ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

ชาดก 500 ชาติ
นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

          ณ ดินแดนชมพูทวีปในกาลสมัยที่พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ประกาศพระธรรมคำสอนที่พระองค์ทรงตรัสรู้ชอบดีแล้ว หลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ที่สั่งสมบารมีมาอย่างยาวนานหลายชาติภพนั้น เป็นที่แจ้งประจักษ์ในหมู่พุทธสาวกทั้งหลายว่า เป็นหลักธรรมที่ประกอบขึ้นด้วยเหตุและผล เป็นไปตามกฎแห่งธรรมชาติซึ่งเจริญรุ่งเรืองสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ 

        ในกาลนั้น ขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารนั้น มีเหตุอันมีเรื่องเล่าขานขึ้นมากมาย ดังเช่นในตอนนี้ที่มีเหตุหนึ่ง ถึงพระเถระผู้เลื่อนเปื้อนนามว่า พระโลลุทายีเถระ เหตุวิพากษ์นั้นเกิดจากการที่พระเถระโลลุทายีรูปนี้ เป็นผู้ที่ไม่ได้รับรู้ข้อที่ควรและไม่ควรว่า ในที่นี้ควรกล่าวธรรมข้อนี้ ในที่นี้ไม่ควรกล่าวธรรมข้อนี้ ในงานมงคลก็กล่าวอวมงคล กล่าวอนุโมทนาอวมงคลเป็นต้น

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

        “ อ่ะ แอ่ม อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เปรตทั้งหลายพากันยืนอยู่นอกฝาเรือนและที่กรอบประตูและเช็ดหน้า ” “ อะไรกันนี่ พระเถระรูปนี้พูดอะไรไม่เป็นมงคลเอาเสียเลย นี่มันงานมงคลแท้ ๆ มาผิดงานหรือเปล่านี่ เฮ้อ ” “ นั่นนะสิพูดออกมาได้ยังไงไม่ดูบ้างเลย เฮ้อ ต่อไปใครจะกล้านิมนต์ ”

        ครั้นพอมีอุบาสกนิมนต์ท่านไปทำพิธีในงานอวมงคล เมื่อกระทำอนุโมทนากลับ พระโลลุทายีเถระกลับกล่าวว่า “ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมากได้คิดมงคลทั้งหลายกันแล้ว ขอให้พวกท่านสามารถกระทำมงคลเห็นปานนั้นให้ได้ร้อยเท่าพันเท่าเถิด ” “ เอาอีกแล้ว งานก่อนก็พูดผิดพูดถูกมางานนี้ยังพูดผิดอีก ”

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

        เหตุดังกล่าวเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันในหมู่ภิกษุสงฆ์ จนมีการหยิบยกมาถกกันในโรงธรรมสภา “ ผู้มีอายุทั้งหลายพระโลลุทายีมิได้รู้ข้อที่ควรและไม่ควรกล่าววาจาที่ไม่น่ากล่าวทั่วไปทุกหนทุกแห่ง ” “ เรื่องนี้เราก็ได้ยินชาวบ้านเขาบ่นมาเหมือนกัน แต่เราจะทำอย่างไรกันดีละท่าน ปล่อยไว้ก็รังแต่จะทำให้ชาวบ้านเสื่อมศรัทธาในพระพุทธศาสนาและพระบรมศาสดาของเรา ”

        ในระหว่างนั้นพระพุทธองค์เสด็จผ่านมา จึงตรัสถามขึ้นว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ” “ เรื่องที่พระโลลุทายีเถระมิรู้ข้อที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าวพระเจ้าค่ะ ”

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

 “ เรื่องนี้ เราก็ทราบอยู่เหมือนกัน ” “ แล้วจะทำอย่างไรดีพระเจ้าค่ะ ” “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่โลลุทายีนี้มีไหวพริบช้า เมื่อกล่าวก็ไม่รู้ข้อที่ควรและไม่ควรแม้ในครั้งก่อนก็ได้เป็นอย่างนี้ เธอผู้เป็นเลื่อนเปื้อนเรื่อยที่เดียว ”

       แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงรำลึกอดีตชาติด้วยปุบเพนิวาสานุสติญาณทรงนำ นังคลีสชาดกมาตรัสเล่าเป็นพุทธโอวาทแก่เหล่าภิกษุทั้งหลายดังนี้ ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติแห่งกรุงพาราณสีนั้น พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติบังเกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

        เจริญวัยแล้วเล่าเรียนสรรพศาสตร์วิทยาในสำนักตักศิลาจนแตกฉาน ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มีเหล่ามานพมากมายมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ในสำนักกว่า ๕๐๐ คน ในบรรดามานพเหล่านั้น มีมานพผู้หนึ่งเป็นผู้มีไหวพริบย่อหย่อนเลื้อนเปื้อนเป็นธัมมันเตวาสิก ร่ำเรียนศิลปะจากอาจารย์ทิศาปาโมกข์ แม้จะมีความตั้งใจ แต่ก็ไม่อาจจะเล่าเรียนเหมือนมานพคนอื่น ๆ

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

        เพราะความที่เป็นคนหัวทึบ แต่ได้เป็นผู้อุปการะต่ออาจารย์ คอยทำกิจทุก ๆ อย่างให้เหมือนทาสไม่มีผิด “ ทะ ท่านอาจารย์ ไม่ต้อง ๆ  เดี๋ยวให้ศิษย์ทำเองอาจารย์อยู่เฉย ๆ เถอะนะขอรับ ” “ ถ้าเป็นความต้องการของเจ้าก็เอาเถอะ ”

        อยู่มาวันหนึ่งหลังจากที่อาจารย์ทิศาปาโมกข์บริโภคอาหารเย็นเสร็จแล้ว ก็นอนพักผ่อนเหนือเตียงนอน ได้ กล่าวกับมานพนั้นผู้ทำการนวดมือเท้าและหลังให้ว่า “ ก่อนที่เจ้าจะออกไปช่วยหนุนเท้าเตียงให้อาจารย์ก่อน นะเจ้า ” “ ขอรับท่านอาจารย์ ” มานพหาของที่มาหนุนเท้าเตียงได้เพียงข้างเดียว

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

        ด้วยความอับปัญญาจึงไม่สามารถหาของที่จะมาหนุนเท้าเตียงอีกข้างหนึ่งได้ จึงใช้ขาของตนหนุนเท้าเตียงไว้ตลอดทั้งคืน “ แย่แล้วขาเตียงยังเหลืออีกข้างแล้วเราจะเอาอะไรหนุนดีละนี่ ไม่เห็นมีอะไรให้หนุนได้เลย อ้อนึกออกแล้ว ก็ใช้ขาของเรานี่ไง นี่ๆ ๆ เอารองไว้อย่างนี้ก็ได้แล้วนี่ ฉลาดเหมือนกันนะเนี่ยเรา ”

        ในตอนเช้าอาจารย์ทิศาปาโมกลุกตื่นมาเห็นศิษย์ทึ่มของตนนั่งอยู่ไม่จากไปไหนจึงถามว่า “ เจ้ามานั่งอยู่นี่ทำไมเล่า ” “ ท่านอาจารย์ขอรับกระผมหาอะไรหนุนเตียงไม่ได้ ก็เลยเอาขาตัวเองหนุนไว้ จึงนั่งอยู่ขอรับท่านอาจารย์ ” เมื่ออาจารย์ได้ยินดังนั้นก็เกิดความรู้สึกสลดใจยิ่งนัก

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

       “ ศิษย์ผู้นี้ช่างมีอุปการะคุณแก่เรายิ่งนัก ในกลุ่มศิษย์ทั้งหลายของเราก็มีเจ้าคนนี้นี่แหละที่มีปัญญาทึบที่สุดไม่อาจจะศึกษาศิลปวิทยาการต่าง ๆ ได้เลย เฮ้อ ทำอย่างไรเล่าหนอ เราจึงจะทำให้เขาฉลาดขึ้นมาได้ ” อาจารย์ครุ่นคิดหาวิธีการที่จะสั่งสอนให้ศิษย์ผู้นี้มีความฉลาดขึ้นด้วยความเมตตา ครั้นแล้วก็ได้เกิดความคิดขึ้นว่า

        “ ใช่แล้ว มีอุบายอยู่อย่างหนึ่งจากนี้ไป เราต้องคอยถามมานพนี้ ผู้ไปหาฟืนหาผักมาแล้ว ว่าวันนี้จะเจ้าได้เห็นอะไร เจ้าได้ทำอะไรบ้าง เป็นเช่นนี้เขาจะได้บอกแก่เราว่า วันนี้ได้เห็นสิ่งชื่อนี้ ทำกิจชื่อนี้ครั้นแล้วเราก็ต้องถามเขาต่อไปว่า ที่เจ้าเห็นที่เจ้าทำเช่นอะไร เขาจะบอกโดยอุปมาและโดยเหตุผลว่าอย่างนี้ ด้วยวิธีนี้ เราให้เขากล่าวอุปมาและเหตุแล้วจะทำให้เค้าฉลาดขึ้นได้อย่างแน่นอน ”

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

       ด้วยอุบายนี้ท่านอาจารย์จึงเรียกเขามา แล้วบอกแก่เขาว่า “ ตั้งแต่บัดนี้ไป ในที่ที่เจ้าไปหาฟืนและก็หาผัก เจ้าได้เห็น ได้กิน ได้ดื่ม หรือได้เคี้ยวสิ่งใดในที่นั้นเจ้าต้องบอกสิ่งนั้นแก่อาจารย์ทุกครั้งนะเจ้า เข้าใจไหม ” “ ขอรับท่านอาจารย์ ” วันหนึ่งอาจารย์พาศิษย์ทั้งหลายเข้าไปในป่าเพื่อหาฟืน ในขณะที่กำลังเก็บฟืนอยู่นั้น เขาก็เห็นงูหัวหนึ่งกำลังเลื้อยอยู่ จึงระลึกถึงคำสั่งสอนของอาจารย์ ครั้นมาแล้วก็รีบไปบอกกับอาจารย์ของตนว่า

       “ท่านอาจารย์ขอรับกระผมเห็นงูขอรับ ” “ เจ้าเห็นงูอย่างนั้นรึ แต่ขึ้นชื่อว่างู เจ้าคิดว่างูนั้นเหมือนอะไรเล่า ” “ มันเหมือนงอนไถขอรับท่านอาจารย์ ”  ( “….ดีแล้วล่ะ ดูท่าว่าวิธีการของเราน่าจะได้ผลซะแล้ว มานพผู้นี้รู้จักอุปมาอุปไมยงูเหมือนงอนไถ ช่างน่าพอใจยิ่งนัก หากเป็นเช่นนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เขาก็คงฉลาดขึ้นแน่ ๆ  ” )

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

       ต่อมามานพผู้นี้ได้ไปพบเห็นช้างป่า ก็นำมาบอกแก่อาจารย์ “ ท่านอาจารย์ขอรับ วันนี้กระผมไปเห็นช้างมาขอรับ ” “ เจ้าไปเห็นช้างมาอย่างนั้นรึ แล้วเจ้าว่าช้างเหมือนอะไรเล่า ” “ ช้าง ๆ ๆ อ่อ คิดออกแล้ว ช้างก็เหมือนงอนไถ่ขอรับท่านอาจารย์ ” “ งอนไถเหรอ อือ สงสัยคงจะหมายถึงงวงช้างนั่นเอง เริ่มจะฉลาดขึ้นมาแล้ว ” อาจารย์ทิศาปาโมกดำริแล้วว่างวงช้างหรืองาก็มีลักษณะเหมือนงอนไถ่จริง

        อย่างที่มานพนั้นกล่าว แต่แท้ที่จริงแล้วมานพผู้นี้ไม่อาจจำแนกกล่าวได้ว่าส่วนใดของช้างที่มีลักษณะคล้ายงอนไถ่อย่างที่ตอบไป เพราะตนเป็นคนปัญญาทึบนั่นเอง ชะรอยจะพูดหมายเอางวงช้าง เมื่อเห็นอาจารย์ไม่ได้กล่าวท้วงติงก็คิดว่าตอบถูกแล้วก็นิ่งไว้ “ ไชโย ๆ เราตอบถูกอีกแล้ว ภูมิใจจริง ๆ เลย ”

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

       อยู่มาวันหนึ่งมีชาวบ้านมาเชิญมานพผู้นี้ไปที่บ้านแล้วได้ให้อ้อยแก่มานพนั้น “ ท่านมานพ เชิญทานอ้อยนี้ตามสบายเถิด ” “ ขอบใจท่านมากนะ อือ หวานจังอร่อยดีเดี๋ยวกินอ้อยเสร็จเราจะไปรายงานท่านอาจารย์ดีกว่า หือ ชานอ้อยติดฟัน ” “ ท่านอาจารย์ ท่านอาจารย์ วันนี้กระผมได้เคี้ยวอ้อย อร้อย อร่อยขอรับท่านอาจารย์ ”

       “ แล้วอ้อยนั้นเหมือนอะไรละเจ้า ” “ อ้อยนี่ก็เหมือนงอนไถยังไงละขอครับท่านอาจารย์ ” “ แล้วเหมือนงอนไถ่ยังไงละ ไหน เจ้าลองอธิบายให้อาจารย์ฟังหน่อยสิ ” “ อ้อยมันก็ยาว ๆ เหมือนงอนไถ่ขอรับท่านอาจารย์ ”

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

       อีกวันหนึ่งมานพผู้นี้ก็ได้รับเชิญไปยังที่อีกแห่งหนึ่ง บางหมู่ได้บริโภคน้ำอ้อยกับนมส้ม บางหมู่บริโภคน้ำอ้อยกับนมสด เมื่อกลับมาถึงสำนัก มานพนั้นจึงกลับรายงานอาจารย์  “ ท่านอาจารย์ขอรับวันนี้กระผมได้บริโภคทั้งนมส้มและนมสดขอรับ ” “ แล้วนมส้มและนมสดนั้นเหมือนอะไรละเจ้า ” “ ก็เหมือนงอนไถ่อย่างไรเล่าขอรับ ” เมื่อได้ฟังดังนั้นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ก็รู้สึกประหลาดใจ

       “ มานพนี้เมื่อกล่าวว่างูเหมือนงอนไถ่ ก็กล่าวถูกต้องก่อนแล้ว แม้กล่าวว่าช้างเองก็เหมือนงอนไถ ก็คงพอจะกล่าวได้ด้วยเล่ห์ที่หมายเอางวงช้าง แม้กล่าวว่าอ้อยเหมือนงอนไถ่ก็ยังพอเข้าท่า แต่นมส้มนมสดขาวอยู่เป็นนิจทรงตัวอยู่ได้ด้วยภาชนะ ไม่น่าจะกล่าวอุปมาในข้อนี้ได้โดยประการทั้งปวงเลยเราไม่อาจให้คนเลื่อนเปื้อนผู้นี้ศึกษาได้อีกเสียแล้ว เฮ้อ ”

ชาดก 500 ชาติ นังคลีสชาดก-ชาดกว่าด้วยคนพาลกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าว

       เมื่อดำริได้ดังนั้นอาจารย์ทิศาปาโมกจึงบอกกล่าวแก่พวกอันเตวาสิกทั้งหลายเก็บเสบียงแล้วส่งมานพนั้นกลับไป “ คนโง่ย่อมกล่าวคำที่ไม่ควรกล่าวทุกอย่างได้ในที่ทุกแห่ง คนโง่นี้ไม่รู้จักเนยข้นและงอนไถย่อมสำคัญ เนยข้นและนมสดอุปมาว่าเหมือนงอนไถ่ ฉะนั้นแล ”

 
ในพุทธกาลนั้น มานพผู้เลื่อนเปื้อน กำเนิดเป็น พระโลลุทายี
อาจารย์ทิศาปาโมกข์ เสวยพระชาติเป็น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล