ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถา กัสสปมันทิยชาดก ว่าด้วย รู้ตัวว่าผิดแล้วสารภาพผิด

อรรถกถา กัสสปมันทิยชาดก

ว่าด้วย รู้ตัวว่าผิดแล้วสารภาพผิด


           ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้ถือกำเนิดขึ้นในตระกูลพราหมณ์ ในนิคมกาสี

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%872r.jpg

       

       เมื่อเติบใหญ่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น มารดาของตนได้เสียชีวิตลง เวลาผ่านไปครึ่งเดือนหลังจากจัดการศพแม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางครอบครัวจึงร่วมกันบริจาคทรัพย์ที่มีอยู่ในเรือนให้กับคนยากไร้ และอดอยาก เพื่อเป็นทาน

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%874r.jpg

          

          จากนั้นพระโพธิสัตว์ชวนบิดาและน้องชายของตนออกบวชบำเพ็ญตบะเป็นฤๅษีอยู่ในหิมวันตประเทศ ซึ่งระหว่างบวชนั้นฤๅษีทั้งสามมักหาหัวผือกหัวมัน ผลไม้ในป่าเลี้ยงชีพมาตลอด จนกระทั่งในฤดูฝนหิมวันตประเทศ เกิดพายุเข้าจึงทำให้ฝนกระหน่ำตกทั้งวันทั้งคืน จนไม่สามารถขุดหัวมันหรือเก็บผลในป่าได้

 

        วันหนึ่งขณะที่ฤาษีที่สามอยู่ในที่พัก น้องชายคนสุดท้องเอ่ยถามพ่อของตน "ท่านพ่อทำยังไงดีถ้าฝนตกทั้งวันอยู่แบบนี้ เราคงไม่มีอาหารประทังชีวิตแน่นอน" ฤๅษีคนพ่อยังไม่ได้ตอบคำถามลูกชายก็มีประโยคจากพี่ชายพูดแทรกขึ้น "ถ้าที่นี่ไม่มีอาหารก็ย้ายที่อยู่สิ" "แล้วพี่รู้ทางหรือที่พูดมา " น้องชายถามทันควัน" ฤๅษีหนุ่มพยักหน้าช้าๆก่อนจะเอ่ยว่า "งั้นเตรียมตัวให้พร้อมพรุ่งนี้เราจะออกเดินทางกัน"

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%873.jpg

         

         เช้าวันรุ่งขึ้นฤๅษีทั้งสามเตรียมตัวเก็บสิ่งของจำเป็นก่อนออกเดินทางไปยังป่าฝั่งดินแดนมนุษย์และอาศัยอยู่ที่นั่น หลายเดือนต่อมาฝนที่ตกในป่าหิมวันตประเทศ ค่อยๆลดลงจนกระทั่งหยุด ต้นไม้ใบหญ้าที่เคยเหี่ยวเฉากลับมาเขียวขจี ออกดอกออกผลอีกครั้ง  พระโพธิสัตว์จึงพาบิดาน้องชายกลับ ระหว่างทางใกล้ถึงที่พัก ฤๅษีหนุ่มเอ่ยขึ้น "พ่อกับน้องเหนื่อยหรือยังนั่งพักก่อนไหน เดินไปอีกไม่เท่าไหรก็จะถึงอาศรมแล้ว" ฤๅษีผู่พ่อพยักหน้า "พ่อก็มีอายุแล้วขอพักที่นี่ก่อนแล้วกัน" พระโพธิสัตว์หันไปทางน้องชายก่อนเอ่ยว่า "นั้งอยู่เป็นเพื่อนพ่อก่อนนะ เดี๋ยวพี่จะล่วงหน้าไปก่อนแล้วทำความสะอาดที่พักให้เรียบร้อย"ส่วนพ่อกับน้องค่อยเดินตามมา"อื่ม"ฤๅษีทั้งสองพยักหน้าอย่างพร้อมเพียงกัน

 

       หนึ่งชั่วโมงผ่านไปลูกชายคนเล็กเอ่ยถาม "พ่อหายเหนื่อยหรือยังครับเดินไหมไหม ผมอยากไปถึงที่พักแล้ว จะได้รีบอาบน้ำสักที" ดาบสผู้เป็นพ่อพยักหน้าก่อนจะลุกขึ้นแล้วเดินนำลูกชายของตนไป  ระหว่างทางดาบสน้องสุดท้องเริ่มไม่พอใจ "เมื่อไหร่จะถึงสักที่พ่อเดินช้าจัง" เมื่อคิดได้ดังนั้นดาบสน้องชายใช้มือเท้าสะเอว ก่อนจะดันหลังพ่อแล้วพูดว่า "ท่านพ่อครับเดินเร็วๆหน่อยผมอยากจะอาบน้ำ นี่ใกล้มืดเเล้วเดี๋ยวเราจะมองไม่เห็นทางเอา"  เมื่อได้ยินดังนั้นดาบสพ่อไม่พอใจ จึงเดินย้อนกลับไปที่เดิมแล้วเริ่มต้นเดินใหม่อีกครั้ง ส่งผลให้ดาบสสองพ่อลูกทะเลาะกันจนมืดค่ำ

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%875r.jpg


          ฝั่งพระโพธิสัตว์ปัดกวาดที่พักเรียบร้อยแล้ว  ไม่เห็นดาบสทั้งสองจึงถือคบเพลิงออกตามหา ระหว่างทางเห็นดาบสพ่อกับลูกยืนอยู่ จึงเอ่ยถาม "ท่านมัวทำอะไรกันอยู่" ดาบสน้องเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้พี่ชายฟัง พระโพธิสัตว์นำดาบสทั้งสองมายังที่พัก ก่อนให้บิดาอาบน้ำ ทำการล้างเท้า ทาเท้า และนวดหลัง ให้พ่อของตน

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%876.jpg

 

         นี่คืออดีตของท่านทั้งสอง  ณ วิหารเชตตะวัน พระพุทธเจ้าทรงเทศนาสั่งสอน พระเถระและสามเณรส่งผลให้เมื่อท่านทั้งสองมาเจอกันอีกครั้ง และเกิดเหตุการณ์ทำให้ท่านทั้งสองขุ่นข้องหมองใจกันได้ ท่านเถระในชาติที่แล้วท่านคือพ่อของเณรหนุ่มคนนี้

         

         ธรรมดาเเล้วเด็กหนุ่มเปรียบเหมือนกับภาชนะดิน ย่อมแตกได้ง่าย เมื่อภาชนะแตกแล้วไม่อาจต่อกลับได้อีก เด็กหนุ่มจะด่าก็ดี กล่าวตำหนิก็ดี ผู้ใหญ่ควรจะอดทน ไม่ว่าเด็กหนุ่มจะด่าแช่งหรือจะตีก็ตาม ด้วยความเป็นเด็กหนุ่ม บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมอดทนต่อความผิดที่พวกเด็กทำทั้งหมดได้ ถ้าผู้มีปัญญาทะเลากัน เดี๋ยวก็กลับมาดีกันได้ เมื่อพิจารณาส่วนคนพาลเมื่อแตกหักแล้ว เหมือนกับหม้อดินเผา เขาย่อมไม่ถึงความสงบเวรกันได้



          ผู้ใดรู้โทษที่ตนล่วงเกินแล้ว และรู้การแสดงโทษ คนทั้งสองนั้นย่อมพร้อมเพรียงกันยิ่งขึ้น ความสนิทสนมของเขาย่อมไม่เสื่อมคลาย ผู้ใด เมื่อคนเหล่าอื่นล่วงเกินแล้ว ตนเองสามารถเชื่อมให้สนิทสนมได้ ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐยิ่ง ด้วยความเป็นคนหนุ่ม โดยความเป็นผู้มีปัญญาน้อย



      แล้วอยากรู้ไหมว่าเราคือใครในชาติของท่าน พระเถระและเณรต่างพยักหน้า เราคือพระโพธิสัตว์ผู้ให้โอวาทแก่ดาบสผู้บิดาในครั้งนั้น 


           

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล