ชาดก 500 ชาติ
อนภิรติชาดก ชาดกว่าด้วยจิตขุ่นมัว ไม่ขุ่นมัว
พราหมณ์ผู้เศร้าหมองเพราะถูกกระแสกิเลสเข้าครอบงำจิตใจ
ความสำเร็จในมรรคผล การบรรลุญาณสมาบัติของผู้ปฏิบัติกรรมฐานนั้น เกี่ยวข้องด้วยความสมถะสันโดษหลุดพ้นจากกิเลสอันอยากได้อยากมีเป็นอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติภาวนา แม้สำเร็จญาณระดับใดแล้วก็ตาม แต่หากรับเอาอาสวะกิเลสเข้าจิตใจแม้น้อยนิด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ญาณวิเศษที่พากเพียรมา ก็จักเสื่อมลงถดถอยลงสิ้น ดังเรื่องราวเรื่องหนึ่งที่เกิดขึ้น ณ เบื้องพระพักตร์ของพระพุทธองค์ ณ พระเชตวันมหาวิหารคราวหนึ่งท่ามกลางที่ประชุมของทั้งภิกษุสงฆ์และฆราวาส
พราหมณ์ผู้เศร้าหมองได้นำมาลัยดอกไม้หอมมาบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
มีพราหมณ์ผู้หนึ่งถือของหอมและดอกไม้สด มายังพระวิหารเพื่อบูชาพระพุทธองค์ วงหน้าของพราหมณ์ผู้นี้ไร้ซึ่งความสุข ดวงตาส่อแววสิ้นหวังพราหมณ์ผู้นี้เดินไปรวมกลุ่มกับอุบาสก อุบาสิกาเงียบๆ
พราหมณ์ผู้เศร้าหมองมีสีหน้าและแววตาที่กลัดกลุ้มและสิ้นหวังในชีวิตยิ่งนัก
“ทำไม ชีวิตเราถึงเป็นเยี่ยงนี้ไปได้นะ จะทำอย่างไรกับชีวิตดีหนอ” เมื่อนั่งจัดที่จัดทางเสร็จเรียบร้อยพราหมณ์ก็ประณตน้อมฟังพระพุทธมนต์พร้อมกับชาววัตถีคนอื่นๆ กระแสความทุกข์นั้น
พราหมณ์ผู้เศร้าหมองได้นั่งฟังธรรมรวมกลุ่มกับอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย
สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสัมผัสรู้ด้วยข่ายพระญาณ ทรงมีพระกรุณาธิคุณตรัสถามมายังจากอาสนะประธานซึ่งไกลเกินเสียงกู่ตะโกนหากแต่พราหมณ์กลับได้ยินดุจรับสั่งอยู่เบื้องหน้า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้มองเห็นความทุกข์ของพราหมณ์จากข่ายพระญาณ
“ดูก่อนมานพ เธอยังสอนมนต์อยู่หรือ มนต์ของเธอยังดีอยู่หรือ” “ข้าแต่พระองค์ บัดนี้จิตข้าพระองค์ขุ่นมัวไป มนตราไม่อาจสำเร็จได้แล้วพระพุทธเจ้าข้า” อันพราหมณ์ผู้นี้รอบรู้ เจนจบไตรเพท เป็นอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของสาวัตถี
พราหมณ์ผู้เศร้าหมองได้ตรัสตอบคำถามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสถาม
ซึ่งต่อมาได้เป็นพระอาจารย์ของพระกุมารกษัตริย์และคหบดีมากมาย การสาธยายมหามนต์ก็จับใจ เป็นที่ชื่นชอบของพราหมณ์ของพราหมณ์นิกายทั่วไปพราหมณ์อาจารย์สอนศิษย์อยู่ได้ไม่นานก็สละโสด ออกครองเรือน
พราหมณ์มีลูกศิษย์มาร่ำเรียนที่สำนักกันอย่างมากมาย
จิตที่เคยสงบอย่างสันโดษ ก็เริ่มถูกแทนที่ด้วยราคะ โลภะ โมหะ ลุ่มหลง ทั้งหลงในรูปลักษณ์ เครื่องบำรุงสุขทางกาย “พี่จ๋า มาทางนี้สิจ๊ะน้องจะป้อนสุราอาหารให้พี่เอง”
พราหมณ์อาจารย์ได้สละโสดออกครองเรือนมีครอบครัว
“จ้าๆ จ้าๆ ตั้งแต่พี่ได้เจ้ามาเป็นคู่ทุกข์ คู่สุข พี่เจริญอาหารขึ้นเยอะเลย เฮอะๆๆๆ ” ความโลภในทรัพย์สินเงินทองและแพรพันธ์ก็เกิดขึ้นทั้งยังครุ่นคิดแต่การค้า การลงทุน อีกทั้งห่วงใยโคกระบือ ที่นา ทาส
จิตใจของพราหมณ์หมกมุ่นอยู่กับทรัพย์สินจนไม่มีเวลาสาธยายมนต์
โอกาสบำเพ็ญเพียรสาธยายมนต์ก็เหือดหายไป “พี่จ๊ะ พี่มาดูนี่สิจ๊ะ ค้าขายครั้งนี้ ได้กำไรตั้งมากมายมายเลยนะ คราวหน้าหากพี่ทำกำไรได้อีกซื้อแก้วแหวนสร้อยทองให้น้องอีกนะจ๊ะ น้องอยากมีเก็บไว้เยอะๆ เลย” “ไดสิจ๊ะ อะไรที่เจ้าชอบ พี่จะหามาให้เยอะๆ เลยจ้า”
พราหมณ์และภรรยาชื่นชมกับทรัพย์สมบัติที่ตนหามาได้
ไม่นานนักหลังการมีภรรยาและครอบครัว พราหมณ์ผู้เคยขลังวิทยามนต์ตรา ก็ถึงจุดเสื่อมถอย มนต์ต่างๆ ไม่อาจสาธยายได้อีกต่อไป “โอ้ จิตของเราถูกอำนาจกิเลสทำลายหมดแล้ว นี่เราไม่สามารถท่องมนต์ได้อีกต่อไปแล้ว”
พราหมณ์ได้เดินทางทำมาค้าขายพร้อมกับครอบครัวของตน
ยามกลัดกลุ้มไร้ทางออก พราหมณ์ผู้เป็นครูสอนมนต์ จึงมุ่งมายังพระเชตวัน เพื่อฟังพระธรรมเทศนา กราบบังคมของหลักปรัชญาชีวิตไปเป็นหลักชัยเหมือนกับที่ชาวชมพูทวีปกระทำกันในเวลานั้น
เมื่อเสร็จจากภาระกิจการค้าพราหมณ์ก็กลับมาฝึกฝนวิทยามนต์ตรา
สมเด็จพระบรมศาสดาทราบในญาณวิเศษจนสิ้น ตรัสแก่พราหมณ์นั้นว่า “ดูก่อนมานพ มิใช่แต่เวลานี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนมนต์ของเธอก็มีอานุภาพเฉพาะยามที่จิตไม่ขุ่นมัวเท่านั้น”
พราหมณ์ผู้ถูกกิเลสเข้าครอบงำไม่สามารถสาธยายมนต์ได้อีก
ครั้นพราหมณ์ผู้หม่อนหมองทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตชาติมาตรัสเล่า ใน อนภิรติชาดก ดังนี้ ยังมีตระกูลพราหมณ์มหาศาลตระกูลหนึ่งส่งให้กุมารพราหมณ์เข้าศึกษาเล่าเรียนในตักศิลาและเติบโตขึ้นในความดูแลอบรมสั่งสอนของอาจารย์ทิศาปาโมกข์
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสเล่าอดีตชาติของพราหมณ์ใน อนภิรติชาดก
กุมารพราหมณ์ศึกษาไตรเพท จนชำนาญ “ศิษย์เอ๋ย บัดนี้เจ้าได้ศึกษาไตรเพทต่างๆ จนชำนาญดีแล้ว เจ้าจงนำความรู้เหล่านี้ไปก่อให้เกิดประโยชน์เถิด”“ศิษย์ขอบคุณอาจารย์ที่สั่งสอนศิลปะวิทยาจนชำชอง จากนี้ ศิษย์จะนำความรู้เหล่านี้ ไปก่อประโยชน์ขอรับ”
พราหมณ์หนุ่มได้มาเล่าเรียนกับอาจารย์ทิศาปาโมกข์
หลายปีผ่านไป วิทยเวทก็แก่กล้าขึ้น จนเจนจบสารพัดมนต์ตรา สาธยายมนต์ทุกคัมภีร์ไม่มีผิด ไม่ติดขัด จนได้รับความไว้วางใจ ได้เป็นคุรุผู้หนึ่งในสำนัก“บัดนี้เราก็คงได้ใช้ความรู้ที่ร่ำเรียนฝึกฝนมา ให้เกิดประโยชน์ได้แล้วสินะ”
พราหมณ์หนุ่มได้เล่าเรียนศึกษาไตรเพทจนสำเร็จและชำนาญ
ไม่นานสักเท่าใดทั้งราชบุตรและกุมารพราหมณ์ทั่วสารทิศก็ให้ความยำเกรงไม่น้อยไปกว่าอาจารย์ทิศาปาโมกข์ “ศิษย์ทั้งหลายจงตั้งใจศึกษาจากอาจารย์ให้ดีเถิดสิ่งเหล่านี้ที่อาจารย์ได้พร่ำสอน จะก่อให้เกิดประโยชน์กับตัวของศิษย์มากมายนัก”
พราหมณ์หนุ่มได้รับตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนราชบุตรและกุมารพราหมณ์ทั้งหลาย
จนกระทั่งวันหนึ่งกุมารพราหมณ์ผู้นี้ ได้รับหน้าที่เป็นอาจารย์ของกุมารชาวกษัตริย์ “ศิษย์เอ๋ย บัดนี้ถึงเวลาแล้ว ที่เธอจะต้องรับหน้าที่สอนมนตและพรหมจริยาต่างๆ แก่กุมารชาวกษัตริย์และกุมารพราหมณ์ของสำนัก”
กุมารกษัตริย์และกุมารพราหมณ์ทั่วสารทิศพากันหลั่งไหลมาเรียนไตรเพทกับพราหมณ์หนุ่ม
“ขอบพระคุณอาจารย์ที่ไว้ใจศิษย์ให้รับหน้าที่นี้ ศิษย์จะตั้งใจสอนมนต์อย่างดีที่สุดขอรับ” การสอนพระเวท ถ่ายทอดอัครมนต์ตรา แม้เป็นภาระยากยิ่งแต่พราหมณ์มานพก็กระทำได้สำเร็จงดงามอยู่เสมอ
ทั้งศิษย์ขัตติยะและกุมารพราหมณ์ต่างพากันเก่งกล้าในไตรเพทชั้นสูง
“สิ่งที่อาจารย์สอนไป พวกเจ้ามีอะไรสงสัยหรือไม่” “ไม่มีขอรับ อาจารย์ได้สอนศิษย์อย่างดี จนศิษย์เข้าใจอย่างท่องแท้แล้วขอรับ” ทั้งศิษย์ขัตติยะกุมารและวรรณะพราหมณ์ต่างเก่งกล้าในไตรเพทชั้นสูง
พราหมณ์หนุ่มสร้างความอัศจรรย์ใจให้กับเหล่าศิษย์อยู่บ่อยครั้ง
ความสำเร็จดังนี้เกิดจากจิตอันสงบนิ่งไม่มีอารมณ์ใดๆ ออกไปสัมผัสสิ่งเร้าบังเกิดสมาธิ(Meditation)ทุกขณะของการสอน ยามนั้นชื่อเสียงของพราหมณ์มานพแห่งตักศิลาโด่งดังข้ามแค้วน ข้ามแม่น้ำทุกสาย
เพราะสมาธิที่แก่กล้าทำให้พราหมณ์หนุ่มแสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
กุลบุตรจากวรรณะพราหมณ์กษัตริย์ทุกนครก็ทยอยมาสู่สำนักพร้อมข้าวของแก้วแหวนมีราคา “ทำไมพ่อต้องให้ลูกเดินทางมาเรียนไกลถึงขนาดนี้ละครับ”“ก็ที่นี้อาจารย์เขาดี มีชื่อเสียงไงละลูก
พราหมณ์หนุ่มปฏิเสธองค์ชายที่จะไม่สอนการสาธยายมนต์อีกต่อไป
ดูสิใครๆ ก็พาลูกมาเรียนที่นี่กันทั้งนั้น เจ้าต้องตั้งใจเรียนให้ดีนะลูก” “ครับพ่อ” มีคนกล่าวขานกันไปแพร่หลายว่าฤทธิ์อันเกิดจากสภาวะหนึ่งของจิตในสมาธิสร้างความอัศจรรย์เกิดขึ้นบ่อยครั้ง
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้มาเยี่ยมพราหมณ์หนุ่มเพราะรู้เหตุที่พราหมณ์หนุ่มไม่สามารถสาธยายมนต์ได้
“ฮู ฤทธิ์สูงจริงๆ ลอยได้ ตั้งนานแน่ะ อาจารย์ท่านนี้เก่งจริงๆ” แต่แล้วก็เกิดอัศจรรย์ยิ่งกว่าแสดงฤทธิ์ เมื่อวันหนึ่งพราหมณ์มานพผู้ขลังในมนต์กลับไม่อาจสาธยายมนต์ใดๆ ได้เลยสักบทเดียว
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ได้ให้โอวาทแก่พราหมณ์หนุ่ม
“วันนี้อย่าเข้ามารบกวนอาจารย์อีกเลยองค์ชาย มนต์อื่นใดก็ไม่มีให้ได้เรียนได้อีกแล้ว อาจารย์ไม่สามารถร่ายมนต์ได้อีกแล้วศิษย์เอ๋ย” ครั้งนั้นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ผู้รู้เห็นเหตุแห่งความเสื่อม ก็กลับมาให้โอวาท
พราหมณ์หนุ่มผู้เศร้าหมองรู้เหตุแห่งการดับทุกข์และเข้าสู่โสดาปัตติผล
“ศิษย์เอ๋ย เมื่อใดจิตขุ่นมัว ด้วยเพราะมีจิตใจกิเลสบังตา แม้มนต์ที่เคยเชี่ยวชาญก็เสื่อมถอยลง ไม่อาจคล่องแคล้วได้อีก” “ศิษย์ผิดไปแล้วศิษย์ไม่น่าให้กิเลสเข้ามาครอบงำจิตใจเลย” “ศิษย์เอ๋ย ความสงบแห่งจิตเรานั้น ดุจกับสายน้ำ เมื่อไม่ขุ่นมัว ก็ย่อมเห็นหมดทุกตัว สัตว์น้ำและกรวดทราย เห็นประโยชน์ทั้งตนและผู้อื่นได้ฉันนั้น” เมื่อทรงประกาศอริยสัจพราหมณ์ผู้หม่นหมองแห่งสาวัตถี ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล รู้เหตุรู้ทาง รู้วิธีดับทุกข์นั้น
ในพุทธกาลนั้น พราหมณ์แห่งตักศิลา กำเนิดเป็นพราหมณ์ในสาวัตถี
อาจารย์ทิศาปาโมกข์เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า