ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: อรรถกถา ตจสารชาดก ว่าด้วย คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น

อรรถกถา ตจสารชาดก

ว่าด้วย คนฉลาดย่อมไม่แสดงอาการให้ศัตรูเห็น

 

         ณ พระวิหารเชตวัน  พระศาสดาทรงตรัสหัวข้อเรื่องปัญญาบารมี "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็เป็นผู้มีปัญญา ฉลาดในอุบายเหมือนกัน" ก่อนพระองค์จะทรงเล่าเรื่องให้ฟังดังนี้ 

 

         ในอดีตตอนพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในเมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดขึ้นในตระกูลกฎุม เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีหมอตำแยประจำหมู่บ้านผู้ชราก็ล้มป่วยลง ก่อนจะจบชีวิตอีกไม่กี่เดือนด้วยโรคชรา หมู่บ้านที่เคยสงบสุขกลับกลายเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือเพียงแค่ผ่านไปไม่กี่ปี เนื่องจากหญิงสาวที่ตั้งครรภ์ในหมู่บ้านต่างเสียชีวิตอย่างกระทันหัน

 

       เมื่อเวลาผ่านไปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้มีทีท่าว่าจะดีขึ้นเลย จนกระทั้งวันหนึ่ง เสียงกรีดร้องของหญิงสาวท้องแก่ดังขึ้น "ฉันไม่ไหวแล้ว เจ็บเหลือเกิน" เสียงร้องโหยหวนนั้นไม่มีทีท่าว่าจะหยุดลงแม้แต่น้อย "ใจเย็นๆแม่หนูอีกนิดเดียวลูกของเจ้าก็ออกมาแล้ว เบ่งอีกหน่อย" ภายในห้องสี่เหลี่ยมขนาดไม่ใหญ่มาก พื้นทำด้วยไม้แผ่นใหญ่ เปรอะไปด้วยเลือดของหญิงสาวท้องแก่ ผู้คนที่มาคอยให้กำลังใจหญิงสาว ต่างพากันมุงดูแถวชาญบ้านต่างลุ่นระทึก บางส่วนพยายามสวดอ้อนวอนเทพยดา ให้ทั้งสองชีวิตนั้นปลอดภัย ผ่านไปครู่หนึ่ง อุเเว้ๆ เสียงเด็กร้องดังขึ้น ก่อนจะมีเสียงตะโกนออกมาจากข้างใน "เเม่ลูกปลอดภัย" "เฮ้!" เสียงตะโกนก้องด้วยความยินดี ก่อนจะมีเสียงหญิงแก่ที่ช่วยทำคลอด ดังขึ้นอีกครั้ง "หนุ่มคนเป็นพ่อเด็กเข้ามาในห้องด่วนเมียเอ็ง หายใจโรยรินแล้ว" ทุกอย่างเปลี่ยนไปเป็นความเศร้า เมื่อได้ยินเสียงร้องไห้จากชายหนุ่มผู้เป็นสามี 

       

          ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาหญิงสาวมักจะเสียชีวิตจากการให้กำเนิดเด็กทารกอยู่บ่อยครั้ง ชาวบ้าน ต่างพากันขนานนามด็กทารกที่ทำให้บุพการีเสียชีวิตว่า ฆาตกร จนชื่อเสียงดังกระฉ่อนไปทั่วอาณาจักร

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8701.jpg

 

 

            เพื่อเป็นการลงโทษเด็กที่ทำผิด ผู้คนในหมู่บ้านจึงใช้ไม้จองจำถ่วงไว้ที่คอของเด็กน้อย วันหนึ่งขณะที่กลุ่มชาวบ้านพากันนำตัว ฆาตรกร ออกเดินทางเพื่อเข้าเฝ้าพระราชา ระหว่างทางเด็กน้อยมีสีหน้าเศร้าสร้อย เนื่องด้วยกลัวโทษที่จะเกิดขึ้นกับตนจนหมองคล้ำ เหมือนกับคนป่วย "เราจะตายไหม"เด็กคนเเรกเอ่ย "ไม่รู้เหมือนกัน แต่ว่าโทษของการฆ่าคนคือประหารชีวิตไม่ใช่หรือ" "อื่ม งั้นแปลว่าเราจำต้องตายงั้นหรือ" "อื่ม" เด็กชายคนข้างๆพยักหน้า ก่อนน้ำตาจะค่อยๆไหลเอ่อออกมาจากดวงตาคู่เล็ก และแล้วขณะเด็กน้อยกำลังสะอื้นอยู่ พระโพธิสัตว์ที่เดินอยู่ข้างๆเอ่ยขึ้น "อย่ากลัวไปเลยตอนเข้าเฝ้าพระราชา ร่าเริงเข้าไว้อย่าทำหน้าเศร้า พระราชาจะตรัสกับเธอเรื่องนี้ ให้ตอบตามที่เราบอกนะ"  เมื่อพระโพธิสัตว์เอ่ยจบ กลุ่มเด็กเหล่านั้นใช้มือปาดน้ำตาก่อนจะพยักหน้าเข้าใจ

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8702.jpg


         

           ณ. พระราชวังเมืองพาราณสี พระราชาทรงทอดพระเนตรเหล่ากลุ่มเด็ก ที่ชาวบ้านนำมาเข้าเฝ้า "หืม..เจ้าเด็กพวกนั้นไม่มีทีท่าเศร้าหมองเหมือนนักโทษคนอื่นที่เคยเห็น แถมยังนั่งพูดคุยกันอย่างสนุกสนาน ดูไม่น่ากลัวเหมือนกับคำล่ำลือของชาวบ้านแม้แต่น้อย" ก่อนทรงตรัสว่า "พวกเธอหรือที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นฆาตกร" "ขอรับ" "พวกเจ้ากำลังอยู่ตรงหน้าข้า ที่เป็นผู้ตัดสินความผิดทำไมถึงไม่กลัว กลับร่าเริงยินดีอยู่อย่างนี้เพราะอะไรกัน ตอนนี้ก็ถูกจองจำด้วยท่อนไม้ไผ่ และยังถูกประจาน ถ้าเป็นข้าคงจะเลือกฆ่าตัวตายไปแล้ว แต่ทำไมยังมีสีหน้าสดใสดูไม่ทุกร้อน"

 

 

%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%8703.jpg

 

             พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงได้ตอบคำถามพระราชาว่า "บุคคลไม่พึงได้ความเจริญแม้แต่เล็กน้อยด้วยความเศร้าโศกและความร่ำไห้ พวกศัตรูรู้ว่าบุคคลนั้นเศร้าโศก ได้รับความทุกข์ ย่อมจะดีใจ"


        "ส่วนบัณฑิตผู้ฉลาดในการวินิจฉัยความ ย่อมไม่สะทกสะท้านเพราะอันตรายที่จะเกิดขึ้นไม่ว่าเมื่อไร พวกศัตรูได้เห็นหน้าบัณฑิตนั้น อันไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเหมือนแต่ก่อน ย่อมเกิดความทุกข์ "


           "บัณฑิตพึงรู้ว่าประโยชน์นี้ เราหรือคนอื่นไม่พึงได้รับ ในกาลนั้น ก็ไม่ควรเศร้าโศก ควรอดกลั้นไว้ ด้วยคิดเสียว่ากรรมเป็นของมั่นคง บัดนี้ เราจะกระทำอย่างไรดี"

 

               พระราชาได้สดับธรรมกถาของพระโพธิสัตว์ แล้วทรงสะสางการกระทำด้วยพระองค์เอง ทรงทราบว่า พวกเด็กไม่มีโทษผิด จึงรับสั่งให้นำไม้ตะโหงกออก แล้วพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่พระมหาสัตว์ แล้วได้ทรงกระทำให้เป็นอำมาตย์แก้วอนุศาสน์อรรถธรรมแก่พระองค์

               พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
               พระเจ้าพาราณสีในครั้นนั้น ได้เป็น 
พระอานนท์
               พวกเด็กๆ ในครั้งนั้น ได้เป็น พระเถรานุเถระ
               ส่วนเด็กผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็น 
เราตถาคต ฉะนี้แล

 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล