เหตุ 4 ประการ
อริยสาวกไม่ทำบาปกรรมโดยเหตุ 4 ประการ อะไรบ้าง คือ ปุถุชน
1. ย่อมถึงฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะรัก) ทำบาปกรรม
2. ย่อมถึงโทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง) ทำบาปกรรม
3. ย่อมถึงโมหาคติ (ลำเอียงเพราะเขลา) ทำบาปกรรม
4. ย่อมถึงภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว) ทำบาปกรรม
่ สวนอริยสาวก
1. ย่อมไม่ถึงฉันทาคติ
2. ย่อมไม่ถึงโทสาคติ
3. ย่อมไม่ถึงโมหาคติ
4. ย่อมไม่ถึงภยาคติ
อริยสาวกย่อมไม่ทำบาปกรรม โดยเหตุ 4 ประการนี้
อธิบายความ อคติ คือ ความลำเอียง ได้แก่ การกระทำ ที่เป็นเหตุให้ผู้ไม่ได้รับประโยชน์ กลับได้รับ ผู้ควรได้รับประโยชน์กลับไม่ได้รับ หรือผู้ควรได้รับน้อยกลับได้รับมากผู้ควรได้รับมากกลับได้รับน้อย
1. ฉันทาคติ คือ ความลำเอียงเพราะรัก เป็นต้นเหตุให้เกิดการคอรัปชั่นในทุกระดับสังคม
2. โทสาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโกรธ เป็นต้นเหตุให้เกิดการกลั่นแกล้งกันในสังคม
3. โมหาคติ คือ ความลำเอียงเพราะโง่เขลา เป็นต้นเหตุให้สังคมขาดกฎเกณฑ์ที่แน่นอน
เหมือนไม้หลักปักเลน
4. ภยาคติ คือ ความลำเอียงเพราะกลัวภัยมาถึงตัว เป็นต้นเหตุให้เกิดอิทธิพลมืดคุกคามในสังคม
พระอริยสาวกทั้งหลาย แม้จะต้องเผชิญกับความตาย ก็ไม่ลำเอียง เพราะตระหนักว่าการลำเอียงของท่าน ย่อมทำให้กระทบกระเทือนต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น ยิ่งลำเอียงมาก ก็ยิ่งทำให้คนอื่นเดือดร้อนมาก เมื่อผู้นั้นเดือดร้อนมาก ก็ทำให้เขาถูกกิเลส บีบคั้นใจได้ง่ายโอกาสที่ผู้ถูกลำเอียงจะทำกรรมกิเล 4 แก่ผู้อื่นต่อๆ ไป หรือเพื่อตอบโต้บุคคลที่ลำเอียงให้เกิดการจองเวรกัน ก็เกิดได้ง่ายขึ้นเพราะฉะนั้น มาตรฐานของคนดี ประการที่ 2 คือ คนดีต้องมีความสำนึกรับผิดชอบต่อศักดิ์และศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ของผู้อื่นด้วยการไม่ลำเอียง 4 ประการ
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปว่า"บุคคลใดละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม ฉะนั้น
บุคคลใดไม่ละเมิดความชอบธรรม เพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศของ
บุคคลนั้นย่อมเจริญ เหมือนดวงจันทร์ข้างขึ้น ฉะนั้น" 1
จากหนังสือ DOU
วิชาGB 203 สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก
กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก