ชาดก 500 ชาติ
นันทิวิสาลชาดก-ชาดกว่าด้วยการใช้วาจาไพเราะ
ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลได้มีภิกษุ ๖ รูป เรียกว่าพระฉัพพัคคีย์เป็นผู้ไม่ตั้งใจประพฤติธรรม มักก่อเรื่องทะเลาะวิวาทอยู่เสมอ เป็นที่อิจหนาระอาใจแก่ภิกษุสงฆ์รูปอื่น ๆ “ เฮ้ย นี่แน่ะ กล้าดียังไงมามองหน้าข้า เณรอวดดีอย่างนี้ มันต้องชิมหมัดขวาสะหน่อย เฮ้ย ”
“ โอ้ย เราไม่ได้มองหน้าท่านจริง ๆ นะ ” “ ไปบิณฑบาตเสร็จห้ามฉันอาหารนะ เข้าไปทำความสะอาดกุฎีให้ข้าก่อน เข้าใจไหม ” “ ใจร้าย เราก็ต้องปฏิบัติสมณกิจของสงฆ์เหมือนกันนะ ”
เมื่อความปรากฎถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงตรัสเรียกพระฉัพพัคคีย์มาตักเตือนให้พระพุทธโอวาท “ องค์พระศาสดาทรงทราบเรื่องนี้ได้อย่างไรกันนะ ” “ ต้องเป็นพวกที่โดนเราเล่นงานตอนเช้ามาฟ้องแน่ ๆ เลย ” “ ดูกรเถิดภิกษุสงฆ์ผู้กล่าววาจาหยาบคาย ย่อมนำความวิบัติมาให้ตนเอง เพราะเขาย่อมไม่เป็นที่พอใจของใคร แม้แต่สัตว์เดรัจฉานเองก็ตาม ”
แล้วพระองค์ก็ทรงระลึกชาติด้วยบุพเพนิวาสานุสติญาณ ตรัสเล่านันทิวิสาลชาดกขึ้นเป็นอุทาหรณ์ ยุคสมัยเมื่อพระเจ้าคันธาระครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองตักศิลานั้น ยังมีพราหมณ์ผู้หนึ่งเลี้ยงลูกโคไว้อย่างทะนุถนอมดุจเลี้ยงบุตรของตนเอง
“ โอ๋ โอ๋ โอ๋ ช่างน่ารัก น่าเอ็นดูจริง ๆ เลย นันทิวาสาลลูกพ่อ โตวันโตคืนนะลูกนะ ” จากโคเล็กเด็กน้อยนานปีขึ้นก็กลายเป็นโคหนุ่ม กำยำด้วยกล้ามเนื้อกีบเท้าและข้อเท้าทีแข็งแรง “ อ้าว ๆ นันทิวิสาล รอพ่อก่อนสิลูกเอ้ย โอ้ย วิ่งตามไม่ทันแล้วนี่ ”
“ พ่อพักอยู่ตรงนั้นเถิด คราดพื้นนาแค่ ๔-๕ ไร่แค่นี้สบายมาก ลูกทำเองได้จ้า ” “ เออ เออ เออ เอาอย่างนั้นก็ได้ลูก ขอบใจเจ้ามาก เดี๋ยวพ่อไปรับค่าจ้างก่อนแล้วกัน แล้วจะหาหญ้าสด ๆ งาม ๆ มาให้เจ้ากินนะลูกรัก ” พราหมณ์ชราอยู่ตัวคนเดียวแถมยังยากจนข้นแค้น ตาเฒ่ามีเพียงโคหนุ่มเท่านั้นที่คอยอยู่เคียงข้าง เขาทั้งสองสามารถรู้จิตใจและสื่อถึงกันได้ด้วยภาษาที่เข้าใจกันดี “ โธ่พ่อจ๋า พ่อทนอุตส่าห์เลี้ยงฉันโตมาขนาดนี้ คงเหน็ดเหนื่อยมากสินะ ฉันอยากตอบแทนบุญคุณพ่อจ๊ะ ”
“ เออ เออ เออ ไม่เป็นไรหรอกลูกแค่เจ้าช่วยคราดพื้นนากับรับจ้างลากเกวียนบ้าง ก็ถือว่าตอบแทนบุญพ่อแล้วละ ” “ ฉันอยากช่วยพ่อหาเงินได้มาก ๆ พ่อจะได้สบาย ” “ ลูกเอ้ยเจ้าก็ช่วยงานสารพัดอยู่แล้วนี่ คิดจะทำอะไรให้พ่ออีกละเนี่ย ” “ ฉันคิดว่าฉันแข็งแรงพอ ที่พ่อจะไปท้าพนันลากเกวียนกับใคร ๆ ได้แล้วละ ” “ เจ้านี่คิดจะให้พ่อรวยทางลัดเสียแล้วนะเนี่ย เอ้า ๆ ไหนลองว่ามาสิ ว่าจะทำยังไง ” “ ฉันอยากให้พ่อไปท้าเศรษฐีแห่งตักศิลาของเราให้ฉันลากเกวียนจำนวน ๑๐๐ เล่มของเขา เดิมพันกันสัก หนึ่งพันกหาปณะ” “ โอ้ย ตั้ง ๑๐๐ เล่มเกวียนเลยเหรอลูก แล้วเจ้าจะไหวเหรอลูก มันนักนะเนี่ย ” “ ไหวสิจ๊ะพ่อ ให้เขาบรรทุกสิ่งของไว้เต็ม ๆ ทุกเล่มด้วยเลย บอกเขาด้วยนะพ่อ ว่าพ่อมีโคที่แข็งแรงที่สุดในตักศิลารับรองเขาสู้แน่ เพราะคนรวย ๆ อย่างเขาไม่ยอมให้ใครเหนือกว่าหรอกจ๊ะ ” “ โอ้ ฉลาดหลักแหลมจริง ๆ ลูกพ่อ ”
เช้ารุ่งขึ้นพราหมณ์เฒ่าก็นำโคทิวิสาลไปหาเศรษฐีเพื่อท้าพนัน “ เฮ้ย โคอะไรจะวิเศษขนาดนั้น ฉันไม่เชื่อหรอกว่าจะมีโคตัวไหนสามารถลากเกวียนใส่ของได้ตั้ง ๑๐๐ เล่มเกวียน แกขี้โม้หรือเปล่าตาเฒ่า ” “ ข้าไม่ได้โม้จ๊ะ ท่านเศรษฐี โคข้านี่สามารถทำได้จริง ๆ ไม่งั้นข้าจะกล้ามาพนันกับท่านเศรษฐีรึ ” “ ถ้าแกมั่นใจอย่างนั้น ข้าจะรับพนันก็ได้ แต่ว่าแกมีเงินวางเดิมพันเท่าไหร่ว่ามา ” “ เงินที่ข้าเก็บสะสมไว้ทั้งหมด ๑๐๐๐ กหาปณะเนี่ย ข้ามั่นใจว่าไม่มีโคตัวไหนแข็งแรงและก็เชื่อฟังได้ดีกว่าลูกข้าแน่ ๆ ท่านเศรษฐีอยากเข้าไปดูโคข้าใกล้ ๆ ไหมล่ะ ”
“ ดูสิ ข้าก็อยากเห็นเหมือนกัน ไหนละโคของเจ้า ” “ นี่ไงท่านเศรษฐี โคนันทิวิสาลลูกของข้า หูยาวเรียวดุจปลายใบโพธิ์ เขาโง้งงอนเหมือนตรีนารายณ์คอและเขาแกร่งดุจท่อนซุงเสาเรือน ” “ อือ ๆ ดูแข็งแรงก็จริง แต่ข้าไม่เชื่ออยู่ดีแหละ ว่ามันจะลากเกวียนได้ตั้ง ๑๐๐ เล่มได้ ” “ ฮ่า ฮ่า ฮ่า นันทิวิสาลลูกข้าทำได้อยู่แล้ว ” “ อีก 3 วัน เจ้านำโคนันทิวิสาลไปที่ลานกลางเมืองได้เลย ข้าจะรออยู่ที่นั่น ขอให้แข็งแรงสมกับคำคุยโม้ของเจ้าเถอะ ไม่อย่างนั้น ๑๐๐๐ กหาปณะ โดนข้ากินดิบแน่ ๆ ฮะ ฮ่า ฮ่า ”
เมื่อนัดหมายกันดีแล้วพราหมณ์ก็นำโคตัวเก่งกลับบ้าน ตาเฒ่าใช้เวลาที่เหลือ ๓ วัน รวบรวมเงินเก็บและยืมญาติมิตรมาสมทบจนได้ครบจำนวน ๑๐๐๐ กหาปณะ “ ในที่สุดก็ได้ครบ นันทิสาลมันจะทำได้จริงหรือเปล่านะ พรุ่งนี้คงจะได้รู้กัน ”
ถึงแม้จะมั่นใจในความกตัญญูและกำลังของนันทิวิสาลสักเพียงใด แต่ด้วยฐานะยากจน พราหมณ์ก็จึงอดคิดมากไม่ได้ “ เฮ้อ ถ้าแพ้เขาขึ้นมาละก็ไม่ต้องหมดตัวเลยหรือเรา การพนันนี่ไม่ดีจริง ๆ เลย ยังไม่ทันเริ่มก็กลุ้มใจสะแล้ว ”
และแล้วเช้าวันประลองก็มาถึง โคหนุ่มก็ปลุกตาเฒ่าให้พาเข้าเมืองมายังลานแข่งขัน ชาวบ้านเมื่อรู้ข่าวก็มามุงดูการพนันนี้มากมาย “ มาแล้ว ๆ โอ้โหโคตัวนี้ไงพวกเราที่มันจะมาลากเกวียนเป็น ๑๐๐ เล่ม ” “ ฮะ ฮ่า ฮ่า อะไรจะมีพลังมากขนาดนั้น ตาพราหมณ์เอ้ย เอาเงินมาทิ้งแท้ๆ แล้วที่ยืมข้าไปจะได้คืนไหมเนี่ย ” “ พ่ออย่าไปฟังเขาเลยนะ ” “ ข้าต่อทางเศรษฐี ๑๐ ต่อ ๑ ใครกล้าพนันไหม ” “ ถ้างั้น ๒๐ ต่อ ๑ ข้าจะลองสัก ๑ กากนึก ” “ อ้าว ๆ ข้าพูดเล่นแท้ ๆ เจ้ายังกล้าลองอีก ” “ ได้ยินแล้วใช่ไหมตาเฒ่า อย่าให้แพ้เชียวนะ เงินพนันของข้าซื้อหญ้าได้ตั้งกำมือเชียวนะ เฮอะ ๆ ๆ ”
“ หมั่นไส้คนพวกนี้จริง ๆ เลย ดูถูกข้าเกินไปแล้ว เดี๋ยวก็ขวิดสะหรอก ” “ โอ้ย ตาเฒ่า โคเจ้าเอาแต่กินหญ้ากลางทุ่งนาจะเอาแรงที่ไหนมาลากเกวียนขนาดนี้ ” “ แค่น้ำผึ้งสักหยด เนยสักก้อนก็ไม่เคยได้กินได้ดม จะเอาอะไรมาเพิ่มแรง โอ้ย ขำ ๆ ฮะ ฮ่า ฮ่า ”
“ ไปกันเถอะลูกพ่อ อย่าไปฟังคำชาวบ้านเขาเลย เจ้าตั้งใจให้ดีเถอะ เราต้องมีชัยชนะแน่ ๆ ” “ จ๊ะพ่อ ” พรานแก่ได้แต่ปลอบใจนันทิวิสาลไปเช่นนั้นเอง แท้จริงแล้วตัวเองก็ไม่เชื่อในความสามารถของนันทิวิสาลเช่นกัน (......" เฮ้อ หมดตัวแน่ ๆ ฉัน ")
เมื่อพราหมณ์เฒ่ากับโคนันทิวิสาลเดินมาถึงเกวียน ๑๐๐ เล่มก็ตกใจ “ อู้ย เกวียนทุกเล่มบรรทุกหินไว้จนเต็มเลย โอ้ย ตายแล้วลูกพ่อจะลากไหวหรือนี่ ” “ เป็นไงตาเฒ่าเหงื่อแตกเลยละสิ อยู่ดีไม่ว่าดี หาเรื่องหมดตัว ฮะ ฮ่า ฮ่า ” คืนที่ผ่านมาพราหมณ์เฒ่านอนไม่หลับเพราะกลัวแพ้
พอเช้าขึ้นมาถูกเยาะเย้ยถากถางก็เริ่มเสียดายเงิน เพราะแน่ใจว่าอาจจะแพ้ พอขึ้นนั่งบนเกวียนที่ผูกไว้ยาวเหยียด เห็นนันทิวิสาลยืนนิ่งก็ยิ่งใจเสียจนสัญญาณกลองจบแล้วเกวียนก็ยังไม่ขยับ “ โอ้ย ทำไมไม่ขยับเลยละเนี่ย เสียหมดตัวเลยแน่ ๆ เรา ”
พราหมณ์เฒ่าเกิดความกังวลกลัวแพ้ ความรู้สึกอายและเสียดายเงินก็บันดาลให้เขาเกิดโทสะ “ เฮ้ย ทำไมไม่ลากเกวียนไปละเจ้านันทิวิสาลเจ้าโคเกเรไม่ได้เรื่อง ลากเกวียนไปเดี๋ยวนี้นะ เจ้าโคขี้โกง เจ้าขี้โม้ลากไป โธ่โว้ย ” “ พ่อ พ่อจ๋าทำไมพ่อพูดกับฉันอย่างนี้ ”
ในทันทีที่ตาเฒ่าเผลอออกคำสั่งด้วยอารมณ์โกรธ เกวียนที่เริ่มขยับก็พลันหยุดนิ่งสนิทเพราะโคหมดกำลังใจ สิ่งที่เคลื่อนไหว กลับเป็นน้ำตาโคผู้กตัญญู รินไหลอาบแก้มแทนคำตอบว่าเสียใจมากขนาดไหน เสียงที่ดังรอบข้างก็กลับเย้ยหยันมากกว่าเก่า “ เจ้าโคมันไม่ได้เรื่องเลย ” “ ขี้โม้ ทั้งเจ้าและก็โคนั้นแหละ ” “ ไปไถ่นาอย่างเดิมไป ไปกินหญ้าอย่างเดิมไป ขำ ”
พราหมณ์ชราแพ้พนันหมดตัว กลับมากลัดกลุ้ม ตั้งแต่เช้ายันเย็นไม่เป็นอันกินข้างกินปลา “ โอ้ยแล้วนี่เราจะเอาเงินที่ไปใช้หนี้เขาละเนี่ย แล้วจะมีหน้าไปเจอชาวบ้านได้ยังไง ไม่น่าเลย ” “ พ่อจ๋า หลับหรือยังจ๊ะพ่อ ” “ หึ ข้าถูกหลอกให้เสียพนันจนหมดตัว จะมีอารมณ์นอนหลับไหวรึ แล้วนี่เจ้ามาทำไม มีอะไรจะโกหกข้าอีก ” “ โธ่ พ่อจ๋าพ่อก็รู้นี่น่าวันฉันไม่เคยหลอก ไม่เคยโกหกพ่อ หรือพ่อว่าฉันเคยเกเรอย่างที่พ่อว่าหรือจ๊ะ ” “ ก็ไม่ ไม่เคยเลย ” คำพูดของโคนันทิวิสาลทำให้พราหมณ์สำนึก “ เจ้าไม่เคยเกเร ไม่เคยโกง ไม่เคยโม้หรอกลูกเอ้ย พ่อเองที่ผิด โกรธและก็กลัวจนขาดสติ เผลอพูดไม่ดีกับเจ้าไปพ่อขอโทษนะลูก พ่อเสียใจ ” “ ไม่เป็นไรหรอกจ๊ะพ่อ พ่ออย่าเสียใจไปเลยนะ เรามาเริ่มต้นกันใหม่ พ่อมั่นใจเถอะเกวียน ๑๐๐ เล่มฉันลากได้อยู่แล้ว ครั้งที่แล้วฉันสิ้นแรงเพราะหมดกำลังใจ แต่ครั้งหน้าไม่แพ้แน่ ๆ พ่อ พ่อไปพนันกับท่านเศรษฐีใหม่นะ ”
“ ท่านเศรษฐีท่านจะรับคำท้าเหรอลูก ครั้งที่แล้วเราก็แพ้มาหยก ๆ นะ ” “ โธ่พ่อเราก็เพิ่มเงินพนันสิจ๊ะเป็น ๒๐๐๐ กหาปณะไปเลย ครั้งนี้พ่อต้องพูดดี ๆ ให้กำลังใจฉันนะ ” “ ได้สิลูก ไปเถอะเราจะไปแก้ตัวกันใหม่ ” วันรุ่งขึ้นการประลองกำลังโคก็เริ่มขึ้นอีกครั้ง ท่ามกลางบรรยากาศเดิมผู้ชมต่างดูเป็นเรื่องขบขัน ที่ลานประลองพรานนำโคนันทิวิสาลเข้าเทียมเกวียนเล่มแรก ครั้งนี้ตาเฒ่าพูดจาไพเราะให้กำลังใจนันทิวิสาลลูกรักของเขา
“ ลูกเอ้ย เกวียนตั้ง ๑๐๐ เล่มนี้บรรทุกหินและทรายหนักมาเลยนะลูก ลูกค่อย ๆ ลากไปพ่อจะเอาใจช่วยนะลูกนะ ” ครั้งนี้เจ้าโคได้กำลังใจ จากพราหมณ์ทำให้มีพลังใจมากมาย ประกอบกับชาวบ้านเมื่อเห็นภาพของพราหมณ์ที่พูดจาไพเราะให้กำลังใจโคของเขา จากที่เคยขบขันก็เกิดเป็นความประทับใจ พลอยให้กำลังใจเจ้าโคไปด้วย
โคผู้กตัญญูรู้คุณออกแรงลากจนล้อเกวียนเริ่มหมุน เกวียนทุกเล่มก็เคลื่อนที่ตาม ๆ กัน เสียงเชียร์ก็ดังขึ้น “ ไชโย ๆ เกวียนเคลื่อนที่ได้แล้วโคนันทิวิสาลยอดไปเลยลูก ” “ ฮะ ฮ่า ท่านเศรษฐีเตรียมเงินไว้ให้ตาเฒ่าได้เลยนะ ฮะ ฮ่า ” “ แค่ ๑๐๐ เล่มเกวียน..สบาย ”
เศรษฐีมอบเงินเดิมพันให้พราหมณ์ ทั้งยังกล่าวชื่นชมโคนันทิวิสาลไม่ขาดปาก รางวัลแห่งวาจาไพเราะครั้งนั้น นอกจากเกียรติที่ชาวตักศิลาได้ชื่นชมแล้วยังเป็นการทำดี ที่กลายเป็นมรดกที่ชาวเมืองกระทำตามต่อ ๆ กันมา อีกนานแสนนาน
เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสชาดกจบลง ทรงตรัสคาถาว่า
มะนุญยะเมวะ ภาเสยยะ นามะนุญยะ กุทาจะนัง
มะนุญญัง ภาสะมานัสสะ คะรุภาวัง อุททะธะริ