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลที่มีความเห็นถูกตามสัมมาทิฏฐิ 10 ประการนี้ ย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีความ "เข้าใจ"สัมมาทิฏฐิ 10 ประการเท่านั้น แต่ถ้ายังไม่ได้ลงมือปฏิบัติจริง และยังไม่ได้ศึกษาธรรมะหมวดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสัมมาทิฏฐิ 10 ประการ แล้วนำไปปฏิบัติจนเกิดเป็นลักษณะนิสัย ถึงขั้นที่เรียกได้ว่า มีสัมมาทิฏฐิ "เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคงถาวร" ก็ยังไม่ชื่อว่าสัมมาทิฏฐิบุคคล หรือสัมมาทิฏฐิชน ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดเป็นลักษณะนิสัยในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะสังเกตได้จากการทำทานเป็นกิจวัตร การรักษาศีลอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ และการขวนขวายพากเพียรทำสมาธิภาวนาอยู่เป็นนิจ โดย สรุปก็คือ เป็นผู้ที่ตั้งใจสั่ง สมบุญกุศลอยู่เสมอ โดยไม่ทำบาปอกุศลใดๆ เลย จึงจะชื่อว่าสัมมาทิฏฐิบุคคล หรือสัมมาทิฏฐิชนทั้งนี้เพราะสัมมาทิฏฐิในระดับ "เข้าใจ" แต่ยัง "ไม่เข้าไปอยู่ในใจอย่างมั่นคง" นั้นย่อมแปรเปลี่ยนไปเป็น มิจฉาทิฏฐิ ได้โดยง่าย
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก