ชาดก 500 ชาติ
อินทสมานโคตตชาดก ชาดกว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ
อินทสมานโคตตชาดก อินทสมานโคตรเป็นนักบวชผู้ว่ายาก สอนยาก มีนิสัยดื้อรั้นไม่ยอมฟังใคร เขาได้พบเจอลูกช้างในป่า ซึ่งแม่ของมันตาย และเขาได้เก็บลูกช้างนั้นมาเลี้ยง โดยไม่ฟังคำทัดทานห้ามปรามของใครเลยแม้แต่อาจารย์ของเขาเอง ถึงภัยที่จะเกิดขึ้นกับตัวเขา สืบเนื่องมาจากลูกช้างป่าที่เขาได้นำมันมาเลี้ยง
อินทสมานโคตร นักบวชผู้ว่ายาก สอนยาก นิสัยดื้อรั้นไม่ยอมฟังใคร
ในสมัยพุทธกาลเมื่อใกล้ฤดูพรรษาในครั้งหนึ่ง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จกลับจากการจาริกออกโปรดเวไนยสัตว์สู่พระเชตวันมหาวิหาร ในนครสาวัตถีแคว้นโกศลเพื่ออยู่จำพรรษเทศนา ประธานพุทธโอวาทสาธุชนดั่งเช่นเคย
เมืองสาวัตถีนครหลวงของแคว้นโกศลซึ่งพระบรมศาสดาอยู่จำพรรษา ณ ที่นี่
ในครานั้นปรากฏว่ามีภิกษุรูปหนึ่งของพระอารามเชตวัน มีนิสัยดื้อรั้นต่อพระวินัยและว่ายากต่อคำตักเตือนจากพระอาวุโสทุกรูป “ท่านจะถือบาตรท่านั้นไม่ได้นะ มันไม่ควร”“ใช่ๆ ใช้มือเดียวหิ้วขอบบาตรแบบนี้ดูไม่สุภาพเลย แล้วท่าทางย่างก้าว ก็ควรสำรวมหน่อยนะท่าน เราเป็นภิกษุนะท่าน” “แล้วทำไม ข้าไม่ได้ไปทำอะไรให้ใครเดือดร้อนหนิเรื่องแค่นี้ ทำไมพวกท่านต้องมาว่าข้าด้วย ข้าไปว่าอะไรพวกท่านหรือไงกัน”
ภิกษุผู้มีนิสัยดื้อรั้น ว่ายากสอนยาก
ความดื้อรั้นนี้เป็นที่เบื่อหน่ายเอือมระอาต่อพระสงฆ์ผู้มีอาวุโสโดยทั่วกัน ต่างเห็นพ้องต้องกันว่า หากภิกษุรูปนั้นยังคงดื้อรั้นเช่นนี้ ก็เห็นทีจะต้องกราบทูลต่อพระศาสดาให้ทรงทราบ “ภิกษุท่านนั้นดื้อรั้นจริงๆ เรารึ ก็เตือนด้วยความหวังดีแท้ๆ ยังจะมาหาว่าเราไปว่ากล่าวไร้เหตุผลซะอีก” “อืม นั้นนะสิ ไม่น่าเลยจริง” “ นี่พวกท่านก็เจอแบบเดียวกันรึ เฮ้อ...ไม่น่าเลยจริงๆ” “ถ้าอย่างนั้นเราไปกราบทูลองค์พระศาสดากันเถอะ”
เหล่าภิกษุทั้งหลายมีความเห็นตรงกันว่า ต้องทูลให้พระศาสดาทรงทราบเรื่องของภิกษุผู้ว่ายาก
เมื่อถึงกาลหนึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ทรงมีพระมหากรุณาปรารภถึงกรรมของพระภิกษุผู้ว่ายากเตือนยากรูปนี้ องค์พระศาสดาทรงตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุแม่เมื่อก่อนนี้เธอก็ไม่เชื่อฟังในคำเตือนของบัณฑิตทั้งหลายเช่นกัน ครั้งนั้นเพราะเธอเป็นผู้ว่ายาก จึงต้องเหลวแหลกไปสิ้นเพราะเท้าช้างตกมัน เมื่อองค์พระศาสดาทรงตรัสพระธรรมเทศนา ดังนี้ ภิกษุผู้ว่ายากก็กราบอาราธนาให้ทรงเล่าอดีตชาติครั้งนั้น แล้วดำรงจิตสงบนิ่งอยู่กลางกาย สดับกรรมอันบังเกิดในกาลอันไกลโพ้นของตน สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง โปรดภิกษุนั้นด้วย อินทสมานโคตตชาดก ขึ้น ณ บัดนั้น
ฤาษีพระโพธิสัตว์กับบรรดาศิษย์ 500 รูป
ย้อนไปในสมัยอดีตกาล ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ปกครองกรุงพาราณสีด้วยความสงบสุขร่มเย็น ในครานั้นพระโพธิสัตว์ได้เสวยพระชาติ อยู่ในตระกูลพราหมณ์ ครั้นเจริญวัยละเพศฆราวาส ก็ออกบวชเป็นฤาษี เป็นครูของเหล่าฤาษี 500 รูป แสวงบุญสู่พรหมโลก อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ โดยดำรงชีพตนและศิษย์ด้วยพืชพลาหาร เพื่อปฏิบัติญาณสมาบัติสืบมาช้านาน ในครั้งนั้นบรรดาศิษย์ดาบสเหล่านั้น ได้มีดาบสคนหนึ่งซึ่งเป็นนักบวชใหม่ ชื่อว่า อินทสมานโคตร ศิษย์ผู้นี้เป็นผู้ว่ายากนิสัยดื้อรั้นไม่ยอมเชื่อฟังใคร
อินทสมานโคตรได้พบลูกช้างยืนเฝ้าศพช้างผู้เป็นแม่อย่างเศร้าสร้อย
อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่ศิษย์นักบวชผู้ดื้อรั้น ได้เข้าป่าเพื่อไปหาผลหมากรากไม้ ก็บังเอิญไปพบลูกช้างเชือกหนึ่ง กำลังยืนเฝ้าศพช้างผู้เป็นแม่ ลูกช้างเชือกนั้น ยืนเศร้าสร้อย อย่างน่าเวทนาแก่ผู้พบเห็นยิ่งนัก ด้วยความเวทนาอินทสมานโคตร จึงนำลูกช้างเชือกนั้น กลับมาที่อาศรม ที่พำนักด้วย เพื่อจะดูแลเลี้ยงดูต่อไป
อินทสมานโคตรได้นำลูกช้างกลับมาเลี้ยงยังอาศรมของตน
“มามะ ไปอยู่กับพ่อนะบุญทิ้งเอ๋ย พ่อจะเลี้ยงดูเจ้าเอง” ด้วยเหตุนี้ นับแต่นั้นเป็นต้นมา อินทสมานโคตร จึงนำลูกช้างเชือกนั้นกลับมาเลี้ยงที่อาศรม แต่เมื่อฤาษี พระอาจารย์ทราบก็ได้พยายามห้ามปรามไม่ให้เลี้ยง โดยที่อินทสมานโคตร หาได้เชื่อคำตักเตือนของอาจารย์ ซึ่งพำเพ็ญญาณจนเห็นแจ้งอนาคตของชีวิตต่างๆ ได้ดี
ฤาษีพระอาจารย์ได้ตักเตือนห้ามปรามอินทสมานไม่ให้เลี้ยงลูกช้างป่า
“ดาบสเอ๋ย เธอเลี้ยงลูกช้างนี้เอาไว้จริงๆ รึ” “จริง ขอรับอาจารย์ ข้าพเจ้าเลี้ยงลูกช้างไว้ตัวหนึ่ง ข้าพเจ้าไปเจอมันในป่าขณะออกหาผลไม้ ลูกช้างตัวนี้ แม่มันตายข้าพเจ้ารู้สึกเวทนา จึงเก็บมันมาเลี้ยงขอรับ” “ดาบสเอ๋ย ขึ้นชื่อว่าช้าง เมื่อโตขึ้น มันจะฆ่าผู้เลี้ยง เธออย่าเลี้ยงลูกช้างนั้นเลยน่ะ” “ท่านอาจารย์ ข้าไม่อาจทิ้งมันได้หรอกยังไงข้าก็จะขอเลี้ยงดูลูกช้างเชือกนี้ให้จงได้” “ถ้าเธอยืนยันเช่นนั้นก็ตามแต่เธอ แล้วสักวันเธอจะได้รู้เอง”
อินทสมานโคตรได้เลี้ยงดูช้างน้อยจนเติบโตเป็นเป็นช้างพลายรุ่นหนุ่มฉกรรจ์
นับแต่นั้นมา อินทสมานโคตร ก็เลี้ยงดูช้างน้อยเชือกนั้นเรื่อยมา จากลูกช้างตัวเล็กๆ ช้างน้อยตัวนั้นก็เริ่มเติบใหญ่ขึ้นทีละนิด “ใครจะเตือนยังไงข้าก็ไม่สนหรอก ต่อให้เป็นพระอาจารย์ก็เถอะ ยังไงข้าก็จะเลี้ยงเจ้าต่อไป เจ้าบุญทิ้ง เอ้า! กินอ้อยซะสิ ข้าเก็บมาให้เจ้าตั้งเยอะแน่ะ ฮะฮ่า ยิ่งนับวัน ยิ่งโตมากขึ้นนะเจ้าบุญทิ้ง เฮอะๆ ฮะฮ่าๆ” นานวันเข้าช้างน้อยตัวนั้นก็เติบใหญ่ขึ้น จนกลายเป็นช้างพลายรุ่นหนุ่มฉกรรจ์ ฤาษีผู้เป็นอาจารย์ จึงได้เรียกศิษย์ดื้อผู้นี้ มาตักเตือนด้วยความหวังดี “ดาบสเอ๋ย จงฟังคำที่อาจารย์บอกเถิด เธอจงนำบุญทิ้งไปปล่อยซะเถิด ก่อนที่มันจะก่อกรรมฆ่าผู้เลี้ยงเสียก่อน”
พฤติกรรรมของอินทสมานโคตรอยู่ในสายตาฤาษีพระอาจารย์โดยตลอดด้วยความห่วงใย
“โธ่ อาจารย์ เหตุใดอาจารย์จึงทำนายเช่นนี้ ศิษย์จะไปทิ้งมันลงได้อย่างไร ในเมื่อศิษย์เลี้ยงมันมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย ข้านะ รักมันเหมือนลูกแท้ๆ เลยนะอาจารย์ และมันเองก็รักข้าเหมือนพ่อมันด้วย” อันวิบากกรรมนั้น แม้พระพรหมเองก็ไม่อาจ ฝืนไว้ได้ ฤาษีผู้เป็นอาจารย์มิอาจห้ามปราบให้ศิษย์เชื่อฟังได้ จึงได้แต้ปลงสังเวช แก่คู่กรรมทั้งสองนั้น “เฮ้อ ดาบสเอ๋ย อาจารย์เตือนเจ้าแล้วนะ ไม่น่าเลยจริงๆ” ยิ่งนานวันเข้าทั้งคู่ก็ยิ่งรักใคร่ห่วงใยกันมากขึ้น อิทนสมานโคตร เอาแต่เฝ้าเลี้ยงดูช้าง อยู่ทั้งวัน คอยหมั่นหาอาหารและอาบน้ำให้อยู่เสมอ อีกทั้งยังคอยเก็บมูลช้างอยู่เป็นประจำ จนแทบมิได้บำเพ็ญเพียรเลย “บุญทิ้งเอ๋ย หมู่นี้เจ้าโตใหญ่ขึ้นทุกวันเลยนะ หือ พ่อชื่นใจจริงๆ เฮอะๆ เฮอ”
เกิดเหตุวิปโยคทั่วทุกหย่อมหญ้าแห้งแล้ง พืชพันธ์ุธัญญาหารหาได้ยากยิ่งนัก
ฤดูกาลผ่านพ้นไป จนถึงห้วงปีหนึ่งที่เกิดเหตุวิปโยค ทั่วทุกหย่อมหญ้า ปีนั้นช่างร้อนและแห้งแล้งยิ่งนัก จนไร้อาหารและขาดน้ำดื่มกิน เหล่าบรรดาศิษย์ฤาษี กังวลใจกับเหตุที่เกิดขึ้น จึงพากันมาเข้าพบฤาษีอาจารย์ “พวกเราจะทำอย่างไรกันดีท่านอาจารย์ แล้งนี้สาหัสนักขืนปล่อยไว้อย่างนี้ พวกเราต้องอดตาย กันแน่ๆ ท่านอาจารย์”
บรรดาศิษย์ทั้งหลายได้เรียนปรึกษาฤาษีพระอาจารย์ในเรื่องของเสบียงอาหารที่เริ่มจะขัดสนมากยิ่งขึ้น
จากการที่ฤาษีอาจารย์นั่งสมาธิ(Meditation) ปฏิบัติธรรมอยู่เป็นนิจ จึงทำให้ทราบในวาระกรรมของโลกในครานี้ ฤาษีอาจารย์จึงชี้ทางให้ศิษย์เข้าไปหาผลาหารทางทิศหนึ่งของป่า “พวกเธอจงเข้าป่าไปหาผลาหารทางด้านทิศโน้นเถิด เมื่อเก็บผลไม้ได้พอเพียงก็จงรีบกลับมา อย่าได้โลภจนเบียดบัง แย่งอาหารของผู้อื่นเขาน่ะ”
ศิษย์ทั้งหลายเดินทางเข้าป่าหาผลาหารเพื่อเป็นเสบียงในสภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้น
“โห อาจารย์ช่างรู้แจ้งยิ่งนัก ทราบด้วยว่าทางทิศนั้นมีอาหาร ได้เลยขอรับพวกศิษย์จะมุ่งหน้าไปทางทิศที่อาจารย์ชี้นำขอรับ” เหล่าปวงศิษย์หลังจากรับโอวาท มาจากฤาษีอาจารย์แล้ว ก็พากันออกเดินทางเข้าไปยังป่าที่อุดมสมบูรณ์ตามทิศที่ฤาษีอาจารย์ได้ชี้นำไว้ รวมไปถึงอินทสมานโคตรตรเอง ก็ร่วมเดินทางไปด้วย ถึงแม้จะไม่อยากจากช้างของตนไปเลย แต่เนื่องจากไม่มีอาหารพอจะเลี้ยงช้างได้แล้ว จึงจำใจต้องร่วมเดินทางไปกับหมู่ศิษย์ทั้งหลายด้วย
การเดินทางต้องผ่านพื้นที่ที่แห้งแล้งร้อนระอุไปด้วยเปลวแดด
อินทสมานโคตร "ชายหนุ่มผู้ว่ายาก สอนยาก" “ดูแลตัวเองดีๆ นะบุญทิ้ง พ่อจะรีบไปแล้วจะรีบกลับ แล้วพ่อก็จะเก็บผลไม้อร่อยๆ มาฝากเจ้าเยอะๆ นะ” การเดินทางในครั้งนั้นลำบากยิ่งนัก เหล่าศิษย์ทั้งปวง ต้องเดินฝ่าแดดอันร้อนระอุเกือบหนึ่งวันเต็มๆ ก่อนจะเข้าสู่ป่าอีกด้านหนึ่ง ซึ่งยังพอมีอาหารให้เก็บไว้กิน “โอ้ย ร้อนตับจะแตกข้าจะเป็นลมอยู่แล้วนะเนี่ย” “อดทนไว้อีกนิดเดียวก็จะถึงป่าด้านที่พระอาจารย์ชี้ทางบอกแล้ว เร่งฝีเท้าเข้าเถอะพวกเรา จะได้รีบๆ กลับไปซะที”
อินทสมานโคตรต้องเหนื่อยหนักกว่าคนอื่นเพราะเขาต้องหาอาหารไปเผื่อช้างของเขาด้วย
ในการออกมาหาอาหารในครั้งนี้ อินทสมานโคตร ต้องเหนื่อยหนักกว่าคนอื่นถึงสองเท่า เพราะต้องรับผิดชอบหาอาหารไปให้บุญทิ้งช้างของตนอีกด้วย “เฮ้อ ลูกเอ้ย พ่อเหนื่อยแสนเหนื่อย ลูกก็ตัวโตยังกับภูเขา กินแค่นี้คงไม่พอแน่ๆ พ่อจะรีบไปเก็บให้เยอะๆ น่ะ ไม่รู้ป่านนี้หิวจนตาลายแล้วมั้งเนี่ย เร่งมือเข้าดีกว่าเรา”
ช้างหนุ่มคลุ้มคลั่งด้วยความร้อนและความหิวได้อาละวาดทำลายอาศรมพังยับเยิน
แต่ในขณะที่บรรดาศิษย์กำลังกลับมาจากป่านั้นเอง ช้างป่าที่อินทสมานโคตรนำมาเลี้ยงก็เกิดคลุ้มคลั่งด้วยความร้อนและความหิว มันอาละวาดทำลายข้าวของ และรื้อศาลาจนพินาจย่อยยับ เพื่อระบายอารมณ์ตามสันดานของช้างป่า หลังจากที่อาละวาดพังอาศรมจนหน่ำใจแล้ว ช้างป่าก็วิ่งไปรออินทสมานโคตรผู้เลี้ยงตน ที่ทางเข้าสู่อาศรม แล้วก็รออยู่อย่างใจจดใจจ่ออยู่อย่างนั้น
ช้างหนุ่มวิ่งมารออินทสมานโคตรด้วยความหิวและโกรธแค้นที่ปากทางเข้าสู่อาศรม
หลังจากรออยู่ไม่นานบรรดาศิษย์ที่ออกไปหาอาหารก็เดินทางกลับมาถึงอาศรม และเมื่อมองเห็นร่างของอินทสมานโคตรผู้เลี้ยงมันมา เดินมาแต่ไกลช้างป่าซึ่งขณะนี้โมโหจนควบคุมสติไม่ได้ ก็รีบวิ่งปรี่เข้าไปหาอินทสมานโคตรอย่างรวดเร็วโดยทันที
อินทสมานโคตรหาผลไม้มามากมายเพื่อนำมาให้ช้างที่เขาเลี้ยงด้วยความรัก
อินทสมานโคตร "น่าเศร้าใจยิ่งนักที่อินทสมานโคตรต้องมาจบชีวิตลง โดยไม่มีโอกาสที่จะสำนึกถึงคำเตือนของผู้มีพระคุณ" “โอ้ย คิดถึงพ่อมากขนาดนั้นเลยหรือบุญทิ้ง โหย ดูสิ มันรักเราขนาดไหน ไม่รู้ทำไมอาจารย์ถึงคิดว่าบุญทิ้งจะฆ่าเราได้นะเนี่ย ไม่เข้าใจจริงๆ อ้าว มามะๆ บุญทิ้ง พ่อจะป้อนผลไม้ให้กินจนเปรมเลย ฮะๆ เฮอ” แต่ทุกอย่างไม่ได้เป็นอย่างที่อินทสมานโคตรคิด ช้างป่าที่ขณะนี้ลืมสิ้นความผูกพันใดๆ ที่เคยมีวิ่งตรงรี่ เข้าหาอินทสมานโคตร ด้วยความหงุดหงิดเต็มประดา ก่อนจะพุ่งชนอินทสมานโคตรอย่างแรงมิหน่ำซ้ำ ยังกระทืบซ้ำด้วยความหงุดหงิดอีกด้วย
ช้างหนุ่มพุ่งเข้าชนและกระทืบอินทสมานโคตรอย่างบ้าคลั่ง
“โอ้ย นี่มันอะไรกันเนี่ยบุญทิ้ง อย่าๆ อย่าทำพ่อเลย” เหตุอันสยดสยองที่เกิดขึ้นนี้เป็นไปตามคำทำนายของพระอาจารย์ทุกประการ อินทสมานโคตร ศิษย์ผู้ดื้อรั้นและช้างเกเรเชือกนั้น ต่างตกอยู่ในห่วงกรรมต่อกันอย่างไม่มีทางแก้ไข หลังจากกระทืบซ้ำจนอินทสมานโคตรสิ้นใจตายอย่างน่าอนาถแล้ว ช้างป่าเกเรเชือกนั้นก็วิ่งหายไปในป่าอย่างบ้าครั่ง ทิ้งศพอินทสมานโคตรผู้เลี้ยงดูมันมา ให้นอนตายอย่างน่าสังเวชใจ
ช้างหนุ่มทิ้งร่างอินทสมานที่ตายอย่างน่าอนาถไว้เบื้องหลังแล้ววิ่งหนีหายเข้าป่าไป
น่าเศร้าใจยิ่งนักที่อินทสมานโคตรต้องมาจบชีวิตลง โดยไม่มีโอกาสที่จะสำนึกถึงคำเตือนของผู้มีพระคุณ เมื่อบรรดาลูกศิษย์ได้ช่วยกันปลงศพอินทสมานโคตร เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฤาษีอาจารย์ก็ได้อบรมสั่งสอนเหล่าลูกศิษย์ว่า
บรรดาเพื่อนศิษย์ได้ช่วยกันเผาศพอินทสมานด้วยความเศร้าใจ
“ดาบสทั้งหลายเอ๋ย บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับคนชั่วหรือยอมเป็นมิตรกับคนทุศีลไร้ยางอาย” ฤาษีอบรมให้บุคคลคบค้ากระทำไมตรีแต่กับสัตตบุรุษ คือคนดี จะได้ไม้ต้องพบวิบัติดับชีวิตลงเหมือนกับอินทสมานโคตรศิษย์ผู้ดื้อรัน ผู้มีกรรมคนนี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ธรรมดาคนเราไม่ควรเป็นผู้สอนยาก
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสเล่าอินทสมานโคตตชาดก ด้วยคำที่พระโพธิสัตว์ผู้เป็นครูนั้น สอนนักบวชว่า ธรรมดาคนเราไม่ควรเป็นผู้สอนยาก ยุเทวปัญญา สทิโม มะมัง พึงรู้จักบุคคลใด ว่าผู้นี้เหมือนเราโดยศีล พึงกระทำไมตรีกับบุคคลนั้น
ในพุทธกาลนั้น
ศิษย์ผู้ดื้อรั้น กำเนิดเป็น ภิกษุผู้ว่ายาก
ฤาษีผู้เป็นอาจารย์ เสวยพระชาติเป็น พระพทุธเจ้า