ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อลีนจิตตชาดก ชาดกว่าด้วยกัลยาณมิตร

ชาดก 500 ชาติ

อลีนจิตตชาดก ชาดกว่าด้วยกัลยาณมิตร

 

 
ช้างอาชานัยพระสหายของพระเจ้าพรหมทัต
 
                      ณ นครสาวัตถีมีภิกษุรูปหนึ่งเมื่อบวชแล้วก็ไม่สามารถบรรลุในพระธรรมได้สักที ภิกษุรูปนี้หมดความหวัง ละความเพียรที่จะปฏิบัติธรรมอีกต่อไป “เฮ้อไม่ว่าเราจะปฏิบัติธรรมเท่าไหร่มันก็ไม่เป็นผล เราไม่บรรลุธรรมสักที” “ไม่เป็นไรน่า ของอย่างนี้จะไปเร่งรีบก็ไม่ดี ต้องค่อยเป็นค่อยไป” “ใช่แล้วหล่ะท่านอย่าเพิ่งละความเพียรเลย”
 
 
 
ภิกษุหนุ่มผู้คลายความเพียรในการปฏิบัติธรรม
 
                           สมเด็จพระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันได้ทราบถึงความหมดหวังของภิกษุหนุ่ม จึงทรงรับสั่งให้ภิกษุนั้นเข้าเฝ้าและกล่าวกับภิกษุนั้นว่า “เธอคลายความเพียรจริงหรือ ในอดีตเธอได้ทำความเพียรจนมีชัยชนะยึดเอาราชสมบัติแห่งกรุงพาราณสี ถวายราชกุมารน้อยได้สำเร็จแล้วบัดนี้เหตุใดจึงมาละความเพียรเสียเล่า
 
 
เหล่าภิกษุต่างให้กำลังใจภิกษุหนุ่มผู้ยังไม่บรรลุธรรม
 
                         เหล่าภิกษุที่นั่งเฝ้าเกิดความสงสัยใคร่รู้ในเรื่องราวอดีตของภิกษุรูปนี้ จึงอาราธนาให้องค์พระศาสดาตรัสเล่า พระพุทธเจ้าเมื่อทรงรับอาราธนาแล้ว จึงตรัสเล่าอลีนจิตตชาดกดังนี้
 
 
พระศาสดาทรงตรัสเล่าอลีนจิตตชาดก
 
                         กาลครั้งหนึ่งเหล่าช่างไม้แห่งกรุงพาราณสีของพระเจ้าพรหมทัต พากันตัดไม้ในป่าเพื่อมาสร้างบ้านเรือนปราสาทพระราชวังเป็นประจำ วันหนึ่งในขณะที่ช่างไม้ กำลังตัดไม้อยู่นั้นก็ได้ยินเสียงร้องครวญครางของช้างป่า ช่างไม้จึงเดินไปตามเสียงแล้วก็พบช้างป่าเหยียบโดนตอตะเคียน ที่เท้ามีแผลลึกเลือดไหลโชก
 
 
บรรดาช่างไม้แห่งกรุงพาราณสีเข้าไปตัดไม้ในป่าเพื่อสร้างปราสาท
 
                          “เฮ้ย พวกเราช่วยกันหน่อย แผลลึกน่าดูเลยเนี่ย” “เดินยังไงถึงไปเหยียบต่อไม้เข้าได้ละเนี่ย คงเจ็บน่าดูเลย” “ดีนะ ที่พวกเราพกยามาด้วยเป็นประจำ เท้าบวมเบ่งเลย” ช้างนั้นมีความกตัญญูรู้คุณผู้ช่วยชีวิต เมื่อช่างไม้เข้ามาทำงานในป่า ช้างป่่าตัวนี้ก็จะออกมาช่วยงานเสมอ
 
 
 
ช่างไม้เจอช้างเหยียบตอไม้ เท้ามีแผลลึกเลือดไหลโชก
 
                         “โอ้ว ช้างตัวนี้มันรู้คุณคน ชั่งกตัญญูจริงๆ” “นั่นซินะ ตั้งแต่พวกเราช่วยมันในครั้งนั้นนะ มันก็มาช่วยพวกเราขนไม้ทุกวันเลยนะ” “เบาแรงขึ้นตั้งเยอะ สบายจัง ไม่ต้องขนไม้หนักๆ อีกแล้ว” ต่อมาเมื่อช้างป่าแก่ตัวลง ไม่สามารถช่วยเหลืองานช่างไม้ได้อย่างเดิม จึงได้นำลูกของตน เป็นลูกช้างอาชานัยมาช่วยงานแทน
 
 
ช้างป่าเมื่อแก่ตัวก็ได้นำลูกช้างมาช่วยงานช่างไม้แทนตน
 
                           “เราแก่มากแล้วช่วยงานพวกท่านต่อไปคงไม่ไหว จึงมอบลูกช้างน้อยนี้เป็นเครื่องตอบแทนพระคุณที่รักษาพยาบาลให้” “ลูกเอ่ย เจ้าต้องเป็นช้างที่ดีนะ ช่วยเหลืองานของช่างไม้แทนพ่อด้วยนะลูก” “ได้ครับพ่อ” ลูกช้างน้อยรับช่วยงานแทนพ่อ
 
 
ลูกช้างเป็นสัตว์น่ารัก ว่านอนสอนง่ายเป็นที่รักของบรรดาช่างไม้
 
                         ลูกช้างเป็นสัตว์ว่านอนสอนง่ายเป็นที่รักของบรรดาช่างไม้และลูกๆของพวกเขา ธรรมชาติของอาชานัยทั้งหลายไม่ว่าช้าง ม้า หรือคนก็ตามจะไม่ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในน้ำ เพราะฉะนั้นลูกช้างนี้จึงถ่ายในที่ห่างจากน้ำเท่านั้น "ฮืบ...ฮ้า..สบายจัง แถวนี้คงไกลแม่น้ำพอแล้วนะ”
 
 
ลูกช้างได้ถ่ายคูตบนตลิ่งไกลจากท่าน้ำพอสมควร
 
                        บังเอิญวันหนึ่งฝนตกหนัก คูตลูกช้างที่แห้งก็ถูกซัดไหลลงสู่แม่น้ำไปติดอยู่ที่พุ่มไม้ใกล้ท่าน้ำในกรุงพาราณสี ครั้งนั้นพวกควาญช้าง นำช้างจำนวน 500 เชือก จะไปอาบน้ำ แต่พอได้กลิ่นคูตของลูกช้างอาชานัย ก็ไม่กล้าลงน้ำสักเชือกเดียว พากันหนีไปจนหมด
 
 
ฝนตกหนัก คูตลูกช้างที่แห้งก็ถูกซัดไหลลงสู่แม่น้ำ
 
                         “เฮ้ย เป็นอะไรกัน เกิดอะไรขึ้นนี่ ช้างตื่นหนีไปหมดเลย โอ๊...โอ๊ว..จะโดนช้างเหยียบไหมเนี่ย เจ้าตกใจอะไรกัน” ในที่สุดนายหัตถาจารย์ก็ค้นพบคูตช้างอาชานัย เอามาผสมน้ำรดทั่วตัวช้างทุกเชือกจนมีกลิ่นหอม ช้างเหล่านั้นจึงลงอาบน้ำกันได้
 
 
นายหัตถาจารย์ค้นหาคูตช้างจนเจอ และเอามาผสมน้ำรดทั่วตัวช้างทุกเชือก
 
                        เมื่อพระเจ้าพรหมทัตทรงทราบเรื่อง จึงเสด็จลงเรือขนานแล่นขึ้นไปต้นน้ำถึงที่อยู่ของพวกช่างไม้ “เราขอช้างอาชานัยนั่นเถิด” “ถ้าเป็นพระราชประสงค์ของพระองค์หม่อมฉันก็ยินดีพระเจ้าค่ะ” ถึงแม้ช่างไม้จะยินดีมอบช้างอาชานัยให้พระเจ้าพรหมทัต
 
 
พระเจ้าพรหมทัตเสด็จมาด้วยพระองค์เอง เพื่อขอลูกช้างอาชานัยกับช่างไม้
 
                         แต่ลูกช้างอาชานัยนั้นก็ไม่ยอมไป ด้วยกลัวว่าจะไม่มีใครช่วยงานของช่างไม้ พระเจ้าพรหมทัตพระราชทานค่าเลี้ยงดูแก่ช่างไม้เป็นจำนวนมาก และแม้จะพระราชทานสิ่งของแก่เหล่าช่างไม้ ตลอดจนเสื้อผ้าแก่หมู่ภรรยาก็ยังไม่ยอมไป ในที่สุดก็พระราชทานเครื่องเล่นเครื่องใช้สำหรับเด็กหญิงเด็กชายที่เป็นเพื่อนเล่นของลูกช้าง
 
 
ลูกช้างอาชานัยยอมจากไปด้วยความรักและอาลัยต่อครอบครัวช่างไม้
 
                       ลูกช้างจึงยอมไปด้วยความรักและอาลัย พระเจ้าพรหมทัตทรงโปรดปรานช้างอาชานัยนี้เป็นที่สุด ทรงทำการอภิเษกยกขึ้นเป็นราชยานพาหนะ ทรงตั้งไว้ในฐานะเป็นพระสหาย ทรงเลี้ยงดูเสมอด้วยพระองค์ นับแต่ได้ช้างอาชานัยนี้มา ราชสมบัติในชมพูทวีปได้ตกอยู่ในเอื้อมพระหัตของพระราชาโดยสิ้นเชิง
 
 
ลูกช้างเติบโตเป็นพญาช้างที่สง่างามและเป็นสหายที่รักของพระเจ้าพรหมทัต
 
                      “เจ้านี่ชั่งเป็นช้างคู่ทุกข์คู่ยากของเราจริงๆ" "องค์เหนือหัวทรงรักเราขนาดนี้ เราก็ต้องทดแทนคุณด้วยชีวิต” ต่อมาพระเจ้าพรหมทัตทรงสวรรคต ในขณะที่พระมเหสีทรงครรภ์แก่ พวกคนเลี้ยงช้างพยายามปิดข่าวไม่ให้พญาช้างรู้ ด้วยเกรงว่าพญาช้างจะเสียใจจนหัวใจแตกสลาย
 
 
พระเจ้าพรหมทัตทรงสวรรคต
  
                       ฝ่ายพระเจ้าโกศลทรงสดับข่าวสวรรคตของพระเจ้าพรหมทัต จึงคิดจะโจมตีหวังยึดครองเมืองพาราณสี “ทหารเตรียมไพร่พลให้พร้อมเราจะโจมตีเมืองพาราณสี เฮ้อๆ ฮ้าๆ ฮ่าๆ เมื่อขาดเจ้าเมืองแล้วใครจะกล้ามาทำศึกกับเรา พาราณสีต้องตกเป็นของเราแน่ๆ ฮ่าๆ ฮ้าๆ” เมื่อพระเจ้าโกศลยกกองทัพมาล้อมเมืองพาราณสี
   
 
พระเจ้าโกศลคิดจะโจมตีกรุงพาราณสี
 
                       ชาวเมืองก็ปิดประตูป้องกันอย่างดี ส่งสารถวายพระเจ้ากรุงโกศลขอรอให้พระอัครมเหสีคลอดเสียก่อนจึงจะพร้อมทำศึก ครั้งนั้นพระเจ้ากรุงโกศลทรงรับตกลง เวลาผ่านไปเจ็ดวัน พระมเหสีให้กำเนิดโอรสนามว่า อลีนจิตตราชกุมาร เพราะทรงช่วยให้จิตท้อแท้ของมหาชนมีฝันดีขึ้น
 
 
พระมเหสีให้กำเนิดโอรสนามว่า อลีนจิตตราชกุมาร
 
                         “ลูกแม่ ชื่นใจเหลือเกิน” เมื่อพระโอรสประสูติแล้วทหารและชาวเมืองพาราณสีก็เริ่มออกสู้รบแต่มักพ่ายแพ้กลับมาเนื่องๆ อำมาตย์และพระเทวีจึงเห็นว่าควรบอกเรื่องราวทั้งหมดแก่พญาช้างอาชานัย จึงพากันไปยังโรงพญาช้าง
 
 
พญาช้างอาชานัยได้รับข่าวการสวรรคตของพระเจ้าพรหมทัต
 
                      “บัดนี้พระเจ้าพรหมทัตได้สวรรคตลงแล้ว บ้านเมืองก็ระส่ำระสาย ทหารออกรบคราใดก็พ่ายแพ้กลับมา ท่านอย่าปล่อยให้พระโอรสของสหายท่านตายเสียเลยนะ” พญาช้างเอางวงลูบคลำกุมารน้อยไว้เหนือกระพอง ร้องไห้คร่ำครวญแล้ววางโอรสให้บรรทมในพระหัตถ์ของพระเทวีดังเดิม
 
 
พญาช้างพร้อมออกศึกหวังจะไปจับพระเจ้าโกศลเพื่อปกป้องพระโอรส
 
                        ช้างอาชานัยหลังจากได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดแล้ว ก็ฮึกเฮิมหวังจะไปจับพระเจ้าโกศลเพื่อปกป้องโอรสองค์น้อย พวกทหารอำมาตย์รีบสวมเกราะพากันห้อมล้อมพญาช้างออกจากประตูเมืองไป “เราพร้อมจะทำศึกแล้ว ทหารทั้งหลายออกไปรบปกป้องโอรสกันเถอะ เราจะไม่ยอมให้ใครมาทำอันตรายโอรสสหายเรา"
 
 
พญาช้างใช้งวงคว้าตัวพระเจ้าโกศลมาถวาย ณ เบื้องบาทของพระราชกุมาร
 
                       พญาช้างแผดเสียงโกญจนาทจนข้าศึกแตกตื่นกลัว พากันหนีจนหมด เมื่อทหารฝ่ายตรงข้ามฝันหนีดีฝ่อ พญาช้างจึงใช้งวงคว้าพระเจ้าโกศลไว้ แล้วนำตัวมาวาง ณ เบื้องบาทของพระราชกุมารน้อย เมื่อเหล่าทหารจะรุมกันฆ่าพระเจ้าโกศล พญาช้างก็ห้ามปรามไว้ “ครั้งนี้พวกเราจะปล่อยท่านกลับไป ถึงแม้โอรสจะยังเป็นเด็ก แต่ท่านอย่าได้ประมาทว่าสามารถจะชนะโอรสของเราได้”
 
 
หลังการศึก นครพาราณสีก็มีแต่ความสงบร่มเย็น
 
                            ตั้งแต่นั้นมานครพาราณสีก็ไม่มีข้าศึกมาโจมตีอีกเลย พระราชกุมารได้รับการอภิเษกเมื่อพระชนม์ได้เจ็ดพรรษาทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรมตลอดพระชนม์ชีพ เมื่อสวรรคตก็ได้เสด็จอุบัติในเมืองสวรรค์
  
 
พระราชกุมารได้รับการอภิเษกเมื่อพระชนม์ได้เจ็ดพรรษาทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม
 
                       ชาวเมืองและช้างอาชานัย ถือเอาอลีนจิตตกุมารเป็นที่พึ่ง ไม่ย่อท้อเพียรสู้รบจนได้ชัยชนะ
 
 
ภิกษุผู้คลายความเพียร ได้สติเร่งความเพียรจนบรรลุพระอรหัตผล
 
                      เหมือนภิกษุที่มีพระบรมศาสดาเป็นที่พึ่ง เร่งความเพียรจนชนะกิเลสเถิด ในบัดนั้นพระภิกษุผู้คลายความเพียร จึงเกิดสติเร่งความเพียรจนบรรลุพระอรหัตผล
 
พระมเหสีของพระเจ้าพรหมทัต ได้มาเป็น พระนางสิริมหามายา
พระเจ้าพรหมทัต ได้มาเป็น พระเจ้าสุทโธทนะ
พญาช้างอาชานัย ได้มาเป็น ภิกษุผู้คลายความเพียร
พ่อของพญาช้าง ได้มาเป็น พระสารีบุตร
 
 
บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล