ชาดก 500 ชาติ รวมนิทานชาดกพร้อมภาพประกอบ คติธรรม ข้อคิดสอนใจ

ชาดก 500 ชาติ : ชาดก 500ชาติรวมชาดก 500 ชาติพร้อมภาพประกอบ  ข้อคิดสอนใจ

ชาดก คือ เรื่องราวหรือชีวประวัติในอดีตชาติของพระโคตมพุทธเจ้า คือ สมัยที่พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอยู่ พระองค์ทรงนำมาเล่าให้พระสงฆ์ฟังในโอกาสต่าง ๆ เพื่อแสดงหลักธรรมสุภาษิตที่พระองค์ทรงประสงค์ เรียกเรื่องในอดีตของพระองค์นี้ว่า ชาดก ชาดกเป็นเรื่องเล่าคล้ายนิทาน บางครั้งจึงเรียกว่า นิทานชาดก

ชาดก 500 ชาติ :: วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

ชาดก 500 ชาติ
วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

       ครั้งนั้นเมื่อสมเด็จพระพุทธศาสดาประทับยังป่าไผ่ในพระวิหารชื่อว่าเวฬุวัน กาลเวลานั้นภิกษุสงฆ์ทั้งปวงต่างวิพากษ์วิจารณ์พฤติกรรมไม่ดีของพระเทวทัต ข้อที่กระทำตนเลียนแบบพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างไม่สมควร เหตุเพราะพระเทวทัตเถระมีญาณเสื่อมบังเกิดอิจฉาริษยาในบารมีของพระพุทธองค์ และบังอาจตั้งกฎขึ้นปกครองสงฆ์ขึ้นแข่งขัน แต่พระพุทธองค์ไม่ทรงอนุญาตนำมาปฏิบัติ

         “ ดูก่อนท่านเทวทัต อันข้อปฏิบัติเราบัญญัติไว้ดีแล้วไม่ควรเปลี่ยนเป็นเช่นอื่นอีก ” พระเทวทัตซึ่งถือตนว่าเป็นพระญาติ และมีทุกสิ่งทัดเทียมเช่นกันกับพระพุทธเจ้า เมื่อถูกขัดใจก็ขุ่นเคือง จึงวางแผนแยกคณะสงฆ์ออกจากพระศาสดา

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

       พระเทวทัตจึงทำการชักชวนภิกษุบวชใหม่ ในสำนักของพระโมคคัลลา และสำนักพระสารีบุตรจำนวน ๕๐๐ รูป ให้ติดตามไป ตั้งคณะสงฆ์ใหม่

      “ ตามเราไปเถิดแล้วจะได้ดีทุกคน เราจะนำไปอยู่อารามใหม่ที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้างให้ ” “ นำไปเถิดพระเทวทัตถ้าท่านเห็นว่าดีเราก็จะเชื่อตามท่านไป ” “ นำไปยังคยาสีสะนั่นเถิด เราพร้อมจะไปกับท่าน ”

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

       ภิกษุเหล่านี้ติดตามพระโมคคัลลา พระสารีบุตร มาจากเมืองเวสาลีแคว้นวัชชียังไม่ฉลาด ในพระธรรมวินัยเพราะเพิ่งอุปสมบทไม่นานนักจึงถูกชักจูงได้ง่าย

        ต่อเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่ง พระพุทธศาสดาทรงทราบเวลาที่ความรู้ของภิกษุเหล่านั้นแก่กล้าขึ้น พอที่จะฟังอัตถกถาธรรมได้แล้ว จึงทรงอนุเคราะห์ส่งพระอัครสาวกทั้งสองไปสู่อารามใหม่ของพระเทวทัต

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

       เมื่ออัครสาวกของพระพุทธองค์มาถึงพระเทวทัตก็ถือโอกาสอวดตน ด้วยการประพฤติเลียนแบบให้ดูเหมือนพระศาสดา ทั้งการนอนท่าสีหไสยาสน์ และยังมอบพุทธกิจให้แสดงธรรมเทศนาแทนด้วยคำพูดเดียวกันพระพระพุทธองค์

       “ สารีบุตรท่านจงแสดงธรรมกถาให้เหล่าภิกษุแจ่มกระจ่างเถิดได้เวลาเราเหยียดกายพักแล้ว ” (..อนิจจาพระเทวทัตมิได้เจียมตนเลยแม้แต่น้อยน่าเวทนาจริง ๆ ) อันพระสารีบุตรนั้นได้รับการยกย่องอันเลิศล้ำทางปัญญา  

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

        เมื่อพระเทวทัตหลงตัวเองสั่งให้แสดงธรรมกถาก็ใช้มรรคผลแห่งสัจธรรมยกขึ้นแสดง จนพระภิกษุทั้งสิ้นตื่นจากความหลงผิด พากันติดตามพระโมคคัลลาและพระสารีบุตรกลับมาหาพระพุทธองค์ที่อารามเวฬุวันจนหมด

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

        พระเทวทัตนั้นเมื่อรู้ว่าอารามในคยาสีสะของตนไม่มีภิกษุ เหลืออยู่เลยก็บังเกิดความแค้นแน่นอกกระอักลิ่มเลือดออกมาอย่างน่ากลัว จากนั้นก็ล้มพับไป “ พระสารีบุตรทำลายบริษัทของเราแล้ว ”

      เมื่อพระสารีบุตรกราบทูลถึงความไม่เจียมตนกระทำเลียนแบบพุทธกิริยาของพระเทวทัต สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสดับแล้วตรัสว่า “ ดูก่อนสารีบุตรมิใช่เพียงบัดนี้เท่านั้น ที่เทวทัตทำตามอย่างเรา เมื่ออดีตชาติหนึ่งก็เคยถึงแก่พินาศเพราะไม่เจียมตนมาแล้ว  จากนั้นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงระลึกชาติ ด้วยบุพเพนิวาสนุสติญาณเป็นอรรถกถาวิโรจนชาดกดังนี้

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

            อดีตชาตินั้นในป่าหิมพานต์ยังมีถ้ำทองบนเพิงผาเหนือทุ่งหญ้าอันไพศาลสุดสายตา และอุดมไปด้วยฝูงสัตว์น้อยใหญ่มากมาย ถ้ำทองเหนือชะง่อนผานั้นเป็นที่อาศัยของพญาราชสีห์ผู้ทรงบารมีน่าเกรงขาม

          พญาราชสีห์ปกครองดินแดนหิมพานต์แถบนี้มานาน มีเอกลักษณ์อันงามสง่าสมชาติสิงห์ผู้ยิ่งใหญ่ มีแท่นหินฉาบทองวาววามเป็นที่นอนพักกายในขณะอิ่มเอมจากอาหารซึ่งพญาราชสีห์จะไม่ออกจากถ้ำทองเลยหากไม่ต้องการล่าสัตว์อื่นดำรงชีพ “ อืม วันนี้ช่างสงบเงียบดีจริง ๆ ขอพักอยู่อย่างนี้ดีกว่า ”

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

          แต่เมื่อถึงเวลาแสดงสีหบารมีพญาราชสีห์ก็จะสะบัดกายเยื้องย่างมายังชะง่อนหินหน้าถ้ำ จ้องมองสัตว์น้อยใหญ่เบื้องล่าง เลือกตัวซึ่งถึงที่ตายได้แล้ว ก็แสดงบันลือสีหนาทคำรามก้องภูผาดุจฟ้าร้อง

        และยามสิงห์คำรามนั้นปวงสัตว์ในทุ่งหญ้าต่างก็พากันอ่อนแรงด้วยตบะบารมีกันถ้วนหน้า แล้วเมื่อพญาราชสีห์กระโจนลงจากภูผาด้านหน้าถ้ำทองสัตว์ใหญ่ปานใดก็ไม่อาจต้านทานกำลังต้องตกเป็นอาหารแก่พญาราชสีห์ทุกครั้ง “ เจ้าถึงคราวตายแล้วมาเป็นอาหารของเราเสียเถอะ ”

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

      วันหนึ่งพญาราชสีห์ฆ่ากระบือใหญ่กินเป็นอาหารแล้วก็ลงสู่สระน้ำใสสะอาดดื่มกิน ทำความสะอาดดีแล้วก็กระทำสีหลีลาเดินขึ้นสู่ถ้ำทองดั่งเคย ครั้งนั้นมีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยวพเนจรหากินแล้วเกิดพลัดหลงมาเผชิญหน้าเข้ากับพญาราชสีห์เข้าอย่างสุดจะหลีกเลี่ยงได้

        “ โอ้ย ตาย ตาย ตาย หนีไม่ทันแน่ ๆ เรา ต้องทำใจดีสู่สิงห์เข้าไว้ ไหนไหน ก็ไหน ๆ ว่ะ เอาว่ะ เออ คือว่าสวัสดีจ้าท่านราชสีห์ ” “ เจ้ามีธุระอะไรกับเรารึเจ้าจิ้งจอก ” “ เออ คือว่าข้ามีเรื่องจะกราบทูลท่าน ” “ หึ เจ้ามีเรื่องใดจะบอกเรา ” “ ข้าแต่นายท่านอันตัวข้าน้อยมาที่นี่หมายจะรับใช่ท่าน ” “ อือ รับใช้ข้างั้นรึ ได้สิ ในเมื่อเจ้าตั้งใจมาข้าก็จะเลี้ยงไว้ ”

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

       “ โอ้ ขอบพระคุณนายท่านข้าน้อยจะตั้งใจรับใช้ไม่ดื้อรั้นอวดดีเลย ” พญาราชสีห์นั้นรู้นิสัยจิ้งจอกเป็นอย่างดี แต่เมื่อมันเป็นผู้น้อยมาพึ่งพาก็ยินดีต้อนรับตามวิสัยผู้ยิ่งใหญ่        “ งั้นเจ้าก็ตามมาเถิด เราจะให้เจ้ากินเนื้ออย่างดี นอนในถ้ำทองอันแสนสบาย ” (...สบายละตูกัดก้อนเกลือกินมานานแล้ว จู่ ๆ ก็จะได้ใช้ชีวิตอย่างราชสีห์หรูสุด ๆ )

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

      ตั้งแต่บัดนั้นมาจิ้งจอกก็รอกินเดนของราชสีห์ทุกมื้อ กินอิ่มก็ลงไปชำระล้างร่างกายและดื่มน้ำในสระตามอย่างราชสีห์ทุกประการ “ ข้าอิ่มละที่เหลือเป็นของเจ้านะ ไปล่ะ ” “ หือ อร่อยมาก หือสุขใจจริง ๆ ” ไม่นานเท่าไหร่ร่างกายของสุนัขจิ้งจอกก็อ้วนพี

      อยู่มาวันหนึ่งมันจึงคิดได้ว่ามันก็มีสองตามีหัวคิดเหมือนราชสีห์ มันควรจะได้เลือกกินสัตว์ที่มันชอบบ้าง จึงบอกแก่พญาราชสีห์ว่า “ นายท่านหากข้าน้อยต้องการกินเนื้อตัวใดบ้างต้องทำอย่างไรขอรับ ” “ อือ ไม่ยากหรอกเจ้าก็ขึ้นไปบนชะง่อนผาหน้าถ้ำแล้วมองลงไปเลือกปวงสัตว์ข้างล่างนั้น อยากกินกวางตัวใดก็เข้ามาบอกตัวเราว่าข้าน้อยอยากกินเนื้อชนิดนั้น นายท่านจงคำรามแล้วฆ่าสัตว์นั้นเถิด แล้วแบ่งข้าน้อยบ้าง แค่นี้เจ้าก็จะได้กินเนื้อสัตว์ที่เจ้าปรารถนา ” ( อืม..ช่างง่ายดายจริง ๆ รู้ว่าง่ายขนาดนี้ทำตั้งนานแล้วนะนี่ ทนกินเนื้อแพะมาตั้งนาน เอ๊ะ แต่ว่าจะกินตัวไหนดีนะ

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

        กวางตัวนั้นก็น่ากินเนื้อมันคงจะหวานอยู่ โอ๊ะ เก้งตัวนั้นก็ใช้ได้ ห๊ะควายป่าอยากกินมานานแล้ว คราวนี้แหละเราจะได้กินเนื้อความป่าตัวใหญ่ ๆ บ้างเฮ้ย มีความสุขจริง ๆ ) เมื่อสุนัขจิ้งจอกเลือกสัตว์ที่อยากกินได้ก็หมอบกราบราชสีห์ “ นายท่าน ข้าน้อยอยากกินควายป่าเชิญท่านแผดเสียงคำรามออกมาล่ามันเถิด ” “ ได้ เจ้ารอสักครู่ ”

      ราชสีห์วิ่งสู่ชะง่อนผาแผดเสียงคำรามอย่างน่าเกรงขามแล้วกระโจนลงไปจัดการกับเหยื่อด้วยอำนาจราชสีห์อย่างง่ายดาย จิ้งจอกเห็นวิธีล่าเนื้อของราชสีห์บ่อย ๆ ก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องง่าย จนวันหนึ่งเกิดกำเริบทรนงตนขึ้น “ ตัวเราเองก็มีสี่ขา มีเขี้ยวมีเล็บเหมือนราชสีห์ มีทุกอย่าง แค่คำรามข้าก็ทำเป็น แค่เปลี่ยนหน้าที่กันมันจะไปยากอะไร ”

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

        คราวหนึ่งเมื่อถึงเวลาอาหารจิ้งจอกจึงไปบอกแก่พญาราชสีห์ว่าอยากกินช้างพลายสักตัวหนึ่ง “ หากแต่ครั้งนี้ข้าน้อยขอนอนบนแท่นทอง ขอให้นายน้อยไปเลือกดูสัตว์แล้วมากล่าวว่า จิ้งจอกเอ๋ยจงแผดเสียงคำรามเถิด ข้าน้อยก็จะกระโจนไปฆ่าช้างได้ดังท่านทำ ” “ เจ้านะเหรอจะทำอย่างเรา ไม่ได้หรอกมันไม่ง่ายดายอย่างที่เจ้าคิด ข้าไม่อนุญาต ”

       จิ้งจอกเพียรอ้อนวอนเช่นนี้อยู่หลายครั้งแต่พญาราชสีห์ก็ไม่อนุญาตให้ดังขอ “ เจ้าสุนักเอ้ยจิ้งจอกสามารถฆ่าช้างได้ในโลกนี้ไม่มีหรอกนะ อยากกินเนื้อช้างก็คอยกินที่เราฆ่าได้อย่างเดิมเถิด ” แต่จิ้งจอกหาฟังไม่กลับกล่าวหาว่าราชสีห์หวงแหนบารมี “ หึ ท่านหวงบารมีสิท่า คงกลัวว่าข้าทำได้แล้วบารมีท่านจะหายไปละสิ ” “ เฮ้อ ถ้าอย่างนั้นเจ้าก็เร่งทำเถอะ มานอนบนแท่งทองของเราได้แล้ว ” ครานั้นสุนัขผู้ไม่เจียมตนก็กระทำการเลียนแบบพญาราชสีห์ ทั้งยังบังอาจขอให้ท่านอัญเชิญตนออกไปกระทำสีหนาดนอกถ้ำ หวังให้กึกก้องขุนเขาดุจกันกับที่พญาราชสีห์คำราม “ จิ้งจอกเอ๋ย เจ้าจงแผดเสียงคำรามเถิด ” “ โอ้ ได้เลยราชสีห์เจ้ารอที่นี่เถิด เราจะไปคร่าชีวิตสัตว์นั้นมาให้ท่านได้กินเอง ”

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

      เมื่อได้ยินสัญญาณจากราชสีห์จิ้งจอกก็วิ่งไป ณ ชะง่อนผาแผดเสียงเลียนกิริยาสีหนาทของผู้มีพระคุณทันที เมื่อเจ้าจิ้งจอกคำรามได้สักพักมันก็ตะกุยเท้ากระโจนลงเบื้องล่างอย่างสุดแรงเกิด

       เจ้าจิ้งจอกกระโจนไปหาช้างพลายตัวหนึ่งอย่างรวดเร็ว “ นี่แน่ะถอดแบบมาจากราชสีห์เป๊ะ ๆ เสร็จข้าแน่เจ้าช้างพลาย ” “ โอ้ย หนวกหูจริง ๆ เจ้าหมาบ้าตัวนี้มันอะไรของมันนี่ ” แล้วจิ้งจอกก็แทบเป็นบ้าไปจริง ๆ เพราะมันกระโดดไปไม่ถึงตัวช้างแต่กลับตกลงบนพื้น

วิโรจนชาดก-ชาดกว่าด้วยสุนัขจิ้งจอกไม่เจียมตัว

     เคราะห์ร้ายของมันที่ตกลงมาใกล้กับเท้าช้างพอดิบพอดี “ โอ้ย เจ็บ กระดูกครากหมดแล้ว ห๊ะ! เท้าช้าง ” และวาระสุดท้ายของผู้เลียนแบบราชสีห์ก็มาถึง “ เฮ้ย ๆ เฮ้ย เจ้าช้างอย่าเข้ามา เฮ้ย อย่ากระทืบข้าอย่า ” พริบตาต่อมาสุนักจิ้งจอกก็ถูกช้างพลายเหยียบจนกะโหลกแตกร่างกายแบนติดพื้น แถมยังถูกช้างถ่ายรดไว้บนตัวก่อนจะจากไปอย่างเหยียดหยาม พญาราชสีห์โพธิสัตว์เหนเช่นนี้ก็กล่าวว่า “ จิ้งจอกเอ๋ย คราวนี้เชิญเจ้าแผดเสียงไปเถอะ มันสมองของเจ้าไหลออกแล้ว กระหม่อมของเจ้าก็ถูกทำลายแล้ว ซี่โครงของเจ้าหักพังไปหมดแล้ว วันนี้เจ้าช่างรุ่งเรืองแท้ ”

ณ พุทธกาลต่อมา     

สุนัขจิ้งจอก กำเนิดเป็น พระเทวทัต

พญาราชสีห์ เสวยพระชาติเป็น พระพุทธเจ้า
 


 

บทความนี้ ถูกใจคุณหรือไม่ + -

สิ่งดีๆมีไว้แบ่งปัน อะไรดีๆมีอีกเยอะ กด Like facebook กัลยาณมิตร

* * ชาดก 500 ชาติ แนะนำ * *

 ยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคล