ทางก้าวหน้า ก้าวใหม่พาก้าวไกลไปสู่ระดับนานาชาติ

วันที่ 14 พค. พ.ศ.2558

ทางก้าวหน้า ก้าวใหม่พาก้าวไกลไปสู่ระดับนานาชาติ

 

ทางก้าวหน้า : ก้าวใหม่พาก้าวไกลไปสู่ระดับนานาชาติ

          ปีสากลแห่งวัฒนธรรมสันติภาพ : องค์การยูเนสโก โดยมติสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ปี 1998  ได้รับมอบหมายจากภาคีสมาชิกให้เป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมวัฒนธรรมสันติภาพเนื่องในโอกาสที่สหประชาติได้ประกาศให้ปี 2000 เป็นปีสากลแห่งวัฒนธรรมสันติภาพ และให้ทศวรรษนี้คือปี 2001 ถึง 2010 เป็นทศวรรษของเยาวชนโลก เพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและการไม่ใช้ความรุนแรง (International Decade for a Culture of Peace and Non-violence for the Children of the World) ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้เข้าร่วมเครือข่ายโลกในการสร้างวัฒนธรรรมสันติภาพร่วมกับยูเนสโก ตั้งแต่เมษายน พ.ศ. 2543 และในปี พ.ศ. 2544 โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้าก็ร่วมในโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมสันติภาพของยูเนสโก  ทางก้าวหน้าพาก้าวไกลŽอยู่ในหมวดส่งเสริมการศึกษาเพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรงŽนับเป็นโครงการที่ได้ดำเนินการอย่างประสบความสำเร็จมาแล้วมีเครือข่ายเยาวชนในโครงการ กว่าสี่ล้านคนทั่วประเทศประกอบด้วยอาสาสมัครเยาวชนกว่า 5,000 คน นักวิชาการ นักการศึกษา ในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาต่างๆ มากกว่า 4,000 สถาบันวันนี้ทางก้าวหน้าพาก้าวไกลŽนำเยาวชนเข้าร่วมเครือข่ายโลกในการปลูกฝังวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่รุนแรงร่วมกับยูเนสโกและองค์กรต่างๆทั่วโลกกว่า 1,800 องค์กร

     โครงการทางก้าวหน้าเป็นโครงการเชิงการทำหน้าที่กัลยาณมิตรที่เริ่มจากระดับเล็ก ภายในสถาบันการศึกษา จนแผ่ขยายออกมาจนปัจจุบันอยู่ในระดับสากล ได้รับการเชิญเข้าร่วมประชุมระดับนานาชาติเป็นประจำทุกปีและหลายครั้ง เช่น การประชุมที่เจนีวา อนาคตเยาวชนของเรา (Future of Our Children)Ž ณ มหาวิทยาลัยเจนีวา เมืองเจนีวา ระหว่างวันที่ 4 - 8 กันยายน พ.ศ. 2543 ชมรมพุทธ-ศาสตร์สากลฯ และมูลนิธิธรรมกาย ร่วมกันนำเสนอผลงานทางก้าวหน้า (Path of Progress) และ บ้านแสงสว่าง (Home of Peace) ในการประชุมระหว่างประเทศด้านการศึกษาและสันติภาพ (Education for Peace International Meeting) และจะนำผลการประชุมเสนอต่อองค์การสหประชาชาติ เอเจนซี่ (Agency) และผู้แทนรัฐบาลที่เจนีวา

           การประชุมนานาชาติภายใต้หัวข้อ The Future of Our ChildrenŽ จัดขึ้นในเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพื่อนำไปเสนอโครงการการศึกษาเพื่อสันติภาพกว่า 100 โครงการจาก 22 ประเทศทั่วโลก รวมถึงชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ

          การประชุมครั้งที่สอง จัดเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2545 ที่เมือง Sao Paolo, Brazil ในหัวข้อ Building a Planetary Culture : Peace and Global CitizenshipŽ ซึ่งในครั้งนี้ โครงการทางก้าวหน้าของชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ ก็ยังได้รับการกล่าวขวัญกันในฐานะโครงการที่สามารถทำให้เยาวชน เลิกยาเสพติดได้

         การประชุมนานาชาติระดับภูมิภาคของ Globalnet ในประเทศไทย จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 ในหัวข้อ Building a Culture of Peace : Asian InitiativeŽ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมาธิการการศึกษา ศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมวุฒิสภา ชมรมพุทธศาสตร์สากลฯ ในฐานะองค์กรเครือข่ายของ Globalnet ก็ได้มีโอกาสอีกครั้ง เพื่อเข้าร่วมอภิปรายถึงแนวทางการสร้างสันติภาพด้วยการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาคุณธรรม รวมถึงได้นำเสนอผลงานได้แก่ โครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้าและโครงการบ้านแสงสว่าง ในฐานะโครงการการศึกษาเพื่อสันติภาพโดยมุ่งเน้นการปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่เยาวชน ซึ่งเป็นดั่งต้นกล้าให้เป็นอนาคตของประเทศและสังคมโลกที่ดีสืบไป

    การเข้าร่วมประชุมประจำปี DPI/NGO ครั้งที่ 56 ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2546 ในหัวข้อ สวัสดิภาพและศักดิ์ศรีแห่งมนุษยชาติŽ (Humam Security and Dignity : Fulfilling the Promise of the United Nations) ระหว่างวันที่ 8-10 กันยายน พ.ศ. 2546 ณ มหานครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา

      ในวาระนี้ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงาน ซึ่งโครงการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้าŽ ถูกบรรจุเข้าสู่วาระการประชุม Midday Workshop ในหัวข้อ การบรรลุวุฒิภาวะของเยาวชนผ่านมิติทางจิตวิญญาณแห่งสันติภาพŽ (The Psychological Aspect of Peace from Youth through Maturity)

 

ผลดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการฯ

     สำหรับผลดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินโครงการฯทางก้าวหน้าŽนั้นได้มีคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์อันได้แก่ ผศ.ดร.สมสุดา ผู้พัฒน์ ผศ.ดร.นาถ พันธุมนาวิน และอาจารย์สุรพันธ์ เพชราภา ได้ทำการวิจัยถึงผลกระทบของโครงการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการสอบปัญหาธรรม ขึ้นในปี พ.ศ. 2543 โดยได้คัดเลือกโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการนี้มาเป็นเวลา 7 ปี และส่งนักเรียนเข้าร่วมสอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า อย่างน้อย 3 ครั้งจากโรงเรียนทั่วประเทศที่คัดเลือกได้ตามคุณสมบัติในเบื้องต้นได้จำนวน107 โรงเรียน โดยสุ่มตัวอย่างจากกลุ่มที่ 1 ครูผู้ประสานงานโครงการจำนวน 71 คน กลุ่มที่ 2 เพื่อนครูผู้ประสานงานจำนวน 184 คน กลุ่มที่ 3 นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 2,893 คน กลุ่มที่ 4 นักเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการจำนวน 1,248 คน โดยผู้วิจัยได้จำแนกผลกระทบของโครงการออกเป็น 3 ด้าน ซึ่งจะขอยกมาเฉพาะในประเด็นที่ตรงกันหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ผู้วิจัยได้ทำในหัวข้อนี้เท่านั้นคือ

1.ระดับนักเรียน : พฤติกรรมศีลธรรม

2.ระดับครูผู้ประสานงาน : พฤติกรรมศีลธรรม

3.ระดับโรงเรียน : การแก้ไขพฤติกรรมปัญหาของนักเรียนทั้งโรงเรียน

 

ผลกระทบของโครงการในระดับนักเรียน

      พฤติกรรมศีลธรรม ผลกระทบของโครงการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการสอบปัญหาธรรมะ ส่งผลต่อพฤติกรรม ศีลธรรมของนักเรียนเป็นอย่างยิ่ง คือ เมื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมศีลธรรมของนักเรียนที่เข้าร่วม และไม่เข้าร่วมโครงการ ปรากฏว่า นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมศีลธรรมสูงกว่านักเรียนที่ ไม่เข้าร่วมโครงการอย่างเห็นได้เด่นชัด กล่าวคือ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการแสดงพฤติกรรมดังต่อไปนี้ มากกว่านักเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการ คือ ทำความเคารพด้วยการไหว้คุณครูทุกครั้งที่พบ ส่งการบ้านอย่างสม่ำเสมอ เข้าชั้นเรียนตรงเวลา ไม่ถือวิสาสะหยิบของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ใช้เวลาว่างให้ เป็นประโยชน์ด้วยการทำการบ้านหรืออ่านหนังสือ ไม่คบเพื่อนที่มีนิสัยเกเร รักการอ่านหนังสือเรียนหรือหนังสือเสริมการเรียนรู้ ไม่รังแกเพื่อน ไม่ผูกโกรธ รู้จักให้อภัยเพื่อน เลิกการสูบบุหรี่ เลิกเล่นการพนัน เลิกดื่มสุรา มีความอดทนในการอ่านหนังสือได้นานขึ้น มีความสุขุมรอบคอบ ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต รับอาสาช่วยงานครูผู้ประสานงาน ไม่กล่าวคำเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ชักชวนเพื่อน เข้าร่วมโครงการ ปลูกฝังศีลธรรม ชอบอ่านหนังสือธรรมะมากขึ้น ชอบชักชวนเพื่อนๆ มานั่งสมาธิ ชอบเล่าธรรมะให้เพื่อนๆ ฟัง

 

ผลกระทบของโครงการในระดับอาจารย์ประสานงาน

     พฤติกรรมศีลธรรม จากการวิจัยถึงผลกระทบของโครงการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการสอบปัญหาธรรมะส่งผลต่อพฤติกรรม ศีลธรรมของครูผู้ประสานงานอย่างมากอีกด้วย คือทำให้ครูผู้ประสานงาน ลด ละ เลิก อบายมุข และในขณะเดียวกันก็หันมาประพฤติปฏิบัติธรรมมากขึ้น โดยเปรียบเทียบพฤติกรรมศีลธรรมก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ ได้ผลการประเมินแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมศีลธรรมของครูผู้ประสานงานดังนี้

      ครูผู้ประสานงานลดการแสดงพฤติกรรมทุศีลธรรม หรือความประพฤติในทางเสื่อมด้านต่างๆ ลงดังนี้ ลดการนินทาว่าร้าย ลดการขาดสอนโดยไม่จำเป็น ลดการซื้อหวยล็อตเตอรี่ ลดการเล่นแชร์ ลดการดื่มสุราและของมึนเมา ลดการซื้อของฟุ่มเฟือย ลดการเที่ยวสถานเริงรมย์ ลดการสะเดาะเคราะห์ ลดการสูบบุหรี่ ลดการพนันบอล  มวยตู้

      ขณะเดียวกันครูผู้ประสานงานก็แสดงพฤติกรรมศีลธรรมหรือความประพฤติที่ดีงามในด้าน ต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย ดังนี้ นั่งสมาธิมากขึ้น เข้าสอนตรงเวลามากขึ้น ไปวัดทำบุญมากขึ้น ทำบุญตักบาตรมากขึ้น อ่านหนังสือธรรมะมากขึ้น มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงานมากขึ้น นำนักเรียนสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ มากขึ้น รักษาศีลบ่อยขึ้น

 

ผลกระทบของโครงการในระดับโรงเรียน

       การมีส่วนแก้ไขพฤติกรรมปัญหาของนักเรียน จากการวิจัยพบว่าผู้บริหารโรงเรียนและครูประสานงานเห็นด้วยว่า โครงการนี้มีส่วนในการแก้ไขพฤติกรรมปัญหาของนักเรียนทั้งโรงเรียนได้ชัดเจน โดยโครงการนี้มีส่วนแก้ไขพฤติกรรมการมาโรงเรียนสายของนักเรียนทั้งโรงเรียนการไม่มาโรงเรียนของนักเรียนทั้งโรงเรียนการมาโรงเรียนแต่ไม่เข้าห้องเรียนของนักเรียนทั้งโรงเรียนการชกต่อยทะเลาะวิวาทกันในโรงเรียนการรังแกเพื่อนของนักเรียนทั้งโรงเรียนการแต่งกายผิดระเบียบของนักเรียนทั้งโรงเรียนการทิ้งขยะในโรงเรียนของนักเรียนทั้งโรงเรียน การไม่สนใจเรียนหนังสือของนักเรียนทั้งโรงเรียน การซื้อของฟุ่มเฟือยของนักเรียนทั้งโรงเรียน การพูดคำหยาบของนักเรียนทั้งโรงเรียน การเล่นการพนันของนักเรียนทั้งโรงเรียนการสูบบุหรี่ของนักเรียนทั้งโรงเรียน การดื่มสุราและของมึนเมาของนักเรียนทั้งโรงเรียน การเสพยาบ้า ของนักเรียนทั้งโรงเรียน การลักขโมยของนักเรียนทั้งโรงเรียน การเที่ยวกลางคืนของนักเรียนทั้งโรงเรียน การเที่ยวผู้หญิง ของนักเรียนทั้งโรงเรียน พฤติกรรมชู้สาวของนักเรียนทั้งโรงเรียนมากที่สุด

 

ภาพรวมของโครงการ

        1.ผลกระทบของโครงการในระดับนักเรียน   มีผลทำให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมศีลธรรมดีกว่าหรือมากกว่านักเรียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ

     2.ผลกระทบของโครงการในระดับอาจารย์ประสานงาน มีผลทำให้อาจารย์ประสานงานมีพฤติกรรมทุศีลธรรมลดลง ในขณะที่พฤติกรรมศีลธรรมเพิ่มมากขึ้น

       3.ผลกระทบของโครงการในระดับโรงเรียน ทั้งผู้บริหารโรงเรียนและครูประสานงานมีความ เห็นพ้องร่วมกันว่า โครงการนี้มีส่วนแก้ไขพฤติกรรมปัญหาของนักเรียนทั้งโรงเรียนได้มากที่สุด

    จากรายการการวิจัยที่ทางคณาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำการวิจัยถึงผลกระทบของโครงการปลูกฝังศีลธรรมด้วยการสอบปัญหาธรรมะ นั้นจะเห็นได้ว่าเกิดผลดีในเชิงพฤติกรรมศีลธรรมกับ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการไม่ว่าจะเป็นนักเรียน ครู อาจารย์ และโรงเรียนที่เข้าโครงการเป็นอย่างดียิ่ง

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.026231666405996 Mins