ชาดก 500 ชาติ
ติตติรชาดก-ว่าด้วยความเคารพอ่อนน้อม
ณ นครไพสาลี จุดกึ่งกลางของราชคฤห์มหานครแห่งขุนเขากับสาวัตถีนครหลวงแห่งอารยันในพุทธกาลนั้น เป็นที่ประทับแรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บัดนั้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์นำภิกษุทั้งสิ้นไปจำพรรษา ณ พระเชตะวันมหาวิหารที่สร้างขึ้นถวายเป็นการเฉพาะตามคำทูลอาราธนาของอานาถบิณฑิกะเศรษฐี
ในการเดินทางครั้งนั้นสงฆ์สาวกทุกรูปต่างประพฤติตนมั่นคงอยู่ในพระวินัยเป็นอันดี “เดินสำรวมนะท่าน ระวังจะเหยียบบรรดาสัตว์ตัวเล็กสัตว์ตัวน้อยบนพื้นเข้า” “เราจะระวังทุกฝีก้าว” เมื่อถึงคราวหยุดพัก ณ ที่ใด ภิกษุทั้งหลายก็พร้อมเพียงกันให้ความเคารพตามวัยและหน้าที่ของกันและกัน “ท่านนั่งพักตรงนี้ให้หายเหนื่อยก่อนเถอะ” “ขอบใจมาก”
“ท่านก็หาใบไม้ใบหญ้ามาปูลาดเป็นอาสนะด้วยเถิด” ในหมู่สงฆ์ยังมีพระภิกษุ 6_รูปที่เรียกว่า พระฉัพพัคคีย์ ซึ่งเป็น ผู้ไม่รู้การประมาณตนกระทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมขึ้น “เฮ้อ..เหนื่อยจริงๆ ที่นี่นั่งไม่สบายเลยท่าน พื้นแข็งเหลือเกิน” “ทนอีกหน่อย พอถึงไพสาลีพวกเราก็จะสบายกันแล้ว” “ทำไม? มีอะไรดีๆ เหรอ” “เราได้วางแผนเด็ดๆ ให้พวกท่านมีที่พักสบายๆ ไว้แล้วนะซี”
“ห๊า....ดีจังเลยเราเมื่อยไปหมดทั้งตัวแล้ว อยากนอนพักให้สบายๆ เต็มที” หัวหน้ากลุ่มพระฉัพพัคคีย์ เห็นแก่ประโยชน์ของตนและพวกพ้องได้วางแผนให้ศิษย์ล่วงหน้าไปก่อนเพื่อจับจองเสนาสนะไว้ให้พวกตนพัก “พวกเจ้าเดินเร็วๆ หน่อยซิ เดี๋ยวพวกเขาก็เดินมาทันหรอก” “โอ้ย เหนื่อยจะแย่แล้ว พักสักนิดไม่ได้เหรอ” “ไม่ได้หรอก เดี๋ยวเราไปจองที่กันไม่ทัน”
ศิษย์พระฉัพพัคคีย์เร่งล่วงหน้ามาถึงไพสาลี ก็จับจองเอาเสนาสนะดีๆ ที่อานาถบิณฑิกะเศรษฐีจัดเตรียมไว้สำหรับพระอัครสาวกและภิกษุสูงอายุพักเอาไว้หมด “เอ้ย..ในที่สุดก็มาถึง จองตรงนี้ละนะ...” “เฮ้อ..สบายจริงๆ เลย ดีนะเนี่ยที่เราล่วงหน้ามาก่อนไม่งั้นคงไม่มีโอกาสได้พักที่ดีๆ อย่างนี้แน่เลย” ครั้นพลบค่ำสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จมาพร้อมภิกษุรูปอื่นๆ
ก็เดินทางมาถึงไพสาลี ภิกษุพรรษาน้อยต่างก็หาที่พักตามโคนไม้ด้วยความประมาณตน ว่าเสนาสนะที่เศรษฐีจัดไว้นั้นเพื่อเป็นที่พักของพระอัครสาวก และพระภิกษุสูงอายุแต่แล้วก็ไม่เป็นดังที่คาดไว้เสนาสนะเหล่านั้นพระฉัพพัคคีย์ได้เข้าไปพักอาศัยเรียบร้อยแล้ว “อ้าวแล้วนั่นใครไปพักในเสนาสนะนั่นละ ไม่ใช่ที่พักของพระสารีบุตรหรอกรึ? เฮ้อ..ช่างไม่ประมาณตนเสียเลยจริงๆ”
เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น พระสารีบุตรผู้เป็นอัครสาวกเสนาบดีของพระพุทธเจ้า ก็มิได้ปริปากบ่นแต่อย่างใด กลับนำพระภิกษุบริวารอาศัยโคนต้นไม้แทน “มาเถอะเราไปพักตรงโคนต้นไม้นั่นก็ได้ ที่ไหนๆ ก็เหมือน” “พระฉัพพัคคีย์ ไม่ประมาณตนเสียเลย หากไม่ประมาณบุคคลพึงเคารพเช่นนี้ ต้องกราบทูลพระศาสดา”
“ใช่แล้ว แม้พระธรรมเสนาบดี ยังต้องมาเจริญภาวนาใต้ต้นไม้ ไม่สมควรเลย” และแล้วเหตุไม่สมควรดังนี้ได้ปรากฎในข่ายพระญาณแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในรุ่งสาง พระพุทธองค์ทรงเสด็จออกจากเสนาสนะที่ประทับ พระสารีบุตรและภิกษุทั้งหลายก็ถวายอัญชุลี สิ่งอันเกิดขึ้นในหมู่สงฆ์นี้ ทำให้พระองค์ทรงสลดพระทัยยิ่งนัก
“ขณะที่เรายังมีชีวิตอยู่ ภิกษุทั้งหลายยังไม่มีความยำเกรงกัน ถ้าหากเราปรินิพพานไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายจะเป็นอย่างไร” พระพุทธองค์มีรับสั่งให้ภิกษุมาประชุมกัน ทรงตรัสถึงเหตุดังกล่าวและติเตียนพระภิกษุฉัพพัคคีย์นั้น อีกทั้งทรงตั้งคำถามขึ้น “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากมีอาหาร น้ำ และที่อยู่อันประณีตภิกษุประเภทใดเล่าควรได้รับสิ่งเหล่านั้น?” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแตกต่างกันไป
“ต้องถวายแก่ภิกษุวรรณะกษัตริย์ พระเจ้าคะ” “ควรให้ภิกษุจากตระกูลพราหมณ์ก่อนพระพุทธเจ้าคะ” “ควรให้เป็นระดับชั้นจากพระอรหันต์ลงมาพระพุทธเจ้าคะ” “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายพระผู้ใหญ่ที่เจริญด้วยคุณวุฒิและวัยวุฒิต่างหากเล่า จึงเป็นผู้สมควรได้รับการเคารพยกย่องนั้น พระสารีบุตรอัครสาวกควรได้รับเสนาสนะถัดจากเรา แต่กลับต้องอยู่โคนต้นไม้ตลอดคืน เพราะพวกเธอขาดความยำเกรง”
องค์พระศาสดาทรงประทานโอวาทในการกระทำไม่สมควรนั้นด้วยการระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ ตรัสว่า “ในกาลก่อนแม้สัตว์เดรัจฉานยังคำนึงถึงการปฏิบัติข้อนี้ จึงพยายามเลือกหาผู้มีอายุและคุณธรรมสูงกว่าในหมู่ตนเพื่อแสดงความเคารพยำเกรงกัน”
ในอดีตกาล ณ ป่าใหญ่แห่งหนึ่ง ยังมีสัตว์ 3 ชนิด คือช้าง ลิงและนก อาศัยอยู่ด้วยกันในบริเวณใกล้ต้นไทรใหญ่กลางป่า สัตว์ทั้ง 3_ต่างถือดีประพฤติตนตามใจชอบ ไม่ยำเกรงกันและกัน “ช้างอย่างข้า ถือว่าเป็นสัตว์ใหญ่ ไม่ยำเกรงใครอยู่แล้ว ฮ้าๆๆ ฮ่าๆ อุ๊ยๆ คันๆ คันอีกแล้ว พักนี้คันบ่อยจัง ถูตรงต้นไม้นี้แหละ ซะใจดี! อึม...ค่อยหายคันหน่อย” ช้างเอาสีข้างถูกับต้นไม้ โดยไม่สนใจว่าใครจะเดือดร้อน
“ฟ้าถล่มๆๆ!! โอย โอ๊ยๆๆ สั่นสะเทือนไปหมดแล้ว เจ้าช้างนี่เอง เอาอีกแล้วนะ ทำไมเจ้าไม่ไปถูกับต้นไม้ที่ไม่มีสัตว์เค้าพักอาศัยละ ถูแรงอย่างนี้ รังข้าพังหมด” “เอ้า..คันที่ไหน ก็ต้องเกาที่นั่น กว่าจะวิ่งไปเกาที่ต้นอื่นนะ มิทรมานแย่รึ? ไม่สนใจข้าจะถูที่ต้นไม้ต้นนี้แหละ เจ้าเดือดร้อนนัก ก็ย้ายไปอยู่ที่อื่นซะไป๊!!..”
“ส่วนเจ้าลิงก็ถือว่าตนมีความคล่องแคล่วว่องไว ปีนป่ายต้นไม้เก่ง จนช้างไล่จับไม่ทัน ชอบเล่นซุกซนใกล้ช้างด้วยการคว้างปาด้วยกิ่งไม้บ้าง ผลไม้บ้างอย่างสนุกสนานทุกวัน “อุ๊ย นั่นเจ้าช้าง เสร็จแน่ๆ อยู่ๆ ก็มาให้แกล้ง นี่แนะๆ ยังไม่พอ ตามมาอีกลูก”
“โอ๊ย อะไรหล่นใส่หัวเนี่ย ฮึ!!..เจ้าลิงนี่อีกแล้ว หยุดแกล้งซะที ถ้าให้ข้าโมโหเดี๋ยวเจ้าจะหนาว!!..” “อุย...หนาวๆ หนาวจัง ฮะๆ ฮ่าๆ ถ้าเจ้าแน่จริง ก็จับข้าให้ทันก่อนเถอะ แต่ เอ้ ข้าว่ากิ่งไม้มันคงโดนเบาไปสำหรับเจ้า เอาอันนี้เลยดีกว่า รังมดแดง ฮะฮ่าฮะๆ ของชอบของเจ้าไม่ใช่เหรอ” “ฮึย!.. รังมดแดง โอ๊ะๆ! กลัวๆ แสบๆๆ” เป็นไง ทั้งแสบทั้งคัน วิ่งหางจุกตูดไปเลย ฮ่าๆๆ เจี๊ยกๆๆๆ”
ส่วนนกแม้จะเป็นสัตว์ที่ตัวเล็กที่สุด แต่ถือดีว่าบินได้ ก็ชอบบินแล้วถ่ายรดหัวลิงบ่อยครั้ง “พบเป้าหมายๆ ปล่อยอาวุธ ฮะๆๆ โดนหัวเจ้าลิงพอดีเป๊ะ” “เจ้านกบ้ามาอึรถหัวข้าอีกแหละ” “เป็นไงละจ๊ะ หอมหวานไหม๊ สมน้ำหน้า!!..ชอบมาเขี่ยรังข้าดีนัก” “ฝากไว้ก่อนเถิด อย่าให้ข้าบินได้บ้างแล้วกัน เจี๊ยกๆๆๆ” ในบ้างครั้งนกก็ถ่ายรถหัวช้างบ้างเหมือนกัน
บางครั้งก็แอบบินไปจิกหลังช้างบ้าง เจ้าช้างก็ทำอะไรไม่ได้ คอยแต่เอางวงโยนกิ่งไม่ไล่นก ไม่เป็นอันปกติสุข “ว่ายังไงเจ้าช้าง โดนจิกพิฆาตเข้า น้ำตาไหลเลยละซิ ฮะๆ ฮ่าๆ” “โอ้ย!..รำคาญเจ้าเลิกก่อกวนซะทีได้ไหม๊” “อ้าว...ก็ทีเจ้ายังรังควาญข้าได้ ข้าก็รังควาญเจ้ากลับไปได้เหมือนกัน ชอบคันนักไม่ใช่เหรอ? ข้าจิกเอาให้หายคันเลยเอาไหม๊ล่ะ ฮะ ฮ่าๆๆ”
“เจ้านกบ้า!..จะร้องเสียงดังทำไมเนี่ย? ข้ากำลังนอนหลับฝันหวานอยู่เลย” “โอ้ย..รำคาญเมื่อไหร่ป่าจะสงบสุขซะที” “ฮ่าๆๆๆ ตื่นกันหมด” “เจี๊ยกๆๆ ให้ตายเหอะ อยู่แบบนี้ไม่มีความสุขเลย สุขภาพจิตแย่ เซ็งๆๆ เจี๊ยกๆ” นานวันเข้า สัตว์ทั้ง 3 ก็เริ่มรู้สึกเบื่อ และอยากอยู่กันอย่างสงบ “เจี๊ยกๆๆๆ เฮ้ย!..เบื่อ ข้าว่าพวกเราหยุดทะเลาะกันเถอะ”
“เซ็งใช่ม๊ะ ข้าก็เซ็งเหมือนกัน อยู่อย่างสงบก็ดี พวกเจ้าจงฟังต่อไปนี้ ข้าจะเป็นผู้นำพวกเจ้าเอง เพราะข้าตัวใหญ่กว่า พวกเจ้าจงเชื่อฟังข้า ป่าจะได้สงบสุขซะที!” “เฮ้ย!..มันจะมากไปแล้วเจ้าช้าง ข้าอายุมากกว่าเจ้า ต้องเรียกพี่ลิงเข้าใจไหม๊ พี่ลิงๆๆๆๆ ต้องเชื่อฟังพี่ เข้าใจไหม๊น้องช้าง เจี๊ยกๆๆ”
“ข้าต่างหากที่แก่กว่าเจ้า ดูต้นไทรนี่ซิ ตอนข้าเด็กๆ นะต้นไทรสูงแค่ท้องข้าเองน่ะ เวลาข้าเดินผ่านมันยัง ถูๆ ที่ท้องข้าอยู่เลย จั๊กจี้จะตาย ข้าต้องเกิดมาเจอต้นไทรนี่ก่อนเจ้าแน่ๆ”
“ผิดซะแล้ว ข้าเห็นก่อนเจ้าอีก ข้าเห็นมันมาตั้งแต่ต้นยังเล็กๆ เตี้ยกว่าท้องเจ้าด้วยซ้ำ ตอนข้าเด็กๆ นะ ข้ายังเด็ดกินยอดไทรสบายๆ ต้นไทรสูงไม่ถึงศอก ข้าเกิดก่อนเจ้าแน่ๆ เจี๊ยกๆๆ” เมื่อทราบว่าลิงเกิดก่อนช้าง เพราะรู้จักต้นไทรก่อนก็เหลือเพียงอายุของนกเท่านั้นที่ยังเป็นปริศนา
“เมื่อข้ายังเด็กนะ ตรงนี้ยังไม่มีต้นไทรหรอก มีแต่ในป่าใหญ่โน่น ข้านี่แหละที่ไปกินลูกไทรที่นั่น แล้วก็มาถ่ายไว้แถวนี้ ต้นไทรมันก็งอกมาจากอึ ที่ข้าถ่ายไว้นี่แหละ ข้าเป็นพี่พวกเจ้าแน่ๆ เรียกข้าว่าพี่ใหญ่ซิ น้องรอง น้องเล็ก” “โห้ เจ้านก อายุมากกว่าจริงๆ ด้วย งั้นเจ้าก็เป็นพี่ใหญ่ ส่วนข้าก็เป็นพี่รองนะน้องช้าง เจี๊ยกๆๆ” “ได้เลย พี่ใหญ่ พี่รอง”
เมื่อรู้ลำดับอาวุโส ทั้ง 3 ก็เลิกกลั่นแกล้ง รังแกกัน หันมาสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน “เหนื่อยไหมพี่ใหญ่พี่รอง มานั่งบนหลังข้าซิ เดี๋ยวข้าจะพาไปหาผลไม้อร่อยๆ” “เจี๊ยกๆ ดีเลยน้องช้าง พี่ปวดแขนอยู่พอดี เจ้าเดินไปทางซ้ายมือนะ เมื่อวันก่อนนะ ข้าเห็นกล้วยหวีกำลังงามๆ เลย เจ้าต้องชอบแน่ๆ” “ดีๆ พี่จะได้ไปหาหนอนแถวโน้นกินด้วยแถวนี้ ไม่ค่อยมีแล้ว ไปเลยน้องช้าง”
สัตว์ทั้ง 3 ตัว ใช้ชีวิตอย่างผาสุก เมื่อหมดอายุไขก็ไปจุติใหม่พร้อมกันทั้งหมด เมื่อตรัส ติตติรชาดก จบแล้วพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้โอวาทแก้ภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้สัตว์เดรัจฉานยังเคารพให้เกียรติกันและกัน เธอทั้งหลายมาบวชในพระธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีแล้ว เพราะเหตุใดจึงไม่เคารพกันยำเกรงกัน"
บัดนั้นทรงห้ามภิกษุผู้มีพรรษาน้อย กีดกันเสนาสนะอันใช้พักอาศัยต่อพระภิกุผู้มีพรรษามากกว่าตน ภิกษุใดละเมิดต้องอาบัติทุกกฎ
ต่อมาในสมัยพุทธกาล
ช้างได้กำเนิดเป็น พระโมคคัลลานะ
ลิง ได้กำเนิดเป็น พระสารีบุตร
นก เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า