ชาดก 500 ชาติ
กาฬยมุฏฐิชาดก ชาดกว่าด้วยโลภมาก
พระเจ้ากรุงโกศล
ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระเจ้ากรุงโกศลแล้วจึงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ ครั้งนั้นในช่วงฤดูฝนได้เกิดการการกบฏขึ้นทางชายแดนของแคว้นโกศล พวกทหารที่รักษาชายแดนทำการสู้รบปราบกบฏอยู่หลายครั้ง แต่ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ จึงส่งข่าวให้พระเจ้าโกศลทรงทราบ
ชายแดนแคว้นโกศลได้มีการรวมกลุ่มของพวกกบฏ
“กบฏพวกนี้ เชี่ยวชาญการรบ ต่อต้านกองกำลังของพวกเราได้หลายครา ข้าว่า เราถอยทัพก่อนดีกว่า” “หนอย เจ้าพวกกบฏ เดี๋ยวกำลังเสริมจากเมืองหลวงมาถึง พวกเจ้าต้องกลัวจนหัวหดแน่ๆ” “พวกมันหนีไปแล้ว พวกเราชนะอีกแล้ว” “บ้านข้าเรียกว่าอ่อน สู้ไม่ได้แล้วก็หนี ฮ่าๆๆๆ”
พวกทหารได้สู้รบกับพวกก่อการกบฏ
พระเจ้าโกศลทรงได้รับรายงานเรื่องการก่อกบฏแล้ว ทรงมีรับสั่งให้ทหารจัดทัพเพื่อปราบกบฏ โดยทรงนำทัพด้วยพระองค์เอง “พวกเจ้าจงจัดทัพใหญ่เพื่อปราบกบฏ ข้าจะเป็นคนนำทัพนี้เอง ฮึ เจ้าพวกแมงเม่า คราวนี้ล่ะ ข้าจะขยี้พวกเจ้าให้แหลกเละไปเลย”
พระเจ้าโกศลได้รับรายงานการก่อกบฏจากชายแดนแคว้นโกสล
พระราชาทรงนำทัพหลวงเสด็จออกจากพระราชวังในฤดูฝน ซึ่งเป็นเวลาที่ไม่เหมาะสมแก่การทำศึก จึงให้ทหารตั้งค่ายใกล้พระวิหารเชตวัน จากนั้นจึงทรงเข้าเฝ้า พระบรมศาสดา “ฝนตกหนักแบบนี้ ไม่เหมาะแก่การทำศึกเลยพระเจ้าข้า ทางข้างหน้าก็ล้วนเต็มไปด้วยซอกเขาและลำธาร”
พระเจ้าโกศลทรงนำทัพออกปราบกบฏด้วยพระองค์เอง
“ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงตั้งค่ายที่นี้ก่อนก็แล้วกัน ข้าจะได้ไปเข้าเฝ้าพระศาสดา” การเข้าเฝ้าพระศาสดาในครั้งนี้ พระเจ้าโกศลทรงคิดว่า หากพระพุทธองค์ทรงทราบว่า การเดินทางไปปราบกบฏในครั้งนี้ จะทำให้เกิดอันตราย ก็จะทรงห้ามพระองค์ไว้ “หากการทำศึกในครั้งนี้ มีอันตรายถึงชีวิต พระศาสดาคงไม่นิ่งเฉยเป็นแน่”
พระเจ้าโกศลรับสั่งให้จัดตั้งค่ายพักใกล้พระวิหารเชตวัน
เมื่อพระเจ้าโกศลมายังพระวิหารเชตวันแล้ว สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงตรัสถามพระเจ้าโกศล “มหาบพิตร ท่านเสด็จมาจากไหน” “หม่อมฉันนำทัพ จากเมืองหลวง หวังจะไปปราบกบฏชายแดน เมื่อผ่านมาทางนี้ จึงมาถวายบังคมพระองค์ก่อนไป พระเจ้าค่ะ”
พระเจ้าโกศลเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ณ พระวิหารเชตวัน
“มหาบพิตร แม้แต่ก่อนพระราชาทั้งหลาย เมื่อจะยกทัพไป ครั้นได้ฟังคำของบัณฑิตแล้ว ก็ไม่เสด็จไปสู่กองทัพในเวลาอันไม่สมควร” “เรื่องราวในครั้งนั้น เป็นเช่นไรกัน ทรงเล่าให้หม่อมฉันฟังด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ”
พระเจ้าพรหมทัต แห่งกรุงพาราณสี
ครั้นพระเจ้าโกศลทูลอาราธนาแล้ว พระศาสดาจึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่าดังนี้ ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ เป็นอำมาตย์ผู้สอนธรรมของพระราชา ครั้งนั้นทางชายแดนของแคว้นที่พระองค์ปกครองเกิดการกบฏ
มีการก่อกบฏในชายแดนของกรุงพาราณสี
ทหารที่ชายแดนไม่อาจปราบกบฏเหล่านั้นได้ จึงส่งสารให้ทรงทราบ “สารจากชายแดนส่งมาว่า เกิดการกบฏ ไม่สามารถรักษาเมืองไว้ได้ จึงขอให้พระองค์ ส่งทัพไปช่วยด่วน พระเจ้าข้า” “ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงรีบไปจัดทัพ เราจะยกกองทัพไปปราบกบฏด้วยตัวเอง”
ทหารได้กราบทูลรายงานเรื่องการก่อกบฏแก่พระเจ้าพรหมทัต
พระราชานำทัพออกในฤดูฝน ตั้งพักค่าย ณ พระอุทยาน ฝ่ายพระโพธิสัตว์ครั้นเห็นว่าเป็นเวลาไม่เหมาะสมแก่การทำศึก จะเข้าเฝ้าเพื่อคัดค้าน แต่ก็ยังหาโอกาสไม่ได้ “พระราชาทรงอยู่ ถูกความโกรธครอบงำ จะทำศึกในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมเช่นนี้ ต้องเกิดอันตรายเป็นแน่ เราจะต้องเตือนสติพระองค์ให้ได้”
พระเจ้าพรหมทัตทรงนำทัพออกปราบกบฏด้วยพระองค์เอง
ในระหว่างที่ทัพหลวงตั้งค่ายอยู่นั้น พวกทหารได้นำถั่วดำ ซึ่งเป็นอาหารของม้าศึก มาใส่ไว้ในรางอาหารม้า “ม้าพวกนี้ ได้กินอาหารดีๆ ไม่เหมือนม้าของข้า ได้กินแต่หญ้ากับฟางเท่านั้น”
อำมาตย์ผู้สอนธรรมของพระราชาได้มองเห็นถึงความไม่เหมาะสมของกาลเวลาที่จะออกปราบกบฏ
ณ ต้นไม้ใหญ่ใกล้ๆ กับค่ายทหารนั้น มีลิงน้อยหิวโซตัวหนึ่ง จ้องมองถั่วดำที่ทหารเหล่านั้นนำมาให้ม้า ครั้นเมื่อสบโอกาสมันจึงรีบโหนตัวลงมาจากต้นไม้ แล้วตรงมาเข้าไปชวยเอาถั่วดำนางนั้นใส่ไว้ในปากจนเต็ม
ทหารนำถั่วดำมาเทใส่รางให้กับม้าศึก
“เจี๊ยกๆๆ ถั่วดำๆ พี่ม้ากับข้า ท่านก็เป็นสัตว์เหมือนกัน เราต้องรู้จักแบ่งปันกันนะ” “ฮี้ๆๆ ลิงขโมยถั่วดำๆ” เจ้าลิงน้อยจอมตะกระ เอาถั่วดำใส่ปากจนเต็มแล้วยังไม่พอ แล้วยังคว้าติดมือไปอีกหนึ่งกำมือ
เจ้าลิงน้อยแอบมาขโมยถั่วดำของม้าไปกินด้วยความหิว
จากนั้นมันก็ใช้มือข้างที่เหลือ ปีนกลับขึ้นไปยังต้นไม้อย่างรวดเร็ว “เฮ้ย ลาบปากแท้ๆ เราจะกินถั่วดำให้อิ่ม ให้พุงปลิ้นไปเลย” ขณะที่เจ้าลิงน้อยนั้นจะลงมือ กินถั่วดำที่ขโมยมา ถั่วในมือของมันเม็ดหนึ่งก็หลุดร่วงลงมาที่โคนต้นไม้
เจ้าลิงน้อยทำถั่วดำที่อยู่ในมือร่วงลงจากต้นไม้ 1 เม็ด
“เจี๊ยกๆๆๆ ถั่วดำของข้าร่วงไปแล้วหนึ่งเม็ดไม่ได้ไม่ได้ ให้หล่นแม้สักเม็ดก็ไม่ได้ ต้องลงไปเก็บ” ด้วยความเสียดายถั่วดำเพียงเม็ดเดียว เจ้าลิงโง่ตัวนั้นได้ทิ้งถั่วดำ ที่อยู่ในปากในมือทั้งหมด แล้วลงจากต้นไม้เพื่อหาถั่วดำเม็ดนั้น
เจ้าลิงน้อยปีนลงจากต้นไม้เพื่อหาถั่วดำที่มันทำตก
ครั้นหาไม่เจอ มันก็กลับขึ้นไปบนต้นไม้ นั่งซึมเศร้าเสียใจอยู่บนกิ่งไม้นั้น “เจี๊ยกๆๆ ถั่วดำของข้าๆ หายไปไหนเนี่ย เสียดายจริงๆ”พระราชาทอดพระเนตรเห็นลิงน้อย นั่งหน้าเศร้า หมดอาลัยตายอยากอยู่บนต้นไม้ ก็เกิดความสงสัย จึงตรัสถามพระโพธิสัตว์
พระเจ้าพรหมทัตมองดูเจ้าลิงน้อยนั่งซึมเศร้าด้วยความสงสัย
“ท่านอาจารย์ดูสิ ลิงนั้นมันเป็นอะไรของมันกัน” “ขอเดชะ ลิงโง่ตัวนี้หากินตามกิ่งไม้ ปัญญาของมันไม่มี สาดถั่วดำทั้งหมดทิ้ง เพื่อถั่วดำเม็ดเดียว เปรียบผู้โง่เขลาไร้ปัญญา ไม่มองเห็นประโยชน์ส่วนมาก มองเห็นแต่ประโยชน์ส่วนน้อย จึงเป็นเช่นนี้ พระเจ้าค่ะ”
พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นด้วยกับคำแนะนำของอำมาตย์เรื่องการไม่ไปปราบพวกกบฏ
“ที่ท่านอาจารย์พูดมา มีความหมายว่าอย่างไรกันรึ ขอเดชะพวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นก็ดีที่มีความโลภจัด จะเสื่อมจากประโยชน์ส่วนมาก เพราะประโยชน์ส่วนน้อย เหมือนลิงเสื่อมจากถั่วทั้งหมด เพราะถั่วเมล็ดเดียวแท้ๆ”
พระเจ้าพรหมทัตทรงยกทัพกลับเมือง
พระราชาสดับคำสอนนั้นแล้ว ก็กลับได้สติ จึงรับสั่งให้ให้เลิกขบวนทัพ เสด็จกลับเข้าเมืองพาราณสีไป “ที่ท่านพูดมา ข้าเข้าใจแล้ว ขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่ได้เตือนสติข้า”
พวกกบฏพากันหนีเอาตัวรอดเพราะคิดว่าพระเจ้าพรหมทัตทรงนำทัพมาปราบพวกตน
“ขอเดชะ พระองค์ทรงเป็นผู้มีปัญญา การยกทัพไปปราบกบฏในเวลานี้ จะมีผลเสียมากกว่าผลดี โปรดทบทวนด้วยเถิดพระเจ้าค่ะ” “ข้าไม่ไปปราบกบฏแล้วล่ะ ทหารทั้งหลายพวกเจ้าจะไม่นำทัพไปทำศึกอีกแล้ว จงยกทัพกลับไปเดี๋ยวนี้”
พระเจ้าโกศลได้กราบทูลลาพระบรมศาสดา
ฝ่ายพวกกบฏไม่ได้รู้ว่าพระราชาทรงยกทัพกลับแล้ว กลับเข้าใจว่าพระราชาเสด็จออกจากเมืองมาปราบพวกตน จึงพากันหลบหนีกันไปด้วยความกลัว “ทัพใหญ่กำลังมา พวกเราหนีกันเถิด” “พระราชาทรงยกทัพมาเอง ต้องมีทหารมากมายแน่ๆ พวกเราคงสู้ไม่ไหว ข้าเผ่นก่อนดีกว่าเว้ย”
พระเจ้าโกศลทรงนำทัพกลับเมืองของตน
พระราชากรุงโกศล สดับพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ก็ถวายบังคมลา แล้วยกทัพกลับกรุงสาวัตถีทันที แม้ในกาลปัจจุบันพวกกบฏได้ยินข่าวว่า พระราชากรุงโกศลยกทัพมาปราบปราม ก็พากันหนีไปเช่นกัน พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกดังนี้
พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็น อานนท์ ในครั้งนี้
ส่วนอำมาตย์บัณฑิต คือ เราตถาคต นี้แล