ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

 ชาดก 500 ชาติ
โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด



   ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     ในสมัยพุทธกาลเมื่อครั้งที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพระโกกาลิกะ ได้ตรัสพระธรรมเทศนาดังนี้ ในพรรษาหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองปลีกตัวออกจากหมู่สาวกทั้งหลาย เดินทางไปถึงโกกาลิกรัฐ

 
 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     พำนักอยู่ในวัดพระโกกาลิกะ และสั่งไม่ให้บอกแก่ใครว่าท่านทั้งสองเป็นใคร โดยจะทำการสอนพระธรรมเพื่อตอบแทน “ เธอจงอย่าบอกเรื่องของเราแก่ใคร ” “ ข้ารับรองว่าจะไม่บอกใครแน่นอน ” “ ดีแล้ว เราจะสอนธรรมะของพระศาสดาให้แก่เธอ ” “ ถ้าเช่นนั้น ก็เชิญท่านอยู่ตามสบายเถิด ” พระโกกาลิกะได้ถวายอาสนะอันสมควรแก่อัครสาวกทั้งสองแล้ว ก็ไม่ได้บอกเรื่องนี้แก่ใคร ทำตามที่รับปากไว้ พระอัครสาวกจำพรรษาอยู่ 3 เดือน เมื่อปวารนาแล้ว จึงลากลับไปยังพระเชตวัน

 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

 
     “ เรามาจำพรรษาอยู่ที่นี่ 3 เดือนแล้ว ได้เวลาต้องลากลับแล้ว ” “ ขอบใจท่านมาก ที่ต้อนรับเราเป็นอย่างดี ” พระอัครสาวกทั้งสอง บอกลาพระโกกาลิกะ แล้วก็เที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านใกล้ ๆ  เมื่อกระทำภัตกิจเสร็จแล้วก็พากันออกจากหมู่บ้าน

 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

      ฝ่ายพระโกกาลิกะ เมื่อพระอัครสาวกจากไปแล้ว ก็ทนเก็บความลับไม่ไหว จึงตำหนิชาวบ้าน ที่ไม่รู้ว่าภิกษุทั้งสองนั้น คือพระอัครสาวก “ พวกเจ้าทั้งหลาย มีตาหามีแววไม่ ” “ ทำไม่ อยู่ดี ๆ มาว่าพวกเราเช่นนี้หละ ” “ พูดแบบนี้หมายความว่าไง ”

 
 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     “ ก็ภิกษุสองรูปนั่นไงล่ะ คือพระอัครสาวกที่มาจำพรรษาที่นี่ ” “ จริงรึ ถึงว่าท่าทางท่านทั้งสองไม่ธรรมดาเลย ” “ แล้วทำไม่ ท่านเพิ่งมาบอกพวกเราล่ะ ” “ พวกเรา รีบตามท่านไปดีกว่า ” ชาวบ้านเมื่อทราบเรื่องจึงรีบตามพระอัครสาวก

 
 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

      โดยถือเอาเนยใสและน้ำมัน รวมทั้งผ้าเป็นอันมากเพื่อถวายแก่พระอัครสาวกทั้งสอง พระโกกาลิกะนั้นก็ตามไปด้วย เพราะคิดว่าพระอัครสาวกคงไม่รับสิ่งของเหล่านั้นและคงให้ชาวบ้านมอบให้ตนแทน “ พระคุณเจ้า พวกเรามีตาแต่หามีแววไม่ โปรดให้อภัยพวกเราด้วยเถิด ”  “ สิ่งของเหล่านี้พวกเรานำมาถวาย โปรดรับเอาไว้เถิด ” (...“ เฮอะ เฮอะ เฮอะ ของพวกนี้ต้องเป็นของเราแน่ ๆ เยอะแยะไปหมดเลย ”…พระโกกาลิกะคิดในใจ) “ เราไม่โทษพวกเจ้าหรอก เพราะเราเป็นคนบอกให้เก็บเรื่องนี้เป็นความลับเอง ”
      
     
 “ พวกเจ้าทั้งหลาย จงเอาสิ่งของเหล่านี้กลับไปเถิด เราไม่ปรารถนาจะรับสิ่งของใด ๆ ” พระอัครสาวกทั้งสองไม่รับสิ่งของที่ชาวบ้านนำมาถวายดั่งที่พระโกกาลิกะคิดไว้แต่ก็มิได้สั่งให้ถวายแด่ใคร เมื่อพระอัครสาวกทั้งสองจากไปแล้ว ชาวบ้านจึงนำสิ่งของเหล่านั้นกลับไปด้วย สร้างความไม่พอใจให้แก่พระโกกาลิกะเป็นอันมาก “ หนอย อดเลยเรา มาอาศัยเราอยู่ตั้ง 3 เดือน ไม่คิดจะตอบแทนกันบ้างเลยตัวเองไม่รับก็ไม่ยอมบอกให้เรา ”

 
 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

       ต่อมาพระอัครสาวกได้มีโอกาสมาหมู่บ้านแห่งนั้นพร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป พระโกกาลิกะก็ให้การต้อนรับเหมือนเช่นเคย “ เชิญพวกท่านพักกันตามสบายเถิด ” “ ขอบใจท่านมากพรุ่งนี้เราจะพาภิกษุทั้งหลายไปเยี่ยมเยียนชาวบ้าน ”
 

     “ เชิญท่านไปด้วยกันกับเราสิ ” “ แน่นอนอยู่แล้ว คราวนี้ชาวบ้านจะได้ถวายของให้เราบ้าง ” พระอัครสาวกและพระโกกาลิกะพร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ติดตามไปเยี่ยมชาวบ้านในหมู่บ้าน พวกอุบาสกเหล่านั้นพากันต้อนรับด้วยเภสัชและเครื่องนุ่งห่ม

 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     แต่ก็ไม่ได้ถวายแก่พระโกกาลิกะอีก จึงทำให้ท่านถึงกับทนไม่ไหว ด่าตัดพ้อพระเถระทันที “ พวกท่านนี่ เป็นตัวขัดลาภข้าจริง ๆ ทำไมชาวบ้านถวายสิ่งของแก่พวกท่านกลับไม่ถวายเจ้าอาวาสอย่างข้า ” “ ใจเย็นสิท่าน เรื่องนี้ตามแต่ศรัทธาของชาวบ้าน พระอัครสาวกไม่เกี่ยวด้วยสักหน่อย ” “ ข้าไม่สนหรอก ครั้งก่อนข้าก็ไม่ได้อะไร คราวนี้ข้าก็ไม่ได้อีก เพราะพวกท่านนั่นแหละ ” พระอัครสาวกกลัวว่าพระโกกาลิกะจะบาปมากไปกว่านี้ จึงรีบพาบริวารจากไปทันที

 
 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     เมื่อชาวบ้านทราบเรื่องว่าเจ้าอาวาสเป็นต้นเหตุให้พระอัครสาวกจากไป จึงสั่งให้ท่านไปนิมนต์พระอัครสาวกกลับมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะไล่ไม่ให้ท่านอยู่วัดนี้อีกต่อไป “ ท่านทำให้พระอัครสาวกจากไป ” “ ใช่ ๆ ไม่อย่างนั้น พวกเราจะไม่ให้ท่านอยู่วัดนี้อีกต่อไป ” “ ได้ ๆ พวกเจ้าใจเย็น ๆ สิ เดี๋ยวข้าไปตามพวกท่านเอง ”

       พระโกกาลิกะรีบตามขบวนพระอัครสาวกไป แต่ก็ไม่ทันไม่สามารถพาพระอัครสาวกกลับมาได้ จึงถูกชาวบ้านไล่ออกจากวัด สร้างความเจ็บแค้นให้ท่านอย่างมาก “ พวกเราไม่ต้องการให้ท่านอยู่ในวัดนี้อีกแล้ว จงไปเสียเถอะ ” “ พวกเราไม่เคารพศรัทธาท่านอีกแล้ว ไปสะดี ๆ อย่าให้พวกเราต้องใช้กำลัง ” “ วัดบ้านนอกชาวบ้านหน้าโง่ แบบนี้ข้าไม่อยู่ก็ได้ ”

 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

      พระโกกาลิกะโกรธแค้นพระอัครสาวกเป็นอย่างมาก เมื่อถูกชาวบ้านขับไล่ออกจากวัด จึงเดินทางไปเข้าเฝ้าพระศาสดา แล้วตำหนิพระอัครสาวกให้พระพุทธองค์ฟัง “ พระอัครสาวก เลือกที่รักมักที่ชัง รับของที่ชาวบ้านถวาย แต่ไม่ยอมแบ่งให้ข้าเลยพระเจ้าข้า ”

     " โกกาลิกะเธออย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย จงยังจิตให้เลื่อมใสในสารีบุตรและโมคคัลลานะเถิด ” “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์มัวเชื่อพระอัครสาวกของพระองค์ แท้จริงแล้วพวกนี้ล้วนทุศีลทั้งนั้น ” พระศาสดาทรงตรังห้ามถึง 3 ครั้ง

 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     พระโกกาลิกะก็คงกล่าวอยู่อย่างนั้น พระองค์จึงลุกจากอาสนะหลีกไปเสีย ทันใดนั้นทั่วร่างพระโกกาลิกะก็เกิดตุ่มประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ค่อย ๆ โตเท่าผลมะตูมสุก แล้วแตกออกมีน้ำเหลืองและเลือดไหลโทรมกาย ด้วยผลกรรมจากการให้ร้ายพระอัครสาวก

      “ โอ้ย ๆ ๆ ๆ นี่มันอะไรกันนี่ ทำไมอยู่ดี ๆ มีตุ่มขึ้นตามตัวของข้า อู้ย ๆ มันโตจนแตกแล้ว ปวดเหลือเกิน ” พระโกกาลิกะปวดแสบไปทั้งตัว จนทนไม่ไหว ต้องนอนอยู่ณ ซุ้มประตูพระเชตวัน เวลานั้นตุทีพรหมพระอุปัชฌาย์ของพระโกกาลิกะทราบเรื่อง

 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

      จึงเดินทางมาจากพรหมโลกเพื่อเตือนสติศิษย์ของตน แต่พระโกกาลิกะกลับไม่ฟัง ซ้ำยังด่าว่าตุทีพรหมอีกด้วย “ โกกาลิกะเจ้าทำกรรมหยาบคายนัก จงกลับใจเสียเถิด ” “ ท่านนั้นแหละ พระศาสดาบอกข้าว่า ท่านเป็นพระอนาคามีแล้วมิใช่รึ ทำไมถึงยังมายุ่งในเรื่องในโลกมนุษย์อีกกลับพรหมโลกของท่านไปเถิด ” เมื่อไม่สามารถสั่งสอนศิษย์ได้ ตุทีพรหมจึงกลับไปยังพรหมโลก ฝ่ายภิกษุโกกาลิกะก็ตาย แล้วไปเกิดในปทุมนรก ท้าวสหัมบดีพรหมจงนำความนี้กราบทูลแด่พระตถาคต พระศาสดาตรัสเล่าแก่เหล่าสาวก

       พวกภิกษุก็พากันสนทนาในโรงธรรมสภาว่าถึงเรื่องนี้ “ นี่ นี่ นี่ พวกท่านรู้เรื่องที่พระโกกาลิกะ ด่าพระอัครสาวกหรือเปล่า ” “ รู้สิ กรรมแท้ ๆ ต้องลงนรกเพราะปากแท้ ๆ ” “ ดูกรภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่โกกาลิกะถูกถ้อยคำกำจัดเสีย เสวยทุกข์เพราะปากของตน แม้ในกาลก่อนก็เสวยทุกข์เพราะปากของตนมาแล้วเหมือนกัน ” พระศาสดาตรัสแก่เหล่าสาวกแล้ว จึงนำอดีตนิทานมาเล่าดังต่อไปนี้

 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี มีอำมาตย์คู่ใจคนหนึ่ง พระองค์ทรงเป็นผู้มีพระดำรัสมาก อำมาตย์จึงคิดหาวิธีให้พระราชาตรัสให้น้อยลง วันหนึ่งพระราชาเสด็จไปยังพระราชอุทยาน แล้วประทับนั่งบนแผ่นหินใต้ต้นมะม่วง “ ที่นี่ช่างสงบร่มเย็นดีนะท่านอำมาตย์ ” “ พระเจ้าข้า ”

 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

    ณ ต้นมะม่วงนั้นเอง มีแม่นกดุเหว่าวางไข่ของตนไว้ในรังการังหนึ่งแล้วไปเสีย นางกาก็ประคบประหงมฟองไข่นกดุเหว่านั้น นางกาสำคัญว่าไข่นั้นเป็นของตน จึงกกไข่นั้นจนฝักเป็นตัว แล้วเฝ้าเลี้ยงดูลูกนกเป็นอย่างดี ทุกวันนางกาจะต้องคาบอาหารมาให้ลูกนกนั้น

       “ กินเยอะ ๆ นะจ๊ะ ลูกแม่ เจ้าจะได้โตไวไว ” ลูกนกดุเหว่านั้นขนปีกยังไม่งอก ก็ส่งเสียงร้องเป็นเสียงดุเหว่า ในเวลาอันไม่ควร เมื่อนางกาได้ยินเสียงร้อง ก็รู้ว่าไม่ใช่ลูกของตน ก็โกรธแค้นจึงตีลูกนกนั้น ด้วยจะงอยปากให้ตายตกไปจากรัง “ เอ้ ทำไม่ลูกเราร้องเสียงแปลก ๆ นี่หนอย นี่มันลูกนกดุเหว่านี่น่า หลอกเราได้ หึ ตายสะเถอะ นี่แน่ะ ๆ ๆ ”
 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     เมื่อนางกาจิกตีลูกนกดุเหว่าจนตายแล้ว ก็เขี่ยซากลูกนกตกลงมาใกล้พระบาทของพระราชา พระราชาเห็นเหตุการณ์นั้น จึงมีรับสั่งถามอำมาตย์ ถึงที่มาของเรื่องนี้ “ ท่านอำมาตย์ นี่มันเรื่องอะไรกัน ” อำมาตย์คิดว่า จะใช้เรื่องนกดุเหว่านี้ เป็นเครื่องเตือนสติพระราชาให้ตรัสน้อยลง
 

 ชาดก 500 ชาติ โกกาลิกชาดก-ชาดกว่าด้วยพูดในกาลที่ควรพูด

     “ ข้าแต่มหาราช ขึ้นชื่อว่าคนปากกล้า พูดมากในกาลไม่ควรพูด ย่อมได้ทุกข์เข็ญปานนี้ ลูกนกดุเหว่านี้ เจริญเติบโตได้เพราะนางกา ปีกยังไม่ทันแข็ง ก็ร้องเป็นเสียงดุเหว่าในเวลาไม่ควรร้อง เมื่อนางการู้ว่าลูกนกดุเหว่านั้นไม่ใช่ลูกตน จึงตีด้วยจะงอยปากให้ตายตกลงมาจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์เดรัจฉานก็ตาม พูดมากในกาลไม่ควรพูด ย่อมได้ทุกข์เข็ญปานนี้ ” “ ที่ท่านพูดมานั้น เราเข้าใจแล้ว ขอบใจท่านมาก ”

     พระราชาทรงสดับคำของอำมาตย์แล้ว ตั้งแต่นั้นมาก็ได้มีพระดำรัสพอประมาณ และทรงปูนบำเหน็จยศพระราชทานแก่อำมาตย์นั้นให้ใหญ่โตกว่าเดิม พระศาสดาครั้นทรงนำพระเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า

 
ลูกนกดุเหว่าในกาลนั้น ได้มาเป็นพระโกกาลิกะ
ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล