ชาดก 500 ชาติ
กุลาวกชาดก ชาดกว่าด้วยการเสียสละ
ในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตะวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ดื่มน้ำที่ไม่ได้กรอง จึงตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ ภิกษุหนุ่มสองสหายออกเดินทางจากชนบทเพื่อไปเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุรูปหนึ่งมีเครื่องกรองน้ำซึ่งเป็นอัฐบริขาร ส่วนอีกรูปหนึ่งนั้นไม่มี ทั้งสองรูปจึงใช้เครื่องกรองน้ำดื่มร่วมกัน
“ ถ้าท่านใช้เครื่องกรองน้ำเสร็จแล้ว ขอเราใช้บ้างนะ ” “ ได้สิ เชิญท่านตามสบายเลย ” วันหนึ่งภิกษุทั้งสองรูปเกิดมีปัญหาโต้เถียงกัน ภิกษุผู้เป็นเจ้าของเครื่องกรองน้ำจึงไม่ให้ภิกษุผู้ร่วมเดินทางใช้เครื่องกรองน้ำของตน “ ดีล่ะ ต่อไปท่านไม่ต้องใช้เครื่องกรองน้ำของเราอีก ”
“ เครื่องกรองน้ำของเจ้าหน่ะ เราไม่อยากจะใช้หรอก ” เมื่อเดินทางได้สักระยะ ภิกษุผู้ไม่มีเครื่องกรองน้ำ ก็ไม่อาจอดกลั้นความกระหายได้ จึงดื่มน้ำที่ไม่ได้กรอง “ หึๆ เดินทางมาไกลชักกระหายแล้วสิ ดื่มน้ำสักหน่อยดีกว่า ” “ โอ้ย หิวน้ำจัง ไม่ไหวแล้ว คงต้องดื่มน้ำที่ไม่กรองสะแล้ว ” ภิกษุทั้งสองเดินทางมาถึงพระเชตวัน มหาวิหารแล้วจึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า
“ พวกเธอมาจากไหน ” “ พวกเรามาจากโกสนชนบท มาเพื่อเข้าเฝ้าพระองค์ พระพุทธเจ้าค่ะ ” พระศาสดาทรงตรัสถามถึงการเดินทาง ภิกษุทั้งสองจึงเล่าถึงการทะเลาะ โต้เถียงในระหว่างเดินทางและเรื่องที่ดื่มน้ำโดยไม่ใช้เครื่องกรองน้ำ “ ภิกษุรูปนี้โต้เถียงกับข้าพระองค์ในระหว่างทาง แล้วไม่ให้ยืมเครื่องกรองน้ำพระเจ้าค่ะ ” “ ภิกษุรูปนี้รู้อยู่ว่าดื่มน้ำที่มีตัวสัตว์ ก็ยังดื่ม ”
“ ดูก่อนภิกษุ เธอดื่มน้ำมีตัวสัตว์จริงหรือ ” “ พระเจ้าค่ะ ข้าพระองค์กระหายน้ำ จนต้องดื่มน้ำที่ไม่ได้กรอง ” “ ดูก่อนภิกษุ แม้บัณฑิตในกาลก่อน ซึ่งครองราชย์สมบัติในเทพนคร ยังยอมตาย ยอมที่จะพ่ายแพ้ในการรบ แต่จะไม่ยอมทำลายชีวิตสัตว์อื่น เพื่อความเป็นใหญ่ของตนเลย ” พระพุทธองค์ทรงติเตียนภิกษุรูปนั้น แล้วทรงนำอดีต นิทานมาแสดง
ในอดีตกาล พระเจ้ามคตราชพระองค์หนึ่ง ครองราชอยู่ที่เมืองราชคฤในแคว้นมคธ ณ หมู่บ้านมจลคามแห่งแคว้นมคธนั้นเอง พระโพธิสัตย์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ มีนามว่า มฆะ ครั้นเจริญเติบโตในวัยอันควรแล้ว บิดามารดาจึงให้แต่งงานกับหญิงที่มีชาติตระกูลเสมอกัน อยู่กินกันด้วยความสุข มีทรัพย์สมบัติและบุตรธิดามากมาย
มฆมานพได้เป็นผู้นำครอบครัวให้ทำบุญทำทานและรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เพื่อความผาสุกแห่งครอบครัว ในหมู่บ้านแห่งนั้นมีชาวบ้านอาศัยอยู่สามสิบตระกูล วันหนึ่งในขณะที่มฆมานพเดินเล่นในหมู่บ้าน เห็นสถานที่แห่งหนึ่งแล้วพอใจ จึงจัดการเก็บกวาดทำ จนกระทั่งเป็นสถานที่น่ารื่นรม น่าพักผ่อนหย่อนใจ
“ ที่นี่ช่างสงบร่มเย็นเหมาะแก่การพักผ่อนจริงๆ ดีล่ะ เราจะปัดกวาดที่นี่ให้น่าอยู่ ” วันรุ่งขึ้นมฆมานพตั้งใจจะมาพักผ่อน ณ ที่ ซึ่งตนเองได้เก็บกวาดไว้นั้น ก็ปรากฏว่ามีผู้อื่นมาพักใช้เป็นที่พักเสียแล้ว มฆมานพจึงจัดหาสถานที่ใหม่ กระทำให้เป็นที่พักอันน่ารื่นรมย์อีก “ อ้าว มีคนมาพักที่นี่สะแล้ว เฮ้ยช่างเถอะ เราหาที่ใหม่ก็ได้ ”
ครั้นพอวันรุ่งขึ้นก็มีผู้มาใช้ประโยชน์ที่แห่งใหม่ซึ่งมฆมานพจัดหาไว้อีก เป็นอยู่อย่างนี้ทุกวัน กระทั่งมฆมานพได้สร้างสถานอันน่ารื่นรมไว้ถึงสามสิบแห่งให้แก่ตระกูลต่างๆ ในหมู่บ้านนั้นทั้งหมด “ เราเก็บกวาดสถานที่เหล่านี้ ถึงสามสิบแห่งแล้วสินะ ดีจริงต่อไปทุกครอบครัวในหมู่บ้านเรา ก็จะมีที่ให้พักผ่อนกันแล้ว ”
ต่อมามฆมานพได้สร้างศาลาไว้ในที่เหล่านั้น พร้อมทั้งตั้งตุ่มน้ำดื่มไว้ กระทำศรัทธาให้เกิดขึ้นแก่ทั้งสามสิบตระกูล ต่างพากันช่วยถางทาง สร้างถนน สร้างสะพาน ขุดสระ สร้างศาลา ให้ทาน และรักษาศีล 5 ตามมฆมานพ การที่ชาวบ้านรักษาศีล 5 ตามมฆมานพนั้น ได้สร้างความไม่พอใจให้กับหัวหน้าหมู่บ้านเป็นอย่างมาก
เนื่องจากการละเว้นการฆ่าสัตว์และละเว้นการดื่มสุรานั้น ทำให้ตนเองเสียรายได้ “ หนอย พวกชาวบ้านไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ดื่มเหล้า แบบนี้ทำให้เราขาดรายได้ คอยดูเถอะข้าต้องหาทางกลั่นแกล้งพวกมันให้ได้ ” คิดได้ดังนั้นแล้วหัวหน้าหมู่บ้านจึงเดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้ามคตราช และกราบทูลเสด็จว่า มีพวกโจรเที่ยวเข่นฆ่าชาวบ้าน
พระราชาเมื่อได้ทรงเสดับฟังคำของหัวหน้าหมู่บ้านแล้ว จึงรับสั่งว่าให้นำคนเหล่านั้นมา “ เจ้าจงนำทหารไปจับโจรชั่วเหล่านั้นมาให้เรา ” “ พระเจ้าข้า ” พระราชาทรงหลงเชื่อ คำพูดของหัวหน้าหมู่บ้านไม่ทันได้ไต่สวนความก็รับสั่งให้ประหารด้วยการนำช้างมาเหยียบให้ตาย เมื่อราชบุรุษให้ชาวบ้านนอนลงที่พระลานหลวงก็ไสช้างเข้ามา “ พวกเจ้าทุกคน นอนลงที่นี่ล่ะ อย่าได้คิดหนีเชียว ”
“ พวกเราไม่ได้ทำอะไรผิด จับเรามาทำไม ” “ นั่นสิ พวกเราไม่ใช่โจรนะ ปล่อยพวกเราไปเถอะ ” แม้ชาวบ้านจะพยายามอธิบายและร้องขอชีวิตต่อพระราชาแต่ก็ไม่เป็นผล ราชบุรุษได้ไสช้างเข้าไปยังชาวบ้านที่นอนอยู่หมายจะเอาชีวิต ระหว่างนั้นมฆมานพได้ปลอบใจชาวบ้านและเตือนสติให้ระลึกถึงศีล
“ ฟังเราก่อน ท่านทั้งหลายจงระลึกศีล จงเจริญเมตตาให้คนที่ยุแหย่พระราชารวมทั้งช้างตัวนั้นด้วย ” “ ทำแบบนั้นแล้วจะได้อะไร นี่ช้างมันจะมาเหยียบพวกเราอยู่แล้ว คราวนี้มีหวังแบนเป็นกล้วยทับแน่ๆ ” “ ข้าว่าเราลองดูก็ไม่เสียหายนะ ไหนๆ ก็ต้องตายแล้ว ทำตามที่มานพบอกเถอะ ”
ชาวบ้านทั้งหมดทำตามที่มฆมานพบอก เมื่อราชบุรุษนำช้างเข้าไปเพื่อให้เหยียบชาวบ้าน ช้างนั้นก็ไม่ยอมเข้าไป ร้องเสียงลั่นแล้วหนีไป แม้จะนำช้างเชือกอื่นมาก็เป็นเช่นเดียวกัน เหตุการณ์นี้สร้างความแปลกใจแก่พระราชายิ่งนัก
ทรงคิดว่าชาวบ้านมียาที่ทำให้ช้างไม่กล้าเข้าไปใกล้ จึงรับสั่งให้ราชบุรุษค้นตัวชาวบ้าน “ ทำไมช้างพวกนี้ ถึงไม่ยอมเข้าไปนะ ราชบุรุษจงค้นดูว่าโจรพวกนี้ มียาอะไรในมือรึเปล่า ” “ พวกเจ้าซ่อนยาอะไรไว้เอาออกมาสะดีๆ ” “ ยาอะไรพวกเราไม่มีหรอกค้นยังก็ไม่เจอ ”
พวกราชบุรุษตรวจค้นดูแล้วก็ไม่พบอะไร พระราชาทรงสงสัยว่าชาวบ้านจะมีเวทมนต์ทำให้ช้างกลัว จึงสั่งให้เรียกมฆมานพมาสอบถาม “ พวกเจ้ามีมนต์อะไรกันจงบอกเรามา ” “ ข้าพระองค์ ไม่ได้มีมนต์หรอกพระเจ้าค่ะ แต่พวกเราไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวคำเท็จ ไม่ดื่มน้ำเมา เจริญเมตตา ให้ทาน นี่เป็นมนต์เป็นเครื่องป้องกันของข้าพระองค์ทั้งหลายพระเจ้าค่ะ ”
พระราชาได้ฟังดังนั้นก็เกิดความเลื่อมใส ทรงยกสมบัติในเรือนทั้งหมดของหัวหน้าหมู่บ้าน และให้หัวหน้าหมู่บ้านเป็นทาสของชาวบ้านเหล่านั้น พร้อมทั้งมอบช้างและบ้านเรือนแก่ชาวบ้าน
“พวกท่านดำรงอยู่ในศีลแบบนี้ ไม่มีทางเป็นโจรร้ายแน่ๆ เจ้าหัวหน้าหมู่บ้านบังอาจมาหลอกเรา ดีละต่อไปเราจะให้เจ้าเป็นทาสรับใช้คนพวกนี้ แล้วก็เอาสมบัติของเจ้าทั้งหมดมาแบ่งให้กับชาวบ้าน ” “ ความซวยมาเยือนแล้วสิเรา เสียทรัพย์สมบัติแล้ว ยังต้องไปเป็นทาสเจ้าพวกนี้อีก ”
มฆมานพได้ปฏิบัติวัตรบท 7 คือ เลี้ยงดูบิดามารดา เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล พูดจาสุภาพนิ่มนวล ไม่กล่าวคำส่อเสียด ปราศจากความตระหนี่ กล่าวแต่คำสัตย์ เป็นผู้ไม่โกรธ เมื่อสิ้นอายุขัยจึงได้ไปบังเกิดเป็นท้าวสักกะบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
แม้พวกสหายของมฆมานพก็ได้ไปเกิดเป็นเทวดาเช่นกัน ครั้งหนึ่งท้าวสักกะได้ทำการรบกับพวกอสูร โดยมีมาตลีเทพบุตรเป็นสารถี แต่พลาดท่าเสียทีแก่พวกอสูร จึงต้องแล่นรถหนีเพื่อกลับเข้าสู่เทพนคร “ พวกอสูรมีเยอะเหลือเกิน เราถอยก่อนเถิดพระเจ้าค่ะ ” “ ดีเหมือนกัน เรากลับไปตั้งหลักที่เทพนครก่อนดีกว่า ”
ขณะที่พ่ายแพ้หนีกลับมายังเทพนครนั่นเอง มาตลีเทพบุตรได้ขับรถผ่านป่างิ้ว ระหว่างทางรถของท้าวสักกะได้ทำลายต้นงิ้วซึ่งเป็นที่อยู่ของลูกครุฑจำนวนมาก พวกลูกนกครุฑที่พลัดตกลงมาก็พากันร้องเสียงขรม
“ มาตลี เจ้าได้ยินเสียงอะไรหรือเปล่า เสียงร้องน่าสงสารยิ่งนัก ” “ นั่นเป็นเสียงของลูกนกครุฑที่ตกลงมาจากต้นงิ้วพระเจ้าค่ะ ” “ลูกนกครุฑเหล่านี้ต้องลำบากเพราะเรา เราจะไม่อาศัยความเป็นใหญ่แล้วกระทำกรรม เพื่อประโยชน์แกลูกนกครุฑเหล่านี้ เราจักสละชีวิตให้แก่พวกอสูร ท่านจงกลับรถเถิด ”
ท้าวสักกะไม่ต้องการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จึงทรงสั่งให้พระมาตลีสารถีกลับรถไปยังทางเดิมหมายจะสละชีวิต ฝ่ายพวกอสูรเมื่อเห็นท้าวสักกะย้อนกลับมา ก็คิดว่าก็คงมีกำลังเสริมมาช่วย จึงพากันหนีเข้าไปยังภพอสูรตามเดิม “ นั่นๆ ท้าวสักกะกลับมาอีกแล้ว ฮ่าๆ ช่างไม่กลัวตายจริงๆ ”
“ ข้าว่า ท้าวสักกะคงมีกำลังเสริมมาช่วยแน่ ไม่งั้นจะกล้าย้อนกลับมารึ ” “ จริงด้วยสิ แล้วเราจะทำยังไงกันดี อ้าวเฮ้ย หายไปไหนกันหมด ” เมื่อพวกอสูร หนีกลับไปยังภพอสูรแล้ว ท้าวสักกะจึงทรงเป็นผู้ชนะศึกในครั้งนั้น
พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนาแล้ว ตรัสกับภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลายในกาลก่อนครองราชย์สมบัติในเทวโลก ถึงจะสละชีวิตของตนก็ไม่กระทำ ปานาติบาตรด้วยประการดังนี้ เธอชื่อว่าบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เห็นปานนี้เหตุใดจักดื่มน้ำมีตัวสัตว์มิได้กรองเล่า
พระศาสดาทรงติเตียนภิกษุนั้น แล้วทรงประชุมชาดกว่า
มาตลี สารถีในครั้งนั้น กำเนิดเป็น พระอานนท์
ส่วนท้าวสักกะในครั้งนั้น เสวยพระชาติเป็นเราตะถาคตชะนี้แล