ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: กิงฉันทชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น

ชาดก 500 ชาติ

กิงฉันทชาดก  ชาดกว่าด้วยโทษที่ฉกฉวยเอาประโยชน์ของคนอื่น

 

 
ปุโรหิตผู้ฉ้อฉล คดโกง ตัดสินคดีความด้วยสินบน
 
                      ในความยาวนานเป็นอสงไขยแห่งห้วงอนันตจักรวาลนี้ ทุกชีวิตล้วนเคยเกิดและตายมานับครั้งไม่ถ้วนจนกระดูกของคนนับได้ว่ากองเท่าภูเขาและสูงใหญ่ได้เท่ากับผู้อยู่ใกล้ตัวที่ต้องร่วมกรรมต้องกันมาทุกชาติทุกชีวิต มีความเป็นไปเช่นนี้เหมือนกันหมด
 
 
 
กระดูกของมนุษย์กองเท่าภูเขา
 
                        เหตุดังนี้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์โลกล้วนเป็นไปตามกรรม กรรมนี้มองไม่เห็นแต่ให้แสงสว่างและความมืดมนแก่เราได้ เหมือนเช่นไฟฟ้านั่นเอง บุรุษผู้ประพฤติกุศลกรรมคือทำความดี
 
 
ชีวิตมนุษย์ในสังสารวัฏ
 
                         เมื่อดับชีวิตลงในโลกมนุษย์แล้ว บุญซึ่งเป็นผลได้จากการทำงานและสร้างความดีต่อผู้อื่นก็จะส่งให้ไปจุติในภพภูมิใหม่ที่ดี คือสรวงสวรรค์ชั้นต่างๆ ตามกระแสบุญ สตรีก็ไม่ได้แตกต่างกัน การจุติคือเกิดทันทีที่สิ้นชีวิตอันเป็นปกติของสังสารวัฏ ก็จะอยู่ในการควบคุมของบาปและบุญเช่นกัน
 
 
ผู้ก่อกุศลกรรมดีไว้ในโลกมนุษย์จะจุติเป็นเทพบุตรและเทพธิดา
 
                         เทพอัปสรหรือเหล่านางฟ้า ธิดาสวรรค์ชั้นต่างๆ จึงล้วนจุติขึ้นมาได้เพราะการก่อกุศลกรรมทำดีไว้ในโลกมนุษย์ ในทางกลับกันผู้กระทำความชั่ว คิดชั่ว พูดชั่ว ทำชั่ว กรณีต่างๆ เมื่อสิ้นชีวิตก็จะตก ลงยังอบายภูมิ
 
 
ผู้ก่ออกุศลกรรมไว้ในโลกมนุษย์เมื่อสิ้นชีวิตจะตกลงสู่อบายภูมิ
  
                         คือสถานอันมืดมนขุมต่างๆ แม้ผู้กระทำดีแต่ยังมีชั่วติดตัวมาก็มิอาจเสวยสวรรค์ได้ทุกเวลา หากยังต้องจุติเป็นเปรต เป็นอสูรหลากหลายชนิดชดใช้กรรมและรอผลบุญ เมื่อพ้นขุมนรกก่อน ข้อกังขาที่ว่า แม้มีผู้ก่อบาปไว้แต่ได้ประกอบบุญอยู่ด้วยในเวลาเดียวกัน คนผู้นั้นได้ตกทุกข์หรือเสวยสุขสถานใด
 
 
พระบรมศาสดา
   
                         พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ทรงปรารภอุโบสถกรรมตรัสพระธรรมเทศนา “ดูก่อนอุบาสก อุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านรักษาอุโบสถหรือ เมื่อเขากราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่าท่านทั้งหลายทำการรักษาอุโบสถจัดว่าได้ทำความดี
 
 
พระศาสดาทรงปรารภอุโบสถกรรม
 
                         โบราณบัณฑิตทั้งหลายได้รับยศอันยิ่งใหญ่ ก็เพราะผลของอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง” อันพวกอุบาสก อุสิกากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัส ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสีโดยธรรม
 
 
พระเจ้าพรหมทัต
 
                          ทรงเป็นผู้มีศรัทธาปสาทะ ไม่ประมาทในทาน ศีล และอุโบสถกรรม ปุโรหิตผู้เก่งทั้งการเมือง ทั้งการค้าและตัดสินคดีจึงมีพระบัญชาให้ปุโรหิตผู้เก่งกาจของพระองค์จัดการดูแล “รับด้วยเกล้า พระเจ้าค่ะ ข้าพระองค์จะรับราชโองการอย่างซื่อสัตย์เต็มกำลังพระเจ้าค่ะ”
 
 
ปุโรหิตผู้เก่งกาจแต่ชอบฉ้อฉล คดโกง
 
                       ปุโรหิตผู้นี้เก่งกล้าและมากบารมีก็จริง แต่มีข้อบกพร่องอยู่เป็นมลทินอย่างหนึ่ง คือฉ้อฉล คดโกงและไม่เป็นธรรมต่อการตัดสินคดีเลย “ถ้าจำเลยไม่จ่ายตามที่เราเรียกไป ก็เพิ่มโทษให้แล้วส่งไปเข้าคุกซะ”
 
 
 
ปุโรหิตตัดสินคดีความไม่เป็นธรรมตามแต่สินบนที่ได้รับ
 
                         พระเจ้ากรุงพาราณสีบำเพ็ญบุญ สมาทานศีล ไม่ช้านานชาวบ้านก็พากันเดือดร้อนกินนอนไม่เหมือนเก่า “ฮ้า น้ำผึ้งทั้งหม้อก็ยังไม่พอเรอะ ต้องเป็นเงินทองตามที่ท่านเรียกด้วยเหรอ โอ้..คดีสามีข้าคงแพ้แน่ๆ แล้ว แน่ละ ก็ดูฝ่ายโน้นเค้าให้มาซะถุงใหญ่เลย”
 
 
ชาวบ้านต่างเดือดร้อนในการตัดสินคดีความของปุโรหิต
 
                         ปุโรหิตตัดสินคดีความต่างๆ ตามความมากน้อยของสินบน ก่อบาปกรรมบนความทุกข์ของประชาชนเช่นนี้สืบมา มิได้อาทรต่อบาปใดๆ “ฮึมให้ถุงเล็กไปนะ ถูกขังต่ออีกแล้ว!..” แต่ในอีกด้านหนึ่งปุโรหิตได้ปลูกศาลาในบ้านให้คนจรและผู้เดินทางมารอตัดสินคดีต่างๆ ได้พักและรับอาหารเป็นทานภัต ถือเป็นกุศลกรรมของข้าราชการขี้ฉ้อผู้นี้ทางหนึ่ง
 
 
ปุโรหิตปลูกศาลาในบ้านให้คนจรได้พักพร้อมมีอาหารไว้บริการ
 
                       การทำทานเช่นนี้ถูกเล่าขานกันในหมู่ข้าราชการบริพารในพระราชทาน พระเจ้าพรหมทัตจึงเข้าใจว่า ปุโรหิตของพระองค์สมาทานศีลอุโบสถเป็นนิจเช่นกัน “อานิสงส์ของการทำอุโบสถศีล คือศีลแปดนี้จะให้พ้นนรกได้ พวกท่านจงทำเถิด”
 
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงชมเชยปุโรหิตแก่ข้าราชบริพารทั้งหลาย
 
                        ทรงชมเชยปุโรหิตแก่ข้าราชบริพารทั้งหลาย “วันนี้เป็นวันถืออุโบสถศีล ปุโรหิตท่านได้กระทำอุโบสถแล้วรึยัง” ความจริงแล้วปุโรหิตมิได้ถือศีลใดๆ แต่เพื่อมิให้พระราชากริ้วก็จำต้องทูลความเท็จ 
 
 
ปุโรหิตได้กล่าวความเท็จต่อพระเจ้าพรหมทัต
 
                      “เช้านี้ข้าพระองค์ทำอุโบสถศีลแล้วพระเจ้าค่ะ” “สาธุ ดีมากเราขออนุโทนาบุญด้วยนะ” เมื่อเสด็จขึ้นตำหนักแล้วจึงถูกจับเท็จจากชาวราชสำนักที่รู้ทัน “ถ้าอย่างท่านปุโรหิตถือศีล พวกเราเนี่ยเป็นเทพกันไปหมดแล้วหละ” “ใช่ กล้าดียังไง มุสาต่อหน้าพระบาทได้เนี่ย”
 
 
ข้าราชบริพารทั้งหลายต่างตำหนิปุโหิตที่กล่าวคำเท็จ
  
                        “พวกท่านอย่าเอ็ดอึงไป เอาหละๆ เราจะกลับไปถืออุโบสถศีลคืนนี้ทดแทนก็แล้วกัน" ปุโรหิตมิได้กล่าวพอพ้น หากแต่คิดทำกุศลถือศีลในคืนนั้นจริงๆ เขารีบกลับบ้านสั่งคนรับใช้ตระเตรียมสถานที่สมาทานศีลและที่ว่างเดินจงกลม
 
 
ปุโรหิตให้คนรับใช้เตรียมสถานที่สมาทานศีลและเดินจงกลม
 
                         เวลานั้นยังมีโอกาสได้ทำทานเพิ่มมาอีก คือมีหญิงชาวชนบทเดินทางมาถึง แต่เรามิได้หุงหาอาหารไว้เธอจึงไม่มีมื้อเย็น คงต้องทนหิวจนเช้า เย็นนั้นปุโรหิตให้หญิงชนบทมารับมะม่วงไปหนึ่งผล “วันนี้เราอาจจะถืออุโบสถจึงไม่มีอาหารเลี้ยงเช่นเคย พี่สาวรับมะม่วงแก้หิวไปก่อนละกันเถิด” “ขอให้ท่านเจริญในบุญทานนะจ๊ะ”
 
 
 
 
หญิงชนบทรับผลมะม่วงจากปุโรหิตประทังความหิว
 
                         ครั้นได้เวลาปุโรหิตและบริวารในบ้านก็ชำระร่างกาย ห่มขาวดูสะอาดดีแล้วสวดมนต์ทำวัตรเย็น กระทำจิตเป็นกุศลเข้าสู่สมาธิ(Meditation)ภาวนาจนเกิดดวงรัตนะภายในร่างเป็นความสว่างสงบเย็นอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน
 
 
ปุโรหิตและบริวารสวดมนต์ทำวัตร และเดินจงกลม
 
                        ตั้งแต่นั้นปุโรหิตก็มิได้กราบทูลความเท็จอีก หากแต่นำบริวารถือศีล เดินจงกลม บำบัดจิตอยู่เป็นนิจจริงๆ ขณะเดียวกันก็ยังเอารัดเอาเปรียบผู้คนอยู่เป็นธุรกิจคดีเช่นเดิม “เอามา มีมากมีน้อย ก็เอามา เราบริการให้ตามจำนวนเงินอยู่แล้ว เฮ้อๆ ๆ”
 
 
ปุโรหิตได้เลื่อนตำแหน่งเป็นมหาปุโรหิต
 
                         ปุโรหิตได้เลื่อนตำแหน่งเป็นมหาปุโรหิตได้สิทธิ์พิเศษเพิ่มอีกมากมายในพาราณสี เพราะพระราชาเห็นในความดีที่บำเพ็ญศีลอุโบสถมิได้ขาด ย่อมเป็นความดี
 
 
ปุโรหิตสิ้นชีวิตลงท่ามกลางสมบัติมากมายแต่ไม่สามารถนำไปได้เลย
 
                          เมื่อถึงกาละของปุโรหิตก็สิ้นชีวิตลง ทรัพย์สมบัติบริวาร คฤหาสน์อันใหญ่โตก็ไม่ได้มีค่าอะไรอีกต่อไป จิตอันเคยก่อกุศลได้ร่ำภาวนายึดอยู่กับพระและบุญที่ทำจนสิ้นลมหายใจ แรงภาวนาทำให้วิญญาณเห็นแสงสว่าง
 
 
กุศลกรรมที่ทำไว้ทำให้ปุโรหิตจุติเป็นเทพบุตร
 
                         แรงบุญที่ก่อไว้ทำให้จุติใหม่ในบัดดล เป็นเทพบุตรสวยงามและล่องลอยขึ้นสู่คติสถานอันสมควร เป็นสวนสวรรค์มีนางฟ้ากำนัลขับกล่อมล้อมรอบบริการ มีมะม่วงทิพย์เป็นอาหารเพราะได้เคยเมตตาให้มะม่วงแก่หญิงผู้หิวโหย
 
 
สวนสวรรค์ของเทพบุตรมีนางฟ้าขับกล่อมบริการ มีมะม่วงทิพย์เป็นอาหาร
  
                          มีพรหมทิพย์รองกายเพราะเคยให้ที่พักแก่คนจรผู้มารอคดีความ แต่กฎแห่งกรรมย่อมเป็นกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์เสมอ เพราะยามเมื่อสิ้นแสงทิวานั้นทุกครั้งเทพบุตรปุโรหิตจะถูกกระแสอกุศลกรรมที่เคยเอาเปรียบคนอื่นและกล่าวโกหกว่าทำอุโบสถศีลครั้งนั้น
 
 
ยามสิ้นแสงทิวาเทพบุตรกลายร่างเป็น เวมานิกเปรต เพราะอกุศลกรรมที่ทำไว้
 
                        นำลงต่ำสู่อบายภูมิกลายร่างเป็นผีเปรต เรียกว่า เวมานิกเปรต มีไฟลุกไหม้หัวและหิวโหยจนต้องเอาเล็บกระชากเนื้อหนังของตนมากินอยู่ตลอดเวลา รับทุกขเวทนาใช้กรรมเช่นนี้จนอรุณรุ่งมาเยือน ก็จะได้กระแสบุญกลับไปยังวิมารเทพบุตรอีก สลับทุกข์สุขเช่นนี้นานเป็นกัปกัลป์
 
 
ยามอรุณรุ่งมาเยือนกระแสบุญก็นำเทพบุตรกลับยังวิมารของตน
 
   
ในพุทธกาลนั้นปุโรหิต กำเนิดเป็น พระนวกะภิกษุผู้พูดเท็จในอุโบสถศีล
พระเจ้าพรหมทัต เสวยชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 
 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล