การฝึกฝนตนของกัลยาณมิตร

วันที่ 25 สค. พ.ศ.2557

การฝึกฝนตนของกัลยาณมิตร

การฝึกฝนตนของกัลยาณมิตร

        “ก่อนสอนคน ต้องสอนตนให้ดีก่อน” หมายถึง การจะแนะนำคนอื่นให้เป็นคนดี หรือเข้าสู่กระแสธรรมได้นั้น กัลยาณมิตรจะต้องฝึกฝนตนเองอย่างยิ่งยวด และเข้มงวดกวดขันต่อตนเอง จนรู้สึกว่าเป็นต้นแบบทั้งทางกาย วาจา ใจ ได้อย่างไม่มีที่ตำหนิ ต้นแบบที่ดีมีค่ากว่าคำสอนนับหมื่นนับล้านคำ การทำดี ๆ ให้ดู และพูดจาในสิ่งที่เป็นอรรถเป็นธรรม เป็นบุญกุศลอยู่เสมอ จะทำให้คนรอบข้างสัมผัสได้ถึงความเป็นผู้น่าเลื่อมใส ความศรัทธาเลื่อมใสนำไปสู่การอยากประพฤติปฏิบัติธรรมโดยไม่มีข้อแม้ ข้ออ้าง และเงื่อนไข การฝึกฝนตนบนเส้นทางของกัลยาณมิตร จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ยิ่งฝึกตนได้ดีเพียงไร นั่นคือแสงสว่างที่ส่องนำทาง สรรพสัตว์ให้มองเห็นแสงสว่างของชีวิต และเห็นทางไปสู่สวรรค์นิพพาน

        ผู้ได้ชื่อว่ากัลยาณมิตร หมายถึง ผู้ที่อุดมด้วยคุณธรรมความดีทั้งภายในและภายนอก การจะประสบ ความสำเร็จในการทำหน้าที่กัลยาณมิตรต่อคนอื่นนั้น ต้องเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน เหมือนดังพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นเสด็จออกผนวชเพื่อแสวงหาโมกขธรรมแล้ว ก็มุ่งมั่นทำพระนิพพานให้แจ้ง เมื่อได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และทรงทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้แก่ตนเอง จนได้ชื่อว่าเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะแล้ว ทรงทำหน้าที่ยอดกัลยาณมิตรแก่มนุษย์ เทวดา พรหม รวมไปถึงสรรพสัตว์อีกมากมายนับไม่ถ้วน ตราบวันเสด็จดับขันธปรินิพพาน การทำหน้าที่ยอดกัลยาณมิตรแก่เหล่าเวไนยสัตว์ของพระองค์จึงประสบความสำเร็จเกินควรเกินคาด

 

การฝึกฝนตนของกัลยาณมิตร

       ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการทำหน้าที่กัลยาณมิตร คือผู้ที่รักในการฝึกฝนตนเอง ทั้งกาย วาจา ใจ หมั่นปรับปรุงแก้ไขตนเองในทุกรูปแบบ ยอมสละทิฏฐิมานะอันจะเป็นอุปสรรคต่อการทำหน้าที่กัลยาณมิตร

       มองเห็นประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเอง    เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ตนเองจะออกไปทำหน้าที่แนะนำแสงสว่างแห่งธรรม และประโยชน์อันยิ่งใหญ่ที่เกิดขึ้นต่อมนุษยชาติ ดังนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาหลักธรรมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของการเป็นกัลยาณมิตรที่ดีเอาไว้

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.032514667510986 Mins