บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พร้อมคำแปล

วันที่ 15 กย. พ.ศ.2557

 

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

 

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

บทขัดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิตวา ตะถาคะโต
ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ  ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง
สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง
ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฎิปัตติ จะ มัชฌิมา
จะตูสวาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง
เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง
นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง
เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

     เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง  วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ

     เทวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ  นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง  อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ

     เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา  ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

     กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถา คะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ  

     อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต  สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ

     อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ฯ ชาติปิ  ทุกขะ ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะ ทุกขะ โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข  ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกยา ฯ

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว  ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตระ ตัตราภิ นันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ  กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ

     อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ  อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ

     อิ ทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะ  สัจจัง ฯ

     อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมา  อาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสมาธิ ฯ

     อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง  อุทะปาทิญานัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญาอุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

     อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ  อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ฯ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก  อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง  ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ  ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ  เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ  อาโลโก อุทะปาทิฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว  ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ  ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิวิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ

     ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ  เอวันติปะริวัฏฏัง ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

     เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว  สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ

     ยะโต จะ โข เม  ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติ ปะริวัฏฏัง  ทวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ

     อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก  สะพรัหมะเก สัสสะมะณะพราหมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ  ปัจจัญญาสิง ฯ

     ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ

     อิทะมะโว จะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ  อิมัสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิ ภัญญะมาเน อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง  อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ

     ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา  สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง  อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

     ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา จาตุมมะหาราชิกา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

     จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

     ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

     ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตวา ตุสิตา  เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

     ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ  

     นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

     ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง

     เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พราหมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสมินติ ฯ

     อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ  พรัหมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิฯ   อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิฯ  อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ

     อะถะโข ภะคะวา  อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ

     อิติหิทัง อายัสมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตววะ นามัง อะโหสีติ ฯ

 

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พร้อมคำแปล

คำแปลธัมมจักกัปปวัตนสูตร

      สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ อย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ

      ๑. การหมกมุ่นอยู่ด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

      ๒. การทำความเดือดร้อนแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

      ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างนี้ อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว เป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

      ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางอันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้นเป็นไฉน?

      คือ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ

      ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนี้แลอันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วเป็นปฏิปทาก่อให้เกิดจักษุ ก่อให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อการตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขอริยสัจ คือ แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความเศร้าโศก ความร่ำไรรำพัน ความเสียใจ และความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ความประสบสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความกำหนัด มีปกติทำให้เพลิดเพลินในอารมณ์นั้น ๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้เป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการนี้แล
ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบการเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านี้ทุกขอริยสัจ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าทุกขอริยสัจนั้นควรกำหนดรู้

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าทุกขอริยสัจนั้นเราได้กำหนดรู้แล้ว

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านี้ทุกขสมุทยอริยสัจ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าทุกขสมุทยอริยสัจนั้นควรละ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าทุกขสมุทยอริยสัจนั้นเราละได้แล้ว

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านี้ทุกขนิโรธอริยสัจ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าทุกขนิโรธอริยสัจนั้นควรกระทำให้แจ้ง

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าทุกขนิโรธอริยสัจนั้นเราได้กระทำให้แจ้งแล้ว

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นควรเจริญ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแก่เราในธรรมทั้งหลายที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นเราได้เจริญแล้ว

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณทัสสนะ (ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์เพียงนั้น

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด ญาณทัสสนะตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้บริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลกพรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์

      ก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า ความหลุดพ้นของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีก

      พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ภิกษุปัญจวัคคีย์มีใจยินดี ต่างชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า

      ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวงล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา

      ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไปแล้ว พวกภุมมเทวดาได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้หมุนกลับ (ปฏิเสธ) ไม่ได้

      พวกเทพชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้ว...พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว...พวกเทพชั้นยามาได้ฟังเสียงของ พวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว...พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของ  พวกเทพชั้นยามาแล้ว...พวกเทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดุสิตแล้ว...  พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว...พวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีแล้ว ได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนครพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือใคร ๆ ในโลกให้หมุนกลับ (ปฏิเสธ) ไม่ได้

     เพียงครู่เดียวเท่านั้น เสียงป่าวประกาศได้กระจายขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้ก็สั่นสะเทือนเลื่อนลั่น ทั้งแสงสว่างอันเจิดจ้าหาประมาณมิได้ก็ปรากฏในโลก ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย

      ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ผู้เจริญทั้งหลายโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า อัญญาโกณฑัญญะ นี้จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล

บทสวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร พร้อมคำแปล

 


** บทสวดมนต์ อ้างอิงจากหนังสือ สวดธัมมจักกัปปวัตตนสูตร **
สร้างบุญให้ชีวิต น้อมอุทิศให้บรรพบุรุษ

 

 

 

Youtube  ธรรมจักรซีรี่ส์ Part ที่ 1 - 12 ( แปลตั้งแต่แรกจนจบ )

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 1 ( เอวัมเม สุตัง ) ตอนที่ 1

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 2 ( ทะเวเม ภิกขะเว อันตา ) ตอนที่ 2

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 3 ( เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันตา ) ตอนที่ 3

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 4 ( กะตะมา จะ สา ภิกขะเว ) ตอนที่ 4

ธรรมจักรฯซี่รี่ส์ Partที่ 5 ( อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ) ตอนที่ 5

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 6 ( อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย ) ตอนที่ 6

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 8 ( ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย ) ตอนที่ 8

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 9 ( ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว ) ตอนที่ 9

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 10 ( ญานัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง ) ตอนที่ 10

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 11 ( ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ) ตอนที่ 11

ธรรมจักรฯ ซีรี่ส์ Partที่ 12 ตอนสุดท้าย ( อิติหะ เตนะ ขเณะ ) ตอนที่ 12 ( ตอนสุดท้าย )

 

ช่องทางรับฟัง เสียงสวดมนต์ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ฉบับ วัดพระธรรมกาย

JOOX https://joox.page.link/X9PKb9

Spotify https://spoti.fi/38JZPlc

Vimeo https://vimeo.com/379638944

TikTok https://bit.ly/2rNCheo

Weibo https://bit.ly/2ss7IuJ

Apple podcast https://apple.co/2YMSJHW

Google podcast https://bit.ly/38Jf25J

SoundCloud https://bit.ly/38LbIr4

Radio public https://bit.ly/2LWntRy

Breaker https://bit.ly/34mm6SG

Pocket Casts https://bit.ly/2suaeAN

 

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล Total Execution Time: 0.043078863620758 Mins