ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

 ชาดก 500 ชาติ
ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

          ในวัดชนบทแห่งหนึ่ง ครั้งนั้นมีพระเถระรูปหนึ่งนามอุปนันทสากยบุตรจำพรรษาอยู่ พระอุปนันทสากยบุตรนั้นเมื่อบวชในพระศาสนาแล้ว แต่ก็ได้ละคุณธรรมที่มุ่งให้มีความปรารถนาน้อยได้เป็นผู้มีความทะยานอยากมาก ในวันเข้าพรรษาท่านได้เข้ายึดครองวัดไว้ถึง ๒-๓ วัด

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

        โดยการวางรองเท้าไว้วัดหนึ่ง วางไม้เท้าไว้อีกวัดหนึ่ง แล้วตนเองก็อยู่อีกวัดหนึ่ง เมื่อจำพรรษาท่านได้สอนปฏิปทาอันเป็นวงของพระอริยเจ้าที่แสดงถึงความสันโดษในปัจจัยแก่ภิกษุทั้งหลาย “ ภิกษุทั้งหลายเมื่อเราบวชอยู่ในพระพุทธศาสนาแล้ว เราก็ควรเป็นภิกษุที่มักน้อย ”

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

        ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็พากันทิ้งบาตรและจีวรที่น่าชอบใจ รับเอาบาตรดินเหนียวและผ้าบังสุกุลมาใช้แทน “ เราควรมักน้อย สันโดษไม่หลงในสิ่งของ ฉะนั้นเราก็ควรเปลี่ยนบาตรมาใช้บาตรดินเหนียวนี่แทน ” พระอุปนันทสากยบุตรให้ภิกษุหนุ่มทั้งหลายวางของเหล่านั้นไว้ ณ ที่อยู่ของท่าน 

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

        เมื่อออกพรรษาปวารณาแล้ว ภิกษุผู้โลภมากก็บรรจุของเหล่านั้นเต็มเกวียนไปพระเชตวันมหาวิหาร “ ฮะ ฮ่า ฮ่า เข้าพรรษางวดนี้ได้ของมาเต็มลำเลยเราสวย ๆ ทั้งนั้นเลย ฮ่า ฮ่า ฮ่าฮ่า ” เมื่อเดินทางมาถึงวัดป่าแห่งหนึ่ง พระอุปนันทสากยบุตรก็โดนเถาวัลย์เกี่ยวเท้า

        “ เอ๊ะ เถาวัลย์มาเกี่ยวเท้าเราได้อย่างไรเนี่ย สงสัยที่วัดแห่งนี้จะต้องมีของอะไรที่เราควรได้ในวัดนี้แน่นอน แวะไปดูสักหน่อยดีกว่า ” ในวัดนั้นมีภิกษุแก่จำพรรษาอยู่เพียง ๒ รูป ภิกษุทั้งสองกำลังถกเถียงกันในเรื่องการแบ่งผ้าที่ได้มา “ มีผ้าเนื้องาม ๆ อยู่ ๑ ผืนและผ้าเนื้อหยาบอีก ๒ ผืน เราจะแบ่งกันเช่นไรดี ” “ ผ้าเนื้อหยาบก็แบ่งกันคนละผืน  ส่วนผ้าเนื้องามก็ให้เรา ” “ ไม่ได้หรอก ผ้าเนื้องามควรจะเป็นของเรามากกว่า ” ภิกษุแก่ทั้งสองตกลงกันไม่ได้สักที

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

       เมื่อเห็นพระอุปนันทสากยบุตรเดินมาก็ดีใจหวังจะให้แบ่งผ้ากับภิกษุทั้งสองอย่างเป็นธรรม “ ถกเถียงกันอยู่ด้วยเรื่องอันใดหรือท่าน ” “ โอ้ ท่านมาก็ดีแล้วช่วยตัดสินให้เราทั้งสองที่เถอะ ว่าควรจะแบ่งผ้าทั้ง ๓ ผืนนี้กันเช่นไร ” “ เราทั้งสองถกเถียงกันอยู่เนิ่นนานก็ไม่สามารถแบ่งกันได้สักทีท่านช่วยจัดการแบ่งให้เราด้วยเถิด ” “ ได้สิ เราจะแบ่งให้พวกท่านเอง ผ้าเนื้อหยาบ ๒ ผืนนี้ ท่านก็แบ่งกันไปคนละผืนแล้วกันส่วนผ้ากัมพลเนื้อละเอียดผืนนี้ตกแก่เราผู้เป็นพระวินัยธร หึหึ ”

         “ ท่านจะแบ่งเช่นนี้ได้อย่างไร ผ้าพวกนี้เป็นของเราทั้งสองแล้ว ท่านจะเอาไปได้อย่างไร ” “ ใช่ อย่างนี้เราว่าไม่ถูกต้อง ” เนื่องจากภิกษุแก่ทั้งสองยังอาลัยในผ้าผืนงามนั้นจึงพากันไปเชตวันมหาวิหารพร้อมกับท่านอุปนันทเพื่อให้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระวินัยธรได้ช่วยกันตัดสินในเรื่องนี้

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

        “ ข้าแต่ผู้เจริญ มีหรือไม่หนอการที่พระวินัยธรทั้งหลายกินของที่ริบมาได้ไปเช่นนี้ ” ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ฟังความทั้งหมดก็ได้ตั้งเรื่องขึ้นในธรรมสภากล่าวถึงความโลภของพระอุปนันท เมื่อพระศาสดาเสด็จมาถึงและทราบเรื่องราวทั้งหมดจึงได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ ภิกษุทั้งหลายพระอุปนันทไม่ทำสิ่งที่เหมาะสมแก่ปฏิปทา ธรรมดาว่าภิกษุเมื่อจะออกปฏิปทาแก่ผู้อื่นควรจะทำให้เหมาะสมแก่ตนก่อน แล้วจึงให้โอวาทผู้อื่นในภายหลัง พระอุปนันทไม่ใช่มีความโลภมากแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเธอก็มีความโลภมากเหมือนกัน ” แล้วพระองค์ก็ทรงตรัสเรื่อง ทัพพปุบผาชาดก ดังนี้

        ในป่าใหญ่แห่งหนึ่งมีสุนัขจิ้งจอกผัวเมียคู่หนึ่งอาศัยอยู่ จิ้งจอกตัวเมียกำลังตั้งท้อง สุนัขจิ้งจอกตัวผู้จึงตามดูแลใกล้ชิด เอาอกเอาใจตัวเมียทุกอย่าง “ พี่จ๊ะ วันนี้น้องเดินจนเหนื่อยแล้วขอพักใต้ต้นไม้นั้นหน่อยได้ไหม ” “ ได้สิจ๊ะ เดี๋ยวพี่จะไปหาผลไม้มาให้น้องกินนะ วันนี้เอาอะไรดี มะม่วงสุกไหมจ๊ะหน้านี้หวานกำลังดี ”

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

        “ หือ ผลไม้อีกแล้วเหรอจ๊ะ น้องอยากจะทานเนื้อสด ๆ บ้าง พี่ช่วยหามาให้กินหน่อยได้ไหมจ๊ะ ” “ ได้สิจ๊ะ น้องอยากทานเนื้อ แสดงว่าต้องได้ลูกชายแน่เลยเฮอะ เฮ้ย ดีใจจัง รอพี่อยู่ที่นี่นะเดี๋ยวพี่จะไปหาเนื้อสัตว์หวาน ๆ สด ๆ มาให้เจ้า ” “ งั้นน้องนอนตรงนี้รอนะจ๊ะ พี่กลับมาเร็ว ๆ นะ น้องหิวแล้ว ”

       “ จะไปหาเนื้อสัตว์ที่ไหนดีนะ เป็นเนื้ออะไรดี เป็นเนื้อปลาละกัน ปลาสด ๆ นี่แหละบำรุงครรภ์ดียิ่งนัก เอ้ แต่เราจะจับมายังไงดีนะ โห้ น้ำเย็นเจี๊ยบเลยเราว่ายน้ำไม่เก่งสะด้วยสิแล้วจะจับปลาได้ยังไงเนี่ย เมียรักของเรา รอเราอยู่สะด้วยสิ ป่านนี้คงหิวแย่แล้ว ” สุนัขจิ้งจอกตัวผู้เมื่อเห็นว่าจะจับปลาในแม่น้ำไม่ได้จึงเดินเลาะริมน้ำไปเรื่อย ๆ เพื่อหาสัตว์ตัวอื่นเป็นอาหารให้เมียรักของมัน

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

        “ เฮ้อ เดินต่อไปอีกหน่อยแล้วกัน เผื่อทางข้างหน้าจะมีอะไรให้จับได้ง่าย ๆ ” ที่ริมฝั่งน้ำอีกด้านหนึ่งมีนากสองตัวหากินอยู่ ตัวหนึ่งหากินอยู่ในน้ำลึก อีกตัวหนึ่งหากินตามฝั่ง “ โอ้ย วันนี้น้ำเย็นเจี๊ยบเลย คงจะหาปลาตัวใหญ่ ๆ ได้สักตัวแน่ ๆ ยิ่งหิว ๆ อยู่ ” “ วันนี้เราจะกินอะไรดีนะ อากาศดี ๆ อย่างนี้น่าจะมีกบตัวอ้วน ๆ สักตัวมาให้หม่ำนะเนี่ย ”

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

       วันนั้นมีปลาตะเพียนแดงตัวใหญ่ตัวหนึ่งว่ายน้ำมาริมฝั่งแม่น้ำนั้น ประจวบกับนากว่ายน้ำมาเห็นพอดี “ โอ้โห ปลาตะเพียนตัวโตสะด้วย ตัวสีแดง ๆ น่ากินจังเลยเสร็จข้าแน่ นี่แน่ะ โอ๊ะ ทำไมแรงมันเยอะอย่างนี้ โอ๊ ๆ อยู่นิ่ง ๆ นะเจ้าปลา นี่แน่ะ ๆ กัดให้ตายไปเลย ” นากที่หากินในน้ำลึกเมื่อกัดปลาตะเพียนได้ก็พยายามลากขึ้นฝั่ง แต่เนื่องจากปลาตัวโตมากจึงไม่สามารถลากขึ้นไปได้

        “ โอ้ย..หนักอย่างนี้จะลากขึ้นไปได้ยังไงเนี่ย ” ในขณะนั้นนากที่หากินบนบกเดินมาเห็นเข้า “ เจ้าเพื่อนเกลอ เจ้าได้อาหารมื้อโตเลยนะวันนี้ น่าอิจฉาจริง ๆ ” “ ใช่สิ แต่ว่าปลาตัวนี้มันหนักเหลือเกิน เราลากขึ้นไปไม่ไหว ท่านช่วยเราหน่อยได้ไหม ” “....เอ้ ช่วยท่านลากขึ้นมาเหรอ ดีสิ เราจะได้ขอแบ่งปลามากินบ้าง วันนี้เดินทางมาทั้งวันไม่เจอกบเลยสักตัว เฮ้อ ได้สิ ว่าแต่ท่านต้องแบ่งปลาให้เราทานบ้างนะ ” “ ได้สิ เดี๋ยวเราจะแบ่งปลาให้ท่านกินด้วย ตอนนี้ท่านมาช่วยเราลากปลาตัวนี้ก่อนเถิด มันหนักเหลือเกินเรี่ยวแรงเราจะหมดแล้ว ” นากบนบกเมื่อเห็นว่าจะได้กินปลาด้วย จึงรีบเข้าไปช่วยลากปลาตะเพียนแดงขึ้นมาบนฝั่ง

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน 

        “ อื้อหือ หนักเหมือนกันนะเนี่ย ท่าทางจะอร่อยน่าดูเลย ” “ นั่นสิไม่ได้ทานปลาตัวโต ๆ อย่างนี้มานานแล้ว ” เมื่อลากปลาขึ้นมาบนบกได้สำเร็จนากทั้งสองก็ตกลงแบ่งปลากัน “ งั้นเราแบ่งปลากินกันเถอะ  ท่านเอาหัวกับหางไปนะ ส่วนเราจะเอาลำตัวไปทานเอง ” “ ได้ยังไงล่ะ เราก็อยากกินตรงลำตัวเหมือนกัน ”

        นากทั้งสองตัวไม่สามารถตกลงแบ่งปลากันได้ก็ทะเลาะกันยกใหญ่ พอดีสุนัขจิ้งจอกเดินไปพบเข้า นากทั้งสองตัวจึงขอร้องให้สุนัขจิ้งจอกช่วยแบ่งปลาให้ “ ท่านสุนัขจิ้งจอก ท่านมาก็ดีแล้วช่วยเราตัดสินทีเถอะว่าเราทั้งสองจะแบ่งปลาตัวนี้กันยังไงดี ” “ นั่นสิ เราเป็นผู้ลากปลาตัวนี้มาได้ ส่วนนากผู้นี้ช่วยเราลากขึ้นมาบนฝั่งเท่านั้นเอง เราควรจะได้ในส่วนที่เป็นลำตัวใช่ไหม ”

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

        “ เจ้าจะพูดอย่างนั้นก็ไม่ถูก เพราะหากท่านไม่มีเรา ท่านก็ไม่สามารถลากปลาตัวนี้ขึ้นมากินได้เหมือนกัน ” “ ในเมื่อท่านทั้งสองตกลงแบ่งกันไม่ได้ เราก็จะแบ่งให้เอง (...เจ้านากทั้งสองเอ๋ย เจ้าทั้งสองมัวแต่ทะเลาะกันอยู่ได้ ปลาตัวโตนี้ควรจะเป็นอาหารของเมียข้ามากกว่า ) ” สุนัขจิ้งจอกคิดได้ดังนั้นก็แบ่งปลาออกเป็นสามส่วน หัวลำตัวและหาง และก็แบ่งหัวและหางให้นากทั้งสองตัว “ ท่อนหางเป็นของนากผู้หากินตามฝั่ง ท่อนหัวเป็นของนากผู้หากินทางน้ำลึก ส่วนท่อนกลางเป็นของข้าที่ทำหน้าที่ตัดสิน ” สุนักจิ้งจอกบอกแล้วคาบปลาท่อนกลางออกไป นากทั้งสองห้ามอะไรไม่ได้ ได้แต่นั่งมองส่วนหางและหัวที่ตัวเองได้มา “ ดีใจจังเมียจ๋า ได้เนื้อสดๆ มาแล้ว เจ้าเห็นแล้วต้องดีใจแน่ ๆ ”

         “ เป็นไงล่ะ ได้แต่ทะเลาะกันอยู่ได้ เห็นไหมส่วนลำตัวเลยกลายเป็นของเจ้าสุนัขจิ้งจอกไปเลย อดหม่ำกันทั้งสองตัวเลยเรา ” “ อดเลยเรา เราทั้งสองไม่น่าทะเลาะกันเลยเนอะ ที่จริงเรามาทานที่ลำตัวด้วยกันก็ได้นี่น่า ” “ นั่นนะสิ ไม่น่าเลย ” “ เพราะเรามาทะเลาะกัน ปลาชิ้นนั้นก็เลย ตกเป็นของเข้าสุนัขจิ้งจอกไปเลย เจ็บใจจริง ๆ ไม่น่ามาทะเลาะกันเลย ”

ชาดก 500 ชาติ ทัพพปุบผาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการโต้เถียงกัน

        ด้านสุนัขจิ้งจอกก็คาบปลาท่อนกลางไปให้เมียที่รอกินอยู่ นางสุนัขจิ้งจอกดีใจมากที่เห็นสุนัขสามีคาบปลาสด ๆ มาให้ “ โอ้โห ปลาสด ๆ ตัวโตด้วยนะเนี่ยพี่ไปเอามาได้อย่างไรจ๊ะ ปกติพี่ว่ายน้ำไม่เก่งไม่ใช่เหรอ ” “ พี่ได้มาก็เพราะความฉลาดของพี่เองจ๊ะ พี่ไปเจอนากสองตัวทะเลาะแบ่งปลากัน พี่จึงไปช่วยแบ่งปลาให้ แล้วพี่ก็เอาหัวกับหางให้นากทั้งสองตัว ส่วนพี่ก็เอาท่อนกลางมาให้น้องไงจ๊ะ ” 

       “ อื้อหือ นี่พี่ฉลาดจริง ๆ เลย เรากินกันเถอะนะจ๊ะ น้องหิวแล้ว ” “ จ้า ” เหตุการณ์ทั้งหมดได้อยู่ในสายตาของรุกขเทวดาที่ประจำอยู่ต้นไม้ใหญ่ริมฝั่งน้ำ เมื่อเห็นนากทั้งสองทะเลาะกัน ไม่ตกลงกันให้เข้าใจได้ก็ต้องเสียปลาในส่วนของตัวเองให้กับสุนัขจิ้งจอกไป 

 
นากทั้งสอง ได้กำเนิดเป็นภิกษุแก่ที่ต้องสูญเสียผ้าผืนงาม
สุนัขจิ้งจอกตัวผู้ กำเนิดเป็น พระอุปนันทศากยบุตร
ส่วนรุกขเทวดาประจำต้นไม้ใหญ่ เสวยพระชาติเป็น องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล